หมวด ครูบาคำแสน วัดสวนดอก - หลวงปู่หล้า วัดป่าตึง - ครูบาอินตา วัดห้วยไซ - ครูบากองแก้ว วัดต้นยางหลวง
พระผงรูปเหมือนหลวงปู่อินตาทาทอง(ฝังตะกรุดเงินคู่+เกศา) หลวงปู่อินตา วัดห้วยไซ/ลำพูน
ชื่อร้านค้า | กุศล - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระผงรูปเหมือนหลวงปู่อินตาทาทอง(ฝังตะกรุดเงินคู่+เกศา) หลวงปู่อินตา วัดห้วยไซ/ลำพูน |
อายุพระเครื่อง | 20 ปี |
หมวดพระ | ครูบาคำแสน วัดสวนดอก - หลวงปู่หล้า วัดป่าตึง - ครูบาอินตา วัดห้วยไซ - ครูบากองแก้ว วัดต้นยางหลวง |
ราคาเช่า | 1,200 บาท |
เบอร์โทรติดต่อ | 08-5995-9598 |
อีเมล์ติดต่อ | pkridarin@gmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 19 ก.ย. 2554 - 20:05.03 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | จ. - 22 ส.ค. 2559 - 15:50.58 |
รายละเอียด | |
---|---|
หลวงปู่ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ วัดห้วยไซ เกิดเมื่อวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน๘เหนือ ปีมะเส็ง(งูเล็ก) ตรงกับวันเสาร์ที่ 6 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2448 ณ บ้านห้วยไซ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน มีนามเดิมว่าอินตา นามสกุล ปาลี เป็นบุตรของ นายก๋อง นางก๋ำ นามสกุล ปาลีเป็นคนที่มีเชื้อสายยอง มารดาของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเด็กไม่รู้ความ ท่านจึงได้รับการเลี้ยงดูจากบิดาจนอายุท่านได้9ขวบจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์วัด(ขะโยม)ที่วัดห้วยไซเพื่อจะได้รับการศึกษาเล่าเรียน ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนเช่นปัจจุบัน เด็กชายอินตาจึงได้เรียนภาษาพื้นเมืองตามแบบสมัยนิยมและได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรขณะอายุได้13ปี พ.ศ.2461 ณ วัดห้วยไซโดยมีพระภิกษุพุธเป็นผู้บวชให้หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้วจึงได้ไปศึกษาภาษาไทยกลางเพิ่มเติมที่สำนักวัดสันก้างปลา(วัดทรายมูลในปัจจุบัน) อำเภอสันกำแพง โดยมีพระครูอินทนนท์เจ้าอาวาส เป็นอาจารย์ผู้สอนให้ด้วยความเป็นผู้ไผ่เรียนท่านยังมีความสนใจเรื่องของภาษาอื่นๆด้วยเช่นอักษรขอมโบราณ ภาษาอังกฤษ และจีนเพิ่มเติมซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากในสมัยนั้น เมื่อพออายุครบบวชจึงได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดห้วยไซ พ.ศ.2469 โดยมีครูบาอินทจักร วัดป่าลานเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการชื่น สันกอแงะเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ครูบาขันแก้ว วัดป่ายางสันพระเจ้าแดงเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “อินฺทปัญฺโญภิกขุ” หลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วจึงได้ตั้งใจที่จะศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชาตามจริตวิสัยที่ชอบศึกษาหาความรู้อันเป็นทุนเดิมของท่านทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับนับถือในเรื่องของวิชาอาคมแขนงต่างๆ ระหว่างปีพ.ศ.2471 ครูบาศรีวิชัยท่านได้มาเป็นประธานในการบูรณะพระธาตุดอยห้างบาตรซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดห้วยไซมากนัก หลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้ไปร่วมในการบุญครั้งนั้นด้วยและได้พบกับครูบาศรีวิชัยและถือโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์ หลังจากนั้นขณะที่ครูบาศรีวิชัยท่านเป็นประธานในการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ หลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้มีโอกาสไปร่วมในการสร้างทางด้วยเช่นกันเมื่อครูบาศรีวิชัยมรณภาพไปหลังเสร็จสิ้นงานพระราชทานเพลิงศพ ผ้าขาวดวงต๋าได้นำอัฐิธาตุของครูบาศรีวิชัยมาบรรจุและสร้างกู่อัฐิขึ้นที่บนดอยงุ้มเขตติดต่อระหว่างอำเภอสันกำแพงกับอำเภอบ้านธิ หลวงปู่ครูบาอินตาท่านก็ถือว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการนำสร้างด้วย ที่วัดห้วยไซเองท่านถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนร่วมกับอดีตเจ้าอาวาสของวัดห้วยไซองค์ก่อนๆในการนำสร้างถาวรวัตถุต่างๆภายในวัดโดยเฉพาะสมัยของพระครูดวงดี จนกระทั่งครูบาดวงดีท่านมรณภาพไปหลวงปู่ครูบาอินตาท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยไซเมื่อพ.ศ.2519 และได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็น พระครูถาวรวัยวุฒิเมื่อปีพ.ศ.2536 ระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นได้ได้ฝากผลงานทางด้านพระพุทธศาสนาและสาธารณประโยชน์มากมาย อาทิพัฒนาถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้างต่างๆของวัดห้วยไซจนเป็นที่เจริญรุ่งเรืองสาธารณะประโยชน์เช่นโรงเรียน สถานีอนามัย โรงพยาบาล ห้องสมุดที่อ่านหนังสือพิมพ์ ตลอดจนฌาปนกิจสถานประจำหมูบ้านนอกจากนั้นท่านยังทำนุบำรุงพระศาสนาไปยังวัดวาอารามต่างๆที่มาของความเมตตาอนุเคราะห์จากท่าน เช่น ถาวรวัตถุต่างที่วัดเปาสามขา วัดวังธานอำเภอแม่ออน วัดโป่งช้างคต อำสันเภอกำแพง วัดเวียงแห่ง อำเภอเวียงแห่งจังหวัดเชียงใหม่ วัดศรีชัยชุม บ้านห้วยไซเหนือ พระพุทธรูปยืนวัดศรีดอนชัยอำเภอบ้านธิ ประธานสร้างตึกสงฆ์อาพาสโรงพยาบาลบ้านธิและผลงานชิ้นสุดท้ายที่ทิ้งไว้ให้ศิษย์ได้สารงานต่อคือพระวิหารของวัดห้วยไซ พระเถระที่หลวงปู่ครูบาอินตาท่านสนิทสนมไปมาหาสู่กันเป็นประจำก็มีครูบาขันแก้ว วัดป่ายางสันพระเจ้าแดง, ครูบาชุ่ม วัดวังมุย, ครูบาหล้าตาทิพย์ วัดป่าตึง, ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง, ครูบาดวงจันทร์ วัดป่าเส้า, ครูบาน้อย วัดบ้านปง, ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี, ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม, ครูบาอินตา วัดวังทอง, -องค์นี้ผมได้รับจากป้าที่รับใช้หลวงปู่ แกสนิทกับผมมาก ผมจึงได้มาพร้อมกับเหรียญใบเสมารูปเหมือนและรูปถ่ายหลวงปู่ขนาดใหญ่กว่ากระดาษA3 -พระสร้างด้วยผงพุทธคุณ มีฝังตะกรุดเงินคู่+เกศาหลวงปู่ -ผมได้รับพระนี้ก่อนหลวงปู่ละสังขารประมาณ1-2เดือน หลังจากหลวงปู่ละสังขาร จึงมีธรรมธาตุปรากฏขึ้นที่องค์พระอย่างที่ลงให้ดู -มีกี่องค์ที่จะมีธรรมธาตุเสด็จบนองค์พระแบบนี้ ไปค้นดูได้เลย -จำนวการสร้างไม่มาก ประมาณหลักร้อย |