( ( ( ...พระกริ่งพรหมรังสี หลวงปู่หมุน มหาสมปรารถนา ...) ) )-มงคล909 - webpra
...กินบนเรือน ไม่ขี้ลดบนหลังคา...

หมวด หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน - หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์เหนือ

( ( ( ...พระกริ่งพรหมรังสี หลวงปู่หมุน มหาสมปรารถนา ...) ) )

( ( ( ...พระกริ่งพรหมรังสี หลวงปู่หมุน  มหาสมปรารถนา ...) ) ) - 1( ( ( ...พระกริ่งพรหมรังสี หลวงปู่หมุน  มหาสมปรารถนา ...) ) ) - 2( ( ( ...พระกริ่งพรหมรังสี หลวงปู่หมุน  มหาสมปรารถนา ...) ) ) - 3
ชื่อร้านค้า มงคล909 - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง ( ( ( ...พระกริ่งพรหมรังสี หลวงปู่หมุน มหาสมปรารถนา ...) ) )
อายุพระเครื่อง 21 ปี
หมวดพระ หลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน - หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์เหนือ
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ theerawat3695@gmail.com / theerawat4289hotmail.com
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 26 ก.พ. 2559 - 12:57.19
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 30 พ.ค. 2560 - 12:13.44
รายละเอียด
พระกริ่งพรหมรังสี และ พระสมเด็จหล่อโบราญ เป็นสุดยอดพระเครื่องหลวงปู่หมุน ในรุ่น "มหาสมปรารถนา" ที่หาชมได้ยากยิ่ง เพราะไม่มีเปิดให้เช่าบูชามาตั้งแต่ต้น สร้างเพื่อไว้เป็นที่ระลึก สำหรับแจกพระผู้ใหญ่และผู้เข้าร่วมพิธีเท่านั้น และนับเป็นที่สุดแห่งพระเครื่อง ที่หลวงปู่หมุน ตั้งใจเสกเต็มกำลังพุทธคุณ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แด่องค์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พระปรมาจารย์ผู้เป็นอมตะเถระ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นวัตถุมงคล ที่เคยสร้างความฮือฮา และสร้างปาฏิหาริย์ มาแล้วเป็นที่ประจักษ์ ...ท่านเคยได้ยินข่าว หรือไม่ว่า ตอนที่ หลวงปู่หมุน มาปลุกเสกที่วัดระฆังแห่งนี้ แล้วทำให้คนที่นี่ ถูกหวยกันมากมาย ก็ตอนที่มาปลุกเสกพระเครื่องรุ่นนี้เป็นครั้งที่2 ในโอกาศครบรอบ 214 ปีเกิดชาตกาลของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ในปี พ.ศ. 2545 นั่นเองครับ

***ประวัติความเป็นมา***
พระกริ่งพรหมรังสี และ พระสมเด็จหล่อโบราญ เป็นพระเครื่องที่ พระครูวินัยธรวัฒนะชัย ชตฺติพโล(พระครูเข็ม) คณะ3 วัดระฆังโฆษิตาราม (ผู้ที่สร้างสมเด็จหลังลายเซ็นต์ รุ่นมหาสมปรารถนาให้อาจารย์ตั๋ว วัดซับลำไย) ได้จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2542 เพื่อเตรียมไว้แจกเป็นที่ระลึกในโอกาศครบรอบ 214 ปีเกิดชาตกาลของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ในปี พ.ศ.2545 แก่ผู้เข้าร่วมพิธีในขณะนั้น ไม่มีจำหน่าย จึงไม่มีการพิมพ์ประชาสัมพันธ์ในโบชัวร์สั่งจองหรือที่ไหนทั้งสิ้นโดยใช้ชนวนที่เหลือก้นเบ้าจากการเททองหล่อพระยืน ที่วัดพระแก้ว ที่ท่านพระครูได้เก็บรักษาไว้ซึ่งเป็นชนวน ที่เป็นเนื้อนวะโลหะเต็มสูตรที่แก่ทองคำมากที่สุด (องค์พระเครื่องจะมีน้ำหนักมากกว่าพระเครื่องเนื้อโลหะองค์อื่นๆที่มีขนาดเท่ากัน) มาผสมเนื้อทองคำและชนวนหลวงพ่อทวดเตารีดใหญ่เข้าไปอีก แล้วนำมาเทสร้างเป็นพระสมเด็จหล่อโบราญ จำนวนเท่าอายุสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) คือ 85 องค์ และที่เหลือเทสร้าง พระกริ่งได้อีก 142 องค์เท่านั้น แล้วนำไปตอกโต๊ตกำกับไว้ 4 ตัว โดยโค๊ตแต่ละตัวมีความหมายดังนี้

1.โค๊ต ช. หมายถึง คาถาชินบัญชร
2.โค๊ต ท. หมายถึง มีชนวนหลวงพ่อทวด
3.โค๊ต โต หมายถึง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
4.โค๊ต ระฆัง หมายถึง เข้าพิธีพุทธาภิเษกที่โบสถ์วัดระฆังโฆษิตาราม

ต่อมาในช่วงต้นปี 2543 ช่างขุน ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องชายของพระครูเข็ม ได้เป็นผู้จัดสร้าง พระเครื่องหลวงปู่หมุน รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ซึ่งพระครูเข็มเห็นว่า หลวงปู่หมุนเป็นพระเถราจารย์ผู้สูงส่งด้วยอภิญญาญาณสมาบัติ จึงมีความตั้งใจว่าจะนำพระกริ่งพรหมรังสีและพระสมเด็จหล่อโบราญ ที่จัดสร้างไว้แล้วนี้ เข้าพิธี รุ่นเสาร์ 5 บูชาครู ให้หลวงปู่หมุนได้ปลุกเสกด้วย จึงให้ช่างขุน เอาพระเครื่องชุดนี้ไปตอกโค๊ต ที่เป็นสัญลักษณ์ขององค์หลวงปู่หมุน เพิ่มอีก 1 ตัว เพื่อให้รู้ว่ามีหลวงปู่หมุนเสกด้วย (โดยช่างชุนได้เลือกโค๊ตเฑาะห์ ที่กำลังตอกในรุ่น เสาร์5บูชาครู) ขณะเดียวกันนั้น ก่อนจะมีพิธีพุทธาภิเษกรุ่นเสาร์ 5 บูชาครู อาจารย์ตั้ว วัดซับลำไย ได้เข้ามาติดต่อช่างขุน ให้เป็นผู้ร่วมสร้างพระเครื่องหลวงปู่หมุน ในรุ่นมหาสมปรารถนา และได้เข้ามาปรึกษากับพระครูเข็ม เรื่องจะขอนำรุ่นมหาสมปรารถนา มาพุทธาภิเษกที่วัดระฆังโฆษิตารามในปลายปีด้วย พร้อมกับขอให้พระครูเข็มสร้างพระสมเด็จหลังลายเซ็นเพิ่มในรุ่นสมปรารถนา (พระสมเด็จหลังลายเซ็นจึงเป็นพระเครื่องนอกรายการในใบชัวร์สั่งจองของรุ่นมหาสมปรารถนาเพราะทางวัดซับลำไยได้สั่งพิมพ์รายการเป็นโบชัวร์ไปแล้ว) ซึ่งพระครูเข็มเห็นว่าไหนๆ หลวงปู่หมุน จะต้องมาปลุกเสกที่วัดระฆังโฆษิตาราม จึงไม่นำพระกริ่งพรหมรังสีและพระสมเด็จหล่อโบราญ เข้าพิธีเสาร์ 5 บูชาครู ตามที่ตั้งใจไว้แต่แรก โดยเก็บไว้รอเข้า "พิธีมหาสมปรารถนา" ที่วัดระฆังโฆษิตารามในปลายปีทีเดียว จึงเป็นที่มาว่า ตอกโค๊ตรุ่นเสาร์ 5 บูชาครู แต่ปลุกเสกในพิธีมหาสมปรารถนาต่อมาในวันที่ 17 เมษายน 2545 หลวงปู่หมุน ได้ตั้งใจมาปลุกเสกพระเครื่องชุดนี้อีกครั้งโดยเฉพาะ ที่พระอุโบสถ วัดระฆังโฆษิตาราม เนื่องในวันครบรอบ 214 ปีเกิดชาตกาลของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) โดยหลวงปู่หมุนตั้งใจมาปลุกเสกเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แด่องค์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พระปรมาจารย์ผู้เป็นอมตะเถระ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

***สรุปดังนี้***
1. พระกริ่งพรหมรังสี จัดสร้าง 142 องค์
2. พระสมเด็จหล่อโบราญ จัดสร้าง 85 องค์

ทั้ง2รายการจัดเป็นหนึ่งในพระเครื่องของ รุ่นมหาสมปรารถนา ที่ไม่ได้ลงประชาสัมพันธ์ในรุ่นมหาสมปรารถนา เพราะไม่ได้เปิดให้เช่าบูชาสร้างเพื่อไว้เป็นที่ระลึก สำหรับแจกพระผู้ใหญ่และผู้เข้าร่วมพิธีเท่านั้น จึงอยู่นอกรายการในใบชัวร์สั่งจองของรุ่นมหาสมปรารถนา เช่นเดียวกับสมเด็จหลังลายเซ็นต์ (แต่สมเด็จหลังลายเซ็นต์มีเปิดให้เช่าบูชา) ซึ่งสมเด็จหลังลายเซ็นต์เป็นพระเครื่อง ที่อาจารย์ตั๋ว วัดซับลำไย มาขอให้พระครูเข็มทำเพิ่มหลังจากสั่งพิมพ์รายการเป็นโบชัวร์ไปแล้ว โดยพระกริ่งพรหมรังสีและพระสมเด็จหล่อโบราญ นี้หลวงปู่หมุน ได้ปลุกเสกทั้ง 2 พิธีใหญ่ ดังนี้
1.) ครั้งที่ 1 เข้าพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารสมเด็จโตวัดระฆังโฆษิตาราม ในรุ่นมหาสมปรารถนา ของวัดซับลำไย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2543
2.) ครั้งที่ 2 เข้าพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดระฆังโฆษิตาราม เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2545 ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 214 ปีเกิดชาตกาลของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top