ล็อกเก็ต(รุ่นแรก) หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้-พบสุขพระเครื่อง - webpra
( ใ ห้ ทั่ ว ป ร ะ เ ท ศ รู้ ว่ า บ้ า น เ ร า มี ดี ) 0 8 9 0 9 9 9 9 7 9 น น ท์ ม ห า โ ช ค
ล็อกเก็ต(รุ่นแรก) หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ - 1ล็อกเก็ต(รุ่นแรก) หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ - 2ล็อกเก็ต(รุ่นแรก) หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ - 4ล็อกเก็ต(รุ่นแรก) หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ - 5
ชื่อร้านค้า พบสุขพระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง ล็อกเก็ต(รุ่นแรก) หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้
อายุพระเครื่อง 46 ปี
หมวดพระ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ - หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้ - หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ ngamkamol2009@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 19 ม.ค. 2555 - 16:45.12
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 02 ธ.ค. 2558 - 15:14.59
รายละเอียด
...ล็อกเก็ตรุ่นแรก(ทวิภาคี) หลวงพ่อฮวด กับหลวงพ่อคล้ายซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน สวยสมบูรณ์ สุดคลาสสิค สร้างน้อย หายาก พร้อมแผ่นจารด้านหลัง

*** อีกหนึ่งยอดเกจิอาจารย์นครสวรรค์ยุคกลางที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ประสบการณ์ดีคนพื้นที่หวงมากๆ ยอดพุทธคุณ ใช้แล้วงานเดิน เงินดี ก้าวหน้าร่ำรวย ทำมาค้าขึ้นสุดยอดแห่งโชคลาภ แคล้วคลาดเมตตา เหมาะกับยุคเศรษฐกิจแบบนี้อย่างยิ่ง ราคาขยับขึ้นตลอด หนังสือพระยังไม่ออก กระแสยังดี ราคายังพอเก็บได้ พระของท่านดีทุกรุ่น ไม่มีปัญหาเรื่องประวัตการสร้าง หลวงพ่อมรณะภาพไปแล้วร่างกายเป็นสีทอง ของดีที่ยังไม่มีใครรู้ ดีทุกรุ่นน่าสะสมครับ ***

" มะอะอุ นะมะนะอะ นอกอนะกะ กอออนออะ นะอะกะอัง อุมิอะมิ มะหิสุตัง สุนะพุทธัง อะสุนะอะ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ "

หลวงปู่ฮวด วัดหัวถนนใต้ อ.ท่าตะโก นครสวรรค์ !!! หลวงปู่ฮวด ท่านเกิดเมื่อ วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2477 ปีมะโรง เดิมมีชื่อว่า ฮวด โยมบิดาชื่อ สา โยมมารดาชื่อ มี ท่านมีพี่น้อง 4 คน เป็นชายสามคน หญิงหนึ่งคน หลวงพ่อเป็นคนโต นามสกุลเดิมว่า " คงทอง" ท่านเกิดที่หมู่ 4 ต.ดอนหวาย อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี โยมบิดา มารดา มีอาชีพกสิกรรม..... ในปี 2466 ได้อุปสมบท ณ. พัทธสีมา วัดพนมรอก อ.ท่าตะโก จ. นครสวรรค์ ได้รับฉายาว่า " กณฑโว " โดยมีเจ้าคุณนิพัทธรรมจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์

...หลวงพ่อฮวด ได้เริ่มศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมครั้งแรก จากหลวงพ่อคล้าย ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อ (หลวงพ่อคล้ายเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อเดิมไ ด้สร้างเหรียญทวิภาคีร่วมกัน เมื่อคราวหลวงพ่อเดิม-หลวงพ่อคล้าย ช่วยสร้างอุโบสถ วัดพนมรอก เมื่อปี พ.ศ. 2483 ) หลวงพ่อฮวดได้ศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติมกับหลวงพ่อเดิม ซึ่งหลวงพ่อมีความใกล้ชิดกับหลวงพ่อเดิม เนื่องจากหลวงพ่อเดิมได้มาช่วยพัฒนาวัดในเขตท่าตะโก หลายวัด เช่น การพัฒนา วัดทำนบ,วัดหนองไผ่,วัดเขาล้อ,วัดดอนคา,วัดโคกมะขวิด,วัดพนมรอก,วัดหนองหลวง,วัดหัวถนนเหนือ (เหตุที่หลวงพ่อเดิมได้มาช่วยพัฒนาวัดในเขตอำเภอท่าตะโกมาก เนื่องจาก บ้านหนองโพ-หัวหวายเป็นเขตติดต่อกับบ้านหนองหลวง-หัวถนน) หลายๆครั้ง หลวงพ่อเดิมได้รับกิจนิมนต์ไปยังที่ใด มักจะชวนหลวงพ่อฮวดร่วมเดินทางไปด้วยเสมอ หลวงพ่อฮวดนับว่าเป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ผู้สืบทอดสายพุทธาคมมาจากหลวงพ่อเดิม เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว หรือเมืองมังกร ในปัจจุบัน หลังจากนั้นหลวงพ่อฮวดได้เล่าเรียนวิทยาคมกับอีกหลายพระอาจารย์ตามความชำนาญของแต่ละท่าน เช่นเรียนวิชาทำตะกรุด เรียนทำน้ำมนต์ กับ หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรืออยุธยา , การเรียนทำผงเมตตามหานิยมโชคลาภจากหลวงพ่อศักดิ์ วัดวังกระโดนใหญ่อำเภอไพศาลี นครสวรรค์

...ศีลาจาวัตรของหลวงปู่ฮวด ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง เปี่ยมด้วยเมตตา มีความสมถะมักน้อยและถ่อมตน มีความขยันหมั่นเพียรในวัตรปฏิบัติและภารกิจทางพระศาสนาเป็นยิ่งนัก หลวงพ่อมักจะสั่งสอนคนให้อยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน และให้พอใจในสิ่งที่ตนเองมีและดำรงอยู่ละเว้นบาปและความชั่วทุกชนิด หลวงปู่ฮวด ก็เฉกเช่นเดียวกับปุถุชนทั่วไปที่ต้องผจญกับวัฏสงสาร คือเกิด แก่ เจ็บ ตาย เมื่อตรากตรำทำงานหนัก ก็ย่อมเจ็บป่วยเป็นธรรมดาจนต้องเข้าโรงพยาบาลถึง 2 ครั้ง ใหญ่ๆ ซึ่งทุกครั้งที่ไปก็อาการหนัก จนถึง วันพุธที่ 26 สิงหาคม 2535 เวลา 08.47 น. หลวงปู่ฮวดจึงได้จากเราไปด้วยอาการอันสงบ สิริอายุ 89 ปี พรรษา ที่ 68 ทิ้งไว้แต่คุณงามความดี ให้ศิษยานุศิษย์ ได้ยึดถือ เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตต่อไป... หลังจากนั้นคณะศิษยานุศิษย์ได้จัดพิธีสรงน้ำศพขึ้นที่วัดและได้บรรจุศพลงไว้ ในโลงแก้วเพื่อให้สาธุชนได้กราบไหว้บูชา และจัดสวดอภิธรรมถวายท่านใน 100 วันแรก ยิ่งกว่านั้นสภาพสังขารของท่านดุจดั่งคนนอนหลับธรรมดาไม่มีการเน่าเปื่อย ทั้งๆที่ไม่ได้มีการฉีดยาแต่อย่างใด คณะศิษยานุศิษย์จึงมีมติให้จัดสร้างพระวิหาร ถวายท่านเพื่อเป็นที่ตั้งศพและสถิตย์ดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ พร้อมเครื่องอัฐบริขาร ของท่านไว้ให้ศิษยานุศิษย์และสาธุชนทั่วไปสักการะกราบไหว้บูชาสืบไป....

มีหลายหนังสือหลายเล่ม กล่าวคำพูดหลวงพ่อเดิมว่า "เมื่อสิ้นฉันแล้ว วิชาและของดีของฉัน อยู่ที่วัดหัวถนนใต้"

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top