หมวด พระพุทธชินราช ทุกรุ่น
เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีนปี2485(สระอะขีด)
ชื่อร้านค้า | ตลับเงินตลับทอง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญพระพุทธชินราชอินโดจีนปี2485(สระอะขีด) |
อายุพระเครื่อง | 75 ปี |
หมวดพระ | พระพุทธชินราช ทุกรุ่น |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | nongbluestar@yahoo.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พฤ. - 17 มี.ค. 2554 - 17:46.37 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พ. - 19 ก.ค. 2566 - 12:16.45 |
รายละเอียด | |
---|---|
ในปี พ.ศ. 2485 ประเทศไทยประสพปัญหาทางด้านการเมือง ซึ่งหลังจากปัญหา ต่างๆได้กลับคืนสู่สภาวะปกติแล้ว จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า " พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย " ซึ่งเป็นการรวมตัวระหว่าง พุทธธรรมสมาคม กับ ยุวพุทธสาสนิกสมาคม จึงได้มีการคิดที่จะทำการหล่อ พระพุทธชินราชจำลองขึ้น ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้ ก. ชนิดที่ทำการสร้าง พระพุทธชินราชจำลองที่สร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ:- 1. พระบูชา จะสร้างโดยใช้วิธีหล่อเป็นพระขัดเงามีเรือนแก้วขนาดหน้าตักขนาดใหญ่เพื่อสำหรับจัดส่ง ไปประจำจังหวัดต่างๆ ทั่วเมืองไทย พระพุทธรูปชนิดนี้ หากประชาชนปรารถนาจะสร้างไว้สำหรับสักการะบูชา ของตนเอง ก็ขอให้แสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งส่งเงินค่าสร้างองค์ละ ๑๕๐ บาท ไปยังคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อจักได้รวบรวมจำนวนให้ช่างจัดการต่อไป 2. พระเครื่อง มีการสร้างพระเครื่องขึ้นเป็น 2 วิธีคือ โดยวิธีหล่อ และ โดยวิธีปั๊ม 2.1 พระเครื่องชนิดหล่อ จะทำการหล่อด้วยโลหะและมีรูปลักษณะทำนองพระยอดธง ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราชมีซุ้มเรือนแก้ว และ มีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ข้างใต้ฐาน พระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ1 บาท 2.2 พระเครื่องชนิดปั๊ม จะสร้างขึ้นโดยวิธีปั๊ม มีรูปลักษณะคล้ายเสมาด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราชมีเรือนแก้ว ด้านหลังมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ 50 สตางค์ ข.ผู้ประกอบพิธี:- สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในพิธีหล่อพร้อมด้วยพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณต่างๆทั่วราชอาณาจักร พระชุดนี้ได้ทำพิธีหล่อ และปลุกเสกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ (ปี พ.ศ.2485) โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ) เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับการสร้างพระกริ่ง-พระชัย ของวัดสุทัศน์นี้แล้ว ยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ ที่นิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเสกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อีกด้วย จึงนับได้ว่า พิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราช เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วย พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ในยุคนั้น ดังปรากฏพระรายนาม ดังต่อไปนี้ รายนามพระอาจารย์ ที่ร่วมปลุกเสก รูปจำลอง พระพุทธชินราช พ.ศ. 2485 1. สมเด็จพระสังฆราช แพ (ประธาน) วัดสุทัศน์เทพวราราม 2. พระศรีสัจจญาณมุนี (แม่งาน) (สนธิ์) วัดสุทัศน์เทพวราราม 3. พระครูใบฎีกา(ประหยัด) วัดสุทัศน์เทพวราราม 4. พระครูอาคมสุนทร(มา) วัดราชบูรณะ 5. พระครูพิพัฒนบรรณกิจ(วิเชียร) วัดราชบูรณะ 6. พระครูสรกิจพิศาล(ศุข) วัดราชบูรณะ 7. พระครูสุนทรศิลาจารย์(เจิม) วัดราชูบุรณะ 8. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร(สนิท) วัดราชบุรณะ 9. พระครูสมถกิติคุณ(ชุ่ม) วัดพระประโทน 10. พระธรรมเจดีย์(สมเด็จพระสังฆราช อยู่ ) วัดสระเกศ 11. พระสุธรรมธีรุคณ(วงษ์) วัดสระเกศ 12. พระวิเชียรโมลี(ปลั่ง) วัดคูยาง กำแพงเพชร 13. พระพิมลธรรม(นาค) วัดอรุณฯ 14. พระครูอรุณธรรมธาดา(บัว) วัดอรุณฯ 15. พระครูสังฆพินิจ(เฟื่อง) วัดสัมพันธวงศ์ 16. พระมหาโพธิวงศาจารย์(นวม) วัดอนงคาราม 17. พระปลัดเส่ง- วัดกัลยาฯ 18. พระสังฆวรา(สอน) วัดพลับ 19. พระสมุทห์เชื้อ- วัดพลับ 20. พระครูถาวรสมณวงศ์(อ๋อย) วัดไทร บางขุนเทียน 21. พระพิษณุบุราจารย์(แพ) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก 22. พระครูวิสุทธิศีลาจาร(พริ้ง) วัดบางประกอก ธนบุรี 23. หลวงพ่อหลิม- วัดทุ้งบางมด 24. พระอุบาลีคุณูปรมาจารย์(เผื่อน) วัดพระเชตุพนฯ 25. พระวิสุทธิ์สมโพธิ์(เจีย) วัดพระเชตุพนฯ 26. พระมงคลทิพมุนี(เซ็ก) วัดทองธรรมชาติ 27. พระธรรมรังษี(ปาน) วัดเทพธิดาราม 28. พระญาณปริยัติ(พริ้ง) วัดราชนัดดา 29. พระสังกิจคุณ(ขำ) วัดศรีทศเทพ 30. พระปัญญาพิศาลการ(หนู) วัดปทุมวนาราม 31. พระปริญัติบัณฑิต(ทองคำ) วัดปทุมคงคาฯ 32. สมเด็จพระมหาศรีวรวงศ์(อ้วน) วัดบรมนิวาศ 33. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ) วัดเทพศิรินทร์ 34. พระธรรมดิลก(โสม) วัดราชบูรณะ 35. พระครูวรเทย์มุนี(อี๋) วัดสัตหีบ ชลบุรี 36. พระครูศรีพนัศนิคม(ศรี) วัดพลับ ชลบุรี 37. พระครูวิบูลย์คณารักษ์(ดิ่ง) วัดบางวัว แปดริ้ว 38. พระครูสิทธิสารคุณ(จาด) วัดบางกะเบา ปราจีนบุรี 39. พระครูกรุณาวิหารี(เผือก) วัดกิ่งแก้ว บางพลี 40. พระครูพัก - วัดบึงทองหลาง บางกะปิ 41. พระครูทองศุข - วัดโตนดหลวง เพชรบุรี 42. หลวงพ่ออิ่ม - วัดหัวเขา สุพรรณบุรี 43. พระวิสุทธิรังษี(เปลี่ยน) วัดใต้ กาญจนนุรี 44. พระครูอดุลย์สมณกิจ(ดี) วัดเหนือ กาญจนนุรี 45. พระครูนิวิธสมาจารย์(เหรียญ) วัดหนองบัว กาญจนนุรี 46. พระครูยติวัตรวิบูลย์(สอน) วัดลาดหญ้า กาญจนนุรี 47. หลวงพ่อเหมือน - วัดโรงหีบ ดอนเมือง 48. พระครูธรรมสุนทร(จันทร์) วัดบ้านยาง ราชบุรี 49. พระครูนนทวุฒาจารย์(ช่วง) วัดบางแพรกใต้ นนทบุรี 50. พระครูนนทปรีชา(เผือก) วัดโมลีโลก นนทบุรี 51. พระครูโศภณศาสนกิจ(กลิ่น) วัดสะพานสูง นนทบุรี 52. หลวงพ่อแฉ่ง - วัดบางพัง นนทบุรี 53. สมเด็จพระวริญาณวงศ์(สมเด็จพระสังฆราช ชื่น ) วัดบวรนิเวศฯ 54. พระสุพจน์มุรี(ผิน) วัดบวรนิเวศฯ 55. พระครูไพโรจน์มันตาคม(รุ่ง) วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร 56. พระครูมหาชัยบริรักษ์(เชย) วัดเจษฎาราม สมุทรสาคร 57. พระครูสังวรศิลวัตร(อาจ) วัดดอนไก่ดี สมุทรสาคร 58. พระครูวัตตโกศล(เจียง) วัดเจริญสุขาราม สมุทรสงคราม 59. พระครูสุนทรโฆษิต(ทองอยู่) วัดประชาโฆษิตาราม สมุทรสงคราม 60. หลวงพ่อกบึง - วัดสวนแก้ว สมุทรสงคราม 61. หลวงพ่อไวย - วัดดาวดึงษ์ สมุทรสงคราม 62. หลวงพ่อแช่ม- วัดตาก้อง นครปฐม 63. หลวงพ่อจง - วัดหน้าต่างนอก อยุธยา 64. หลวงพ่ออั้น - วัดพระญาติ อยุธยา 65. หลวงพ่อนอ - วัดกลางท่าเรือ อยุธยา 66. หลวงพ่อแจ่ม - วัดวังแดงเหนือ อยุธยา 67. หลวงพ่อเล็ก - วัดบางนมโค อยุธยา 68. หลวงพ่ออ่ำ - วัดวงฆ้อง อยุธยา 69. หลวงพ่อกรอง - วัดสว่างอารมย์ อยุธยา 70. หลวงพ่อจันทร์ - วัดคลองระนงค์ ชุมแสง 71. พระครูทิวากรรคุณ(กลีบ) วัดตลิ่งชัน ธนบุรี 72. พระราชโมลี(นาค) วัดระฆังฯ ธนบุรี 73. หลวงพ่อเกษีวิกรม(พูน) วัดสังฆราชาวาส สิงห์บุรี 74. หลวงพ่อจันทร์ - วัดนางหนู ลพบุรี 75. พระครูมหาศิลสุนทร(ปลอด) วัดหลวงสุวรรณาราม ลพบุรี 76. พระครูศิลธรานุรักษ์(ครุฑ) วัดท่าพ่อ พิจิตร 77. หลวงพ่อพิธ - วัดฆะบัง พิจิตร 78. หลวงพ่ออ่ำ - วัดหนองกระบอก ระยอง 79. หลวงพ่อทอง - วัดดอนสท้อน หลังสวน 80. พระมหาเมธังกร(มหา) วัดน้ำถือ แพร่ 81.พระสุเมธีวรคุณ(เปี่ยม) วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์ 82. พระธรรมทานา(อิ่ม) วัดไชยพฤกษ์มาลา ธนบุรี ค. กำหนดวันและสถานที่ทำการหล่อ ประกอบพิธีหล่อที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2485 ซึ่งเป็นวันระหว่างงานสมโภชพระพุทธชินราชประจำปี ง. นายช่างผู้ทำการหล่อ กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการหล่อและออกแบบโดยตลอด จ.สถานที่ติดต่อสั่งจองเฉพาะพระเครื่อง ที่ข้าหลวงประชาจังหวัดและนายอำเภอทุกแห่งทั่วราชอาณาจักร และที่นายประมวล บูรณโชติ เลขาธิการของสมาคม ณ. สำนักงานพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชอุทยานสราญรมย์ จังหวัดพระนคร ฉ. เงินรายได้ จำนวนเงินรายได้ทั้งสิ้น เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจะได้แบ่งส่วนเฉลี่ยออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน เพื่อนำไปจัดการดังต่อไปนี้ 1. ให้กรมการสาสนา กระทรวงศึกษาธิการ สำหรับบำรุงส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนาและการกุศลสาธ ารณะต่างๆภายในจังหวัด 2. ให้คณะกรรมการจังหวัดพิษณุโลก สำหรับบำรุงส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา และการกุศลสาธารณะต่างๆภายในจังหวัด 3. ให้พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นทุนในการดำเนินกิจการเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาตาม วัตถุประสงค์ของสมาคม |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments