หมวด พระเกจิภาคกลางตอนบน
รูปเหมือนปั้มรุ่นแรก หลวงพ่ออั้น อภิปาโล วัดธรรมโฆษก (วัดโรงโค) จ.อุทัยธานี
ชื่อร้านค้า | หนองประจักษ์พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | รูปเหมือนปั้มรุ่นแรก หลวงพ่ออั้น อภิปาโล วัดธรรมโฆษก (วัดโรงโค) จ.อุทัยธานี |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระเกจิภาคกลางตอนบน |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 0863311518 |
อีเมล์ติดต่อ | noppadol.sr@rd.go.th |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ศ. - 02 ส.ค. 2556 - 14:24.44 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พ. - 02 ต.ค. 2562 - 18:05.49 |
รายละเอียด | |
---|---|
รูปเหมือนปั้มรุ่นแรก หลวงพ่ออั้น อภิปาโล วัดโร งโค จ.อุทัยธานี เนื้อทองแดงรุ่นบารมี ๗๗ สุดยอดพระเกจิหลวงพ่ออั้น อภิปาโล วัดธรรมโฆษก (วัดโรงโค) จ.อุทัยธานี สุดยอดพระเกจิพระเถราจารย์ซึ่งชาวอุทัยธานี ขนานนามท่าน “พระจี้กงแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง” หรือ “หลวงพ่ออั้นเทวดา” หรือ "เทวดาตาทิพย์" พิธีปลุกเสกโดย เดือนพฤศจิกายน 2552 คณะศิษยานุศิษย์ได้พร้อมใจกันจัดสร้างวัตถุมงคล "รูปหล่อปั๊มหลวงพ่ออั้นรุ่นแรก " ในโอกาสอายุวัฒนมงคล 77 ปี (10 มกราคม 2553) เรียกว่า รุ่นบารมี 77 มีเนื้อเงิน 77 องค์, นวะ 277 องค์, สัตตโลหะ 377 องค์, ทองเหลือง 2553 องค์ และทองแดง 2553 องค์ ประกอบพิธีปลุกเสกโดยหลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ จ.สมุทรปราการ, หลวงพ่อจ้อย วัดหนองน้ำเขียว จ.ชลบุรี, หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน จ.ลพบุรี และหลวงพ่ออั้น วัดโรงโค จ.อุทัยธานี วัตถุมงคลรุ่นนี้ จัดสร้างเป็นรูปหล่อเหมือนลอยองค์ปั๊มเท่านั้น ลักษณะด้านหน้ารูปเหมือนที่สังฆาฏิ (อกซ้าย) มียันต์เฑาะ ล้อมรอบด้วยอักขระขอม "นะ มะ อะ อุ" ที่ปลายสังฆาฏิตอกโค้ด "อะ' ที่ฐานเขียนภาษาไทย ตัวพิมพ์บรรจง "หลวงพ่ออั้น" ด้านหลังรูปหล่อเหมือน ที่ปลายสังฆาฏิตอกโค้ดดอกจัน และเลขไทย ๑ ที่ฐานมีอักษรไทยเขียนว่า "วัดธรรมโฆษก อุทัยธานี" ใต้ฐานรูปหล่อมีวงเดือนและเลขลำดับองค์พระ เป็นเลขไทย หล่อปั๊มหลวงพ่ออั้นรุ่นแรก หรือ รุ่นบารมี 77 มีผู้ที่เช่าบูชาไปห้อยคอต่างประสบพบเจอแต่สิ่งดี แคล้วคลาดจากภยันตราย ราคาเช่าบูชาจึงขยับสูงขึ้นเป็นลำดับจนกลายเป็นที่ปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องไปแล้ว ประวัติหลวงพ่ออั้น อภิปาโล หลวงพ่ออั้น เกิดในสกุล โพธิพิทักษ์ เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2476 ณ บ้านดอนฉนวน ต.ท่าฉนวน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ในช่วงวัยเยาว์ หลังจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนท่าเรือนุกูล อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2492 แล้ว พ.ต.ต.ตุ๊ วงศ์อุทัย ซึ่งเป็นโยมลุง ได้พาท่านไปสมัครเป็นตำรวจที่วังปารุสกวัน กรมตำรวจในสมัยนั้น ท่านรับราชการได้ 4 ปี และเคยร่วมงานกับ พล.ต.ต.ขุนพันธ รักษ์ราชเดช มีผลงานด้านการปราบปรามดีเด่น จนได้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจโท ต่อมาได้ ลาออกจากการรับราชการตำรวจ ในช่วงอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เพราะต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร เป็นทหารเกณฑ์ที่ค่าย จิรประวัติ จ.นครสวรรค์ นานปีครึ่ง เมื่อท่านพ้นจากรั้วทหาร เริ่มเกิดความเบื่อหน่ายทางโลก จึงเข้าพิธีอุปสมบท เป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ณ พัทธสีมาวัดหัวเมือง อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี โดยมีพระครูอุปการโกวิท (หลวงพ่อแอ๋ว) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสมุห์ออม สุขาโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์ฟื้น ฐานวุฑโฒ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับ ฉายา อภิปาโล หมายความว่า ผู้รักษาที่ยิ่งใหญ่ เมื่ออุปสมบทอยู่จำพรรษาที่วัดแจ้ง อ.หนองฉาง ได้มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พ.ศ. 2506 ได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนปริยัติธรรม วัดหนองขุนชาติ อ.หนองฉาง พ.ศ. 2508 ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดธรรมโฆษก อ.เมือง จ.อุทัยธานี ได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ประจำสำนักศาสนศึกษา วัดธรรมโฆษก และเป็นกรรมการสอบธรรมสนามหลวง อ.เมืองอุทัยธานี พ.ศ. 2520 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมโฆษก (โรงโค) และเป็นพระกรรมวาจาจารย์, เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดธรรม โฆษก และเป็นกรรมการออกตรวจเยี่ยมสนามสอบธรรมสนามหลวง พ.ศ. 2533 เป็นเจ้าคณะตำบลน้ำซึม-ท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี สำหรับลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ. 2523 เป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมที่พระครูอุทิตธรรมสาร อดีตเจ้าคณะอำเภอเมืองอุทัยธานี พ.ศ. 2524 เป็นฐานานุกรมที่ พระปลัดของพระครูอุทิตธรรมสาร พ.ศ. 2526 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นตรีที่ พระครูอุทัยธรรมสาร พ.ศ.2531 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ในราชทินนามเดิม หลวงพ่ออั้น มีความเคร่งครัดในระเบียบวินัยการปกครองวัด โดยพระภิกษุ สามเณร ทุกรูปต้องศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยทุก รูป และต้องตั้งอยู่ในสาราณียธรรม 6 ทำวัตรสวดมนต์ทุกเช้า-เย็น เว้นแต่อาพาธ หรือมีเหตุจำเป็น รวมไปถึงให้ความสะดวกใน การบำเพ็ญบุญกุศลแก่พุทธศาสนิกชนตามความสามารถ มีการทำอุโบสถ กรรม (สวดปาฏิโมกข์) ตลอดพรรษา ด้านสาธารณูป การ ท่านเป็นประธานสร้างห้องน้ำ-สุขา และโรงครัวคอนกรีตเสริมเหล็ก, ก่อสร้างกุฏิสงฆ์ 2 ชั้น คอนกรีตเสริมเหล็ก, เทพื้นคอน กรีตรอบหอสวดมนต์, สร้างหอระฆังทรงไทยคอนกรีตเสริมเหล็ก, เป็นประธานก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดเวฬุ-วนาราม ต.ท่าซุง สร้างศาลาการเปรียญวัดคลองเคียน ต.ท่าซุง, บูรณะอุโบสถ, ศาลาการเปรียญ, สระน้ำของวัด และสร้างซุ้มประตู เป็นต้น ย้อนหลังกลับไปเมื่อครั้งหลวงพ่ออั้น เป็นฆราวาส อายุ 11 ขวบ ได้มีโอกาสเดินธุดงควัตรกับหลวงพ่อครูบาศรีวิชัย จากเขาฆ้องชัย อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี จนถึง จ.ลำพูน รวมเวลา 3 เดือนเศษ พร้อมศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมกับท่านด้วย และช่วงที่รับราชการตำรวจ ได้ใช้เวลาว่างเรียนวิชาโหราศาสตร์ กับหม่อมหลวงขาบ กุญชร และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อยู่ ญาโณ ทยมหาเถร) วัดสระเกศ พ.ศ. 2501 ได้ ศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานกับหลวง พ่อเขียน สำนักขุนเณร จ.พิจิตร จนกระทั่ง พ.ศ. 2520 พระราชอุทัยกวี (พุฒ สุทัตโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดมณีสถิตกปิฏฐาราม (ทุ่งแก้ว) เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี พระเถราจารย์ผู้เข้มขลังวิทยาคม ศิษย์เอกสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ได้เมตตาถ่ายทอดสรรพวิชา พร้อมกับนำตำราหลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี, ตำราหลวงพ่อพลอย วัดห้วยขานาง และตำราหลวงพ่อพูน วัดหนองตางู มาถ่ายทอดเพิ่มเติมอีกด้วย หลวงพ่ออั้น เป็นศิษย์อาจารย์เดียวกับหลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ วัดหลวงราชาวาส เกจิดังในอดีต ได้รับกิจนิมนต์ให้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในวัดต่าง ๆ มาโดยตลอด นอกจากกิจ นิมนต์ในจังหวัดอุทัยธานีแล้ว ยังได้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกที่จังหวัดภาคใต้ วัดสุทัศนเทพวราราม, วัดบวรนิเวศวิหาร, วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นประจำ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments