หมวด พระเกจิภาคอีสานเหนือ
เหรียญพระติ้วพระเทียม รุ่น 2 วัดโอกาส จ.นครพนม ปี 2506 กะไหล่ทอง
ชื่อร้านค้า | หนองประจักษ์พระเครื่อง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญพระติ้วพระเทียม รุ่น 2 วัดโอกาส จ.นครพนม ปี 2506 กะไหล่ทอง |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระเกจิภาคอีสานเหนือ |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 0863311518 |
อีเมล์ติดต่อ | noppadol.sr@rd.go.th |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อ. - 03 พ.ย. 2563 - 10:19.20 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อ. - 03 พ.ย. 2563 - 10:19.20 |
รายละเอียด | |
---|---|
เหรียญพระติ้วพระเทียม รุ่น 2 วัดโอกาส จ.นครพนม ปี 2506 กะไหล่ทอง ”วัดโอกาส” เดิมชื่อวัดพระศรีบัวบานพระเจ้าติ้ว ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร ติดกับตลาดอินโดจีน เยื้องกับท่าเทียบเรือการท่องเที่ยว จุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาว(นครพนม-คำม่วน) เขตเทศบาลเมืองนครพนม สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์กำลังรุ่งเรือง กล่าวคือ”จมื่นรักษาราษฎร์” แม่ทัพนายกองของพระเจ้าศรีโคตรบูรณ์ ได้นำกำลังทหารมาตั้งค่ายที่บ้านโพธิ์ค้ำ (ตัวเมืองนครพนมในปัจจุบัน) พร้อมกับสร้างวัดขึ้นหนึ่งแห่ง คนโบราณมีความเชื่อว่า ผู้ใดที่ได้มากราบสักการะหรือทำบุญตักบาตรที่วัดโอกาส จะได้พบกับโอกาสที่ดีสำหรับชีวิตการสอบเข้าศึกษาต่อ การสอบบรรจุเข้ารับราชการ การค้าการขายประกอบกิจการค้าใดๆ จะเป็นผู้มีโอกาสประสบผลสำเร็จ ร่ำรวย มั่นคง บริเวณกลางวัดมีหอประดิษฐาน พระติ้ว พระเทียม ซึ่งเป็นพระคู่แฝดแห่งเมืองนครพนม เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มาแต่โบราณกาล โดยมีตำนานการสร้างพระติ้วกล่าวไว้ว่า เดิมทีเดียวมีเพียงพระติ้วองค์เดียว ยังไม่มีพระเทียมขึ้นมาเป็นพระคู่แฝด โดยพระติ้วเป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลัก ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 39 ซม. สูง 60 ซม. สันนิษฐานว่าสร้างโดยพระเจ้าศรีโคตรบูรณ์หลวง ราวปี พ.ศ.1238 ตามตำนานกล่าวว่าในสมัยศรีโคตรบูรณ์เป็นราชธานีนั้น มีอาณาจักรตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำโขง ระหว่างเทือกเขาหินบูน(ลาว) และเทือกเขาภูพาน(ไทย) การเดินทางคมนาคมที่สะดวกที่สุดคือใช้เรือเป็นยานพาหนะหลัก ครั้งนั้นพระองค์จึงสั่งให้นายช่างชาวลาว ไปหาไม้ตะเคียนมาขุดทำเรือ นายช่างพาสมัครพรรคพวกข้ามแม่น้ำโขงมายังดงเซกา(ปัจจุบันคือบ้านนากลาง ต.นาทราย อ.เมือง จ.นครพนม) เมื่อได้ไม้ตามต้องการจึงทำการขุดเป็นเรือจนสำเร็จ และเตรียมชักลากลงสู่แม่น้ำโขง ซึ่งในสมัยนั้นการชักลากต้องใช้ไม้หมอนกลมตัดเป็นท่อนๆ เพื่อทำเป็นล้อหมุน ไม้ที่ใช้คือไม้ติ้ว ขณะจะชักลากมีไม้ท่อนหนึ่งไม่ยอม ให้เรือดังกล่าวทับ กระเด็นออกมาข้างนอกทุกครั้ง นายช่างเห็นว่าเป็นไม้มหัศจรรย์ จึงนำเรื่องเข้ากราบทูลพระเจ้าศรีโคตรฯทรงทราบ พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า ไม้ท่อนนี้เป็นพญาไม้ จึงโปรดให้นายช่างนำไปแกะสลักเป็นพระพุทธรูปแล้วลงรักปิดทอง แล้วเสร็จประมาณปี พ.ศ.1328 พร้อมให้มีพิธีสมโภชเป็นประพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของนครศรีโคตรบูรณ์ โดยนำไปประดิษฐานที่วัดธาตุ หรือวัดพระธาตุทับเงา บ้านสำราญ ต.อาจสามารถ อ.เมือง จ.นครพนม ห่างจากตัวเมืองนครพนมราว 6 กม. ต่อมาในสมัยพระเจ้าขัตติวงศาฯ เจ้าผู้ครองนครศรีโคตรฯ องค์ถัดมา เกิดไฟไหม้หอพระติ้ว ไม่มีใครนำพระติ้วออกมาได้ พระองค์จึงมีรับสั่งให้หาไม้ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มา แกะเป็นองค์พระแทนองค์เดิม และมีขนาดเท่ากันทุกประการ พร้อมจัดงานสมโภชให้เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองแทนพระติ้วองค์เก่าที่เข้าใจว่าถูกไฟไหม้ไปแล้ว เวลาผ่านไป 2-3 ปี ชาวบ้านสำราญไปหาปลากลางแม่น้ำโขง เกิดมีลมพายุหมุนเกิดกลางลำน้ำ จึงรีบนำเรือหลบบริเวณหัวดอนเกาะกลางน้ำ และได้แลเห็นวัตถุหนึ่งลอยหมุนวนในน้ำ พอลมสงบจึงออกมาดูพบว่าวัตถุนั้นคือ พระติ้วองค์ก่อนนั่นเอง ต่างพากันยินดีเป็นอย่างยบิ่ง จึงอัญเชิญพระติ้วไปทูลถวาย พระเจ้าขัตติวงศา พระองค์มีพระราชศรัทธาประทานทองคำหนัก 30 บาท ให้ช่างบุทองทั่วทั้งองค์ และประทานนามพระองค์เดิมว่าพระติ้ว ส่วนพระติ้วองค์ใหม่นั้นประทาน ว่าพระเทียม จึงเกิดชื่อพระติ้วพระเทียมพระคู่เมืองของศรีโคตรบูรณ์ตลอดมา และเชื่อว่าการที่เกิดลมพายุหมุน เกิดจากอิทธิฤทธิ์ของพญานาคผู้รักษาลำน้ำโขง นำพระติ้วออกจากหอพระขณะเกิดไฟไหม้ ไปเก็บรักษาไว้ในเมืองบาดาล เมื่อถึงเวลาก็นำมาส่งคืน โดยบริเวณหลังอุโบสถวัดธาตุสำราญในปัจจุบัน ชาวบ้านเชื่อว่าตรงนั้นเป็นทางหรือรูที่พญานาคโผล่ออกมานำพระติ้วไป จึงทำร่องรอยไว้เป็นประจักษ์หลักฐาน กระทั่ง พ.ศ.2281 พระบรมราชาพรหมา ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครศรีโคตรฯ ทรงมีศรัทธาบูรณปฏิสังขรณ์สำนักสงฆ์วัดศรีบัวบาน จึงสร้างอุโบสถพร้อมพระประธานปางมารวิชัย ลงรักปิดทองทั่วทั้งองค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 46 ซม. สูง 220 ซม. โดยถวายสมัญญานามว่า หลวงพ่อพระบรมราชาพรหมา และเห็นว่าวัดธาตุสำราญที่ประดิษฐานพระติ้วพระเทียมไม่ปลอดภัย จึงอัญเชิญพระติ้วพระเทียมมาประดิษฐานไว้ที่วัดศรีบัวบาน และได้เปลี่ยนชื่อจากวัดศรีบัวบาน เป็นวัดโอกาสแต่ยังคงมีสร้อยท้ายตามหลังว่าศรีบัวบานไว้ถึงปัจจุบัน พระครูศรีปริยัติการ (อรุณ ฐิตเมโธ) เจ้าอาวาสวัดโอกาสฯ เปิดเผยเพิ่มเติมว่าแต่เดิมหอพระติ้วพระเทียมนั้นมีขนาดเล็กและทรุดโทรมตามกาลเวลา ขณะนั้นทางวัดไม่มีเงินพอที่จะสร้างหอพระใหม่ แต่เปรยๆกับโยมในวัดว่า ลองจัดขันธ์ 5 ไปขอกับพญานาคที่ริมแม่น้ำโขงดูเผื่อท่านจะดลใจผู้มีศรัทธามาร่วมสร้าง โยมจึงนำขันธ์ 5 ไปขอ ปรากฏว่ามีศรัทธาจากญาติโยมหลั่งไหลมาไม่ขาดสาย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะแรงอธิษฐานที่โยมไปขอต่อพญานาคก็เป็นได้ ตนจึงสร้างหอพระติ้ว พระเทียมออกแบบภายนอกเป็นรูปพญานาคล้อมรอบ ภายในเป็นภาพวาดสีน้ำมัน เล่าเรื่องราวของพระติ้วพระเทียมตั้งแต่เริ่มต้น ใช้งบทั้งสิ้นเกือบ 5,000,000 บาท แล้วเสร็จเมื่อปี 2557 โดยทุกๆปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันวิสาขบูชา ปีนี้(2562) ตรงกับวันที่ 18 พ.ค. ชาวจังหวัดนครพนมจะจัดสรงน้ำพระติ้วพระเทียม ที่เป็นประเพณีสืบมา มีความเชื่อและศรัทธาว่าพระติ้วพระเทียมเป็นพระที่สามารถดับทุกข์ สร้างความร่มเย็น และได้นำโอกาสที่ดีๆ เข้ามาในชีวิตของผู้ที่ได้เข้าไปกราบนมัสการ นอกจากั้นภายในวัดยังมีของดีอีก เช่น หลวงพ่อศิลา ศาลเจ้าพ่อหมื่น ต้นสาละที่ออกดอกตลอดปี ซึ่งในปีนี้นายนิวัต เจียวิริยะบุญญา นายกเทศมนตรีเมืองนครพนม จัดให้มีขบวนแห่พระติ้วพระเทียมออกจากหอพระ แห่ไปรอบเมืองนครพนม เพื่อให้ประชาชนได้ชื่นชมอย่างใกล้ชิด |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments