หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
เหรียญหลวงพ่อสุโขทัยไตรมิตร รุ่นแรก ปี 2493 (หลวงพ่อทองคำ) วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพฯ
ชื่อร้านค้า | ศรีสุวรรณ ณ มณเฑียร - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญหลวงพ่อสุโขทัยไตรมิตร รุ่นแรก ปี 2493 (หลวงพ่อทองคำ) วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพฯ |
อายุพระเครื่อง | 74 ปี |
หมวดพระ | เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520 |
ราคาเช่า | 1,200 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 080-5514337, 086-2171499 [ บอย พิจิตร ] |
อีเมล์ติดต่อ | puwarit@gmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พ. - 23 ก.พ. 2565 - 22:03.19 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อา. - 06 พ.ย. 2565 - 10:55.14 |
รายละเอียด | |
---|---|
[ A-605 ] เหรียญหลวงพ่อสุโขทัยไตรมิตร รุ่นแรก ปี 2493 (หลวงพ่อทองคำ) วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพฯ เนื้อทองฝาบาตร (นิยม) สภาพสวย พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร" หรือ "หลวงพ่อทองคำ" ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรมิตรวิทยาราม เขคสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย คืออยู่ในพระอิริยาบถนั่งสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางเหนือพระชานุ ปลายพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี หน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๕ นิ้ว สูงจากฐานถึงพระเกตุเมาฬี ๗ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว น้ำหนักประมาณ ๕ ตัน แต่ เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ถูกพอกปิดด้วยปูนทั่วทั้งองค์ พุทธลักษณะภายนอกำไม่งดงามหรือโดดเด่น จากหลักฐานที่ปรากฏพบว่า เคยประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดโชตินาราม หรือวัดพระยาไกรมาตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อ มาวัดพระยาไกรขาดคนบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงตกอยู่ในสภาพรกร้างราว พ.ศ. ๒๔๗๔ บริษัทอีสต์เอเชียติก จำกัด ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทานป่าไม้ ได้ขอเช่าที่จากรัฐบาล เข้าจัดสร้างที่ชำรุดทรุดโทรมของวัดบริเวณวัดร้างแห่งนี้ มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดทรุดโทรมของวัดพระยาไกรจนเหลือแต่พระพุทธ รูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ในขณะนั้น "วัดสามจีน" ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัดไตรมิตรวิทยาราม กำลังอยู่ในระหว่างการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ทั่วทั้งพระอารามโดยสร้าง วิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปเพิ่มเติม สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เจ้าคณะแขวงล่าง เห็นว่าจะปล่อยองค์พระพุทธรูปปูนปั้นให้อยู่ที่เดิมต่อไปจะเป็นการไม่สมควร ประกอบกับวัดสามจีนมีสถานที่กว้างขวาง เหมาะสมกับการประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ จึงมอบให้คณะฐิตวีโร (พระวิสุทธาธิบดี) น.อ.หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) ร.น.หลวงบริบาลเวชกิจ (ยู้ ลวางกูล) นายสนิท เทวินทรภักดี ร่วมกันอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้จากวัดพระยาไกรมาประดิษฐานยังวัดสามจีน พระพุทธรูปปูนปั้นจึงถูกอัญเชิญมาตั้งแต่นั้น โดยในขณะที่ยังบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามไม่แล้วเสร็จ คณะกรรมการวัดไปประดิษฐานองค์พระพุทธรูปไว้ข้างเจดีย์เป็นการชั่วคราว ในระหว่างนี้มีผู้มาขออัญเชิญไปประดิษฐานยังวัดต่าง ๆ มากมาย แต่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ การก่อสร้างพระอาราม พระวิหารต่าง ๆ ในวัดสามจีนใช้เวลาเนิ่นนาน จนล่วงเลยไปถึง ๒๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๙๘ การบูรณะจึงเสร็จสิ้นเรียบร้อย เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์พร้อม ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธาธิบดี เจ้าอาวาสซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระวีรธรรมมุนี ผู้ดำเนินการสร้างวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นจนแล้วเสร็จ ได้เป็นแม่กองเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปองค์นี้เพื่อนำขึ้นประดิษฐานยังพระวิหาร ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ การเคลื่อนย้ายเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากองค์พระมีขนาดใหญ่และหนัก ต้องใช้ปั้นจั่นยกองค์พระพุทธรูปขณะที่ทำการยกนั้นปรากฏว่าลวดสลิงที่ยึด องค์พระเกิดขาดเพราะทานน้ำหนักไม่ไหว องค์พระพุทธรูปกระแทกลงบนพื้นดินอย่างแรง พอดีกับเป็นเวลาใกล้ค่ำและฝนตกหนัก การอัญเชิญพระพุทธรูปในวันนั้นจึงหยุดชะงักลง ในตอนเช้าของวันรุ่ง ขึ้น ท่านเจ้าอาวาสได้มาตรวจดูองค์พระเพื่อหาทางอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ก็ได้พบเห็นรอยแตกที่พระอุระ แลเห็นรักที่ฉานผิวองค์พระด้านใน เมื่อแกะรักออกก็ได้พบเบื้องทองคำบริสุทธิ์งามจับตาอยู่ชั้นในสุด ท่านเจ้าอาวาสจึงสั่งการระดมผู้คนช่วยกันกะเทาะปูนและลอกรักออกหมดทั้งองค์ ความงดงามแห่งเนื้อทองบริสุทธิ์ขององค์พระปฏิมาจึงปรากฏให้เห็น พร้อมพุทธลักษณะที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง กลายเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สกุลช่างสุโขทัย ที่งดงามจับตาจับใจผู้พบเห็น ความยากลำบากในการ เคลื่อนย้ายหมดสิ้นลงเมื่อการคุ้ยดินได้ฐานทับเกษครออก และพบกุญแจสำหรับถอดองค์พระออกเป็นส่วน ๆ ได้ ๙ ส่วน เพื่อสะดวกต่อการอัญเชิญขึ้นประดิษฐานยังพระวิหาร จึงดำเนินการถอดองค์พระออกแต่เพียง ๔ ส่วน คือ ส่วนพระศอ ส่วนพระหัตถ์ทั้ง ๒ ข้าง และส่วนพระนาภี ทำให้สามารถอัญเชิญพระพุทธรูปทองคำขึ้นประดิษฐานยังที่จัดเตรียมไว้โดยราบ รื่น การค้นพบพระพุทธรูปทองคำปางมารวิชัยของวัดไตรมิตรวิทยารามใน ครั้งนั้น เป็นข่าวสำคัญครึกโครมไปทั่วทั้งประเทศ หนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ประโคมข่าวกันอย่างกว้างขวางท่ามกลางความปีติยินดีของพุทธศาสนิกชนทั่วหน้า มีการตรวจสอบและประเมินเนื้อทองคำ ขององค์พระพุทธรูปซึ่งเป็นทองคำบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองเนื้อเจ็ด น้ำสองขา (มาตราทองคำของไทยโบราณตั้งไว้ตั้งแต่ทองเมื้อสี่ คือทองคำหนัก ๑ บาท จะมีค่า ๔ บาท ทองเนื้อเจ็ด คือทองหนัก ๑ บาท จะมีค่า ๗ บาท ซึ่งเป็นทองคำที่มีค่าของเนื้อทองรองจากทองนพคุณหรือทองเนื้อเก้า ซึ่งทองเนื้อเก้าจะเริ่มพบที่บางตะพานในแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ เรียกกันว่าทองคำบางตะพาน ส่วนคำว่าสองขา หมายถึง ๒ สลึง) มีน้ำหนักกว่า ๕ ตัน คิดเป็นน้ำหนักทองคำ ๒๕,๐๐๐ ปอนด์ หรือคิดเป็นมูลค่าเฉพาะเนื้อทองคำในขณะนั้น (พ.ศ.๒๔๙๘) ๑๔ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ ๒๙๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท อันเป็นราคาทองคำที่ถูกประเมินในครั้งแรก พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร นับเป็นพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก หนังสือกินเนสบุ๊ค ฉบับปี ค.ศ. ๑๙๙๑ (พ.ศ.๒๕๓๔) ได้ทำการประเมินค่าอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๙๐ (พ.ศ. ๒๕๓๓) และบันทึกไว้ว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ที่สุด มีมูลค่าเฉพาะเนื้อทองคำสูงถึง ๒๑.๑๐ ล้านปอนด์ จากหลักฐานที่ปรากฏ อาจกล่าวได้ว่า พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตรเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ความประณีตของพุทธศิลปะ ความแยบยลของส่วนประกอบที่ทำเป็นกุญแจกล ความทรงค่ามหาศาลของเนื้อทองคำบริสุทธิ์ เป็นสิ่งซึ่งยากจะหาผู้ใดทำขึ้นได้ นอกจากพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าผู้ทรงมีพระบรมโพธิสมภารอันยิ่งใหญ่ จึงจะหล่อสร้างพระปฏิมาที่ล้ำเลิศเช่นนี้ได้สำเร็จ องค์พระพุทธรูป ทองคำสุโขทัยไตรมิตรถูกหุ้มห่ออยู่ในปูนเป็นระยะเวลายาวนาน อาจกล่าวได้ว่า ผู้คนสมัยรัตนโกสินทร์ มิได้ทราบเลยว่าภายในพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ได้ซุกซ่อนพุทธปฏิมาอันงาม ล้ำเลิศและทรงค่ามหาศาล การพอกปูนปิดองค์พระสำคัญไว้ เป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของผู้คนในสังคมไทยสมัยก่อน ที่ต้องการพิทักษ์ปกป้ององค์พระพุทธรูปและพุทธศาสนาไว้จากภัยอันตรายต่าง ๆ ซึ่งจะพบเห็นชัดเจนในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ที่พม่าได้สุมไฟลอกเอาทองจากองค์พระศรีสรรเพชญไปจนหมดสิ้น ผู้คนได้พยายามปกปิดหรือเคลื่อนย้ายองค์พระสำคัญ ๆ หลายต่อหลายองค์ จนเกิดเป็นตำนานพระพุทธรูปลอยน้ำ ที่ชาวบ้านช่วยกันนำองค์พระใส่แพไม้ไผ่อพยพหลบหลีกข้าศึก สำหรับ "หลวงพ่อทองคำ" องค์นี้ มีข้อสันนิษฐานว่า การพอกปูนปิดองค์พระพุทธรูปคงจะกระทำขึ้นก่อนการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ใน พ. ศ.๒๓๒๕ และอาจตั้งข้อสังเกตได้ว่า ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาทุกฉบับ รวมทั้งเอกสารสมัยอยุธยาไม่มีข้อความที่กล่าวถึงพระพุทธรูปทองคำองค์นี้เลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการพอกปูนปิดองค์พระอาจกระทำมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเริ่ม ถูกครอบงำจากอำนาจของกรุงศรีอยุธยา และเสื่อมอำนาจลงอย่างสิ้นเชิงในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรลกนาถ จึงเป็นไปได้ที่คนสมัยกรุงศรีอยุธยาอาจพบเห็นเพียงองค์พระปูนปั้นประดิษฐาน อยู่ในวัดมหาธาตุ สุโขทัย เรื่อยมา จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นสมัยที่มีการอัญเชิญพระพุทธรูปจาหัวเมืองต่าง ๆ มายังกรุงเทพมหานคร มากกว่า ๑,๒๔๘ องค์ พระพุทธรูปปูนปั้นที่หุ้มองค์หลวงพ่อสุโขทัยไตรมิตรไว้ คงจะถูกอัญเชิญมาในคราวเดียวกันนี้ ซึ่งโปรดฯให้อัญเชิญพระศรีศากยมุนีพระประธานวัดมหาธาตุ สุโขทัย มาประดิษฐานที่วัดสุทัศน์เทพวราราม และโปรดฯ ให้ประดิษฐานพระพุทธรูปจากหัวเมืองต่าง ๆ ไว้ ณ พระระเบียงวัดพระเชตุพนฯ ก่อนที่จะถูกอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดพระยาไกร ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปัจจุบันพระพุทธรูปสุโขทัยไตรมิตร หรือหลวงพ่อทองคำประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารวัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยและต่างประเทศที่หลั่งไหลกันเข้ามาชมความงดงาม แห่งองค์พระปฏิมา ที่ทำจากเนื้อทองคำบริสุทธิ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอันประเมินค่ามิได้ นับ เป็นความภาคภูมิใจของชาวไทยทั้งประเทศต่อมรดกแห่งอารยธรรมไทยที่ยิ่งใหญ่ งดงาม อันเป็นประจักษ์พยานถึงความรุ่งโรจน์แห่งพุทธศิลปะ ฝีมือช่าง และพลังแห่งศรัทธาในบวรพุทธศาสนาที่สืบเนื่องเรื่อยมาจากอดีตจวบปัจจุบัน และเรื่อยไปยังอนาคตกาล |