หมวด พระเกจิภาคอีสานใต้
รูปหล่อโบราณ หลวงพ่อชุ่ม วชิรญาโณ สำริด
ชื่อร้านค้า | พบสุขพระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | รูปหล่อโบราณ หลวงพ่อชุ่ม วชิรญาโณ สำริด |
อายุพระเครื่อง | 16 ปี |
หมวดพระ | พระเกจิภาคอีสานใต้ |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | ngamkamol2009@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ส. - 12 เม.ย. 2557 - 17:35.27 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พ. - 19 ก.ค. 2560 - 20:12.57 |
รายละเอียด | |
---|---|
" ความธรรมดาที่มองเห็นอยู่...อาจเป็นสิ่งล้ำค่าที่เรามองข้ามไป " " อันของ ดี มีอยู่แต่รู้ยาก คนรู้มากไม่รู้ ดี มีอีกโข อันของ ดี ใช่อยู่ที่คำโว ต้องคนรู้ดูเป็นจึงเห็น ดี " *** รูปหล่อโบราณของพระดี ที่ดีนอก-ดีใน ที่คนระดับเจ้าขุนมูลนายมาเป็นประธานจัดสร้าง อีกทั้งท่านพล ต.อ.ประชา พรหมนอก นับถือท่านมาก และจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกถวายให้ท่านปลุกเสก ทั้งยังมีคนวงในซุ่มเก็บรูปหล่อรุ่นนี้กันเงียบ อมตะสังขารท่านยังคงถูกเก็บไว้ในโลงแก้วที่วัด อีกหนึ่งยอดเกจิอาจารย์แดนอิสานใต้ที่ผมเคารพนับถือ *** (ให้ทั่วประเทศรู้ว่าบ้านเรามีดี) ...หลวงพ่อชุ่ม วชิรญาโณ ท่านเป็นหลานแท้ๆ ของหลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง เกิดที่บ้านตาจง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ บวชเป็นสามเณรอยู่กับหลวงปู่สุข ที่วัดโพธิ์ทรายทอง ได้ร่ำเรียนศึกษาธรรมวินัยจนจำตำราศาสตร์ จึงออกธุดงค์ไปหลายที่ เมื่อไปจำพรรษาที่ใดก็ได้สร้างศาสนสถานไว้มากมายหลายแห่งด้วยเช่นกัน เช่นวัดโนนทอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และอีกหลายจังหวัด เช่น สระบุรี ปราจีนบุรี อุทัยธานี เชียงราย แพร่ นครปฐม หรือแม้กระทั้งภาคใต้อย่าง นราธิวาส และอีกหลายแห่งที่ไม่ได้กล่าวถึง จนธุดงค์กลับมาจำพรรษาที่บุรีรัมย์ตามเดิม ท่านก็ยังช่วยหาปัจจัยช่วยสร้างกุฏิสงฆ์ ที่วัดบ้านสิงห์ อ.นางรอง และวัดหัวสะพาน อ.ละหานทราย ...จนเมื่อท่านมาจำพรรษาที่บ้านหนองปรือ(กุดโพรง ไร่โคก) และได้ช่วยรักษาโรคภัยให้แก่ญาติโยม และชาวบ้าน ใช้ความรู้ด้านสมุนไพร โดยท่านจะปลูกเองหรือหามา แล้วนำมาปรุงยาตามตำราที่ได้ร่ำเรียนศึกษามา ...ต่อมามีลูกศิษย์ ขออนุญาติจัดสร้างรูปหล่อลอยองค์ท่านขึ้น คือพระสมพงษ์ กฺมฺมสฺโภ เจ้าอาวาสวัดบ้านถนน ต.หัวถนน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โดยมีประธานในการจัดสร้างคือ ม.ร.ว.พิณทอง อังศุสิงห์(ทองใหญ่) คุณชาตรี เฮงเจริญ คุณณรงค์ โต๊ะเงิน และคณะศิษย์ชาวนางรอง คุณธงชัย แซ่เฮ้า คุณเจมส์ นางรอง และคุณ โจ้ นางรอง เพื่อร่วมทำบุญหาปัจจัยสร้างที่พักสงฆ์บ้านหนองปรือ(กุดโพรง ไร่โคก) ...รูปหล่อโบราณรุ่นแรก และรุ่นเดียวของท่าน ฉลองอายุครบ8รอบ รุ่น"รวยไม่เลิก" โดยตอกโค๊ดที่สังฆาติด้านหน้าว่า"ชุ่ม"ทุกองค์ ใต้ฐานเจาะก้นอุดเทียนชัย เกษา สีผึ้ง ชานหมาก ว่าน108 กาฝาก และยังนำมวลสารอุดก้นผ่านพิธีใหญ่มา 9พิธีแล้ว ทำพิธีเททองหล่อวันที่ 1 ม.ค.2547 และทำพิธีพุทธาภิเศกวันที่ 25 มี.ค. 2547 แล้วได้นำเข้าปลุกเสกต่อตลอดทั้งพรรษา รวมประมาณ 1500 องค์ จำนวนการสร้างเนื้อที่ออกให้บูชาทั่วไป... -เนื้อเงิน 216 องค์ -เนื้อสำริด 330 องค์ -เนื้อตะกั่ว 400 องค์ -เนื้อขันลงหิน 480 องค์ "องค์พิเศษสำริดผิวตะกั่ว" ชุดนำฤกษ์(กรรมการ) ผิวเป็นเกร็ดทั้งองค์ เนื้อในเป็นสำริดทองอ่อนสวยงาม (ส่วนผสมโลหะที่ต่างชนิดกัน มีจุดหลอมเหลวต่างกันแต่มาหลอมละลายปนกัน การเย็นตัวแข็งตัวไม่พร้อมกันทำให้เกิดผลึกโครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า โครงสร้างแบบขนนก เกิดทั้งในเนื้อและพื้นผิว ดูพื้นผิวจะเป็นทรายๆเม็ดๆเรียงกันเป็นรูปคล้ายขนนกหรือใบไม้ ในเหรียญหล่อสำริดรุ่นเก่าๆก็น่าจะเป็นแบบที่เขาเรียกกันว่า เสี้ยน // เรื่องผิวพรายเงินในพระหล่อเนื้อสำริด ก็น่าจะเป็นดีบุก) อุดก้นด้วยมวลสารจัดเต็ม คลาสสิคทรงเสน่ห์ มีจำนวนน้อยมาก พบเห็นเพียง 2 องค์...รูปหล่อโบราณของพระดี ที่ดีนอก-ดีใน ที่คนระดับเจ้าขุนมูลนายมาเป็นประธานจัดสร้าง อีกหนึ่งยอดเกจิอาจารย์แดนอิสานใต้ที่ผมเคารพนับถือ ( JUST4SHOW ) ______________________________________________________________________________________________________________________________ "สำริด"...หรือ"สัมฤทธิ์" มีความหมายทางพจนานุกรมเหมือนกัน แต่ในทางโบราณคดีจะใช้แต่คำว่า สำริด ซึ่งจะใช้เรียกอย่างกว้างๆสำหรับโลหะที่มีสีแดงหรือสีเหลืองที่สามารถจะเกิดสนิมสีเขียวบนผิวได้ โดยสำริดจะเป็นโลหะผสมประกอบด้วยทองแดงกับดีบุกและมีตะกั่ว+สังกะสี + โลหะอื่นๆผสมอยู่บ้างเล็กน้อย ดังนั้นทองแดง ทองเหลือง สำริดเงิน อัลลอยที่ผสมทองแดง รวมทั้งเนื้อนวโลหะ ก็จะเรียก สำริด ทั้งสิ้น ( ความจริงสนิมสีเขียวเป็นเอกลักษณ์ของโลหะทองแดง เป็นสนิมขั้นท้ายๆก่อนที่จะกลายไปเป็นแร่ ซึ่งโลหะทั้งหมดที่นักวิทยาศาสตร์รู้จักจะไม่มีโลหะใดที่จะทำให้เกิดสนิมสีเขียวเช่นนี้ได้ ) แต่นักโลหะวิทยา จะใช้คำว่า สำริด สำหรับทองแดง ( 75 - 95 % ) + ดีบุก ( 25 - 3 %) + สังกะสี (น้อย ) และจะเรียก ทองเหลือง สำหรับโลหะผสมทองแดง ( 70 - 95 % ) + สังกะสี ( 30 - 5 % ) + ดีบุก ( น้อย ) /// ตัวอย่างส่วนผสม เช่น ทองแดง 85 % + ดีบุก 10 % + ตะกั่ว 5 % จะเป็นสำริดที่มีสีสวยคือสีออกเหลืองส้มอ่อนๆ ถ้าทองแดงมากขึ้นเนื้อจะแดงขึ้น ถ้าเพิ่มดีบุกจะออกสีเงิน ( คือสำริดเงิน ไม่ได้มีโลหะเงินผสมอยู่จริงๆ ) ถ้าตะกั่วมากจะทำให้สำริดมีน้ำหนักมากขึ้น ( ถ.พ.สูงขึ้น ) ... ถ้าผสมสังกะสีมากก็จะเป็นทองเหลือง สีจะเหลืองอ่อนมากขึ้น ( โลหะหรือแร่ทองเหลืองไม่มีในธรรมชาติ เป็นโลหะผสมเท่านั้น ).... /// ทองแดง + ดีบุก จะเป็นสำริดแท้ๆ ส่วนผสมโลหะที่ต่างชนิดกัน มีจุดหลอมเหลวต่างกันแต่มาหลอมละลายปนกัน การเย็นตัวแข็งตัวไม่พร้อมกันทำให้เกิดผลึกโครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า โครงสร้างแบบขนนก เกิดทั้งในเนื้อและพื้นผิว ดูพื้นผิวจะเป็นทรายๆเม็ดๆเรียงกันเป็นรูปคล้ายขนนกหรือใบไม้ ในเหรียญหล่อสำริดรุ่นเก่าๆก็น่าจะเป็นแบบที่เขาเรียกกันว่า เสี้ยน // เรื่องผิวพรายเงินในพระหล่อเนื้อสำริด ก็น่าจะเป็นดีบุก ผิวพรายทองก็น่าจะเป็นทองคำเพราะไม่มีโลหะอื่นใดที่สีเหลืองสดใสตลอดกาลเหมือนทองคำอีกแล้ว ส่วนการเกิดผิวพรายเงินพรายทองก็น่าจะเป็นเพราะกรรมวิธีการเทหล่อแบบโบราณของช่างสมัยก่อนซึ่งเขามีเทคนิคการทำให้ชิ้นงานเย็นตัวเร็วหรือช้ากว่าปกติ ช่างสมัยปัจจุบันก็สามารถทำได้แต่จะโดยบังเอิญหรือตั้งใจก้ไม่ทราบได้ ... |