พระวัดพลับพิมพ์สมาธิเล็ก-นครป่าหัด - webpra
  • ติดต่อสอบถามได้ 086-4067233 ตลอดครับ
    เน้นพระสวย เน้นพระดูง่าย เน้นพระแท้
สอบถามเพิ่มเติมได้ทางโทรศัพท์ หรือ INBOX ครับยินดีต้อนรับทุกท่าน "เอก เมืองพาน"

หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระวัดพลับพิมพ์สมาธิเล็ก

พระวัดพลับพิมพ์สมาธิเล็ก - 1พระวัดพลับพิมพ์สมาธิเล็ก - 2
ชื่อร้านค้า นครป่าหัด - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระวัดพลับพิมพ์สมาธิเล็ก
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
ราคาเช่า 55,000 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 086-4067233
อีเมล์ติดต่อ aek_cr@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 08 ก.พ. 2567 - 21:18.42
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พฤ. - 08 ก.พ. 2567 - 21:18.42
รายละเอียด
ตำนานพระกรุกระรอกเผือก

"พระวัดพลับอยู่ในกรุวัดพลับ ลักษณะเนื้อพระวัดพลับทำด้วยผงสีขาวผสมปูนเนื้อแข็งขาว ท่าพระนั่งขัดสมาธิ ทั้งใหญ่ และเล็กประมาณเท่าเบี้ยจั่น กับทำพระนอนและปิดตาก็มี แต่หาได้น้อยที่ทำเป็น 2 หน้าก็มี แต่หายากมีน้อย และพบทำด้วยตะกั่วก็มี มักทำแต่ขนาดเล็ก"

จากหลักฐานดังกล่าวข้างต้นที่คนรุ่นก่อนเขียนเป็นหลักฐานบอกไว้เป็นความจริง ทุกอย่าง คือ ลักษณะเนื้อพระวัดพลับ มีทั้งชนิดเนื้อผงสีขาว กับเนื้อชินตะกั่ว ลักษณะเนื้อพระวัดพลับชนิดเนื้อผงขาวพบบ่อย แต่ชนิดลักษณะเนื้อพระวัดพลับเนื้อชินตะกั่วพบน้อย หายากมาก เจอแต่เก๊ทั้งนั้น ของจริงมีน้อย เคยพบเห็นมาเพียงไม่กี่องค์ ขาดความนิยมไปอย่างน่าเสียดาย เรียกว่าราคาถูกอย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากคนยังไม่รู้จัก และไม่นิยม แต่นิยมกันเฉพาะลักษณะเนื้อพระวัดพลับเนื้อผงสีขาวเท่านั้น

ส่วนผสมของเนื้อพระวัดพลับชนิดผงขาว ที่เรียกกันว่าปูนปั้นคงจะประกอบด้วย ปูนขาวที่ได้จากการเผาเปลือกหอยทะเล เกสรดอกไม้ น้ำมันตั้งอิ๊ว ฯลฯ และผงวิเศษที่ได้จากการปลุกเสกอย่างดีแล้ว คือ ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห นำมาคลุกเคล้ากันใช้ในการพิมพ์พระ เมื่อเนื้อผงพระแห้งแล้วจะมีความแข็งแกร่งแบบเซทตัวของปูนซีเมนต์ เมื่อส่องดูด้วยแว่นขยายจะพบว่า เนื้อมีความละเอียด แกร่ง-แข็ง-ขาว มีจุดเหลืองของเนื้อกล้วย จุดเม็ดปูนขาวขุ่น และจุดสีดำ ซึ่งพบน้อยมาก นอกจากนี้อาจจะมีจุดสีแดงอิฐปะปนอยู่บ้าง แต่พบน้อยเช่นกัน
พระวัดพลับ เป็นพระถูกบรรจุไว้ในกรุเจดีย์ อยู่ในที่สูงที่แห้ง ไม่ได้ฝังอยู่ใต้ดินแบบพระสมเด็จบางขุนพรหม เพราะฉะนั้นจึงมีคราบกรุบางๆ ไม่จับหนาเขรอะขระ ส่วนมากจะเป็นชนิดคราบกรุสีขาว หรือสีขาวอมน้ำตาลเป็นเม็ดเป็นปุ่มเล็กๆ คล้ายหนังกระเบน บางองค์ผิวลายแตกงาฐานร้าวแบบชามสังคโลก
เรื่องการแตกลายงาหรือลายสังคโลกเป็นปัจจัยข้อหนึ่ง ในหลายๆข้อที่ต้องใช้ประกอบในการดูลักษณะเนื้อพระวัดพลับ เพราะลักษณะเนื้อพระวัดพลับส่วนมากมีแตกลายงาทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง ชนิดที่ไม่แตกลายงามีน้อย เส้นลายงา หรือลายสังคโลกเป็นเส้นเล็กปริแยกจากใต้ผิวพระขึ้นมา เป็นลักษณะแบบธรรมชาติ ดูด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น ต้องใช้แว่นขยายช่วย มีลักษณะเป็นอย่างไรขอให้สังเกตดูจากเครื่องลายคราม หรือเครื่องปั้นดินเผาเก่าๆ ประกอบเปรียบเทียบ
ลักษณะเนื้อพระวัดพลับชนิดแตกลายงานี้ เมื่อถูกจับใช้ได้รับความชื้นจากมือหรือไอเหงื่อ รอยแยกลั่นร้าวของเนื้อพระจะใหญ่ขึ้น มองด้วยตาเปล่าเห็นชัด เป็นลักษณะการลั่นร้าวแบบธรรมชาติจากภายในออกมาภายนอก ผิวพระจะยังคงเรียบร้อยอย่างเดิม ไม่มีลักษณะผิวบวมนูนสูงแบบของปลอม หรือที่เขาอบด้วยเครื่องไฟฟ้า

คนโบราณนิยมใช้พระวัดพลับโดยอมไว้ใน ปาก และคนโบราณรุ่นก่อนนิยมการกินหมาก เพราะฉะนั้นลักษณะเนื้อพระวัดพลับที่พบเห็นโดยมากมีรอยถูกอมเปรอะเปื้อนน้ำหมาก แต่คนรุ่นหลังก็นำมาล้างน้ำหมากออก เพราะชอบความสะอาด พระที่ผ่านการอมใช้จากคนรุ่นก่อนมาแล้ว ลักษณะเนื้อพระวัดพลับจะจัดแลดูมีความซึ้งประทับใจมาก ถ้าส่องดูด้วยแว่นขยายแล้วอย่าบอกใครเชียว พูดได้อย่างเดียวว่าสวยมากๆ
สำหรับลักษณะเนื้อพระวัดพลับที่มิได้ผ่านการใช้งานคือ มีเก็บไว้เฉยๆ บนหิ้ง หรือในห่อในพานบ้านเก่าๆ ผิวพระจะมีลักษณะแห้งผากคล้ายปูนกำแพงเก่าๆ หรืออาจจะแลดูคล้ายพระบวชใหม่ๆ ไปก็มี สำหรับคนที่ไม่ชำนาญสันทัดกรณี พระแบบอย่างว่านี้แหละมีคนเสาะหาเอาไว้สำหรับส่งเข้าประกวดความงามเพราะถือว่า เจ้าของพระเก็บอนุรักษ์ไว้ดีสภาพเดิมเหมือนกับที่ออกมาจากกรุใหม่ๆ
พระวัดพลับมีการปลอมแปลงลอกเลียนแบบมาช้านานแล้ว เรียกว่าของปลอมล้นตลาดมีมากกว่าของจริง แต่ทั้งพิมพ์ และลักษณะเนื้อพระวัดพลับไม่เหมือนกับของจริงเลย ยังมีช่องว่างห่างกันมาก จำแบบพิมพ์ให้แม่นแล้วหาของจริงดูเนื้อพระแป๊บเดียวก็รู้ ถ้าเคยเห็นของจริงสักครั้งเดียวจะติดตา
ปกิณกะเรื่องลักษณะเนื้อพระวัดพลับอย่างละนิดอย่างละหน่อยที่นำมาแสดง คงจะพอเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าของผู้ที่สนใจบ้าง บอกกับท่านมาหลายครั้งแล้ว การศึกษาเรื่องพิมพ์เรื่องตำหนิไม่ยาก แต่การศึกษาเรื่องเนื้อพระนั้นยากกว่าเรื่องพิมพ์ทรง ต้องศึกษาจากลักษณะเนื้อพระวัดพลับจริงที่เป็นของแท้ ประกอบกับการอ่านตำราจึงจะได้ผลเป็นเร็ว .

จากหนังสือพระพิมพ์เครื่องรางเรียบเรียงโดย
ร.อ.หลวงบรรณยุทธ ชำนาญ (สวัสดิ์ นาคะสิริ) ปรมาจารย์พระเครื่องในอดีต

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top