หมวด พระเกจิภาคอีสานใต้
เหรียญหล่อ พระพุทธพนมรุ้ง เนื้อนวะโลหะ
ชื่อร้านค้า | พบสุขพระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญหล่อ พระพุทธพนมรุ้ง เนื้อนวะโลหะ |
อายุพระเครื่อง | 32 ปี |
หมวดพระ | พระเกจิภาคอีสานใต้ |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | ngamkamol2009@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 20 มิ.ย. 2554 - 11:03.40 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ศ. - 06 มี.ค. 2558 - 15:09.34 |
รายละเอียด | |
---|---|
...ถือเป็นสุดยอดพิธิมหาพุทธาภิเษก ครั้งประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ บนปราสาทหินเขาพนมรุ้ง วันที่ 19 เมษายน 2532...เชิญพระเกจิอาจารย์ดัง และพระคณาจารย์สายอีสานใต้ร่วมพิธีมากมายนับไม่ถ้วน...นับเป็นพระเครื่องประจำจังหวัดได้อีกองค์เลยครับ หายากและทรงคุณค่า สุดยอดพุทธศิลป์ โดยกรมศิลปากร...เพื่อเป็นที่ระลึกในการฉลองอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และได้ทับหลังนารายณ์กลับคืนมา ...ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์เป็นทับหลังที่ปราสาทหินพนมรุ้ง นับเป็นโบราณวัตถุที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ที่ถูกโจรกรรมไป เมื่อราวปี พ.ศ. 2503 และถูกนำไปจัดแสดงอยู่ที่สถาบันศิลปะชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ในที่สุดชาวไทย นำโดยรัฐบาล และ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ก็ได้ทับหลังชิ้นนี้คืนมา ทันวันพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งพอดี ในปี พ.ศ. 2531 -พุทธศิลป์-(ด้านหน้า) ...พระตรัยรัตนมหายาน หรือที่นักเลงพระเรียกชื่อกันว่า พระนารายณ์ทรงปืน มีมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งเชื่อกันว่าเมื่อบูชาพกพาอาราธนาติดตัวแล้วหยุดอาวุธต่างๆ เช่น หยุดลูกปืน เป็นต้น พุทธลักษณะ พระปางนาคปรกประทับนั่งสมาธิ เบี่ยงซ้ายพระ พุทธองค์มีปัญญาบารมี ยื่นพระกรขวาถือพระคัมภีร์ ซ้ายถือดอกบัว เบี่ยงขวามีอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ยืนสี่กร 2 มือบนถือลูกประคำและพระคัมภีร์ 2 พระกรล่างถือดอกบัวและคนโทน้ำอมฤต รูปแบบทั้งสามอยู่ในฐานทรงกลีบบัว มีลายกระหนกปั้นแบบลายนูนต่ำเป็นศิลปะของขอม (พุทธศตวรรษที่ 15-18) พระสมัยขอมนี้สร้างอย่างลัทธิมหายาน พระประธานองค์กลางหมายถึงพระอาทิพุทธหรือพระพุทธองค์นั่นเอง ปางนาคปรกหมายเอาตอนที่พุทธองค์เสด็จไปประทับเสวยวิมุตติ สุข ณ ร่มไม้จิก มุจลินท์ พญานาคราช จึงมาล้อมพระกายด้วยขนดวน 7 รอบ สำแดงฤทธิ์แผ่พังพานใหญ่ เพื่อปรกพระเศียรพุทธองค์ ด้วยหมายจะป้องกันหมอกน้ำค้างและแสง แดด เพื่อไม่ให้แสงแดด ลม ฝน ถูกพระวร กายของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาค ขณะนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงขัดสมาธิบนบังลังก์ รูปปัญญาบารมียืนเบี่ยงซ้าย หมายถึงว่าพระพุทธองค์ทรงปัญญายอดเยี่ยมเหนือใดๆ ในจักรวาล พระกรขวาถือพระคัมภีร์ ได้แก่พระสัทธรรมเพื่อสั่งสอนกับมวลมนุษย์ทุกรูปทุกนามให้อยู่ในศีลธรรม ละชั่ว ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระกรซ้ายถือดอกบัว คือพระ พุทธภูมิอันประกอบด้วย พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คู่กับพระสัทธรรม ตามหลักของมหายาน รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรยืนเบี่ยงขวาสี่กรนั้น แสดงถึงการโปรดสัตว์ เพราะอว โลกิเตศวรมีปณิธานว่า ถ้าแม้นโลกยังมีสัตว์ที่กำลังประสบความทุกข์ ยากลำบากอยู่ที่ใด พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ก็จักไม่ขอปรารถนาบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ พระอวโลกิเตศวร พระพิมพ์แบบต่างๆ ของ สมัยขอม จึงปรากฏพระโพธิสัตว์มีสี่กร ความหมายเพื่อเป็นมงคล "สี่กร" คือ 1.พระกรถือลูกประคำ หมายถึงต้องละกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้น และสั่งสอนกับสรรพสัตว์ทั่วจักรวาล 2.พระกรที่ถือพระคัมภีร์ คือต้องศึกษาธรรมทั้งหลายให้เจนจบ ในสากลพิภพ 3.พระกรที่ถือหม้อน้ำอมฤต หมายถึงจักต้องโปรดสัตว์ทั้งหลายให้สิ้นความยากความจน ความทุกข์ ความไม่สบายอกสบายใจ ให้มลายหายสิ้น 4.พระกรที่ถือดอกบัว หมายถึงได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ...พระนารายณ์ทรงปืน เป็นพระพิมพ์ที่มีรูปลักษณ์เป็น "พระแผง" องค์ค่อนข้างเขื่อง ปรากฏทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน และมีขึ้นมากมายหลายกรุ ลักษณะองค์พระจะมี "พระปางนาคปรก" เป็นประธาน ประกอบด้วย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรและพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นองค์พระโพธิสัตว์ในคติพุทธศาสนาแบบมหายาน ซึ่งเผยแพร่เข้ามาพร้อมกับศิลปะเขมรแบบบายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอังกอร์ธม ซึ่งทรงนับถือพุทธศาสนาแบบมหายาน และด้วยเหตุที่ประ กอบด้วยรูปเคารพถึงสามองค์ในพิมพ์เดียว บางครั้งจึงมีผู้เรียกว่า "พระตรีกาย" พร้อมกับข้อถกเถียงกันอย่างมากมายทั้งในแวดวงนักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์โบราณ คดี และในวงการพระเครื่องพระบูชาถึงชื่อ "นารายณ์ทรงปืน" ที่ได้รับการเรียกขานว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ...ความเป็นจริงแล้วอาจได้ข้อสรุปเกี่ยวกับประเภทนี้ว่า เป็นงานศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากขอมบายนอย่างแน่นอน ด้วยลักษณะของพระพุทธรูปปางนาคปรกที่ประทับอยู่กึ่งกลางนั้นเป็นเช่นเดียวกับ "พระชัยพุทธมหานาถ" พระพุทธรูปปางนาคปรก ที่องค์ชัยวรมันที่ 7 ทรงโปรดให้สร้างขึ้นรวม 23 องค์ และพระราชทานให้นำไปประดิษ ฐานไว้ทั่วปริมณฑลแห่งอำนาจของพระองค์ ซึ่งรวมทั้งเมืองละโว้ ที่รับอิทธิพลของเขมรบายนไว้ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นเรียกศิลปะเขมรในยุคดังกล่าวในชื่อ "ศิลปะลพบุรี" ...ส่วนรูปเคารพที่อยู่เบื้องขวาขององค์ประธานนั้น มีลักษณะ 4 กร ได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งหมายถึงผู้มองลงมาจากเบื้องบนด้วยความกรุณา หรือผู้เป็นใหญ่แห่งโลก ที่จุติจากพระธยานิพุทธเจ้าหรือพระอมิตพุทธ(ผู้มีแสงสว่างมิรู้จบ) ด้วยเหตุนี้ พระอวโลกิเตศวรจึงปรากฏรูปพระธยานิพุทธเจ้าประทับนั่งสมาธิอยู่เหนือศิราภรณ์(อาภรณ์ประดับเศียร) พระกรทั้ง 4 ทรงถือ พวงประคำ คัมภีร์ ดอกบัว และหม้อน้ำมนต์ แต่ถ้าเป็นปาง 2 กร จะทรงประทานพร และทรงถือดอกบัวสีชมพู เป็นเหตุให้ได้พระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "ปัทมปาณี" รูปเคารพที่เหลืออยู่อีกองค์หนึ่งได้แก่ พระนางปรัชญาปารมิตา เทพีแห่งสติปัญญาและความเฉลียวฉลาด ในเทวาลัยที่มีอิทธิพลพุทธมหายานมักสร้างรูปเคารพของพระนางไว้ในครรภคฤห์ ทรงปรากฏในรูปมหาคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร ได้ชื่อว่าเป็นพุทธมารดาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีวรกายสีขาว เศียรเดียว สองพระกร อาจพบในท่าแสดงธรรมเทศนา หรือถือบัวขาบสายเดียวทั้งสองพระหัตถ์ บางครั้งพบในปาง 4 กรด้วย ถือกันว่า พระนางทรงเป็น "ศักติ" หรือ "ชายา" ของพระวัชรสัตว์ พระโพธิสัตว์ประจำองค์พระอาทิพุทธเจ้า ...คำว่า "นารายณ์ทรงปืน" นั้น สาเหตุสำคัญน่าจะมาจากการมองรูปองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรมีลักษณะ 4 กร เหมือนกับพระวิษณุ หรือพระนารายณ์ และพระองค์ยังทรงถือสายบัวปัทมะที่ยาวเหยียดคล้ายกับคันศรของพระนารายณ์ ครูบาอาจารย์เก่าๆ เคยเล่าว่า คนโบราณจะเรียกอาวุธที่พุ่งออกไปว่า "ปืน" เช่น เวลากล่าวถึงเทวดาหรือนางฟ้าองค์ใดทรงถือคันศรก็จะเรียกว่าทรงปืน ด้วยศรศาตราวุธมีอานุภาพร้ายแรงเหมือนระเบิดและปืน การเรียกว่า "ทรงปืน" น่าจะสื่อถึงการ "ทรงศร" ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นสายบัวชมพูหรือปัทมะขององค์อวโลกิเตศวรนั่นเอง -พุทธศิลป์-(ด้านหลัง) ...ภาพจำหลักนารายณ์บรรทมสินธุ์บนทับหลัง เป็นภาพที่พระวิษณุ หรือพระนารายณ์บรรทมอยู่เหนือพญานาคท่ามกลางเก๊ยรสมุทร ปางดังกล่าวเรียกว่า “วิษณุอนันตศายิน-ปัทมนาภะ”-Visnu Anantasain Padmanabha เราจะเห็นนาคแผ่พังพานเหนือเศียรพระวิษณุ นาคนั้นขดตัวอยู่บันมังกรหรือมกราอีกทีหนึ่ง มีดอกบัวดอกหนึ่งผุดขึ้นมาจากท้องของพระวิษณุ โดยมีพระพรหมประทับอยู่บนดอกบัวนั้นซึ่งสังเกตได้จากสี่พักตร์ ที่ปลายพระบาทของพระวิษณุมีพระลักษมีชายาของพระองค์ประทับนั่ง ความหมายของวิษณุอนันตศายิน-ปัทมะนาภะ จึงสื่อควมหมายชัดเจนว่าพระวิษณุในปางอนันตศายนะ คือนอนบนอนันตนาคราช แสดงถึงความไม่มีสิ้นสุดของพลังอำนาจ (อนันต์คือไม่มีสิ้นสุด) ชลไศยินหมายถึงการนอนบนน้ำซึ่งในที่นี้เป็นการนอนบนทะเลน้ำนม (เกษียรสมุทร) ปัทมนาภะ แสดงถึงการสร้างโลกที่มีดอกบัว (ปัทมะ) ที่ผุดออกมาจากพระนาภี (นาภะแปลว่าท้อง) ของพระวิษณุ และมีพระพรหมหรือนาภีชะ (ผู้เกิดจากพระนาภี) ประทับบนดอกบัว พระวิษณุจะบรรทมในช่วงเวลาที่พระพรหมสร้างโลก พระพรหมเป็นผู้สร้างจักรวาล (โลกทั้งสาม) กำหนดอายุจักรวาลตั้งแต่เริ่มสร้างจนถูกทำลายเรียกว่าหนึ่งกัลป์ ซึ่งหมายถึงหนึ่งวันของพระพรหม สิ่งมีชีวิตเมื่อเกิดมาแล้วก็ตายและรอเกิดใหม่ในกัลป์ถัดไป วนเวียนกัลป์แล้วกัลป์เล่าจนครบหนึ่งร้อยกัลป์หรือร้อยวันของพระพรหม โลกทั้งสาม (สวรรค์ นรก บาดาล) จะถูกทำลายรวมถึงเทพต่างๆ เมื่อผ่านไปหนึ่งร้อยปีจะมีพระพรหมองค์ใหม่เกิดขึ้นและทำหน้าที่สร้างโลกต่อไป วนเวียนกันเช่นนี้เรื่อยไป ...สำหรับพระพรหม ซึ่งประทับเหนือดอกบัวนั้น มีสี่พักตร์ สี่กร ถัดจากองค์พระนารายณ์มาทางซ้ายบริเวณเลี้ยวของทับหลัง มีรูปหน้ากาลคายพวงอุบะขนาดใหญ่ เหนือหน้ากาลมีรูปครุฑ ใช้มือยึดนาคไว้ข้างละต้นนอกจากนี้ยังปรากฏรูปสัตว์อื่น ๆ ได้แก่ นกแก้ว ลิง และนกหัสดีลิงก์คาบช้างอยู่ด้วย ...การบรรทมสินธุ์ของพระนารายณ์นั้น คือ การบรรทมในช่วงการสร้างโลก การบรรทมแต่ละครั้งนั้น จะเกี่ยวกับยุคเวลาในแต่ละกัลป์ภาพทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่ปราสาทพนมรุ้งนี้ คงได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์วราหปุราณะ เป็นคัมภีร์ที่ให้ความสำคัญแก่ พระนารายณ์เป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ในขณะที่พระนารายณ์ กำลังบรรทมอยู่นั้น ได้ทรางสุบินขึ้นจากพระนาภี บนดอกบัวได้บังเกิดพระพรหม และพระพรหมทรงเป็นผู้สร้างมนุษย์ และสิ่งต่าง ๆ *** พระพุทธพนมรุ้ง เนื้อผงเกษร สวยสมบูรณ์ สร้างน้อย หายาก เช่นเดียวกับเหรียญหล่อเนื้อโลหะ *** |