หมวด เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540
พระสมเด็จจิตรดา 2 เนื้อเงิน พิมพ์ใหญ่ สร้างในวโรกาส ร.9 ครองราชย์ 50 ปี 2539 (พร้อมกล่องเดิม)
ชื่อร้านค้า | พีพีพระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระสมเด็จจิตรดา 2 เนื้อเงิน พิมพ์ใหญ่ สร้างในวโรกาส ร.9 ครองราชย์ 50 ปี 2539 (พร้อมกล่องเดิม) |
อายุพระเครื่อง | 28 ปี |
หมวดพระ | เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540 |
ราคาเช่า | 5,500 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 089-448-3434 |
อีเมล์ติดต่อ | tn_su@hotmail.com |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อา. - 11 ก.พ. 2567 - 11:41.06 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อา. - 11 ก.พ. 2567 - 11:41.06 |
รายละเอียด | |
---|---|
-พระกำลังแผ่นดิน (สมเด็จจิตรลดา 2) มวลสารจิตรลดารุ่นแรก พิมพ์ใหญ่ เนื่องในโอกาสในหลวงครองราชย์ 50 ปี พิธีใหญ่วัดพระแก้ว ปี 2539 (รุ่นนี้น่าเก็บบูชามาก-เพราะได้มวลสารจากรุ่นแรกที่ห่างกันเพียง 26-31 ปี แต่ปัจจุบันไปไกลหลายล้านบาทแล้วครับ) -ในหลวงทรงตรัสไว้ว่า คนที่ได้พระสมเด็จจิตรลดาไป ขอให้ปิดทองหลังพระด้วย เพราะถ้าไม่มีใครยอมปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้) -นสพ.คมชัดลึก และ เดลินิวส์ ได้ให้ข้อมูลข่าวสารสมเด็จจิตรลดา 2 ไว้เมื่อ 10/11/59 และ 19/11/59 ....................................................... สมเด็จจิตรลดา 2 ปี 2539 (มวลสารดี+พิธีใหญ่) 1.พิธีมหาพุทธาภิเษก ปลุกเสกด้วยเกจิชื่อดังในยุคนั้น 109 รูป ณ.วัดพระแก้ว 2.สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสด็จเททองนำฤกษ์ชุดเนื้อโลหะ 3.สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯเป็นประธานพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดพระแก้ว 4.พิมพ์ทรงเป็นการถอดแบบมาจาก สมเด็จจิตรลดารุ่นแรก และได้อัญเชิญตราสัญลักษณ์ฉลอง 50 ปีประดิษฐานไว้ด้านหลัง รายละเอียดการจัดสร้าง -จัดสร้างในวโรกาสฉลองทรงครองราชย์ 50 ปี (กาญจนาภิเษก) ด้วยมวลสารมหามงคล ได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญตราสัญลักษณ์ฉลอง 50 ปีประดิษฐานไว้ด้านหลังเป็นทางการ และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสด็จเททองนำฤกษ์ชุดเนื้อโลหะ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯเป็นประธานพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ.อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2539 มงคลชัยฤกษ์ 15.19 น. ***อธิษฐานจิตนำโดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และพระเถระ พระเกจิคณาจารย์รวม 109 รูป (มีทั้งพระป่ากรรมฐานและเกจิดังยุคนั้นมากมาย) และพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถารอบพระอุโบสถอีกกว่า 1,000 รูป ***รายนามพระเกจิบางส่วน มีดังต่อไปนี้ -พระวิสุทธิวงศาจารย์ (หลวงพ่อพลอย) วัดเทพธิดาราม กทม. -พระวิสุทธาธิบดี (หลวงพ่อวีระ) วัดสุทัศนเทพวราราม กทม. -พระเทพศีลวิสุทธิ์ (หลวงพ่อบุญเลิศ) วัดอรุณราชวราราม กทม. -พระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี -พระเทพวิสุทธิญาณ (หลวงพ่ออุบล) วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. -พระราชสุวัฒนาภรณ์ (หลวงพ่อผัน) วัดระฆังโฆสิตาราม กทม. -พระราชพิพัฒนาภรณ์ (หลวงพ่อพลายงาม) วัดราชสิทธาราม กทม. -พระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี -พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา -พระวิสุทธาจารคุณ (หลวงพ่อเกตุ) วัดเกาะหลัก จ.ประจวบคีรีขันธ์ -พระวิมลธรรมญาณเถระ (หลวงพ่อทองบัว) วัดโรงธรรมสามัคคี จ.เชียงใหม่ -พระไพโรจน์ธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อจารุ) วัดเวฬุราชิณ กทม. -พระมงคลชัยสิทธิ์ (หลวงพ่อสำราญ) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท -พระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์) วัดธาตุมหาชัย จ.นครพนม -พระโสภณพัฒโนดม (หลวงพ่อเจริญ) วัดชุมพลนิกายาราม จ.พระนครศรีอยุธยา -พระชินวงศ์พิพัฒน์ (หลวงพ่อระเบียบ) วัดชิโนรส กทม. -พระโสภณธรรมวงศ์ (หลวงพ่อทองสืบ) วัดอินทรวิหาร กทม. -พระปกิตพุทธศาสน์ (หลวงพ่อสุชาติ) วัดบวรนิเวศ กทม. -พระญาณวิทยาคมเถร (หลวงพ่อคูณ) วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา -พระครูอินทคณานุสิชฌน์ (หลวงปู่เจ๊ก) วัดระนาม จ.สิงห์บุรี -พระครูชัยวงศ์วิวัฒน์ (ครูบาน้อย) วัดบ้านปง จ.เชียงใหม่ -พระครูกาญจนโนปมคุณ (หลวงพ่อลำไย) วัดทุ่งลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี -พระครูสุนทรธรรมกิจ (หลวงพ่อหยอด) วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม -พระครูสุนทรจริยาวัตร (หลวงพ่อม่วง) วัดยางงาม จ.ราชบุรี -พระครูฐาปนกิจสุนทร (หลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ จ.นครปฐม -พระครูสุนทรวุฒิคุณ (หลวงพ่อพุฒ) วัดกลางบางพระ จ.นครปฐม -พระครูปรีชาวุฒิคณ (หลวงพ่อฮวด) วัดดอนโพธิ์ทอง จ.สุพรรณบุรี -พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (หลวงพ่อดี) วัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี -พระครูภาวนาวิกรม (หลวงพ่อทองเหมาะ) วัดปราสาททอง จ.สุพรรณบุรี -พระครูธรรมสารรักษา (หลวงพ่อป่วน) วัดหนองบัวทอง จ.สุพรรณบุรี -พระครูนิยุตธรรมสุนทร (หลวงพ่อยิด) วัดหนองจอก จ.ประจวบคีรีขันธ์ -พระครูวิชัยประสิทธิคุณ (หลวงพ่อเชิญ) วัดโคกทอง จ.พระนครศรีอยุธยา -พระครูพุทธสิริวัฒน์ (หลวงพ่อเมี้ยน) วัดโพธิ์กบเจา จ.พระนครศรีอยุธยา -พระครูเกษมคณาภิบาล (หลวงพ่อมี) วัดมารวิชัย จ.พระนครศรีอยุธยา -พระครูวิหารกิจจานุยุต (หลวงพ่ออุไร) วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา -พระครูพิศาลพรหมจรร (หลวงพ่อสวัสดิ์) สำนักสงฆ์กรรมฐานเม้าสุขา จ.ชลบุรี -พระครูวิมลสีลาภรณ์ (หลวงพ่อพูลทรัพย์) วัดอ่างศิลา จ.ชลบุรี -พระครูธรรมจักรชโยดม (หลวงพ่อผล) วัดดักคะนน จ.ชัยนาท -พระครูนิมมานการโสภณ (ครูบาสร้อย) วัดมงคลคีรีเขต จ.ตาก -พระครูประดิษฐ์วรคุณ (หลวงพ่อจวง) วัดเสนานฤมิตร จ.สระบุรี -พระครูจันทรคุณวัฒน์ (หลวงพ่ออำพา) วัดน้ำวน จ.ปทุมธานี -พระครูโสภณธณรมสาคร (หลวงพ่ออาบ) วัดอ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร -พระครูกัลยาณวิสุทธิคุณ (หลวงพ่อณรงค์) วัดไตรมิตรวิทยาราม กทม. -พระครูวิจิตรนวการ (หลวงพ่อทองปลิว) วัดโคนอน กทม. -พระครูสุนทรธรรมวิมล (หลวงพ่อทวีศักดิ์) วัดศรีนวลธรรมวิมล กทม. -พระครูวรพรตสิทธิพงษ์ (หลวงพ่อสุกิจ) วัดวรจรรยาวาส กทม. -พระอธิการหลิว ปุณณฺโก (หลวงพ่อหลิว) วัดไร่แตงทอง จ.นครปฐม -พระราชพิพัฒน์โกศล (หลวงพ่อเณร) วัดศรีสุดารามวรวิหาร กทม. -พระครูสถิตโชติคุณ (หลวงพ่อไสว) วัดปรีดาราม -พระครูปุริมานุรักษ์ (หลวงพ่อพูล) วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม -พระครูวรเวทนิวิธ (หลวงพ่อสนิท) วัดลำบัวลอย จ.นครนายก -พระครูปิยนนทคุณ (หลวงปู่แย้ม) วัดตะเคียน จ.นนทบุรี -หลวงพ่อปลื้ม วัดสวนหงส์ จ.สุพรรณบุรี ***จำนวนจัดสร้าง แบ่งเป็นเนื้อโลหะชุดกรรมการสร้าง 1,500 ชุด (1 ชุด มีพระทองคำ 1 องค์เงิน 1 องค์ นวโลหะ 1 องค์ และพระผง 2 องค์) -พระกำลังแผ่นดิน เนื้อเงิน สร้าง 2,539 องค์ -พระกำลังแผ่นดินเนื้อนวโลหะสร้าง 2,539 องค์ -พระกำลังแผ่นดินเนื้อผง สร้างรวมทั้งสิ้น 1,000,000 องค์ มีทั้งพิมพ์ใหญ่-เล็ก ………………………………. ***ที่มาของพระกำลังแผ่นดิน (สมเด็จจิตรลดา) -พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบพระสมเด็จจิตรลดาด้วยพระองค์เอง โดยศาสตราจารย์ แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ถวาย -“พระสมเด็จจิตรลดา” หรือ “พระกำลังแผ่นดิน” นั้น เข้าใจว่าท่าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช จะเป็นผู้ขนานพระนามตามพระนามของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช คำว่า “ภูมิ” แปลว่า “แผ่นดิน” ส่วนคำว่า “พล” แปลว่า “กำลัง” จึงเป็นที่มาของพระนาม “พระสมเด็จจิตรลดา” ว่า “พระกำลังแผ่นดิน” -ในวงการพระเครื่องถือว่าพระกำลังแผ่นดิน มวลสารจิตรลดา เป็นพระสมเด็จจิตรลดา รุ่น ๒ ที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ มีพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง ***มวลสารของพระสมเด็จจิตรลดา มวลสารของพระสมเด็จจิตรลดา ประกอบด้วยเรซิน และผงพระพิมพ์ โดยทรงนำมาบดเป็นผง รวมกับเส้นเกศาพระเจ้า คลุกกับกาวเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วกดเป็นองค์พระด้วยพระหัตถ์ โดยทรงใช้เวลาตอนดึกหลังทรงงาน มีเจ้าพนักงาน 1 คน คอยถวายพระสุธารส และหยิบสิ่งของถวาย ผงพระพิมพ์ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ส่วนในพระองค์ ประกอบด้วย o ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและได้ทรงแขวนไว้ที่องค์พระตลอดเทศกาล o เส้นเกศาพระเจ้า ซึ่งเจ้าพนักงานได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ทุกครั้ง o ดอกไม้แห้ง จากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตรและด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล o สี ซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์ o ชันและสี ซึ่งทรงขูดจากเรือใบไมโครมด เป็นเรือใบพระที่นั่งขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่ง • ส่วนที่ 2 วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ] ถวาย ประกอบด้วย o วัตถุที่ได้มาจากปูชนียสถานหรือพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเคารพบูชาในแต่ละจังหวัด o ดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาพระแก้วมรกต ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธชินสีห์วัดบวรนิเวศวิหารพระพุทธชินราชวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก o ดอกไม้ ผงธูป เทียนบูชาจากพระอารามหลวงที่สำคัญ o ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากสังเวชนียสถานในประเทศอินเดีย และประเทศศรีลังกาซึ่งสมณทูตได้ถวายเก็บไว้ในเจดีย์ที่วัดเสด็จ จังหวัดปทุมธานี o ดิน ตะไคร่น้ำแห้งจากใบเสมา จากทุกจังหวัดในประเทศไทย เช่น จากพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม วัดพระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ o น้ำจากบ่อน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้เคยนำมาใช้เป็นน้ำสรงมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และน้ำอภิเษก |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments