พระกริ่ง จปร.100 ปี วัดราชบพิธ ปี 2513 เนื้อนวะ ลป.โต๊ะ ลพ.มุ่ย. ลพ.เงิน ลพ.พรหม ลพ.น้อย ลป.เทศน์ พ-บูม สุพรรณ - webpra
  • รับเช่าพระสายสุพรรณให้ราคาดียินดีให้บริการครับ 094-9796919 บูม สุพรรณ
    รับเช่า-รับเช็คพระ ให้ราคาดี ยินดีให้บริการครับ 094-9796919 บูม สุพรรณ
ร้าน บูมสุพรรณ บริการพระแท้ ราคาเหมาะสม โทร 094-9796919 พระทุกองค์รับประกันแท้หลักสากล

หมวด พระกริ่ง พระชัยวัฒน์

พระกริ่ง จปร.100 ปี วัดราชบพิธ ปี 2513 เนื้อนวะ ลป.โต๊ะ ลพ.มุ่ย. ลพ.เงิน ลพ.พรหม ลพ.น้อย ลป.เทศน์ พ

 พระกริ่ง จปร.100 ปี วัดราชบพิธ ปี 2513 เนื้อนวะ ลป.โต๊ะ ลพ.มุ่ย. ลพ.เงิน ลพ.พรหม ลพ.น้อย ลป.เทศน์ พ - 1 พระกริ่ง จปร.100 ปี วัดราชบพิธ ปี 2513 เนื้อนวะ ลป.โต๊ะ ลพ.มุ่ย. ลพ.เงิน ลพ.พรหม ลพ.น้อย ลป.เทศน์ พ - 2 พระกริ่ง จปร.100 ปี วัดราชบพิธ ปี 2513 เนื้อนวะ ลป.โต๊ะ ลพ.มุ่ย. ลพ.เงิน ลพ.พรหม ลพ.น้อย ลป.เทศน์ พ - 3
ชื่อร้านค้า บูม สุพรรณ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระกริ่ง จปร.100 ปี วัดราชบพิธ ปี 2513 เนื้อนวะ ลป.โต๊ะ ลพ.มุ่ย. ลพ.เงิน ลพ.พรหม ลพ.น้อย ลป.เทศน์ พ
อายุพระเครื่อง 55 ปี
หมวดพระ พระกริ่ง พระชัยวัฒน์
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ boomcup@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 11 พ.ค. 2565 - 11:06.49
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 10 พ.ค. 2566 - 20:47.37
รายละเอียด
พระกริ่งจุฬาลงกรณ์(จปร.) 100 ปี วัดราชบพิธ ปี 2513

“พระกริ่งจุฬาลงกรณ์” สร้างขึ้นเพื่อถวายพระนามเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ผู้ทรงสถาปนา “วัดราช บพิธฯ” ซึ่งเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ทรงมีพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพิฆเนศวร์สุรสังกาศฯ” โดยจำลองมาจาก “พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาศิลปะสมัยคุปตะ” ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น “พระพุทธรูปที่มีความงดงามที่สุด” ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ใน มหาวิทยาลัยนาลันทาประเทศอินเดีย และรอดพ้นจากการถูกทำลายของกองทัพอิสลามเช่นกัน

จัดสร้างด้วย เนื้อทองคำ จำนวนเพียง ๑,๐๐๐ องค์ และ นวโลหะ จำนวน ๕,๐๐๐ องค์เท่านั้นและที่ฐานด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” ใต้ฐานมีการ “บรรจุเม็ดกริ่ง” แล้วปิดด้วยแผ่นวงกลมปั๊มตราวัดราชบพิธฯ ที่มีความคมชัดละเอียดงดงามคือ “รูปตราพระเกี้ยว” ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้าล้อมด้วยฉัตร ๕ ชั้น ๒ ด้าน ออกแบบและแกะแม่พิมพ์โดย นายช่างเกษม มงคลเจริญ
“พระ ชัยวัฒน์จุฬาลงกรณ์” สร้างรูปแบบเดียวกับ “พระกริ่งจุฬาลงกรณ์” ทุกประการแต่ไม่มีการบรรจุเม็ดกริ่งแต่มีโค้ดรูป “อุณาโลม” ตอกไว้ที่ใต้ฐานมีขนาดเล็กกว่าพระกริ่งจัดสร้างจำนวน “๕,๐๐๐องค์” ด้วยเนื้อ “นวโลหะ” เพียงอย่างเดียว
“พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็น "ปฐมฤกษ์" ในวันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2513 โดยทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระกริ่งจุฬาลงกรณ์เนื้อทองคำ” เป็นปฐมฤกษ์ และ “ทองชนวน” ที่เหลือนั้นช่างได้นำไปผสมผสานกับเนื้อโลหะที่สร้าง “วัตถุมงคล” ทุกชนิดจนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้วตกแต่งให้สวยงาม โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ “9 เดือน” จึงแล้วเสร็จจากนั้นทางวัดจึงกำหนดประกอบพิธี “มหาพุทธาภิเษก” เป็นเวลา “3 วัน 3 คืน” คือระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคม พ.ศ. 2514 โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณา ธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี “จุดเทียนชัย” ในวันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2514 อันเป็นวันครบรอบวันสถาปนา “วัดราชบพิธฯ” ครบ “101 ปี กับ 2 วัน
อนึ่ง นับเป็นวาระ “อันพิเศษยิ่ง” ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ แก่ “วัดราชบพิธฯ” ยิ่งนักเพราะตามบันทึกของวัดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนินมายัง “พิธีพุทธาภิเษก” วัตถุมงคลฉลอง “100 ปี” ที่วัดราชบพิธฯ ถึง “2 วัน” ด้วยกันคือ

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2514 อันเป็นวันเริ่มพิธี “มหาพุทธาภิเษก” ได้เสด็จฯ ทรงจุด “เทียนชัยพุทธาภิเษก, เทียนมหามงคล” และ “เทียนนวหรคุณ” ในเวลา 16.05 น.

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2514 เวลา 24.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ในพิธีมหาพุทธาภิเษกและทรง “พระสุหร่าย, ทรงเจิมปูชนียวัตถุ, ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้” จึงนับเป็น “กรณีพิเศษยิ่ง” ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกเป็นเวลาถึง “2 วัน”

นอกเหนือจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในพิธี “เททอง” เป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2513 แล้ว ดังนั้น “วัตถุมงคล” ชุด “ฉลอง 100 ปี วัดราชบพิธฯ” นี้จึงเป็นวัตถุมงคลที่ถึงพร้อมด้วย “พระพุทธคุณ, พระธรรม คุณ, พระสังฆคุณ” และ “พระมหากษัตริยาธิคุณ” ของ “พระมหากษัตริย์” ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐแก่ประเทศไทยถึง “2 พระองค์” ด้วยกันคือ “รัชกาลที่ 5” และ“รัชกาลที่ 9” อย่างเปี่ยมล้นยิ่งนัก.
-----------------------------------------------
พระ กริ่งรุ่นนี้ออกแบบโดยนายช่าง เกษม มงคลเจริญ สร้างในปี 2513 ในวาะครบ 100 ปี วัดราชบพิธฯ ในหลวงเสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธีถึง 3 ครั้ง พิธีมหาพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืน โดยพระคณาจารย์ 108 รูป ซึ่งล้วนเเต่เป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านพุทธคมในยุคนั้นทั้ง สิ้นที่รับนิมนต์มานั่งปรกปริกรรมเจริญภาวนาโดยผลัดเปลี่ยนกันมาร่วมพิธีใน เเต่ละวันดังนี้

๑. วันศุกร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔

ระหว่างเวลา ๑๖.๓๐-๒๐.๐๐ น. คือ

๑.) พระเทพสังวรวิมล (เจียง) วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม

๒.) พระราชธปรมากรณ์ (เงิน) วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม

๓.) พระศูพิพิธวิหารการ (หลวงพ่อเทียม) วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา

๔.) หลวงพ่อกี วัดหูช้าง จ.นนทบุรี

๕.) พระครูโสภณพัฒนกิจ วัดอัมพวา บางกอกน้อย ธนบุรี กรุงเทพฯ

๖.) พระครูสุทธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง จ.สมุทรสาคร

๗.) พระครูโพธิสารประสาธน์ (บุญมี) วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี

๘.) พระครูอุภัยภาดาทร (หลวงพ่อขอม) วัดโพธาราม (วัดไผ่โรงวัว) จ.สุพรรณบุรี

๙.) พระครูนนทกิจวิมล (หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ จ.นนท บุรี

๑๐.) พระครูสมุห์อำพล วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ

๑๑.) พระอาจารย์อรุณ วัดตะล่อม ธนบุรี กรุงเทพฯ

๑๒.) พระครูสมุห์สำรวย วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา

เวลา ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.

๑.) พระราชสุทธาจารย์ (โชติ ระลึกชาติ) วัดวชิราลงกรณ์จ.นครราชสีมา

๒.) พระนิโรธรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสโก) วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย

๓.) พระอินทสมาจารย์ (เงิน อินทสโร) วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ

๔.) พระครูสภาพรพุทธมนต์ (สำเนียง อยู่สถาพร) วัดเวฬุวนาราม จ.นครปฐม

๕.) พระครูกัลป์ยานุกูล (เฮง) วัดกัลยาณมิตร ธนบุรี กรุงเทพฯ

๖.) พระครูภาวนาภิรม วัดปากน้ำภาษีเจริญ ธนบุรี กรุงเทพ

๗.) พระครูประภัสสรศีลคุณ (เอก) วัดไผ่ดำ จ.สิงห์บุรี

๘.) พระครูสมุห์หิน วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ

๙.) หลวง พ่อใหญ่อภินันโท (จุล) วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี

๑๐.) พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโศธาราม จ.อุดรธานี

๑๑.) พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน (พระธรรมวิสุทธิมงคล) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

๑๒.) พระครูใบฎีกาสมาน (หลวงพ่อเณร) วัดพรพระร่วง กรุงเทพฯ,

เวลา ๒๒.๐๐-๒๔.๐๐ น.

๑.) พระราชวตาจารย์ วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพฯ

๒.) พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ

๓.) พระวิเชียรมุนี วัดอินทราม กรุงเทพฯ

๔.) พระพุทธมนต์วราจารย์ (สุพจน์) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ

๕.) พระโสภณมหาจารย์ วัดดาวดึงนาราม กรุงเทพฯ

๖.) พระครูพิบูลมงคล วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ

๗.) พระมงคลสุรี วัดนาคกลาง กรุงเทพฯ

๘.) พระครูปลัดสงัด วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพฯ

๙.) พระครูวินัยธร (เดช) วัดสระเกศฯ กรุงเทพฯ

๑๐.) พระปลัดมานพ วัดชิโนรสราม กรุงเทพฯ

๑๑.) พระมหาวาส วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ

๑๒.) พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิ (สามปลื้ม) กรุง เทพฯ,

พระสวดพุทธาภิเษก

ระหว่างเวลา ๑๖.๓๐-๒๑.๐๐น. จำนวน ๔ รูป จากวัดสุทัศนเทพวราราม,

ระหว่าง เวลา ๒๑.๐๐-๒๔.๐๐ น. จำนวน ๔ รูป จากวัดบวรนิเวศวิหาร

๒.วันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔

เวลา ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น.

๑.) พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม ธนบุรี กรุงเทพฯ,

๒.) พระโพธิวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธิ์นิมิต กรุงเทพฯ,

๓.) พระครูสีลวิสุทธาจารย์ วัดสง่างาม จ.ปราจีนบุรี

๔.) พระครูประภัศระธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อแต้ม) วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี

๕.) พระครูประสิทธิสารคุณ (พ้น) วัดอุบลวรรณาราม จ.ราชบุรี

๖.) พระครูสังฆวฒาจารย์ (หลวงปู่เย่อ) วัดอาฬาสงคราม จ.สมุทรปราการ

๗.) พระอาจารย์หนู วัดบางกะดี่ กรุงเทพฯ

๘.) พระอาจารย์มงคล (กิมไซ) วัดป่าเกตุ จ.สมุทรปราการ

๙.) พระครูสมุห์ทองคำ วัดเสาธงทอง จ.ลพบุรี

๑๐.) พระอาจารย์สมภพ เตชบุญโญ วัดสาลีโขภิรตาราม จ.นนทบุรี

๑๑.) พระอาจารย์ยาน วัดถ้ำเขาหลักไก่ จ.ราชบุรี,

๑๒.) พระอาจารย์บุญกู้ วัดอโศกตาราม จ.สมุทรปราการ

เวลา ๒๐.๐๐-๒๒.๐๐ น.

๑.) พระสุนทรธรรมภาณ วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ

๒.) พระครูโสภณกัลป์นาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ

๓.) พระครูวรพรตศีลขันธ์ (แฟ้ม) วัดป่าอรัญศิกาวาส จ.ชลบุรี

๔.) พระครูปสาธน์วิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา

๕.) พระอาจารย์บุญเพ็ง วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ

๖.) พระอาจารย์สุวัจน์ วัดป่าภูธรพิทักษ์ จ.สกลนคร

๗.) พระอาจารย์วัน วัดป่าอภัยวัน (ภูเหล็ก) จ.สกลนคร

๘.) พระอาจารย์สุพัฒน์ วัดบ้านใต้ จ.สกลนคร

๙.) พระอาจารย์ทองสุข วัดถ้ำเจ้าภูเขา จ.สกลนคร

๑๐.) พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม วัดเขาน้อยสามผา จ.จันทบุรี

๑๑.) พระอาจารย์ดวน วัดมเหยงค์ จ.นครศรีธรรมราช

๑๒.) พระอาจารย์สอาด วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ

เวลา ๒๒.๐๐-๒๔.๐๐ น.

๑.)พระเทพเมธากร วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ

๒.) พระราชวรญาณมุนี นุภพศิริมาตราม กรุงเทพฯ

๓.) พระปัญญาพิศาลเถระ วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ

๔.) พระครูโสภณสมาธิวัตร วัดเจ้ามูล ธนบุรี กรุงเทพฯ

๕.) พระครูวิริยะกิตติ (หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี) ธนบุรี กรุงเทพฯ

๖.) พระครูพิชัย ณรงค์ฤทธิ์ วัดสิตาราม กรุงเทพฯ

๗.) พระครูปลัดถวิล วัดยางระหงษ์ จ.จันทบุรี

๘.) พระอธิการพัตน์ วัดเเสนเกษม กรุงเทพฯ

๙.) พระอาจารย์เชื้อ หนูเพชร วัดสะพานสูง กรุงเทพฯ

๑๐.) พระอาจารย์รัตน์ วัดปทุมคงคา กรุเทพฯ

๑๑.) พระครูสังฆรักษ์ (กาวงค์) วัดป่าดาราภิรมย์ จ.เชียงใหม่

๑๒.) พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง (พระอาจารย์ในหลวง)

โดยมีพระสวดพุทธาภิเษก

เวลา ๑๘.๐๐-๒๑.๐๐ น. พระภิกษุ ๔ รูป จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

เวลา ๒๑.๐๐-๒๔.๐๐น. จากวัดราชประดิษฐ์

๓.ส่วนวันอาทิตย์ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔

ก็ล้วนเเต่เป็น “พระคณาจารย์” ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาคมแห่งยุคซึ่งส่วนใหญ่ได้ “มรณภาพ” แล้วรวม ๓ วัน “ครบถ้วน ๑๐๘ รูป”

วัตถุมงคล ‘ฉลอง ๑๐๐ ปีวัดราชบพิธฯ’ ปี 2513

ในหลวงเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองเป็น “ปฐมฤกษ์” และเจือด้วย “โลหะวัตถุมงคลรุ่นเก่าของวัดราชบพิธฯ” และ “แผ่นโลหะลงอักขระ” ของพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วพระราชอาณาจักร “๑๐๘ รูป”

ดังนั้นในศุภวาระมหามงคลดิถีพิเศษนี้ “ท่าน เจ้าประคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ)” สมเด็จพระสังฆราชลำดับที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๓๑) ครั้งยังทรงดำรงพระ สมณศักดิ์ที่ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” และทรงเป็น “เจ้าอาวาสวัดราชบพิธฯ” ได้ร่วมกับ “กระทรวงมหาดไทย” ซึ่งขณะนั้น “จอมพลประภาส จารุเสถียร” (ครั้งครองยศพลเอก) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นเป็นประธานกรรมการ อำนวยการจัดงานสมโภช จึงได้ตั้งคณะกรรมการจัดหาทุนสำหรับบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบพิธฯ โดยจัดสร้าง “ปูชนียวัตถุ” หลายชนิดเพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคทรัพย์ในการปฏิสังขรณ์และ โดยที่ “วัดราชบพิธฯ” เป็นพระอารามที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถาปนาเป็น “วัดประจำรัชกาล” จึงได้กราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญ “ตราสัญลักษณ์” พระปรมาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” ประดิษฐานไว้ที่ปูชนียวัตถุที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษในครั้งนี้ วัตถุมงคล ‘ฉลอง 100 ปีวัดราชบพิธฯ’ อีกหนึ่ง ‘ของดี’ ที่ถูกซ่อนเร้น ซึ่งท่าน เจ้าประคุณ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” (วาสนมหาเถระ) ทรงเป็นประธานกรรมการดำเนินงานจัดทำของที่ระลึก โดยได้ปรึกษาหารือกับกรรมการท่านอื่น ๆ หลายครั้งเพื่อให้ปูชนียวัตถุที่สร้างในวาระอัน เป็นพิเศษครั้งนี้ “อุดมไปด้วย สิริมงคล” จึงได้จัดหาแผ่นทองถวาย “พระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ” ทั่วพระราชอาณาจักรลง “อักขระเลขยันต์” พร้อมปลุกเสกตามถนัดของแต่ละท่าน เพื่อนำมาหลอมหล่อเจือปนในปูชนียวัตถุที่จะสร้างขึ้นโดยมีรายนาม “พระอาจารย์” รูปสำคัญ ๆ ดังนี้

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top