หมวด เครื่องรางของขลัง
ตะกรุดบรมครู หลวงปู่พระอุปัชฌากลิ่น สำนักสงฆ์วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
ชื่อร้านค้า | ปฐมภูมิ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | ตะกรุดบรมครู หลวงปู่พระอุปัชฌากลิ่น สำนักสงฆ์วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | เครื่องรางของขลัง |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | kcs_amulet@homail.com |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ศ. - 14 ม.ค. 2565 - 14:59.26 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ศ. - 14 ม.ค. 2565 - 14:59.26 |
รายละเอียด | |
---|---|
หลวงปู่พระอุปัชฌากลิ่น สำนักสงฆ์วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี ประวัติ หลวงปู่พระอุปัชฌากลิ่นท่านเกิดเมื่อพ.ศ.2301โดยประมาณ ประวัตินั้นหาได้ปรากฏแน่ชัด ทราบแต่เพียงว่าท่านมีใจใฝ่ในพระพุทธศาสนาบวชเณรตั้งแต่ยังเล็กและครองในเพศบรรญชิตตราบจนสิ้นอายุท่าน ท่านเป็นพระอาจารย์ผู้มีบารมี ปรมาจารย์ผู้เก่งกล้า ทรงคุณวิเศษมากมาย พระอาจารย์ที่ทรงมีกิตติคุณโด่งดังที่สุดองค์หนึ่งในสมัยก่อน บำเพ็ญปฏิบัติสมถะ-วิปัสสนากัมมัฏฐาน ภายในถ้ำพุพระ หรือ ถ้ำขุนแผน อยู่ในเขตบ้านหนองบัว จนสามารถสำเร็จวิชาต่างๆมากมายเป็นที่ล่ำลือกันคือ วิชากำบังกายหายตัว, วิชาแหวกน้ำดำดิน, ล่วงกาลล่วงหน้า, ย่นระยะทาง ฯลฯ ซึ่งท่านทำได้สำเร็จดุจผู้วิเศษทีเดียว มีพระคณาจารย์จากทั่วทุกสารทิศให้ความเคาพรท่านยิ่งนัก และพระคณาจารย์อีกหลายท่านที่มุ่งหน้ามาฝากตัวเป็นศิษย์ ซึ่งพอจะบันทึกได้เท่าที่ทราบคือ หลวงปู่เงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร (เกิดพ.ศ. 2353 มรณภาพ 2462) หลวงปู่ม่วง วัดบ้านทวน จ.กาญจนบุรี (เกิดพ.ศ. 2366 มรณภาพ 2484) หลวงปู่ปาน วัดบางเหี้ย จ.สมุทรปราการ (เกิดพ.ศ. 2368 มรณภาพ 2453) หลวงปู่เนียน วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี (เกิดพ.ศ. 2372 มรณภาพ 2452) หลวงปู่ทา วัดพะเนียงแตก จ.นครปฐม (เกิดพ.ศ. 2379 มรณภาพ 2463) หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี (เกิดพ.ศ. 2387 มรณภาพ 2453) หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท (เกิดพ.ศ. 2390 มรณภาพ 2466) หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม (เกิดพ.ศ. 2391 มรณภาพ 2478) หลวงปู่ยิ้มท่านถวายตัวเป็นศิษย์ ปลายปีพ.ศ.2416 และเป็นศิษย์สุดท้ายของหลวงปู่กลิ่น ได้ศึกษาวิชาไสยเทย์ต่างๆอยู่จนพ.ศ.2418 หลวงปู่พระอุปัชฌากลิ่น ได้มรณะภาพลงขณะสิริอายุได้ 117 ปี และพ่อเฒ่ายิ้ม ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัว องค์ที่ 4 ต่อจากหลวงปู่พระอุปัชฌากลิ่นเมื่อพ.ศ.2420 สือเนื่องต่อมา ยังมีพระคณาจารย์อีกหลายท่านในยุคสมัยทั้งจากเหนือจรดใต้แต่ในระแวกจังหวัดใกล้เคียงนั้นมาฝากตัวเป็นศิษย์อีกมาก แต่ไม่ขอกล่าวถึงเพราะเป็นเพียงคำบอกเล่าต่อกันมาจากคนสมัยนั้นเท่านั้น สำหรับพระเครื่องและเครื่องลางของหลวงปู่พระอุปัชฌากลิ่นนั้น ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษ์อักษรไว้แต่ประการใด แต่จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมานั้นว่ามีการสร้างไว้แต่จำนวนน้อย โดยส่วนใหญ่เป็นต้นแบบพระหลวงปู่ยิ้ม พระพิมพ์ต่างๆ พระเนื้อชินบ้างบางส่วน อีกทั้งพระท่ากระดานที่พบในถ้ำสมัยก่อน ส่วนที่รู้จักกันมากนั้นหาใช่พระเครื่องของหลวงปู่พระอุปัชฌากลิ่นไม่ แต่เป็นเครื่องรางของขลัง ซึ่งได้ชื่อว่าศักสิทธ์เข้าขลังยิ่งนักยิ่งนัก ทั้งเรื่อง คงกระพัน ชาตรี เมตตา มหานิยม เสน่ห์ แก้-กันคุณไสย์ แคล้วคลาด มหาอุตม์ ฯลฯ เป็นที่กล่าวขวัญกันมากในสมัยนั้น ตะกรุด ดอกนี้จัดเป็นเครื่องรางอีกประเภทหนึ่งที่หลวงปู่พระอุปัชฌากลิ่น ท่านได้สร้างไว้แต่น้อยมากเนื่องด้วยวิธีการสร้างนั้นยุ่งยากมาก เข้มขลังและปราณีตมาก ต้องดูฤกษ์ยามทุกขณะทำ นั้นมีวิธีการสร้างที่ ดังนี้ 1.เมื่อถึงฤกษ์ยามอันสมควร ท่านจึงนำแผ่นโลหะที่หาได้ง่ายในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทองแดง ทองเหลือง ตะกั่ว ขนาดพอเหมาะ มาจารอักขระโบราณตามตำรา บริกรรมคาถาจนจบ แล้วม้วนแบบง่ายๆแต่เป็นเอกลักษณ์ จากนั้นปลุกเสกตามพิธีโบราณ จนครบวาระ เมื่อเห็นว่าได้กาลอันสมควรแล้ว จึงจักนำมาทำในขั้นตอนต่อไป 2.ถักทอด้วยหนังหน้าผากเสือตายพลาย, หนังควายเผือกฟ้าผ่าตาย หรือสายสิญจน์จูงศพตายโหงทิ้งป่าช้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้โบราณถือว่าเป็นวัตถุอาถรรย์แรง มีคุณวิเศษในตัว ดูฤกษ์ยามดี นำกลับมาปลุกเสกทำพิธีจนแน่ใจว่าของสิ่งนั้นๆเป็นคุณ แล้วจึงนำมาใช้ทำเครื่องรางต่างๆ .. ดอกนี้ทำด้วยหนังหน้าผากเสือทำการตัดให้เป็นเส้นไม่ขาดจากกัน ทำการถักด้วยมือลายถักเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เมื่อถักเสร็จเก็บงานดูเรียบร้อยดี ปลุกเสกตามฤกษ์ดี ยามดี จนครบวาระ เมื่อเห็นว่าได้กาลอันสมควรแล้ว จึงจักนำมาทำในขั้นตอนต่อไป 3.จากนั้นจึงทำการพอกด้วยผงพุทธคุณของท่านตามฤกษ์ยามดี ซึ่งเป็นที่กล่าวขานกันว่าผงพุทธคุณของท่านนั้นเมตตามหาเสน่ห์แรงยิ่งนัก แค่มีติดตัวไว้หญิงชายใดได้พบหน้าเป็นต้องหลงใหล แม้จากศัตตรูคู่อาฆาตยังกลับกลายเป็นมิตรรักกันได้ เมื่อเห็นว่าผงที่พอกดูงามพอสมควรแห้งติดดีแล้วจึง ปลุกเสกตามฤกษ์ดี จนครบวาระ เมื่อเห็นว่าได้กาลอันสมควรแล้ว จึงจักนำมาทำในขั้นตอนต่อไป 4.ทำการนำมาลงรัก เพื่อรักษาให้คงทนถาวร ซึ่งรักที่ใช้นั้นหากพิจารณาให้ถ่องแท้กันแล้วนั้น กลับเป็นรักหลวงคือรักที่ใช้กันในสำนักราชวัง หาใช่รักแบบชาวบ้านในสมัยนั้นไม่ จึงทำให้อนุมาณได้ว่าในสมัยนั้นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ไปจนถึงระดับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินเข้าถึงท่านไม่ผิดแน่ เพราะรักชนิดนี้จะมีใช้ก็แต่ในวังหลวงในสมัยนั้นเท่านั้น เมื่อลงรักดูงาม รักแห้งดีแล้ว จึงนำมาปลุกเสกตามฤกษ์ดี ยามดี จนครบวาระ เมื่อเห็นว่าได้กาลอันสมควรแล้ว จึงจักนำมาทำในขั้นตอนต่อไป 5.ขั้นตอนสุดท้านย ท่านจึงทำการปิดทองเสกของท่านอีกครั้ง และทำการปลุกเสกตามฤกษ์ดี ยามดี เมื่อเห็นว่าได้กาลอันสมควรแล้ว จึงเป็นอันจบพิธี จักนำแจกแก่สานุศิษย์ทั้งหลายต่อไป ด้วยวิธีการสร้างที่ยากและปราณีตมากเช่นนี้หลวงปู่พระอุปัชฌากลิ่น ท่านจึงสร้างไว้น้อยมากหลายๆปีถึงจะได้มาซักดอก พุทธคุณนั้นต้องเรียกได้ว่าครอบจักรวาลหาใดเสมอเหมือน จัดว่าเป็นของดีของวิเศษที่หาได้ยากยิ่งนัก ตะกรุดดอกนี้เป็นตะกรุดเก่ามากที่มีความสมบูรณ์มากด้วยเช่นกัน เหมือนหลวงปู่เพิ่งมอบให้เมื่อวานเลย เป็นตะกรุด หนังเสือ ความยาวเพียง 2 นิ้วเศษ แกนตะกรุดเป็นแผ่นยันต์เนื้อทองแดง ถักด้วยหนังหน้าผากเสือ พอกผง จุ่มรัก ปิดทอง เก่า มัน ลึก ที่สุดเท่าที่เคยผ่านตามา มีเสนห์มาก ตะกรุดดอกนี้ถ้าได้เห็น รับรอง วางไม่ลงแน่นอน รับประกันว่าท่านจะลืมตะกรุดดอกเก่าๆของท่านไปเลยทีเดียว |