เหรียญหลวงพ่อในกุฏิ วัดกุยบุรี เนื้อทองแดง ปี 2496-สกุลจันทร์ - webpra
VIP
ขอเดชะบารมี เป็นที่พึ่งที่ระลึก จงอย่าอด อย่าอยาก อย่ายาก อย่าจน อย่าต่ำกว่าคน อย่าจนกว่าเขา สาธุๆๆ

หมวด พระเกจิภาคใต้

เหรียญหลวงพ่อในกุฏิ วัดกุยบุรี เนื้อทองแดง ปี 2496

เหรียญหลวงพ่อในกุฏิ วัดกุยบุรี เนื้อทองแดง ปี 2496 - 1เหรียญหลวงพ่อในกุฏิ วัดกุยบุรี เนื้อทองแดง ปี 2496 - 2
ชื่อร้านค้า สกุลจันทร์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหลวงพ่อในกุฏิ วัดกุยบุรี เนื้อทองแดง ปี 2496
อายุพระเครื่อง 64 ปี
หมวดพระ พระเกจิภาคใต้
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ labboy_hgr@yahoo.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 24 มี.ค. 2554 - 20:18.58
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พฤ. - 11 ส.ค. 2554 - 08:11.24
รายละเอียด
เหรียญหลวงพ่อในกุฏิ วัดกุยบุรี เนื้อทองแดง ปี 2496 สภาพเก่าเก็บครับ เป็นเหรียญหายากของ จ.ประจวบฯครับ
หลวงพ่อในกุฏิวัดกุยบุรี เป็นเกจิอาจารย์ผู้วิเศษองค์หนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หรือเป็นอาจารย์ผู้วิเศษทางภาคใต้ก็ว่าได้ ตามตำนานและคำบอกเล่ากันต่อๆ มาว่า เดิมท่านชื่อมาก หรือบุญมาก เป็นชาวปักษ์ใต้ แต่ไม่ทราบหรือปรากฏแน่นอนว่าท่านมีถิ่นฐานอยู่ที่ไหน ได้มีเรื่องเล่ากันมาเป็น ๒ นัยด้วยกันคือ นัยหนึ่งว่าเป็นคนตำบลนาทุ่งอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร อีกนัย หนึ่งว่า เป็นชาวหลังสวนนั้นเอง ทั้ง ๒ นัยที่ว่ามานี้ ก็หาได้มีหลักฐานปรากฏชัดเจนแน่นอนไม่ แต่ที่แน่ นอนที่สุดนั้น ก็คือ ท่านเป็นชาวปักษ์ใต้แน่นอน หลวงพ่อในกุฏิ มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันมาทั้งหมด ๔ คนด้วยกัน มีพี่ชาย ๒ และมีน้องสาว ๑ คน ส่วนตัวท่านเป็นลูกคนที่ ๓ ของบิดามารดาท่านเกิดในราวปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๐๔ สมัยแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พี่ชายของท่านคนหนึ่งชื่ออินทร์ คนรองชื่อม่วง ส่วนน้องสาวคนสุดท้องนั้นว่ากันว่าชื่อพริ้มเพรา ตระกูลของหลวงพ่อเป็นตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก ผู้ชายในตระกูล เมื่อมีอายุครบ ๒๐ ปีแล้วจะต้องบวชกันทุกคน พี่ชายคนโตที่ชื่ออินทร์ เมื่อได้มีอายุครบก็บวช คนรองที่ชื่อม่วง ครั้นเมื่ออายุครบก็บวช หลวงพ่อในกุฏิเองก็บวชเช่นเดียวกัน สันนิษฐานว่าหลวงพ่อในกุฏิ บวชในราวปี พ.ศ.๒๓๒๔ หรือ พ.ศ.๒๓๒๕ ใน ๒ ปีนี้ ปีฉลู หรือปีขาล นั่นเอง ตระกูลของหลวงพ่อในกุฏิทั้ง ๓ พี่น้อง เมื่อบวชแล้วก็ได้ศึกษาเล่าเรียนกันมา ตามยุคตามสมัย ที่มีการศึกษาอยู่ในสมัยนั้น พอมีความรู้พระธรรมวินัยพอที่จะรักษาตัวได้แล้ว ก็พยายามศึกษาเล่าเรียนในทางเวชกรรมและในทางไสยศาสตร์ และวิปัสสนากรรมมัฏฐานอีกทางหนึ่งด้วย จนสามารถชำนิชำนาญแตกฉานกันทุกองค์ทั้ง ๓ พี่น้อง แต่ละองค์ล้วนพอที่จะเป็นเกจิอาจารย์ของขลังได้กันทุกองค์ เมื่อได้อยู่จำพรรษาที่วัดเดิมกันมาตามสมควรแล้ว จึงได้ชักชวนกันเดินธุดงค์ขึ้นมาทางเหนือ พักแรมกันเรื่อยมาตามสถานที่ต่างๆ ที่นั้นบ้างที่นี่บ้าง แห่งละพรรษาหนึ่งบ้าง จนได้เดินทางมาถึงเมืองกำเนิดนพคุณหรือบางสะพานในปัจจุบัน พี่ชายองค์ใหญ่ คือหลวงพ่ออินทร์ ท่านได้เห็นพื้นที่และทำเลที่นั่นอุดมสมบูรณ์ดีพอที่จะพักพิงอยู่อาศัยในที่นั้นได้ ท่านจึงขอพักอยู่จำพรรษา ณ ที่นั้น ต่อมาท่านได้เป็นที่เลื่อมใสของชาวเมืองกำเนิดนพคุณ จนท่านได้ถึงการมรณภาพอยู่ ณ วัดนั้นเอง ชาวเมืองกำเนิดนพคุณจึงได้ช่วยกันสร้างรูปเหมือนของท่านไว้สักการบูชาและปิดทอง ปัจจุบันนี้รูปของท่านได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดเขาโบสถ์ อำเภอบางสะพาน เมื่อเหลืออีกสองพี่น้อง คือหลวงพ่อม่วงกับหลวงพ่อมาก หรือหลวงพ่อในกุฏิ ทั้งสองก็ได้ธุดงค์กันขึ้นมาตามลำดับ จนได้มาถึงถ้ำแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ระหว่างบ้านกรูดกับทับสะแก หลวงพ่อม่วงท่านเห็นถ้ำเข้าก็พอใจในถ้ำนั้น ท่านเห็นเป็นถ้ำที่สวยดี จึงได้บอกกับหลวงพ่อในกุฏิซึ่งเป็นน้องชายว่า ขอพักอยู่จำพรรษา ณ ที่ถ้ำนั้น ถ้ำนั้นก็คือถ้ำคีรีวงศ์ใน ปัจจุบัน ซึ่งอยู่ไกลกับป้ายสถานีโคกตาหอม หลวงพ่อม่วงอยู่ที่นั้น ได้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในแถบนั้น ครั้นเมื่อได้ล่วงลับดับจิตไปแล้ว ประชาชนทั้งหลายจึงได้พร้อมใจกันปั้นรูปเหมือนของท่าน ไว้สักการบูชา และก็ได้ประดิษฐาน อยู่ที่ถ้ำคีรีวงศ์นั่นเอง ปัจจุบันถ้ำนั้นได้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาแล้วชื่อวัดถ้ำคีรีวงศ์ หลวงพ่อบุญมากหรือหลวงพ่อในกุฏิ ท่านเหลือเพียงองค์เดียวก็ได้ธุดงค์เรื่อยขึ้น มา พักผ่อนรอนแรมจำพรรษาตลอดมา จนกระทั่งได้เดินทางขึ้นมาถึงเมืองกุยบุรี สมัยนั้นกุยบุรียังเป็นเมืองอยู่ สันนิฐานว่าอยู่ในราว พ. ศ. ๒๓๔๐ กุยบุรียังมีเจ้าเมืองปกครอง ในขณะนั้นวัดกุยบุรีกำลังว่างเจ้าอา วาสปกครองวัด เจ้าเมืองกุยบุรี และประชาชนชาวเมืองกุยบุรีจึงได้อ้อนวอนและอาราธนาให้หลวงพ่อ ได้รับเป็นเจ้าอาวาสปก ครองวัดกุยบุรี
หลวงพ่อในกุฏิได้พิจารณาเห็นว่า วัดกุยบุรีนี้เป็นวัดเก่าวัดแก่ เป็นวัดที่คู่บ้านเมืองมาก่อน พร้อมทั้งได้เห็นทำเลที่ตั้งวัดอยู่ในที่เหมาะ สม และถูกลักษณะการสร้างวัดมีแม่น้ำกุยบุรีไหลผ่านทางด้านหลังวัด และตั้งอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน ที่พระภิกษุจะต้องออกไปบิณฑบาตในเวลาเช้า นับว่าเป็นสับปายะของผู้อยู่อาศัยถึงจะไม่ไกลจากหมู่บ้านแต่ก็ปราศ จากเสียงอื้ออึงเข้ามารบกวน สมเป็นที่หลีกอยู่ของสมณะผู้ใคร่หาความสงบ หลวงพ่อในกุฏิเป็นผู้ที่ใฝ่ใจ ในด้านหาความสงบทางจิตอยู่แล้ว จึงได้รับอาราธนาจากเจ้าเมือง และชาวกุยบุรีปกครองวัดกุยบุรีตลอดมา
หลวงพ่อในกุฏิเป็นผู้ที่มีเมตตาจิต ได้ช่วยเหลืออนุ เคราะห์ และสงเคราะห์ให้กับคนทุกเพศ ทุกวัยทุกชั้นทุกหมู่เหล่า ตลอดถึงลูกเล็กเด็กแดงได้รับความป่วยไข้ ก็ช่วยพ่นปัดและต้มหยูกต้มยาให้ ท่านช่วยสงเคราะห์ให้ด้วยจิตเมตตา อยู่ตลอดเวลา นับได้ว่าท่านได้เป็นที่พึ่งของปวงชนทั้งหลายจริงๆ เมื่อเป็นดังนี้ ชาวกุยบุรีจึงได้มีหลวงพ่อในกุฏิเป็นสรณะ เพิ่มขึ้นอีกองค์หนึ่ง นอกจากไตรสรณะคมน์ ในสมัยหนึ่ง คนเฒ่าคนแก่เล่ากันมาว่า ครั้งหนึ่งที่เมืองกุยบุรีนี้ได้มีโรคระบาดเกิดขึ้นอย่างร้ายแรง ผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมาก ในสมัยก่อนเรียกกันว่าโรคห่าลง ปัจจุบันก็คืออหิวาตกโรคนั่นเอง ล้มตายกันจนใบไม้เหลือง คำว่าใบไม้เหลืองนั้นก็คือ คนโบราณเมื่อมีคนตายแล้ว จะต้องนำไปฝังไว้ในป่าช้า แล้วตัดต้นไม้หรือกิ่งไม้ปักไว้ที่หลุมฝังศพเพื่อเป็นเครื่องหมายพอจำได้ ประชาชนตายเช้าตายเย็นกันทุกวัน หลวงพ่อท่านก็ได้พยายามช่วยอนุเคราะห์ด้วยการแผ่เมตตาจิต และเจริญพระพุทธมนต์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อขับไล่เสนียดจัญไร พร้อมทั้งได้ใช้เวทมนต์คาถาอาคมทางไสยศาสตร์ ช่วยปัดเป่าให้ชาวกุยบุรีได้ผ่อนคลายและผ่านพ้นจากทุกข์ภัยและมรณภัยไปได้เป็นอย่างมาก
หลวงพ่อในกุฏิท่านเป็นผู้เคร่งครัดในด้านวิปัสสนา กัมมัฏ ฐาน และชำนิชำนาญคล่องแคล่วทางด้านไสยศาสตร์ พร้อมทั้งเป็นผู้มีเมตตาจิตอย่างสูง ทั้งเป็นผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์อีกด้วย คือเมื่อพูดคำใดแล้วจะต้องเป็นอย่างนั้น เมื่อเป็นดังนี้ชาวเมืองกุยบุรี เมืองคลองวาฬ เมืองปราณ ตลอดถึงเมืองใกล้เคียง จึงได้ศรัทธาเลื่อมใสในบุญบารมีเป็นอันมาก เมื่อใดได้รับความทุกข์ก็จะต้องหาโอกาสมาบนบานศาลกล่าว ขอให้ช่วยปัดเป่าให้ผ่อนคลายหายจากทุกข์นั้นๆ ครั้นเมื่อได้รับความสำเร็จแล้ว หรือสมความปรารถนาจากที่ตนได้บอกกล่าวต่อหลวงพ่อไว้แล้ว ก็จะต้องมานมัสการ และปิดทองที่ตัวท่านเป็นจำนวนมาก จนไม่สามารถที่จะปฏิเสธในการที่ได้บนบาน ของผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสได้ จึงจำต้องยอมให้เขาเหล่านั้นปิดทอง ตามที่เขาได้บนบานเอาไว้ เล่ากันว่าหลวงพ่อท่านต้องถูกปิดทองทั้งเป็น คือปิดตั้งแต่หัวเข่าของท่านลงไปจนถึง ปลายเท้าทั้งสองข้าง ในเรื่องไสยศาสตร์เวทมนตร์คาถานั้นนับว่า หลวงพ่อเป็นผู้มีอาคมขลัง และศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษองค์หนึ่ง ดังมีเรื่องเล่าว่า
ครั้งหนึ่ง เมื่อหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ได้มีพวกกะเหรี่ยงเดินทางมาขอพักอาศัยค้างคืนที่วัดคืนหนึ่ง ด้วยความที่หลวงพ่อเป็นผู้ที่มีเมตตาจิตต่อคนทุกชั้นทุกภาษา ท่านก็อนุญาตให้พวกกะเหรี่ยงเหล่านั้นพักพิงอาศัยภายในวัดได้ พวกกะเหรี่ยงในสมัยนั้นนับว่าเป็นผู้ที่มีเวทมนต์คาถาขลังเป็นอย่างยิ่ง ครั้นเมื่อได้เข้ามาพักพิงอาศัยก็ได้ผูกช้างม้าให้พักผ่อนภายในวัด แล้วพวกตนก็ต้องหุงหาอาหารกินกันในตอนเย็น ความที่เป็นคนเกียจคร้านและเชื่อมั่นในอาคมขลังของตน ในการหุงหาอาหารนั้นพวกกะเหรี่ยงได้ใช้เวทมนต์คาถาที่ขลังของตน แสดงให้ประ ชาชน ดูโดยใช้วิธีบัง คือเอามีดมาถากหน้าแข้งของตน เอามาเป็นฟืนหุงข้าว โดยแสดงมนต์บังให้ชาวบ้านได้รู้อย่างนั้น ว่าตนนี้เป็นผู้วิเศษ มีอาคมขลังชาวบ้านชาวเมือง ได้ฮือฮากันมาก จึงได้นำความไปบอกเล่าให้หลวงพ่อ ซึ่งท่านได้อยู่บนกุฏิของท่านได้ทราบ แต่หลวงพ่อท่านทราบก่อนแล้วว่า พวกกะเหรี่ยงนี้ได้ลองดีกับท่าน โดยพวกกะเหรี่ยงเหล่านั้นมิได้ถากหน้าแข้งของตนเลย แต่ได้ไปถากเอาเสาศาลาของท่านมาหุงข้าว เมื่อเป็นดังนี้หลวงพ่อจึงได้คิดจะทรมานสั่งสอนพวกกะเหรี่ยงเหล่านี้ ให้รู้สำนึกตนเสียบ้าง ท่านจึงได้ร่ายเวทมนตร์อาคมขลัง นำกะลามะพร้าวไปครอบ ช้างม้าของพวกกะเหรี่ยงไว้หมด ครั้นเมื่อพวกกะเหรี่ยงได้พักผ่อนค้างคืนแล้ว รุ่งเช้าขึ้นจะต้องเดินทางต่อไป ก็ได้เที่ยวหาช้างม้าของตนก็ไม่พบเลยสักตัวเดียว หากันทั่วทั้งบริเวณวัด ก็ไม่พบช้างม้า จึงได้ชักชวนกันไปหาหลวงพ่อ ได้เรียนถามว่าช้างม้าของพวกตนหายไปไหน หลวงพ่อจึงตอบว่าเรารู้ว่าช้างม้าของพวกเจ้าอยู่ที่ไหนแต่เราขอถามพวกเจ้าว่า เหตุใดเจ้าจึงได้กระทำความชั่วช้าเลวทรามโดยถากเสาศาลาของเราไปหุงข้าวกัน พวกกะเหรี่ยงตอบว่าพวกตนมิได้ถาก พวกตนถากหน้าแข้งตนเองต่างหาก หลวงพ่อจึงได้ชี้ให้ไปดู และบอกว่าเรารู้ทุกอย่างถึงการกระทำของพวก เจ้า พวกเจ้ากระทำกันอย่างนี้ไม่ได้ทีหน้าทีหลังอย่าได้กระทำกันอย่างนี้อีกเป็นอันขาด ทั้งที่นี้และที่อื่นๆ หลวงพ่อจึงได้ให้พวกกะเหรี่ยงรับคำปฏิญาณว่า จะไม่ทำอย่างนี้อีก หลวงพ่อจึงบอกว่าช้างม้าอยู่ไหน ถ้าไม่รับคำก็จะไม่บอก เมื่อโดนไม้นี้เข้าพวกกะเหรี่ยง จึงต้องยอมจำนนและรับปาก กับหลวงพ่อ พวกตน จะไม่ขอลองวิชาที่อันเป็นเหตุที่ทำให้ผู้อื่น เดือดร้อน และทำให้ของผู้อื่นเสียหาย หลวงพ่อจึงได้ให้พวกกะเหรี่ยง ไปเปิดกะลามะพร้าวที่คว่ำอยู่ตามข้างศาลาดู และบอกว่าช้างม้าของพวกเจ้า อยู่ที่นั้นแหละ เมื่อพวกกะเหรี่ยงได้ทำตามที่หลวงพ่อบอก ก็ได้พบช้างม้าของตนอยู่ในกะลา มะพร้าวนั้นเอง และทั้งอยู่ครบอีกด้วย จึงได้เกิดความเลื่อมใสในหลวงพ่อเป็นอันมาก ถึงกับยอมยกย่องนับถือ และยอมตนขอเป็นศิษย์ ตั้งแต่นั้นมาพวกกะเหรี่ยง ทั้งหลายก็เล่ากันต่อๆ ไปถึงความที่หลวงพ่อได้มีเมตตาจิตและมีเวทมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาก็ได้มีพวกกะเหรี่ยงได้เดินทางเข้ามาพักพิงอาศยที่วัดกุยบุรีเป็นประจำ เมื่อหลวงพ่อต้องการเครื่องยาสมุนไพรรากไม้ในป่า พวกกะเหรี่ยง ก็ได้ขวนขวายหามาถวายหลวงพ่อ อยู่เป็นประจำ เรื่องที่ท่านเป็นผู้มีวาจาสิทธิ์นั้น ก็ได้มีเรื่องเล่ากันมาว่า หลวงพ่อในกุฏิท่าน ได้มีลิงเลี้ยงไว้ตัวหนึ่ง ท่านได้เลี้ยงไว้ตั่งแต่เล็กแต่น้อย ไม่ทราบว่าได้มีใครนำมาถวายให้ท่าน หลวงพ่อเลี้ยงไว้จนโตและเชื่องสามารถที่จะใช้ให้ทำงานบางสิ่งบางอย่างได้ เรียกว่ารู้ภาษาคนได้ดีทีเดียว วันหนึ่งลิงนั้นได้เที่ยวซุกซนตามสันชาติญาณของสัตว์ เที่ยวปีนป่ายต้นไม้ขึ้นโน่นรื้อนี่ หลวงพ่อจึงได้ร้องเรียกให้ลงมาลิงนั้นก็ไม่ยอมลงยังเที่ยวปีนป่ายอยู่อย่างนั้น หลวงพ่อได้เรียกจนรำคาญจึงได้พูดไปว่า เที่ยวปีนป่ายไม่ลงมา ประเดี๋ยวก็พลัดตกลงมาตายหรอก หลวงพ่อท่านพูดไปก็มิได้มีเจตนา เป็นอกุศลแต่อย่างไร ที่พูดไปก็เพราะ ว่าร้องเรียกเสียจนรำ คาญ จะด้วยเพราะวาจาอันศักดิ์ สิทธิ์ของท่าน หรือจะอย่างไรก็ไม่ทราบได้ ลิงนั้นกระโดดโลดเต้นอยู่ได้ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น ก็ได้พลาด และตกจากยอดไม้ลงมากระแทกพื้นขาดใจตายทันที จะด้วยเพราะชะตาชีวิตของลิงมีเท่านั้น หรือเพราะว่าเป็นวาจาอันศักดิ์ สิทธิ์ของหลวงพ่อก็ไม่ทราบได้ เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วชาวบ้านชาวเมืองทั้ง หลายจึงได้ศรัทธาเลื่อมใสว่า ท่านเป็นผู้ที่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ จะทำอะไรก็พยายามมิให้หลวงพ่อกล่าวตำหนิติเตียนได้ อันนี้เป็นเครื่องส่งเสริมบารมีของท่านขึ้นอีกเป็นอันมาก หลวงพ่อเมื่อคราวท่านว่างจากภารกิจต่างๆ ของวัดแล้ว ท่านจะต้องบำเพ็ญภาวนาของท่านอยู่เป็นประจำ เล่ากันว่าบางครั้งท่านจะเข้าสมาธิเจริญวิปัสสนาอยู่แต่ในกุฏิของท่าน ตลอด ๗ วันบ้าง ๑๕ วันบ้าง โดยท่านจะไม่ลุกและออกจากกุฏิของท่านไปไหนเลย ด้วยเหตุอันนี้เอง จึงได้มีคำเรียกท่านอีกคำหนึ่งว่า “หลวงพ่อในกุฏิ” คำที่เรียกว่าหลวงพ่อในกุฏินั้น ก็มาจากสาเหตุที่ ท่านนั่งสมาธิแล้วไม่ออกจากกุฏิ ของท่านไปไหน ชาวบ้าน จึงเรียกท่านอย่างนั้นเรื่อยมาตลอด คำว่าหลวงพ่อมากหรือบุญมากตามชื่อเดิมของท่าน จึงได้เลือนหายไป นิยมแต่คำว่าหลวงพ่อในกุฏิกันเท่านั้นจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ หลวงพ่อท่านได้ปกครอง วัดกุยบุรี และได้เป็นที่พึ่งอาศัยแก่ปวงชนทั้งหลาย ได้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ให้ความอบอุ่นและอุปการะเผื่อแผ่ แก่ผู้ที่ได้รับความทุกข์ทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top