หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
พระคง(กรุเก่า)ลำพูน กรุวัดพระคงฤาษี



ชื่อร้านค้า | พบสุขพระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระคง(กรุเก่า)ลำพูน กรุวัดพระคงฤาษี |
อายุพระเครื่อง | 1207 ปี |
หมวดพระ | พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | ngamkamol2009@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ศ. - 14 ต.ค. 2554 - 20:38.11 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พฤ. - 23 ก.พ. 2555 - 18:50.12 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระคงลำพูน พระกรุ"ยอดขุนพลแห่งเมืองหริภูญชัย" สุดยอดในด้านคงกระพันชาตรี มีเสน่ห์และเมตตาสูงยิ่ง ศิลปะที่งดงามควรค่าแก่การอนุรักษ์เป็นสมบัติของชาติไทย( พุทธศิลป์วิเศษ ) “เชื่อว่าวัตถุมงคลในศาสนาพุทธ หรือเรียกอีกอย่างว่า พระเครื่องราง หรือ พระเครื่อง คือรูปสมมุติของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาที่ตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งมีขนาดเล็กสามารถนำไปบรรจุในพระพุทธเจดีย์ และพระปรางค์ เพื่อเป็นที่ระลึกนึกถึงองค์พระพุทธเจ้า และเพื่อสืบทอดพระศาสนา การสร้างพระเครื่องในรูปแบบกริยาบทต่างๆ หรือรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าเพื่อแสดงให้เห็นความเจริญในพระพุทธศาสนา ในปัจจุบันมีการค้นพบกันมากหลายแห่งเนื่องจากความเสื่อมโทรมขององค์พระเจดีย์ และพระปรางค์ ทำให้เกิดพังพระทลายลง จึงค้นพบวัตถุมงคลที่เรียก กรุแตก” เมืองลำพูน แต่เดิมตามพงศาวดารโยนก เรียกว่า “เมืองหริภูญชัย” พวกชนเผ่าสกุลในสุวรรณภูมิภาคเหนือ เป็นสาขาของเผ่ามอญ เขมรจาอาณาจักรพนม ถิ่นฐานของ “พวกเมงคบุตร” หมายถึงกลุ่มลูกน้ำระมิงค์ หรือ พิงค์ (แม่น้ำปิง) ในราวปี พ.ศ.1200 ได้มีฤาษีสองตนนาม สุเทวฤษี และ สุกกทกตฤาษี ได้รวบนวมผู้สร้างนครหริภูญชัย เมื่อสร้างเสร็จไม่เห็นมีผู้ใดมีความเหมาะสมเป็นผู้ครองนคร จึงได้แต่งให้ควิยบุรุษ เป็นทูตไปทูลเชิญ “พระนางจามเทวี” พระราชธิดาเมืองละโว้ (ละวะปุระ หรือ ลพบุรี) อันเป็นกุลสตรีที่ประเสริฐด้วย ศีล และมีพระปรีชาสามารถ พระนางจามเทวี ทรงสมัครพระทัยเดินทางมาเมืองหริภูญชัย โดยเสด็จทางเรือร่องขึ้นไปตามลำน้ำปิง เมื่อเสด็จถีงพระนางทรงได้ทำพิธีราชาภิเษกเป็นเวลา 7 วัน ก็ได้ทรงประสูติพระโอรสแฝด ทรงพระราชทานนามองค์พระเชษฐาว่า มหันตยศกุมาร และองค์พระอนุชาทรงพระนามว่า อนันตยศกุมาร ต่อมาด้วยพระบารมีของพระนางทรงได้เสวตไอยราศีกายเผือกดั่งเงินยวงมีสีเขียว เรียกภาษาพื้นเมืองว่า “ภู่ก่ำงาเขียว” จากเชิงเขาอ่างสลง ในสมัยของพระนางได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองในด้านการปกครอง และศาสนา พระนางทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งจึงได้สร้างพระอารามสำคัญขึ้นประจำจตุรทิศของพระนครเพื่อเป็นพุทธปราการ ปกป้องคุ้มครองพระนครให้พัฒนาสถาพรปราศจากภัยพิบัติต่าง ๆ มีวัดดังนี้ 1. วัดอาพัทธาราม (วัดพระคงฤาษี) เป็นพุทธปราการประจำฝ่ายทิศเหนือ 2. วัดอรัญญิกรกรันนราม (วัดดอนแก้ว) เป็นพุทธปราการประจำฝ่ายทิศตะวันออก 3. วัดมหาวราราม (วัดมหาวัน) เป็นพุทธปราการประจำฝ่ายทิศตะวันตก 4. วัดมหาสัตตามราม (วัดประตูลี้) เป็นพุทธปราการประจำฝ่ายทิศเหนือ พระอารามทั้ง 4 ยังปรากฏอยู่ในตำนาน ชาวบ้านเรียกว่า “วัดสี่มุมเมือง” มีอีกนามหนึ่งว่า “จตุพุทธปราการ” พระนางจามเทวี อายุได้ 98 พรรษา พระนางได้สิ้นพระชนย์ หลังจากถวายพระเพลิงอดีตกษัตริย์แห่งนครหริภูญชัย ก็ได้นำพระอัฐิบรรจุไว้ ณ อารามจามเทวี โดยนครหริภูยชัย เขลางนคร และรมิงค์ได้ร่วมกันไว้ทุกข์ต่ออีก 1 ปี พระเครื่องที่พระนางจามเทวีสร้างเอาไว้มี พระรอด พระคง พระยัง (พระลพ) หรือพระเปิม พระเครื่องเหล่านี้ ได้บรรจุอยู่ในฐานพระเจดีย์ แต่สำหรับ พระคง (ลำพูน) พระบาง (พระพัง) พระเปิม พระรุก พระรพ พระต่างๆ เหล่านี้มีด้วยกันหลายกรุ ที่ฐานพระประธานของพระใหญ่ ในวัดพระธาตุหริภูญชัย ที่วัดมหาวัน และยังมีอีกหลายๆ วัด พระกรุลำพูนเป็นศิลปะทวาราวดีผสมกับลพบุรี อาจารย์บางท่านว่าเป็นศิลปะหริภูญชัย ...พระคงหรือบางท่านก็เรียกว่า"พระลำพูน"อาจจะเป็นเพราะว่าเป็นพระที่มีการขุดพบกรุพระจำนวนมหาศาล จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของเมืองลำพูน สันนิษฐานว่าพระคงหรือพระลำพูนมีอายุการสร้างเท่าพระรอด กล่าวคือสร้างขึ้นมาพร้อมกับพระรอดนั่นเอง แต่พระคงจะมีลักษณะทางศิลปกรรมที่สะท้อนรูปแบบศิลปะปาละของอินเดียได้อย่างชัดเจนมากกว่าพระรอด และองค์ประกอบโดยรวมจะมีความงดงามมากกว่าพระรอด แต่ด้วยความที่พระคงมีจำนวนมากกว่า และหาได้ง่ายกว่าพระรอด ความนิยมในพระคงจึงเป็นรองพระรอดทั้งๆที่พุทธคุณแทบจะไม่แตกต่างกันเลย -พุทธลักษณะของพระคงลำพูน (ลำพูน) เป็นพระนั่งปางมารวิชัยอันเป็นภาพตอนหนึ่งของพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าณ โพธิฤกษมูล ริมแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เมืองราชคฤน์ แคว้นมลธ ในวันวิสาขะบูรณมี นั่งขัดสมาธิเพชรอยู่บนฐานรัตนบัลลังค์ กับประกอบด้วยบัวลูกแก้ว มีจำนวนที่นับได้ 18 จุด(บน 9 จุด ล่าง 9 จุด) มีประภามลฑลครอบพระเศียรและมีเส้นพระฉัพพรรณรังสีข้างพระองค์ทั้ง2 ข้างเป็นเส้นขนานระยะช่องไฟเท่ากันจรดที่ไหล่ และจรดที่ฐานรัตนบัลลังค์ มีใบโพธิ์ทั้งสิ้น20 ใบ มีทั้งชูก้านและลู่ลมพริ้วสลวย ออกแบบโดยช่างชาวเหนือสมัยโบราณมีขนาดความกว้างขององค์พระประมาณ 1.8 ซ.ม. ด้านหลังนูนมากกว่าพระค่อนข้างมาก เนื้อพระ เป็นเนื้อดินเผาละเอียด บางองค์มีแร่ดอกมะขาม(ในองค์ที่ใช้สึกกร่อน) มีสีอยู่หลายสีอาทิเช่น สีพิกุลแห้ง สีหม้อใหม่ สีขาว สีบาง สีเขียว สีแดง และสีดำ พระคงแต่ละองค์มีสีอ่อนแก่ไม่เหมือนกัน เพราะเป็นพระดินเผา (เผาไม่พร้อมกัน) บางทีอาจจะเป็นเพราะการฝังกรุที่มีความสมบูรณ์แบบกับการบรรจุหรือฝังในกรุที่ไม่สมบรูณ์แบบก็อาจจะเป็นได้ ในเรื่องของสีผิวและคราบกรุที่ผิดเพี้ยนต่างกัน จากตำนานเล่าขานและจากผู้เชี่ยวชาญทางโบราณวัตถุ คือ ดร.ยอร์ช เซเดย์ ชาวฝรั่งเศส ที่นักโบราณวิทยายอมรับ และเคยพูดถึง"พระคง" มานานแล้ว ล่าสุดก็มีการทดลองวัดค่าคาร์บอนวัตถุโบราณ จากเครื่องตรวจวัด รังสีที่ทันสมัย ซึ่งใช้ในการตรวจวัดวัตถุโบราณที่มีอายุนับพันปีขึ้นไป ปรากฏว่า"พระคง" มีอายุการสร้างเก่าจริง นับว่าเป็น วัตถุโบราณที่มีคุณค่าสูงยิ่ง สมควรแก่การอนุรักษ์ไว้ เรื่องพุทธคุณ ของพระคงลำพูน หรือพระลำพูน กล่าวกันเป็นเสียงเดียวกันว่าป้องกันอุบัติภัยได้ร้อยสี่พันอย่างหนำซ้ำยังเป็นพระที่มีเสน่ห์ทางเมตตามหานิยมสูงยิ่ง เมื่อประมาณ 1 ปีที่ผ่านพ้นมา พระลำำพูนราคาแพงที่สุด สูงลิบลิ่ว ราคาหลักแสนทีเดียว ซึ่งนับเป็นพระเครื่องที่มีอายุค่อนข้างมากนั่นเอง ประชาชนและนักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งหลายได้ตระหนักเป็นอย่างดีแล้วว่าพระลำพูนที่มีความเก่าแก่มีอายุการสร้างอันยาวนาน มีศิลป์ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และหวงแหนเป็นสมบัติชิ้นหนึ่ง ...สุดยอดทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณ ทรงคุณค่า น่าใช้ น่าสะสม...ฟอร์มตรงตามธรรมชาติ องค์พระ...ใหญ่...ล่ำ...บึ้ก ผิวพรรณวรรณะเดิมตามธรรมชาติของพระกรุเก่า สีพิกุล ปัจจุบันจัดเป็นพระกรุลำพูน เนื้อดินยอดนิยมของเมืองเหนือและเมืองไทยครับ...พิมพ์ทรงชัดเจน ตำหนิครบ แท้ดูง่ายตาเปล่า ไร้การอุด หัก ซ่อม และแต่งพิมพ์ เลี่ยมทองพร้อมใช้บูชา |