หมวด หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง – หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
พระพุทธนฤมิตโชค (กวางเล็ก) หลวงพ่อจรัญ
ชื่อร้านค้า | มรดกพุทธะ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระพุทธนฤมิตโชค (กวางเล็ก) หลวงพ่อจรัญ |
อายุพระเครื่อง | 50 ปี |
หมวดพระ | หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง – หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | luckypop999@hotmail.com |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อา. - 08 พ.ค. 2554 - 22:31.55 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ส. - 20 ก.พ. 2559 - 16:30.03 |
รายละเอียด | |
---|---|
ความจริงแล้วหลวงหลวงพ่อชอบพิมพ์ กวางเล็ก มากกว่า กวางใหญ่ นะครับ ตามประวัติที่ท่านเขียน ประวัติความเป็นมา ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า พระเครื่องรางของขลังต่าง ๆ นั้น เป็นที่นิยมนับถือของคนไทยชาวพุทธมาแต่โบราณ สำหรับมีไว้ประจำตัวเพื่อเป็นที่พึ่งทางใจ ทำให้ใจอบอุ่นเหมือนมีเพื่อนคอยคุ้มครอง ทั้งเพื่อเป็นสิริมงคลขจัดปัดเป่าสิ่งที่ตนไม่พึงปรารถนาให้ห่างไกล เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายให้เห็นว่าผู้นับถือเป็นผู้เทิดทูนพระพุทธองค์ซึ่งเป็นศาสดาเอกในโลก ผลแห่งการอภิวาทนั้น ย่อมอำนวยให้สำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนา นอกจากนั้นพระเครื่องรางยังช่วยเผยแพร่ผดุงส่งเสริมพระบวรพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งฟุ้งขจรสืบต่อไปในอนาคตอย่างไม่มีของเขตอาศัย มูลเหตุนี้เป็นที่ตั้งบวกกับผลแห่งการรบเร้ากระตุ้นเตือนของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย เป็นพลังดลใจให้ท่านพระครูฯ ได้เกิดเมตตากรุณาธรรมเสียสละเวลารวบรวมแร่และผงวิเศษจากแหล่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างยอดเยี่ยม ยากที่ปุถุชนคนธรรมดาจะกระทำได้ นำมาคุลีการบดผสม (บดด้วยไฟฟ้า) ปลุกเสกเป็นรูปพระพิมพ์ขึ้นเมื่อ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๑ ตรงกับเดือน ๑๑ วันอังคาร แรม ๙ ค่ำ อันเป็นฤกษ์งามยามดีที่ให้ปฏิสนธิการอุบัติขึ้นในโลกของพระพุทธนฤมิตโชค จุดประสงค์ ขั้นแรกพระคุณเจ้าท่านพระครู ดำริจะสร้างพระอุโบสถใหม่ จะนำพระนี้เข้าบรรจุไว้ในชุกชีใต้แท่นพระประธานเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนาไปชั่วกาลนาน มิได้มุ่งหมายจะจำหน่ายจ่ายแจกหาผลประโยชน์ด้วยประการใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เมื่อทำสำเร็จเป็นองค์พระขึ้นแล้ว มีนักปราชญ์บางท่านสามารถทราบล่วงรู้ถึงสรรพคุณว่าพระนี้มีพุทธานุภาพดีเลิศ ไม่ควรจะนำของดี ๆ เช่นนี้ไปฝังดินจมทรายเสียหมด แนะนำให้แบ่งส่วนจ่ายแจกแก่สาธุชนผู้ใจบุญ (ที่มาช่วยบริจาคสร้างอุโบสถ) ไว้สักการบูชาบ้างก็จะอำนวยประโยชน์อย่างมหาศาล เมื่อเป็นเช่นนี้พระคุณท่านจึงตกลงใจคล้อยตาม คือจะจ่ายแจกส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งจะบรรจุไว้ตามเจตนาเดิม แบบและขนาดของพระพิมพ์ เดิมตั้งใจทำเพียงแบบและขนาดเดียว คือเป็นปางสมาธิเกศเปลวเพลิงประทับนั่งใต้ต้นมะม่วงบนฐานบัวหงายแนวตรง ใต้ฐานด้านหน้าเป็นรูปพระธรรมจักร มีกวางหมอบสองตัว กรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๒.๔x๓.๗x๐.๔ ซม. ด้านหลังมีตัวอักษรจารึก "วัดอัมพวัน สิงห์บุรี" เมื่อนำพระไปให้ช่างที่พระนครแกะพิมพ์และทดลองพิมพ์แบบสำเร็จ ส่งมาให้ดูเป็นตัวอย่าง จะเป็นเพราะเทพเจ้าเข้าดลใจหรืออย่างไรก็เหลือสัณนิษฐาน พลันก็นึกอยากได้พระปางพระทานพรทรงอินเดีย (ซึ่งมีแบบอยู่แล้ว) นึกตำหนิแบบที่ ๑ ว่ารูปกวางหมอบที่ทำไปแล้วนั้นยังไม่เป็นที่พอใจ คิดไว้แต่ในใจว่าพรุ่งนี้เช้าจะเดินทางเข้าพระนครให้ช่างแก้ไขและทำแบบใหม่ วันรุ่งขึ้นจึงเดินทางเข้าพระนครกับผู้ติดตามอีกหลายท่าน เมื่อไปถึงยังมิทันพูดอะไร นายช่างบอกว่า เมื่อคืนผมนอนไม่หลับตลอดคืน เฝ้าแกะพิมพ์พระให้ท่านพระครูใหม่พร้อมกับนำมาให้ดู พอท่านพระครูเห็นเข้าเท่านั้นถึงกับขนลุก นึกว่านี่อะไรกันเหตุไรช่างทำเหมือนกับที่คิดไว้ไม่ผิดเพี้ยนประจักษ์ต่อหน้าผู้ติดตามทุกคน จึงตอบนายช่างไปว่า ที่มานี้ก็เพื่อจะให้ทำพิมพ์อย่างนี้และกวางแบบนี้นี่แหละ (ดูแบบที่ ๒) จึงตกลงให้ทำพิมพ์ที่ ๒ ขึ้นอีกนับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ทุกท่านควรทราบไว้บำรุงศรัทธาส่วนหนึ่งด้วย พระแบบที่ ๒ นั้นเรียกว่า ปางประทานพร เกศบัวตูม มีอักษรขอม ๒ แถว ทางดิ่งนั้นคือ หัวใจพรพระ ๘ บท (พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ) นอกนั้นมีลักษณะเหมือนแบบที่ ๑ ทุกอย่าง แต่มีขนาดเล็กกว่า มีขนาด ๒.๓x๓.๒x๐.๕ ซม. เนื้อพระทั้งหมดเป็นผงผสมแร่เคลือบน้ำมันสีน้ำตาลอ่อน บางองค์มีสีเขียวปะปนบ้าง เนื้อของพระพิมพ์แกร่งมาก ผงวิเศษและการได้มา ผงที่นำมาผสมพระพิมพ์ครั้งนี้ มี ๑๖ อย่าง ที่พระคุณเจ้าไปนำมาด้วยตนเอง ๑. แร่เศรษฐีป้อมเพชร ได้จาก จ.กำแพงเพชร (แดนเศรษฐีโบราณ) ๒. แร่ทรหด ได้จากถ้ำเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ๓. แร่เม็ดมะขาม ได้จากเจดีย์วัดประสาท เจดีย์หักบ้านแป้ง จ.สิงห์บุรี ๔. แร่ขวานฟ้า ได้จากอาจารย์หล่ำ บ้านเตาอิฐ จ.สิงห์บุรี ๕. แร่ข้าวตอกพระร่วง ได้จาก จ.สุโขทัย ๖. แร่ขี้เหล็กไหล ได้จากเขาหลวง จ.นครสวรรค์ ๗. แร่สังคะวานร ได้จากวัดไม้แดง ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี ๘. อิฐดอกจันทร์ ได้จากวัดไม้แดง ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี ๙. คตปลวก ได้จาก โคกดินวัดพระปรางค์มุนี จ.สิงห์บุรี ๑๐.คตไม้สัก ได้จากพงพญาเย็น จ.นครราชสีมา ๑๑.ขี้ปรอท ได้จาก จ.เพชรบูรณ์ ๑๒.ผงกรุพระ ได้จากวัดพระธาตุ จ.ชัยนาท ๑๓.ผงกรุพระ ได้จากหลวงพ่อจาด จ.ปราจีนบุรี ๑๔.ผงกรุพระ ได้จากพระอาจารย์ ๑๐๘ วัดพรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ๑๕.ผงกรุพระ ได้จากพระครูวินิจสุตคุณ วัดเสาธงทอง จ.อ่างทอง ๑๖.ผงกรุพระ ได้จากพระครูเปลี่ยน วัดสามปลื้ม จ.พระนคร |
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments