หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน พิมพ์ลีลาซุ้มเส้นลวด-บารมีปู่สี - webpra
"กรรมเก่าไม่มีใครลบล้างได้ กรรมปัจจุบันจะช่วยเจ้าเอง บุญเราไม่เคยสร้าง ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า"
หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน พิมพ์ลีลาซุ้มเส้นลวด - 1หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน พิมพ์ลีลาซุ้มเส้นลวด - 2หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน พิมพ์ลีลาซุ้มเส้นลวด - 3หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน พิมพ์ลีลาซุ้มเส้นลวด - 4หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน พิมพ์ลีลาซุ้มเส้นลวด - 5
ชื่อร้านค้า บารมีปู่สี - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน พิมพ์ลีลาซุ้มเส้นลวด
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย - หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว - หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ kumairoo1972@gmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระโชว์
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 24 ต.ค. 2554 - 16:23.32
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 05 เม.ย. 2556 - 21:45.00
รายละเอียด
เรื่องการทำพระเครื่อง หลวงพ่อโหน่ง นายทองอยู่ เดชรุ่ง เป็นผู้ที่บิดามารดานำตัวมาถวายเป็นบุตรบุญธรรม ตั้งแต่อายุได้ ๙ ขวบ และอยู่ปฏิบัติหลวงพ่อจนอายุได้ ๑๗ ปี นายอยู่เล่าว่าในปีที่พระอาจารย์นวล วัดไก่เตี้ยมาอยู่กับหลวงพ่อวันหนึ่งได้ฟังการสนทนาระหว่างหลวงพ่อกับ อาจารย์นวลเรื่องการกำหนดวันเสาร์ที่ ๕ หลวงพ่อได้ถามอาจารย์นวลว่า “ วันเสาร์ที่ ๕ นั้น ท่านกำหนดอย่างไร” อาจารย์นวลตอบว่า “ถือวันขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๕ ตรงกับวันเสาร์” หลวงพ่อแย้งว่า “ วันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ เป็นวันกระทิงห้ามทำการมงคล” หลวงพ่อท่านจึงกำหนดวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ที่มีวันเสาร์๕ เป็นเกณฑ์ ตั้งแต่นั้นมา จึงถือการกำหนดของหลวงพ่อเป็นหลักในการกำหนดเสาร์ ๕ หลวงพ่อจึงปรารถนาที่จะทำพระเครื่องโดย มอบหมายให้อาจารย์ฉวยเป็นผู้แกะ พิมพ์ พระผู้มีฝีมือในการช่างได้ช่วยแกะ เช่นพระคงแกะพิมพ์น้ำอ้อย และพระตึก ส่วนพระฆราวาสได้แก่ นายสารทได้เป็นผู้แกะ พิมพ์พระบูชาปางไสยาสน์อย่างใหญ่ พระอาจารย์แกะพิมพ์พระบูชาปาไสยาสน์อย่างกลาง ใช้หินมีดโกนแกะเมื่อแกะพิมพ์แล้วจึงเริ่มพิมพ์พระ โดยการนำดินมาตำร่อนเอาก้อนกรวดออก แล้วตำให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่งจึงพิมพ์ดินที่ใช้พิมพ์นั้นใช้ดินทั่วไป ดินขุ่ยก็มี ดินตามทุ่งนาก็มีส่วนใหญ่เป็นดินที่อยู่ในวัด ตรงที่ตั้งกุฎิพระอาจารญ์จางในปัจจุบัน การพิมพ์พระของหลวงพ่อนั้นได้ทำอยู่เป็นจำนวนมาก บางหมู่ตำดินบางหมู่ร่อนดิน บางหมู่ขนดิน นำพิมพ์ทำที่บ้านแบ้วนำพระที่พิมพ์แล้วมารวมที่วัดก็มี ในการพิมพ์ครั้งนั้นผู้ที่มีฝีมือก็จะทำอย่างประณีต คือ หลังพระพิมพ์จะเก็บเรียบร้อย ผู้ไม่ละเอียดลออ เมื่อดูพิมพ์แล้วก็จะแกะออก จึงเห็นว่าพระบางองค์ ก็มีลายนื่วมือปรากฏ อย่างไม่สม่ำเสมอ ซื่งพอจะเห็นได้ว่าการพิมพ์พระของหลวงพ่อนั้นมีประชาชนไปช่วยเป็นจำนวนมาก และนายทองอยู่ได้เล่าอีกว่า ตัวของหลวงพ่อไม่เคยพิมพ์เลย ในการ ทำพระเครื่องและการพิมพ์พระนี้ นายฟุ้ง ใจบุญซึ่งบิดามารดาได้นำมาถวายเป็นบุตรบุญธรรม ของหลวงพ่อโหน่งเมื่ออายุได้ ๑๒ ปี ได้อยู่ใกล้ชิดหลวงพ่อโหน่งและเมื่ออายุครบอุปสมบท ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ใกล้ชิดหลวงพ่อเป็นเวลา ๑๒ ปี ปัจจุบันอายุ ๘๑ ปีและได้เล่าเพิ่มเติมว่าการ พิมพ์ครั้งแรก ต้องการจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ แต่เนื่องจากการพิมพ์พระนั้น ประชาชนได้ช่วยพิมพ์เป็นจำนวนมาก จึงมีจำนวนไม่ต่ำกว่าแสนองค์ เมื่อได้จำนวนตามต้องการแล้วพระอาจารย์ฉวยได้ทำการก่อเตาและเผา ในเวลาที่เผานั้นหลวงพ่อได้กระทำพิธีพุทธาภิเษกโดยได้อาราธนาพระสงฆ์ในวัด อัมพวันสวดมนต์โดยหลวงพ่อเป็นประธาน บางท่านกล่าวว่า ทำพิธีเผาครั้งเดียว บางท่านกล่าวว่าทำพิธีเผาสองครั้งจึงหมดการพิมพ์พระนั้นได้ทำครั้งเดียวเท่า นั้น จากนั้นไม่ได้พิมพ์พระอีกเลย เมื่อการเผาเสร็จสิ้นแล้วจึงได้นำมาแจกแก่ประชาชนการแจกนั้นทำในเวลาบ่าย ๑ โมง โดยหลวงพ่อจะขึ้นธรรมาสน์ให้ศีลและสั่งสอนผู้ที่มานำมาแจกแก่ประชาชนการแจกนั้นทำในเวลาบ่าย ๑ โมง โดยหลวงพ่อจะขึ้นธรรมาสน์ให้ศีลและสั่งสอนผู้ที่มานำมาแจกแก่ประชาชนการแจกนั้นทำในเวลาบ่าย ๑ โมง โดยหลวงพ่อจะขึ้นธรรมาสน์ให้ศีลและสั่งสอนผู้ที่มารับการแจกนั้นเสร็จแล้ว จึงแจกให้ไปคนละองค์เท่านั้น เมื่อข่าวการแจกพระแพร่ไปสู่ประชาชนแล้วปรากฏว่ามีประชาชนจากที่ต่างๆ ได้เดินทางมารับจากหลวงพ่อเป็นจำนวนมากทุกวัน หลวงพ่อต้องเพิ่มกิจวัตรการแจกพระอยู่เป็นเวลานานเนื่องจากได้ทำการแจก ประชาชน หลวงพ่อได้นำไปบรรจุไว้ที่ปูชนียสถาน หลายแห่งที่อยู่ทั้งในวัดอัมพวันและวัดทุ่งคอกส่วนที่เหลือก็ทำการแจกให้แก่ ผู้ที่เข้ามาขอในภายหลังตลอดอายุขัยของท่าน เมื่อหลวงพ่อมรณภาพแล้วพระนั้นก็ยังมีอยู่ ต่อมาพระอาจารย์ฉวยได้ปกครองเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๓ แจกบ้างเล็กน้อย ส่วนที่เหลือเก็บรักษาไว้เมื่อพระอาจารย์ฉวยได้มรณภาพแล้ว พระอาจารย์หนำได้ปกครองเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๔ เวลาล่วงมาถึงสมัยนี้พระหลวงพ่อมีจำนวนน้อยลงแล้วพระอาจารย์หนำได้ดูแลรักษา ในเวลาต่อมาโดยรวบรวมนำพระที่กระจัดกระจายอยู่ทั่ววัดรวมทั้งพระที่ชำรุด เก็บรวมไว้ในที่แห่งเดียวกัน ส่วนใหญ่จะเป็นพระบูชา พระที่หลวงพ่อจัดทำในครั้งนั้นแบ่งออกเป็นสองประเภท๑ พระบูชา ได้แก่ พิมพ์ปางไสยาสน์ ทำด้วยปูนทรายมี ๓ ขนาด ใหญ่ กลาง เล็ก พิมพ์ปางลีลา (กำแพงศอก) มี ๓ ขนาด ใหญ่ กลาง เล็ก ทำด้วยดินเผา พิมพ์สะดุ้งมาร เป็นรูปหน้าจั่วทำด้วยปูนทราย ไม่ทราบว่ามีกี่ขนาด พระบูชานี้พระภิกษุในวัดบ้าง ญาติโยมบ้างเป็นผู้พิมพ์ เมื่อพิมพ์แล้วก็เขียนชื่อผู้ทำไว้ด้านหลัง บ้างก็เขียนชื่อของหลวงพ่อ บ้างก็เขียน พ ศ บางพิมพ์ก็เขียนยันต์ บางองค์ก็ไม่ได้เขียนอะไรไว้ด้างหลังเลยก็มีการจารึกไว้หลังพระบูชานั้นเอาแน่นอนไม่ได้แต่การพิมพ์พระบูชานั้นได้ทำติดต่อกันเรื่อยมา เพราะได้พบพระบูชาปางรำพึงทำด้วยปูนจารึกว่าทำ พ ศ ๒๔๗๕ คือ ก่อนหลวงพ่อมรณภาพ ๒ ปี พระบูชาของหลวงพ่อมีอนุภาพศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้ปรากฏแก่ผู้ที่นำไป สักการบูชา เช่น คุ้มครองเมื่อเกิดอัคคีภัย คุ้มครองการถูกลักขโมย คุ้มครองการถูกจี้ปล้น เป็นต้น ประชาชนทั่วไปจึงเสาะแสวงหานำไปสักการบูชากันมากจนปัจจุบันนี้หาได้ยาก ๒ พระเครื่อง มีมากมายหลายพิมพ์ทำด้วยดินเผาทั้งสิ้น ที่ทำด้วยตะกั่วมีรุ่นเดียว เหตุที่ทำรุ่นเดียวเพราะปลุกเสกไม่เป็นผล ผู้ที่รู้เรื่องดีจึงไม่เก็บเอาไว้เพราะไม่ทรงอนุภาพเหมือนที่ทำด้วยดินเผา พระเครื่องดินเผาของหลวงพ่อทรงความศักดิ์สิทธิ์ให้ปรากฏแก่ผู้บูชาเป็นอัน มาก จึงได้เป็นที่ศรัทธาของสาธุชนทั่วไปและหาบูชาได้ยากเช่นเดียวกับพระบูชา ครับ ใครที่มีไว้บูชาถือว่าโชคดีมากๆ ครับข้อความทั้งหมดมาจากหนังสือ ที่ระลึกงาน ฉลอง พระครูอินทสุวรรณคุณ (เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน) ครับ สำหรับองค์นี้เป็นพิมพ์ลีลาซุ้มเส้นลวด ผ่านงานประกวดที่ตั้งฮั่วเส็ง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2551 ด้วยรางวัลที่ 1

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

Top