
หมวด วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร
พระกริ่งพระพุทธนวราชบพิตร เนื้อเงิน ในหลวงทรงครองสิริราชสมบัติ 50 ปี




ชื่อร้านค้า | ตลับเงินตลับทอง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระกริ่งพระพุทธนวราชบพิตร เนื้อเงิน ในหลวงทรงครองสิริราชสมบัติ 50 ปี |
อายุพระเครื่อง | 22 ปี |
หมวดพระ | วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | nongbluestar@yahoo.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พฤ. - 25 ส.ค. 2554 - 21:49.15 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อา. - 09 ต.ค. 2554 - 21:56.40 |
รายละเอียด | |
---|---|
ปี พ.ศ.2539 ซึ่งเป็นมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี คณะกรรมการมีความเห็นที่จะจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นเป็นที่ระลึกเพื่อให้พสกนิกรได้สักการบูชาแสดงความจงรักภักดีน้อมเกล้าฯ ในวโรกาสมหามงคลดังกล่าว และหากจะพึงมีรายรับก็จะนำทูลเกล้าฯ ถวายสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวง คณะกรรมการได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง ดังนี้ พระพุทธรูปบูชา ขนาดหน้าตัก 12 นิ้ว, พระกริ่งพิมพ์จิตรลดา,พระพิมพ์จิตรลดา เป็นพระพิมพ์นูนบนพื้นสามเหลี่ยม, และพระพิมพ์จิตรลดา เนื้อผง การจัดสร้างพระพุทธนวราชบพิตร พระพิมพ์จิตรลดาดังกล่าวนี้ สืบเนื่องจากคณะกรรมการได้พิจารณาเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระพุทธนวราชบพิตรและพระราชทานเพื่อประดิษฐาน ณ จังหวัดต่างๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 ที่ฐานบัวหงายของพระพุทธนวราชบพิตร ได้ทรงบรรจุพระพุทธรูปพิมพ์ซึ่งทรงสร้างด้วยพระหัตถ์จากผงศักดิ์สิทธิ์นานาชนิด ทั้งในพระองค์และจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดต่างๆ ดังปรากฏรายละเอียดการจัดสร้างพระพุทธนวราชบพิตรที่พระราชทานเป็นพระประจำจังหวัด ดังนี้ พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 23 ซม. สูง 40 ซม. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้สร้างขึ้น เพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่างๆ ทุกจังหวัดทั่วพระราชอาณาเขต เมื่อ พ.ศ.2509 โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการกองหัตถศิลป กรมศิลปากร เข้ามาปั้นหุ่นพระพุทธปฏิมานี้ในพระราชฐาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และได้ทรงตรวจพระพุทธลักษณะของพระปฏิมานั้นจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้นายช่างเททองหล่อพระพุทธรูปนั้นขึ้น เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2509 และได้โปรดเกล้าฯให้ขนานนามพระพุทธรูปนั้นว่า “พระพุทธนวราชบพิตร” พระพุทธนวราชบพิตรนั้น นอกจากจะเป็นนิมิตหมายแห่งคุณพระรัตนตรัย อันเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดแห่งพุทธศาสนิกชนทั่วไปแล้ว ยังเป็นนิมิตหมายแห่งความผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างองค์พระมหากษัตราธิราชกับบรรดาพสกนิกรของพระองค์ในทุกจังหวัดทั่วพระราชอาณาจักร และพระพุทธรูปพิมพ์ซึ่งได้บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงายนั้น ก็ประกอบด้วยวัตถุศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ อันศาสนิกชนทั่วพระราชอาณาจักรได้ปฏิบัติบูชาสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน พระพุทธนวราชบพิตร จึงเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งในรัชกาลปัจจุบัน โครงการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงรับโครงการไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ คณะกรรมการนั้นมีมูลนิธิโครงการหลวง มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท และ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นที่ปรึกษา หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงเป็นประธานกรรมการอำนวยการ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ เป็นรองประธานกรรมการอำนวยการ และคุณวัลลภ เจียรวนนท์ เป็นประธานกรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการได้จัดสร้างพระทั้งหมดตามโครงการนี้ ดังนี้ 1.พระพุทธนวราชบพิตร พระบูชาเนื้อนวโลหะ ขนาดหน้าตัก 12 นิ้ว จำนวน 3 องค์ เพื่อทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เมื่อทูลเกล้าฯถวายแล้ว ได้พระราชทานมูลนิธิโครงการหลวง 1 องค์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ 1 องค์) 2.พระกริ่งพิมพ์จิตรลดา ชุดพิเศษ เป็นองค์พระพุทธนวราชบพิตรลอยองค์ ฐานบัวสองชั้น ด้านหลังมีตรากาญจนาภิเษก จัดสร้างเฉพาะผู้สั่งจอง จำนวน 108 ชุด 1 ชุด มีพระกริ่งเนื้อทองคำหนักประมาณ 51 กรัม 1 องค์ เนื้อเงิน 1 องค์ เนื้อนาก 1 องค์ เนื้อสัมฤทธิ์ 1 องค์ เนื้อนวโลหะ 1 องค์ พระพิมพ์จิตรลดา ขนาดใหญ่ เนื้อทองคำ 1 องค์ เนื้อเงิน 1 องค์ เนื้อนวโลหะ 1 องค์ พระพิมพ์จิตรลดา ขนาดเล็ก เนื้อทองคำ 1 องค์ เนื้อเงิน 1 องค์ เนื้อนวโลหะ 1 องค์ และพระพิมพ์จิตรลดา เนื้อผง 1 องค์ รวม 12 องค์ บรรจุรวมในกล่องไม้สวยงาม 3.พระพิมพ์จิตรลดา ขนาดใหญ่ เป็นพระพิมพ์รูปองค์พระพุทธนวราชบพิตรนูนต่ำบนพื้นสามเหลี่ยม สูง 3.2 ซม. ด้านหลังเป็นตรากาญจนาภิเษก มีอักษรว่า โครงการหลวง สร้างเป็นเนื้อทองคำ เงิน และนวโลหะ 2,539 ชุด เฉพาะเนื้อเงิน 40,000 องค์ เฉพาะเนื้อนวโลหะ 40,000 องค์ พระพิมพ์จิตรลดาขนาดเล็ก เหมือนขนาดใหญ่แต่ย่อมกว่า คือสูงเพียง 2.3 ซม. จัดสร้างเนื้อทองคำ เงิน นวโลหะ ชุดละ 3 องค์ รวม 5,000 ชุด เฉพาะเนื้อเงิน 60,000 องค์ เนื้อนวโลหะ 60,000 องค์ 4.พระพิมพ์จิตรลดา เนื้อผงลักษณะและขนาดเหมือนพระพิมพ์จิตรลดาขนาดใหญ่ มีรายละเอียดเหมือนกัน เพียงแต่เป็นเนื้อผงพุทธคุณ จัดสร้างจำนวน 1,000,000 องค์ รายละเอียดการจัดสร้าง -พระกริ่งพระพุทธนวราชบพิตร ขนาดสูง 3.4 ซ.ม. 1.ชุดพิเศษ เนื้อทองคำ เนื้อนาก เนื้อสามกษัตริย์ เนื้อเงิน เนื้อทอง 93 (1 ชุด 5 องค์) สร้าง 599 ชุด 2.เนื้อทองคำ เนื้อสามกษัตริย์ เนื้อเงิน (1 ชุด 3 องค์) สร้าง 2539 ชุด 3.เนื้อสามกษัตริย์ สร้าง 9500 องค์ 4.เนื้อเงิน สร้าง 9500 องค์ -พระชัยวัฒน์พระพุทธนวราชบพิตร ขนาดสูง 1.9 ซ.ม. 1.เนื้อทองคำ เนื้อสามกษัตริย์ เนื้อเงิน (1 ชุด 3 องค์) สร้าง 2539 ชุด 2. เนื้อสามกษัตริย์ สร้าง 9500 องค์ 3. เนื้อเนื้อเงิน สร้าง 9500 องค์ -พระไพรีพินาศ ขนาดสูง 3.2 ซ.ม. 1.เนื้อทองคำ เนื้อนาค เนื้อสามกษัตริย์ เนื้อเงิน เนื้อทอง 93 (1 ชุด 5 องค์) สร้าง 99 ชุด 2.เนื้อสามกษัตริย์ สร้าง 539 องค์ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...










อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments