พระพุทธ25ศตวรรษ เนื้อดำ -ตลับเงินตลับทอง - webpra
สิ้นลม สมบัติ ไม่ติดกาย ของดีมากมาย จะคู่กาย ผู้มีบารมีสืบต่อไป nongbluestar**081-6391688**
พระพุทธ25ศตวรรษ เนื้อดำ  - 1พระพุทธ25ศตวรรษ เนื้อดำ  - 2
ชื่อร้านค้า ตลับเงินตลับทอง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระพุทธ25ศตวรรษ เนื้อดำ
อายุพระเครื่อง 59 ปี
หมวดพระ วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ nongbluestar@yahoo.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 28 ธ.ค. 2553 - 00:11.51
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พฤ. - 11 ก.ค. 2562 - 20:13.52
รายละเอียด
การสร้างพระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษเพื่อสมทบทุนสร้าง"พุทธมณฑล"นั้น ทางรัฐบาลฯมีมติให้สร้าง "พุทธมณฑล" ขึ้นในเนื้อที่ 2,500 ไร่ ของจังหวัดนครปฐม และได้กราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบรัฐพิธืก่อฤกษ์ ณ ตำแหน่งฐานพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2498
ทางคณะกรรมการฯ ได้ดำริจัดสร้างพระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษ, พระพุทธรูป, และวัตถุมงคลอื่นๆ สำหรับแจกจ่ายและสมนาคุณแก่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาหรือบริจาคเงินสมทบทุนในการสร้าง"พุทธมณฑล" และสำหรับเป็นที่ระลึกในงานฉลอง 25 ศตวรรษ ดังนี้

1.พระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เนื้อชินเงิน จำนวน 2,421,250องค์ ,เนื้อดินผสมผงเกสร จำนวน 2,421,250องค์ ,เนื้อทองคำ จำนวน2,500องค์ ,เนื้อเงิน ,และเนื้อนาก(หายากมาก)
2.พระพุทธรูป ทองคำ ,นาก ,เงิน สำหรับผู้บริจาคเงินสมทบทุน
3.พระพุทธรูปบูชาทองคำแบบพุทธลีลา ลักษระเดียวกับพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล สูงประมาณ 9 ซม. รวม 4 องค์ ทองคำหนักรวมทั้งสิ้น 55 บาท ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ รวม 2 องค์ มอบให้จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม 1 องค์ และมอบให้เป็นสมบัติของสภาผู้แทนราษฎร 1 องค์
4.เสมาพระพุทธรูป หรือ เหรียญพระพุทธรูป 25 พุทธศตวรรษ เพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคเงินบำเพ็ญกุศลในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษและสร้างพุทธมณฑล รวม 3 ชนิดคือ ทองคำ เงิน และนิเกิล
5.พระพุทธรูปประจำจังหวัดและอำเภอ เป็นพระพุทธรูปบูชา เนื้อทองเหลืองรมดำ ปางลีลาแบบพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล สูง70ซม. ฐานสูง7ซม. รวม 71 องค์

พระพุทธ25ศตวรรษ จัดสร้างด้วยพิธีที่ใหญ่มากที่สุดพิธีหนึ่งของเมืองไทย โดยมี พระเกจิอาจารย์แก่กล้าด้วยพุทธานุภาพทั่วประเทศ 108รูป ปลุกเสกอย่างยิ่งใหญ่ จึงทำให้พุทธคุณของพระองค์นี้ ครอบคลุมทุกๆด้าน ทั้งเมตตามหานิยมเป็นเลิศ แคล้วคลาดเป็นเยี่ยม ฯลฯ

นับเป็นสุดยอดแห่งประวัติศาสตร์ของวงการพระเครื่อง พิธีจัดสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีตั้งแต่กรุงรัตน์โกสินทร์เป็นราชธานีมาจนถึงปัจจุบัน ไม่มีพิธีใดจะยิ่งใหญ่เท่า งานเฉลิมฉลองพระพุทธศาสนาครบกึ่งพุทธกาลทั่วโลก พิธียิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติการณ์ รวมพระในศาสนาพุทธจากทั่วโลก และมวลสารสำคัญต่างๆ เข้าด้วยกัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัยทรงกดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์และเททองในพิธีพุทธาภิเษกมวลสาร เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ใช้เวลาจัดสร้างนานถึง 3 เดือน

พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อ.ตร.และรมช.มหาดไทยในขณะนั้นเป็นประธานการจัดสร้าง
พล.ต.ต.เนื่อง อาขุบุตร์ เป็นผู้ดำเนินการสร้าง
จอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีร่วมพิธี

เมื่อสร้างพระเสร็จเรียบร้อยแล้ว สมเด็จพระสังฆราช (ปลด) วัดเบญจมบพิตร ทรงจุดเทียนชัยในพิธีมหาพุทธาภิเษก และจอมพลป.พิบูลสงคราม ได้จัดให้มีงานฉลอง25พุทธศตวรรษ ในวันวิสาขบูชาที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ที่ท้องสนามหลวงและทั่วประเทศพร้อมๆกัน

พิธีมหาพุทธาภิเษก
ในการจัดสร้างพระ25พุทธศตวรรษนั้น มีพิธีมหาพุทธาภิเษกถึง 2 ครั้ง
ครั้งที่1.พิธีพุทธาภิเษกมวลสารทั้งหมดที่นำมาใช้ในการจัดสร้าง ในระหว่างวันที่ 9 –12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500

ครั้งที่2.พิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อได้จัดสร้างพระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในระหว่างวันที่ 2 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2500

ในพิธีแต่ละครั้งได้นิมนต์พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจากทุกนิกายทั่วประเทศรวมทั้งหมด 108 รูป มาร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก โดยกระทำพิธี ณ พระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม

สุดยอดเกจิอาจารย์ทั่วทุกภาคของแผ่นดินสยามร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก 108 รูป มีดังนี้

1. พระครูอาคมสุนทร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
3. พระญาณาภิรัต อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
4.พระครูพิบูลย์บรรณวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
5.พระครูสุนทรศีลาจารย์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
6.พระครูพิศาลสรกิจ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
7.พระมหาสวน อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
8.พระอำนวย อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
9.พระปลัดสุพจน์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
10.พระครูวิสิษฐ์วิหารการ อ.พระนคร วัดชนะสงคราม จ.พระนคร
11.พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ จ.พระนคร
12.พระอาจารย์สา อ.พระนคร วัดชนัดดาราม จ.พระนคร
13.พระปลัดแพง อ.พระนคร วัดมหาธาตุฯ จ.พระนคร
14.พระวิสุทธิสมโพธิ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
15.พระวรเวทย์คุณาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
16.พระครูฐาปนกิจประสาท อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
17.พระอินทรสมาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
18.พระครูวินัยธร (เฟื่อง ) อ.พระนคร วัดสัมพันธ์วงศ์ จ.พระนคร
19.พระครูภักดิ์ อ.พระโขนง วัดบึงทองหลาง จ.พระนคร
20.พระครูกัลญาณวิสุทธิ อ.ยานนาวา วัดดอนทวาย จ.พระนคร
21.พระอาจารย์มี อ.ยานนาวา วัดสวนพลู จ.พระนคร
22.พระอาจารย์เหมือน อ.บางเขม วัดโรงหีบ จ.พระนคร
23.พระหลวงวิจิตร อ.ดุสิต วัดสะพานสูง จ.พระนคร
24.พระอาจารย์หุ่น อ.มีนบุรี วัดบางขวด จ.พระนคร
25.พระราชโมลี อ.บางกอกน้อย วัดระฆัง จ.ธนบุรี
26.หลวงวิชิตชโลธร วัดสันติธรรมาราม จ.ธนบุรี
27.พรครูโสภณกัลญานุวัตร วัดกัลญาณมิตร จ.ธนบุรี
28.พระครูภาวนาภิรัต อ.บางขุนเทียน วัดหนัง จ. ธนบุรี
29.พระครูทิวากรคุณ อ.ตลิ่งชัน วัดตลิ่งชัน จ.ธนบุรี
30.พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ วัดโพธินิมิตร จ.ธนบุรี
31.พระครูญาณสิทธิ์ อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
32.พระอาจารย์มา อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
33.พระอาจารย์หวน อ.ตลิ่งชัน วัดพิกุล จ.ธนบุรี
34.พระมหาธีรวัฒน์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
35.พระอาจารย์จ้าย อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
36.พระอาจารย์อินทร์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
37.พระครูกิจจาภิรมย์ อ.บางกอกใหญ่ วัดอรุณราชวราราม จ.ธนบุรี
38.พระครูวินัยสังวร อ.ธนบุรี วัดประยูรวงศวาส จ.ธนบุรี
39.พระสุขุมธรรมาจารย์ อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนราม จ.ธนบุรี
40.พระครูพรหมวินิต อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนาราม จ.ธนบุรี
41.พระอาจารย์อิน อ.คลองสาน วัดสุวรรณอุบาสิการ จ.ธนบุรี
42.พระครูวิริยกิจ อ.คลองสาน วัดประดู่ฉิมพลี จ.ธนบุรี
43.พระปรีชานนทมุนี อ.บางบัวทอง วัดโมลี จ.นนทบุรี
44.พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) อ.ปากเกร็ด วัดศรีรัตนาราม จ.นนทบุรี
45.พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) อ.ปากเกร็ด วัดบางจาก จ.นนทบุรี
46.พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากระเหรี่ยง จ.ราชบุรี
47.พระอาจารย์แทน อ.เมือง วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี
48.พระครูบิน อ.บางแพ วัดแก้ว จ.ราชบุรี
49.พระอินทร์เขมาจารย์ อ.เมือง วัดช่องลม จ.ราชบุรี
50.พระธรรมวาทีคณาจารย์ อ.เมือง วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
51.พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
52.พระอาจารย์สำเนียง อ.บางเลน วัดเวทุนาราม จ.นครปฐม
53.พระอาจารย์เต๋ อ.กำแพงแสน วัดสามง่าม จ.นครปฐม
54.พระอาจารย์แปลก อ.เมือง วัดสระบัว จ.ปทุมธานี
55.พระครูปลัดทุ่ง อ.เมือง วัดเทียมถวาย จ.ปทุมธานี
56.พระครูบวรธรรมกิจ อ.เมือง วัดโบสถ์ จ.ปทุธานี
57.พระครูโสภณสมาจารย์ อ.เมือง วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
58.พระครูวิสุทธิรังสี อ.เมือง วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี
59. พระมุจจรินโมฬี อ.หนองจิก วัดมุจจริน จ.ปัตตานี
60. พระครูรอด อ.เมือง วัดประดู่ จ.นครศรีธรรมราช
61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ อ.ฉวาง วัดสวนขวัญ จ.นครศรีธรรมราช
62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี ) อ.เมือง วัดโศกการาม จ.สมุทรปราการ
63. พระอาจารย์บุตร อ.เมือง วัดใหม่บางปลากด จ.สมุทรปราการ
64. พระอาจารย์แสวง อ.พระประแดง วัดกลางสวน จ.สมุทรปราการ
65. พระครูศิริสรคุณ อ.เมือง วัดท้ายหาด จ.สมุทรสงคราม
66. พระครูสมุทรสุนทร อ.เมือง วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม
67. พระสุทธิสารวุฒาจารย์ อ.อัมพวา วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
68. พระอาจารย์อ๊วง อ.อัมพวา วัดบางคณาทอง จ.สมุทรสงคราม
69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง ) อ.กระทุ่มแบน วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ อ.กระทุ่มแบน วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร
71. พระครูสักขิตวันมุนี อ.เมือง วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
72. พระอาจาย์แต้ม อ.เมือง วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) อ.เมือง วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี
74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) อ.เมือง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี
75. พระครูสำฤทธิ์ (เอี้ยง) อ.เมือง วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ อ.เมือง วัดอรัญญิการาม จ.ชลบุรี
77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ อ.เมือง วัดเสม็ด จ.ชลบุรี
78. พระครูธรรมธร (หลาย) อ.เมือง วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
79. พระอาจารย์บุญมี อ.บางละมุง วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
80. พระพรหมนคราจารย์ อ.พรหมบุรี วัดแจ้งพรหมนคร จ.สิงห์บุรี
81. พระครูศรีพรหมโศกิต (แพ) อ.พรหมบุรี วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
82. พระชัยนาทมุนี อ.เมือง วัดบรมธาตุ จ.ชัยนาท
83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) อ.เมือง วัดชากหมาก จ.ระยอง
84. พระอาจารย์เมือง อ.แม่ทา วัดท่าแพ จ.ลำปาง
85. พระครูอุทัยธรรมธานี อ.เมือง วัดท้าวอุ่ทอง จ.ปราจีนบุรี
86. พระครูวิมลศีลจารย์ อ.ประจันตคาม วัดศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
87. พระครูสุนทรธรรมประกาศ อ.ปากพลี วัดโพธิ์ปากพลี จ.นครนายก
88. พระครูบาวัง อ.เมือง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
89. พระครูสวรรควิริยกิจ อ.เมือง วัดสวรรคนิเวส จ.แพร่
90. พระครูจันทร อ.ชุมแสง วัดคลองระนง ค์ จ.นครสวรรหลวงพ่อจันทร์
91. พระครูสีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติฯ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา
94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อ.เสนา จ.อยุธยา
95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไพร จ.อยุธยา
99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อ.เสนา จ.อยุธยา
100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
101. พระสุวรรณมุนี (ชิต) วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.อยุธยา
102. พระครูศุข วัดโตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
104. พระครูทบ (หลวงพ่อทบ) วัดสว่างอรุณ อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
105. พระสวรรคนายก วัดสุวรรคคาราม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี จ.สุโขทัย
107. พระครูปี้ วัดกิ่งลานหอย กิ่ง อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
108. พระครูวิบูลย์สมุทร วัดเสด็จ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

เหตุการณ์สำคัญแห่งประวัติศาสตร์

1. มีการชุมนุมสงฆ์ทุกนิกายมากที่สุด เพื่อร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก
2. มีประมุขฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักรเสด็จร่วมพิธี
3. รัฐบาลและพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศหลอมรวมใจเป็นหนึ่งเดียวในการจัดสร้าง
4. พิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในสมัยกรุงรัตน์โกสินทร์เป็นราชธานี
5. ตะกรุดมวลสารบางส่วนไม่ละลายในเบ้าหลอม
6. แผ่นยันต์เนื้อโลหะไม่จมในน้ำมนต์
7. สายสิญจน์ไม่ไหม้ไฟ
8. ปรากฏเสียงเคลื่อนตัวของวัตถุมงคลขณะพุทธาภิเษก
9. มีความใกล้ชิดสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะมวลสารส่วนหนึ่งอัญเชิญมาจากสังเวชนียสถาน
10. มีผู้นำน้ำมนต์ในพิธีไปใช้แล้วประสบพระพุทธคุณ

พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษเป็นพระเครื่องที่มีพุทธคุณสูง และก็มีประสบการณ์ มากที่สุด ซึ่งเป็นที่ยอมรับของคนไทยและนักสะสมพระกันดีทุกคน

องค์นี้เป็นพิมพ์ย่อม เนื้อดิน สีดำ พิมพ์หลัง3จุด ขนาดกว้าง1.4ซม.,สูง3.9ซม.,หนา4มม.,สวย หน้าตาคมชัด

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top