พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา ปี 2460 พิมพ์เม่นเล็ก-ตลับเงินตลับทอง - webpra
สิ้นลม สมบัติ ไม่ติดกาย ของดีมากมาย จะคู่กาย ผู้มีบารมีสืบต่อไป nongbluestar**081-6391688**

หมวด หลวงพ่อกลั่น - หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม - หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา ปี 2460 พิมพ์เม่นเล็ก

พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา ปี 2460 พิมพ์เม่นเล็ก - 1พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา ปี 2460 พิมพ์เม่นเล็ก - 2พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา ปี 2460 พิมพ์เม่นเล็ก - 3
ชื่อร้านค้า ตลับเงินตลับทอง - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา ปี 2460 พิมพ์เม่นเล็ก
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ หลวงพ่อกลั่น - หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม - หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ nongbluestar@yahoo.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 20 พ.ย. 2559 - 15:48.45
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 01 ต.ค. 2560 - 18:43.01
รายละเอียด
พระครูวิหารกิจจานุการ หรือ หลวงพ่อปาน โสนันโท
ท่านเกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2418ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดอยุธยา เป็นบุตรของ นายสะอาด และ นางอิ่ม สุทธาวงศ์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค โดยมีหลวงพ่อสุ่น วัดปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จ้อย วัดบ้านแพน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์อุ่ม วัดสุธาโภชน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า โสนันโท ต่อมาท่านได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงพ่อสุ่นพอสมควรแล้ว จึงได้เดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดสระเกศ กรุงเทพฯ และวัดเจ้าเจ็ดในพระนครศรีอยุธยา เรียนแพทย์แผนโบราณจากวัดสังเวชฯศึกษาเพิ่มเติมกับ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย และ พระอาจารย์โหน่ง อิณฑสุวัณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดคลองมะดัน เรียนวิชาสร้างพระเครื่องดินจากชีปะขาว เรียนการปลุกเสกพระเครื่องและเป่ายันต์เกราะเพชรจากอาจารย์แจง สวรรคโลก ได้รับพระคาถาปัจเจกโพธิสัตว์มาจากครูผึ้ง อยุธยา หลังจากนั้น ท่านจึงได้มาอยู่ที่วัดบางนมโคและได้รับพระราชทานสัมณศักดิ์เป็น พระครูวิหารกิจจานุการ กิจวัตรของท่านก็คือหลังจากท่านฉันภัตตาหารเพลแล้ว ท่านก็จะมาสงเคราะห์ชาวบ้าน ตลอดทั้งวัน และทำน้ำมนต์เพื่อรักษาคนไข้ รวมทั้งผู้ที่ถูกกระทำคุณไสยด้วย
หลวงพ่อปาน โสนันโทได้ละสังขาร เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ตรงกับรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รวมสิริอายุได้ 63 ปี บวชพระมาได้ 42 พรรษา เหลือแต่มรดกที่ล้ำค่า เช่น พระเครื่องดินเผา ผ้ายันต์เกราะเพชร ผ้ายันต์ชนิดต่าง ๆ และพระคาถาปัจเจกโพธิสัตว์ มอบให้แก่ศิษย์สืบต่อไป ลูกศิษย์ของท่าน ที่สืบทอดวัดบางนมโคต่อจากท่านก็คือ หลวงพ่อเล็ก เกสโร เจ้าอาวาสรูปที่ 4 ของวัดบางนมโค การสร้างพระของท่านก็ไม่เหมือนกับวัดอื่น คือท่านมักจะสร้างเป็นรูปพระพุทธเจ้าอยู่เหนือสัตว์พาหนะอันมี ครุฑ หนุมาน เม่น ไก่ นก และปลา เป็นต้น
หลวงพ่อปาน สร้างพระเครื่องในปี พ.ศ. 2446 ท่านได้ครุ่นคิดถึงการจะปรับปรุงเสนาสนะในวัดบางนมโค ให้ดีขึ้นท่านได้หาทางที่จะได้ปัจจัยมาดำเนินการสร้างเสริมถาวรวัตถุในวัด สิ่งแรกที่ท่านจะทำก็คือ สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแทนองค์เดิมที่ชำรุดทรุดโทรม เมื่อท่านครุ่นคิดหนักเข้าไปหาวิเวกในบริเวณป่าช้าท้ายวัดบางนมโค ในขณะที่ท่านเจริญฌาณอยู่นั้นเอง ชีปะขาวก็ปรากฏกายขึ้นเบื้องหน้าท่าน แล้วบอกท่านจะต้องสร้างพระจึงสามารถหาทุนมาทำงานได้
โดยชีปะขาวได้ชี้แจงว่าให้ทำเป็นรูปสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับบนบัลลังก์เหนือสัตว์พาหนะทุกอย่าง โดยจะมานิมิตให้เห็นวันละหนึ่งตัวพร้อมพระคาถากำกับ

ในคืนแรกนั้นชีปะขาว ได้บันดาลให้เกิดลมพายุพัดอื้ออึงแล้วก็ปรากฏร่างของหนุมานลอยลงมาหยุดตรงหน้าท่านยืนนิ่งอยู่ บนศรีษะหนุมานนั้นมีหัวใจพระคาถากำกับไว้ ท่านก็จดจำเอาไว้ ชีปะขาวก็ถามว่าจำได้ไหม ท่านก็บอกว่าจำได้หนุมานก็หายไป
ในคืนที่สองก็มีลมพายุพัดแบบคราวแรกแล้วก็มีไก่บินมา ตรงหน้าท่านพร้อมพระคาถาบนหัวไก่ท่านก็ท่องจำได้ ไก่ก็หายไป
ในคืนที่สาม ก็มีครุฑปรากฏขึ้นพร้อมด้วยคาถาบนศรีษะท่านก็จดจำไว้
ในคืนที่สี่ ก็มีเม่นมาปรากฏตัวพร้อมคาถา
ในคืนที่ห้า ก็มีนกกระจาบมาปรากฏ
ในคืนที่หก ก็มีปลาเสือมาปรากฏ
เมื่อท่านจำจำขึ้นใจแล้ว ชีปะขาวจึงว่าพระนี้ท่านปลุกเสกได้นานถึงสามปี จะมีอิทธิฤทธิ์ขึ้นมาก ถ้าปลุกเสกครบไตรมาสก็จะป้องกันอันตรายได้
แม้ท่านจะได้รับการแนะนำ จากชีปะขาวแล้วท่านก็ยังมิได้สร้างพระคงรออยู่ ต่อมา จนถึงปี 2450 ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาการปลุกเสกพระจากอาจารย์แจง ฆาราวาส ตามตำราพระร่วงเจ้า จึงตัดสินใจสร้างพระขึ้นเป็นครั้งแรกวัตถุประสงค์ของท่านเพื่อหาทุนมาสร้างพระเจดีย์ การสร้างครั้งนั้นนับเป็นครั้งแรกของท่าน

การให้พระเครื่องหลวงพ่อปานช่วย(ใบปลิวพิมพ์แจกพร้อมพระ)
วิธีจะไปทางไกลและทำกินสิ่งไร หรือการเจ็บไข้ต่างๆ อธิษฐานถ้าเย็นเป็นส่วนดี ถ้าร้อนเป็นของชั่ว คือให้บูชาพระเครื่องหลวงพ่อปานด้วยดอกไม้ธูปเทียน แล้วถวายพรด้วย อิติปิโส และพาหุงแล้วยกมือขวาแบไว้ตรงหน้า อธิษฐานว่าขอบารมีพระพุทธเจ้าและสัตว์ที่บูชาจงบันดาลให้เย็นในฝ่ามือ ถ้าจะมีภัยอันตรายต่างๆ ขอให้ร้อนในฝ่ามือยกมือไว้สักครู่หนึ่งก็รู้ได้ ถ้าเย็นไปได้ ถ้าร้อนอย่าไปเลย ถึงรักษาไข้เจ็บและทำกินเป็นต้น ให้อธิษฐานดูเสียก่อน
ส่วนพระเครื่องทั้งหกอย่างที่กล่าวแล้ว บุคคลใดเอาไปกับตัว ห้ามมิให้กินเหล้าและลักขโมย และพระที่กล่าวมาที่หลวงพ่อปาน ได้แจกแก่มนุษย์หญิงชายที่เลื่อมใสในศาสนา แล้วฝอยที่พิมพ์แจกในใบนี้แจกแก่ท่านทั้งหลาย ไม่ได้ขายเป็นราคามากน้อยเป็นไม่มีเด็ดขาด ถ้าใครทำซื้อขายและพระเครื่องทั้งหกอย่าง ฉันไม่รับรองว่าเป็นของฉันจะใช้ได้ตามฝอยหรือไม่ได้ก็ตาม ถ้าเป็นของฉันแท้ๆ ให้ทดลองดูคนถูกน้ำมันพรายให้อมไว้ข้างแก้มสักครู่หนึ่ง ถ้าร้อนหูและร้อนหน้าแล้ว เอาพระมากำไว้ในมือสักครู่จนเมื่อยตลอดแขนให้แบมือออกดู เมื่อน้ำมันออกให้ดมดูแล
ให้ติดปากแผล งูพิษ ตะขาบ แมลงป่อง นี้แหละเป็นของฉันแท้ๆ แล้วผู้ที่จะใช้ให้ประกอบเมตตาให้มากๆ ยังมีสรรพคุณอีกหลายสิบอย่างกล่าวไว้ให้ย่อๆ พอสมควร เท่านี้พระหกอย่างที่ฉันแจกนี้ ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดได้รับจากฉันเอาไปทำโดยบริสุทธิ์เมตตาต่อสัตว์มนุษย์ทั่วไป ขอบารมีของพระและบารมีที่ข้าพเจ้าได้สร้าง เพื่อโพธิญาณขอให้บันดาลให้ท่าน ทั้งหลายจะทำอะไร ให้ได้สำเร็จตาม ความปรารถนา อย่างที่ข้าพเจ้าได้อธิษฐานไว้เทอญ อายุ วัณโณ สุขัง พลัง
พระเครื่องกับลูกอมมีสรรพคุณเหมือนกันอย่างเดียวกัน เมื่อไม่มีพระอาราธนาลูกอมใช้ก็ได้ วิธีอาราธนาบูชาอย่างเดียวกัน ใช้ดอกไม้ธูปเทียนอย่างเดียวกันตามแต่จะหาได้ การบูชาพระเครื่องกับลูกอมอย่างเดียวกันกับบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เช่นที่เคยบูชามาก็เหมือนกัน
หมายเหตุ ได้แจกตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2460

พระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์
ว่า นะโม ฯลฯ สามจบ
พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ (พระคาถาบทนำว่าครั้งเดียว)
วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มาณี มามะ พุทธัสสะ สวาโหม (ว่า สามจบ หรือ ห้าจบ หรือเจ็ดจบ หรือเก้าจบ ก็ได้แต่ต้องสม่ำเสมอจึงเกิดผล)
ผู้ใช้พระคาถานี้ จะต้องใส่บารตรแก่พระสงฆ์อยู่เสมอ ตั้งแต่หนึ่งองค์ขึ้นไปทุกวัน มิได้ขาด รักษาศีล หมั่นสวดมนต์ และสวดพระคาถานี้ เวลาเช้าตื่นนอนให้ว่าพระคาถานี้ 3-5-7-9 จบเมื่อใส่บาตรให้ระลึกถึง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ พระปัจเจกะโพธิ์ ท่านครูผึ้ง หลวงพ่อปานเป็นที่สุดก่อนแล้วจงจบข้าวที่จะใส่บาตร ถึงเวลานอนแล้วสวดพระคาถานี้ 3-5-7-9 จบถ้าปฏิบัติได้ดังนี้ เป็นนิจแล้ว จะมีความสุข ความเจริญ มีลาภยศสรรเสริญ

พุทธคุณพระหลวงพ่อปาน
ครุฑ... เจริญในหน้าที่ราชการ แคล้วคลาดปลอดภัย มีอำนาจบารมี คู่ควรบูชากับผู้ทำงานราชการชั้นเจ้านาย
หนุมาน... มีเดชมีอำนาจ คงกระพันชาตรี คู่ควรบูชากับข้าราชการทหารตำรวจ ฝ่ายปกครอง
เม่น... ป้องกัน อันตราย จากสัตว์ร้าย สารพัดเขี้ยวงา อุบัติเหตุ คู่ควรบูชากับผู้เดินทางไกล ทำงานขนส่งทางบก ทางรถยนต์
ไก่... เสน่ห์ เมตตา มหานิยม คนรักคนชอบ คู่ควรบูชากับผู้ทำธุรกิจส่วนตัว ห้างร้าน บริษัท ค้าขาย
นก... คุ้มกันภัยอันตราย ปลอดภัย เกษตรกรรมทำไร่ไถนาดี ทำให้เกิดสามัคคี เดินทางอากาศ การฑูตต่างประเทศดี
ปลา... ค้าขายเจริญ ทำมาค้าขึ้น เดินทางน้ำ ทางเรือ ปลอดภัย ทำธุกิจทางน้ำดี เจริญก้าวหน้าและโชคลาภ

สำหรับองค์นี้เป็นพิมพ์ทรงขี่เม่นเล็ก

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top