หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
พระพุทโธน้อย พิมพ์ หน้าตุ๊กตาเล็กนิยม เนื้อดินเผา 2494 รุ่นแรก ** สถานะโชว์**
ชื่อร้านค้า | พุทธธรรม - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระพุทโธน้อย พิมพ์ หน้าตุ๊กตาเล็กนิยม เนื้อดินเผา 2494 รุ่นแรก ** สถานะโชว์** |
อายุพระเครื่อง | 73 ปี |
หมวดพระ | พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | Thianchai.dh@gmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ศ. - 23 มี.ค. 2561 - 14:54.16 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ศ. - 23 มี.ค. 2561 - 14:54.16 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระพุทโธน้อย พิมพ์ หน้าตุ๊กตาเล็กนิยม เนื้อดินเผา 2494 รุ่นแรก ** สถานะโชว์** จำนวนการสร้างพระพุทโธน้อย มีดังนี้ครับ 1.เนื้อดินเผา จำนวน 50,000 องค์ 2.เนื้อผงพุทธคุณ จำนวน 30,000 องค์ 3.เนื้อผงใบลานสีดำผสมผงพุทธคุณ จำนวน 20,000 องค์ 4.เนื้อพิเศษ ปูนเสก / เนื้อไพล มีน้อยมาก ในวงการพระเครื่องมีพระดีเด่นดัง อยู่มากมาย หนึ่งในนั้น เป็นพระที่เซียนพระนิยมห้อยบูชากันมา 50 กว่าปี ย้ำ เซียนพระนะครับ ถ้าดูในคอของเซียนพระดังระดับประเทศรุ่นเก่า จนถึงเซียนพระรุ่นใหม่ไฟแรง อย่าง บอยท่าพระจันทร์ ผู้มีสนามฟุตบอลเป็นของตนเอง และเล่นพระระดับหลักแสน หลักล้าน แต่ในคอ ต้องมีพระองค์นี้อยู่ในคอครับ นั่นคือ พระพุทโธน้อย ปี 2494 นั่นเอง (ประสบการณ์ของเซียนบอย คือ เช่าพระมาชุดนึงราคาหลักล้าน แต่ปล่อยไม่ออกสักทีจนกลุ้มใจ เซียนบอยได้ยินมาว่า พระพุทโธน้อย ขอพรได้รวดเร็วทันใจ จึงไปหามาห้อยคอ และจุดธูปขอพรบอกกล่าวสิ่งที่ตนเองกลุ้มใจอยู่ ปรากฏว่า 3 วันเท่านั้น มีผู้มาขอบูชาพระชุดนี้ไปอย่างง่ายดายครับ -พระพุทโธน้อยพิมพ์ที่เซียนบอย หามาห้อยคอ คือพระพุทโธน้อย พิมพ์จัมโบ้ครับ) และที่สำคัญ พระพุทโธน้อยนี้ ผู้ปลุกเสกไม่ใช่พระสงฆ์ครับ เป็นอุบาสิกาที่ถือศีล 5 นั่นก็คือ คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติมครับ ที่ท่านปฏิบัติธรรมจนเคร่งครัด สำเร็จคุณธรรมขั้นสูง สามารถล่องหน หายตัวได้ เดินกลางฝนไม่เปียก เสกของอธิษฐาน ให้คนกิน จนหายจากโรคร้าย และ ท่านมีวาจาสิทธิ์ มีคนพิการขาเป๋หลังโก่ง เดินไม่ได้ ต้องใช้ไม้เท้า มาหาคุณแม่ คุณแม่สั่งให้ทิ้งไม้เท้า และสั่งให้เดินเอง ปรากฏว่า หลังกลับตรง และเดินได้เอง อย่างน่าอัศจรรย์ จนวาระสุดท้าย เมื่อคุณแม่เสียชีวิต กระดูกกลายเป็นพระธาตุ ดุจดังกับพระอริยเจ้าสายพระป่ากรรมฐาน ครับ พระพุทโธน้อยนี้ เด่นมาก ผมขอยกให้เป็น 1 ในแผ่นดิน ในเรื่อง การขอพรได้รวดเร็วทันใจครับ (ถ้าสิ่งนั้นไม่ผิดศีลธรรม) ได้ยินมาจากลูกค้าที่เช่าไปห้อยบูชา โทรกลับมาเล่าให้ฟังบ่อยครั้ง จนเป็นเรื่องปกติครับ ไม่ว่าเรื่อง การงาน การเงิน ถ้าท่านศรัทธาจริงมีผลแน่นอน ท่านใดยังไม่มีบูชาลองหามาห้อยคอสักองค์นะครับ แล้วท่านจะรู้ได้ด้วยตนเองครับ พระพุทโธน้อย" เป็นพระเครื่องขนาดเล็กที่ท่านสร้างขึ้นและอธิษฐานจิตให้ไว้แก่วัดอาวุธวิกสิตาราม ตำบลบางพลัดนอก ธนบุรี เมื่อปี พ.ศ.2494 เป็นพระพิมพ์แบบครึ่งซีก กรอบทรงสามเหลี่ยม ด้านหน้า องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนือฐานบัวสองชั้น พระเกศเป็นมุ่นเมาลี พระนาสิกเป็นสันนูน พระเนตรเป็นเม็ดกลมนูน และพระหัตถ์ซ้ายถือหม้อน้ำมนต์ ส่วนด้านหลัง มีอักขระขอมจารึกเป็นเส้นลึกอ่านว่า "พุทโธ" โดยมีทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก มีทั้งเนื้อดินเผา และเนื้อผงพุทธคุณครับ จำนวนการสร้างรวมทั้งสิ้น 100,000 องค์ (มียันต์พิเศษ จำนวน 3000 องค์) พระพุทโธน้อย แม้จำนวนสร้างจะมาก แต่ด้วยความศรัทธาในตัวผู้สร้างและพุทธคุณเป็นเลิศปรากฏครบครันทั้งด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด เจริญด้วยโภคทรัพย์ และกำจัดโรคร้าย ทำให้ "พระพุทโธน้อย" หมดไปภายในเวลาอันรวดเร็ว "พระพุทโธน้อย" นับเป็นพระเครื่องเก่าแก่และน่าสะสมมากพิมพ์หนึ่ง ด้วยพุทธคุณที่ปรากฏอย่างสม่ำเสมอแก่ผู้ที่เคารพศรัทธาและกราบไหว้สักการะไม่ขาด ว่ากันว่ามุ่งหวังสิ่งใดก็จะสำเร็จสมความตั้งใจอีกทั้งแคล้วคลาดภยันตรายทั้งปวงครับ การสร้างพระของคุณแม่บุญเรือน " พระพุทโธน้อย" เป็นพระเครื่องขนาดเล็กที่ท่านสร้างขึ้นและอธิษฐานจิตให้ไว้แก่วัดอาวุธ วิกสิตาราม ตำบลบางพลัดนอก ธนบุรี เมื่อปี พ.ศ.2494 เป็นพระพิมพ์แบบครึ่งซีก กรอบทรงสามเหลี่ยม ด้านหน้า องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนือฐานบัวสองชั้น พระเกศเป็นมุ่นเมาลี พระนาสิกเป็นสันนูน พระเนตรเป็นเม็ดกลมนูน และพระหัตถ์ซ้ายถือหม้อน้ำมนต์ ส่วนด้านหลัง มีอักขระขอมจารึกเป็นเส้นลึกอ่านว่า "พุทโธ" โดยมีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก มีทั้งเนื้อดินเผา และเนื้อผงพุทธคุณครับ จำนวนการสร้างรวมทั้งสิ้น 100000 องค์ นอก จากพระพุทโธน้อยหลังยันต์พุทโธ แล้ว ยังมีพระพุทโธน้อย หลังยันต์เฑาะว์ / หลังยันต์เฑาะว์ดอกบัว / หลังยันต์นะอะระหัง/ หลังเรียบ (ไม่มียันต์ อีกด้วย) ซึ่งจำนวนสร้างน้อย และหายากมากครับ ซึ่ง พระชุดนี้คุณแม่บุญเรือน ได้ถวายท่านเจ้าคุณพระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสกเถระ) เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2494ประมาณ 2,000 องค์ พระพุทโธน้อยที่นำมาถวายในปีนั้น มี พระพุทโธน้อย พิมพ์ใหญ่หลังยันต์เฑาะว์ เนื้อดิน และพระพุทโธน้อย พิมพ์หน้าจีนหลังยันต์ฑาะดอกบัว เนื้อดิน โดยคุณแม่ชีได้อธิษฐานจิตเรียบร้อยแล้วพระพุทโธน้อยชุดนี้ ได้รับการพุทธาภิเษกซ้ำอีกครั้งในคราวสมโภชพระประธานที่วัดสารนาถธรรมาราม อ.แกลง จ.ระยอง เมื่อวันที่ 5-30 มีนาคม พ.ศ.2499รวม 18วัน 18 คืน มีพระเถราจารย์มากมายเข้าร่วมพิธีนี้ เช่น พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม,หลวงปู่ขาว อนาลโย,หลวงปู่ดูลย์ อตุโล,พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ,พระอาจารย์วัน อุตตโม เป็นต้น โดยมีหลวงพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ เป็นองค์คอยประสานงานและการพิธีต่างๆ (พิธีเดียวกับ “พระมงคลมหาลาภ”)พระพุทโธน้อยที่กล่าวมานี้ มีในต่างจังหวัดมาก โดยเฉพาะในจังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี พระ พุทโธน้อย แม้จำนวนสร้างจะมาก แต่ด้วยความศรัทธาในตัวผู้สร้างและพุทธคุณเป็นเลิศปรากฏครบครันทั้งด้าน เมตตามหานิยม แคล้วคลาด เจริญด้วยโภคทรัพย์ และกำจัดโรคร้าย ทำให้ "พระพุทโธน้อย" หมดไปภายในเวลาอันรวดเร็ว " พระพุทโธน้อย" นับเป็นพระเครื่องเก่าแก่และน่าสะสมมากพิมพ์หนึ่ง ด้วยพุทธคุณที่ปรากฏอย่างสม่ำเสมอแก่ผู้ที่เคารพศรัทธาและกราบไหว้สักการะ ไม่ขาด ว่ากันว่ามุ่งหวังสิ่งใดก็จะสำเร็จสมความตั้งใจอีกทั้งแคล้วคลาดภยันตราย ทั้งปวงครับผม การสร้างวัตถุมงคลของอุบาสิกาหรือแม่ชีนั้น คนวงการพระเครื่องบางคนอาจจะรู้จักบ้าง ส่วนคนนอกวงการพระเครื่องอาจจะเกิดคำถามว่า มีด้วยหรือพระเครื่องและวัตถุมงคลที่สร้างโดยแม่ชี ที่เปี่ยมด้วยพุทธคุณและมากด้วยค่านิยม "มี ที่สำคัญ คือ เป็นพระเครื่องและวัตถุมงคลที่เปี่ยมด้วยพุทธคุณและมากด้วยค่านิยม" นี่คือคำยืนยันของ นายอรรถวัติ ศิริสิทธิธงไชย หรือ บอย ท่าพระจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเหรียญของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย บอย ท่าพระจันทร์ บอกว่า แม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม เป็นแม่ชีและผู้หญิงเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่อธิษฐานจิตในการจัดสร้างวัตถุมงคลแล้วได้รับความนิยม ทั้งนี้แม่ชีบุญเรือนได้อธิษฐานจิตมอบให้ลูกศิษย์ คือ ปฐวีธาตุหรือศิลาน้ำ (หินหรือกรวดใต้น้ำ) เพราะเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ มีสรรพคุณครอบจักรวาล มีอานุภาพกันภัย รักษาโรคภัย ตลอดจนคุ้มครองรักษาผู้มีติดตัวไป ลูกศิษย์มักนิยมนำมาใส่ในภาชนะที่ตั้งน้ำอธิษฐานประจำวันเสาร์ รวมทั้งเมื่อต้น พ.ศ.๒๔๙๘ ท่านได้อธิษฐานถุงเขียวเหนี่ยวทรัพย์ แก่ลูกๆ และสานุศิษย์อีกด้วย ส่วนพระเครื่องของแม่ชีบุญเรือนที่ได้รับความนิยมนั้น คือ “พระพุทโธน้อย” เป็นพระเครื่องขนาดเล็กที่ท่านสร้างขึ้นและอธิษฐานจิตให้ไว้แก่วัดอาวุธวิกสิตาราม เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ เป็นพระพิมพ์แบบครึ่งซีก กรอบทรงสามเหลี่ยม ด้านหน้า องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนือฐานบัวสองชั้น พระเกศเป็นมุ่นเมาลี พระนาสิกเป็นสันนูน พระเนตรเป็นเม็ดกลมนูน และพระหัตถ์ซ้ายถือหม้อน้ำมนต์ ส่วนด้านหลังมีอักขระขอมจารึกเป็นเส้นลึกอ่านว่า “พุทโธ” นอกจากนี้แล้วภาพถ่ายเก่าๆ ของแม่ชีบุญเรือน รวมทั้งหนังสืออนุสรณ์ในงานบำเพ็ญกุศลฌาปนกิจศพคุณแม่บุญเรือน ก็เป็นที่แสวงหาเช่น สำหรับผู้ที่ไม่สามารถแสวงหาภาพเก่าของแม่ชีบุญเรือนมาบูชาหรือติดไว้ที่บ้านได้นั้น มีความเชื่อในหมู่ลูกศิษย์รวมทั้งตนก็เชื่อด้วยว่า ภาพถ่ายอธิษฐานของคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ถ่าย ณ วัดท่าผา จ.กาญจนบุรี ที่คุณแม่บุญเรือนอธิษฐานไว้ว่า ไม่ว่ารูปนี้จะอัดขยายต่อไปอีกกี่พันกี่หมื่นกี่แสนครั้ง ทุกๆ ภาพก็จะมีความศักดิ์สิทธิ์เสมอกับรูปต้นแบบที่ถ่ายไว้ทุกประการ ด้วยเหตุนี้จึงนำรูปของท่านไปอัดขยายติดไว้ที่ร้าน สำหรับค่านิยมของพระเครื่องที่อธิษฐานจิตโดยแม่ชีบุญเรือนนั้น บอย ท่าพระจันทร์ บอกว่า พระพุทโธน้อย พิมพ์จัมโบ้ เนื้อขาว สร้างปี ๒๔๙๔ สภาพสวยสมบูรณ์ค่านิยมประมาณ ๒-๓ แสนบาท พระพุทโธน้อย พิมพ์ใหญ่ (อะมีแป้น) ค่านิยมประมาณ ๔-๕ หมื่นบาท ส่วนพระพุทโธน้อยพิมพ์ใหญ่ค่านิยมประมาณ ๒-๓ หมื่นบาท รวมถึงพิมพ์พระสมเด็จหลังยันต์และหลังเรียบ และพระสมเด็จพิมพ์ประจำวัน สนนราคาเล่นหาสูงมากเช่นกัน เมื่อถามถึงการเปิดกรุพระเก่าใต้ฐานชุกชี พระพุทธชินราชจำลอง พระประธานในพระอุโบสถอย่างเป็นทางการ ของพระเทพปัญญามุนี เจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตารามเมื่อครั้งที่ผ่านนั้น บอย ท่าพระจันทร์ บอกว่า แม้ว่าจะไม่ได้ไปร่วมเปิดกรุแต่การสร้างพระบรรจุกรุดไว้นั้นมีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน โดยเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙ ได้มีการสร้างพระประธาน หลังจากนั้นได้นำพระพุทโธน้อย และพระพิมพ์สมเด็จมงคลมหาลาภเนื้อผงผสมว่าน และมวลสารอันเป็นมงคลต่างๆ ที่สร้างไว้เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ ในยุคของพระสิทธิสารโสภณ หรือ พระอาจารย์สงวน โฆสโก อดีตเจ้าอาวาสวัดอาวุธวิกสิตาราม และ แม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม มาบรรจุไว้จำนวนมาก |
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments