-
มีพระกรุยอดนิยมหลากหลายสภาพ ให้เลือกชมเน้นพระแท้ ดูง่าย รับประกันความแท้ตามสากลนิยม มีให้เลือกชมทั้งพระเนื้อดิน ชิน ผง
แทบทุกองค์ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชียวชาญ โดยมีรางวัลจากการผ่านงานประกวดมาตรฐาน
หรือ
ผ่านการออกใบรับรองพระแท้ จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
ที่สามารถยืนยันถึงความแท้และความถูกต้องของข้อมูล
ที่เกี่ยวกับองค์พระได้เป็นอย่างดี -
ส่วนใหญ่เป็นพระกรุพระเก่ายอดนิยมหลายองค์เป็นพระในตำนาน หาชมได้ยากในปัจจุบัน
บางองค์ไม่มีแม้แต่รูปให้ผ่านสายตา
ส่วนบางองค์มีให้เห็นแค่เฉพาะภาพในหนังสือพระเครื่องมาตรฐานสูงบางเล่มเท่านั้น
สนใจเชิญติดต่อกันเข้ามาได้
ยินดีต้อนรับด้วยความเป็นกันเองทุกท่านทุกสายเลยจ้า
หมวด พระบูชา
พระบูชาหลวงพ่อเกษม เขมโก รุ่น สร้างอนุสาวรีย์ทิพย์ช้างปี 24 องค์นี้ผิวหิ้งเดิม ๆ สวยจ้า
ชื่อร้านค้า | jorawis - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระบูชาหลวงพ่อเกษม เขมโก รุ่น สร้างอนุสาวรีย์ทิพย์ช้างปี 24 องค์นี้ผิวหิ้งเดิม ๆ สวยจ้า |
อายุพระเครื่อง | 38 ปี |
หมวดพระ | พระบูชา |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | Jorawis@gmail.com |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 04 มี.ค. 2556 - 18:45.23 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ส. - 09 ธ.ค. 2566 - 15:50.58 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระบูชารูปเหมือนหลวงพ่อเกษม เขมโก รุ่นนี้ นับเป็นพระบูชารูปเหมือนยอดนิยมอีกรุ่นหนึ่งของวัตถุมงคลในสายหลวงพ่อเกษม เขมโก บางคนเรียกขานพระบูชารุ่นนี้ ตามวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างว่า "รุ่นทิพย์ช้าง" หรือ"รุ่นศาลเจ้าพ่อทิพย์ช้าง" ก็มี พระบูชารุ่นนี้จัดสร้างขึ้นพร้อมกับเหรียญปั๊ม และเหรียญฉีดรูปเหมือนใบโพธิ์เล็ก เพื่อจัดหาทุนในการสร้างอนุสาวรีย์เจ้าพ่อทิพย์ช้าง โดยมีหลวงพ่อเกษม เขมโก นั่งอธิษฐานจิตเดี่ยว ณ สำนักสุสานไตรลักษณ์ ประตูม้า จังหวัดลำปาง เมื่อวันพุธ ขึ้น 11 ค่ำเดือน5 หรือวันที่15 เมษายน ปีพุทธศักราช 2524 ที่ระบุไว้ที่ฐานขององค์พระบูชานั่นเอง ปัจจุบันนี้เริ่มหาสภาพสวย ๆ ยากขึ้นเรื่อย ๆ แถมเซียนเจ้าของถิ่นเดินตามเก็บเงียบ ๆ มาตลอด จนแทบไม่ค่อยพบเห็นแล้วในปัจจุบัน องค์นี้สภาพเดิม ผิวหิ้ง สวยสมบูรณ์ ปัจจุบันเป็นองค์ที่ JORAWIS กราบไหว้บูชาอยู่ที่โต๊ะหมู่ในห้องพระที่บ้าน เลยลงมาให้ชมกัน ขอโชว์อย่างเดียวจ้า อาจมีพระรายการอื่น ๆ ที่ ทำนกำลังค้นหาอยู่เชิญที่นี่เลยจ้าhttp://www.web-pra.com/Shop/jorawis พื้นที่ ๆ เหลือของลงประวัติเชิดชูเกียรติคุณแห่ง "เจ้าพ่อทิพย์ช้าง" วีรบุรุษแห่งดินแดนล้านนา ลองอ่านศึกษาประวัติท่านกันได้เลยจ้า "หนานทิพย์ช้าง" หรือ "ทิพยจักร" เป็นนามเดิมของพ่อเจ้าทิพย์ช้าง หรือเจ้าพระยาสุลวฤๅไชยสงคราม เกิดเมื่อปีพุทธศักราช 2217 ที่ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เคยมีอาชีพเป็นพรานป่า ทั้งยังเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว มีกำลังกายแข็งแรง และมีความสามารถใช้อาวุธปืนและธนู พ่อเจ้าทิพย์ช้างได้สร้างวีรกรรมกอบกู้เอกราชของนครลำปางจากพม่า เมื่อราวปี พุทธศักราช 2272 ถึง2275 ช่วงเวลาดังกล่าวหัวเมืองล้านนาทั้งหมดตกเป็นของพม่า ชาวบ้านชาวเมืองจลาจลวุ่นวาย ระส่ำระสายไปทั่ว ทั้งทางพม่ายังส่งเหล่าเสนาบดีมาเป็นผู้ปกครองมาดูแลหัวเมืองล้านนาทั้งหมด อันได้แก่ เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงราย แพร่ น่าน ลำพูน ส่วนนครลำปางนั้นเป็นเมืองเดียวที่อิทธิพลพม่าแผ่เข้ามาแล้ว แต่ยังมิได้ส่งผู้แทนมาปกครองเหมือนหัวเมืองอื่นๆ ขณะนั้นกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองคือ "เจ้าลิ้นก่าน" ยังทรงพระเยาว์อยู่ ชาวนครลำปางจึงตั้งขุนนาง 4 คนเป็นผู้สำเร็จราชการแทนเป็นการชั่วคราว ในขณะนั้น มีพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดนายางมีวิชาอาคมแก่กล้า ชาวบ้านพากันเคารพนับถือ สมัครสมาเป็นลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมาก อีกทั้ง สมภารวัดสามขาและวัดบ้านฟ่อนต่างก็สึกออกมาเป็นเสนาซ้ายขวา รวมตัวตั้งเป็นกลุ่มขึ้น เป็นเหตุให้พม่าระแวง จึงส่ง "ท้าวมหายศ"ผู้รั้งเมืองลำพูนยกกองทัพมากำหราบ สมภารวัดนายางก็คุมสมัครพรรคพวกออกรบกับกองทัพพม่าที่ตำบลป่าตันเป็นสามารถ แต่ก็ไม่สามารถต้านทานกองทัพพม่าได้ จึงหนีไปยังวัดพระธาตุลำปางหลวง พม่าตามไปจับล้อมไว้และใช้ปืนยิงสมภารวัดนายางและเหล่าเสนาซ้ายขวาเสียชีวิต กองทัพพม่าจึงตั้งมั่นอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง จากนั้นจึงได้วางแผนปล้นเอาเมืองลำปางจนสำเร็จ นครลำปางจึงตกอยู่ในครอบครองของท้าวมหายศแต่นั้นมา ท้าวมหายศที่ตั้งมั่นอยู่ในเขตวัดพระธาตุลำปางหลวง ได้กระทำทารุณกรรม กดขี่ข่มเหงอาณาประชาราษฎร์จนได้รับความเดือดร้อนไปทั่ว หามีผู้ใดสามารถปราบกองทัพพม่าได้ จวบจนกระทั่งเจ้าอธิการวัดพระชมภู (วัดพระแก้วตอนเต้า) ประสงค์จะหาผู้นำที่มีความสามารถเพื่อกู้อิสรภาพคืนจากพม่า จึงไปขอให้หนานทิพย์ช้างช่วยกอบกู้บ้านเมืองโดยมีข้อเสนอว่า หากทำสำเร็จจะสถาปนาให้เป็นเจ้าครองเมืองลำปางต่อไป หนานทิพย์ช้างจึงได้นำไพร่พล 300 คน ไปปราบกองทัพพม่าโดยซุ่มรออยู่ข้างนอกวัดพระธาตุลำปางหลวง ในตอนกลางคืนหนานทิพย์ช้างลอบเข้าไปในวัดทางท่อระบายน้ำ โดยปลอมเป็นคนลำพูน ขอเข้าไปส่งข่าวให้แก่ทัพพม่า ขณะซุ่มกำบังกาย เพื่อรอโอกาสสังหาร ท้าวมหายศรำพึงว่า "สาปมุดตี่ไหน อะหลิ้งปิ้งป้อง เก๋งกันหื้อดีเน้อพี่น้อง" (กลิ่นสายชนวนที่ไหนอึกทึกคล้ายโลหะ ระวังตัวให้ดีนะสหาย) หนานทิพย์ช้างซึ่งซุ่มอยู่ในที่มืดจึงพูดดังๆ ว่า "หนานเจ้าแม่ละปูนมีอาญาสั่งให้มาหา ท้าวมหายศอยู่ไหน?" เมื่อท้าวมหายศแสดงตนตอบมาว่า " กูมีนี่ (กูอยู่นี่) " หนานทิพย์ช้างจึงได้ใช้ปืนยิงท้าวมหายศตายก่อน จากนั้นจึงนำกำลังเข้าโจมตีข้าศึกและยึดเมืองลำปางกลับคืนได้สำเร็จ พร้อมสถาปนาตนเป็นเจ้าทิพยจักรหลวง หรือ เจ้าพระยาสุลวฤๅไชยสงคราม (พ่อเจ้าทิพย์ช้าง) ปกครองบ้านเมืองด้วยความร่มเย็นเป็นสุขนับตั้งแต่ พ.ศ. 2275 นานถึง 27 ปี จึงถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2302 รวมอายุได้ 85 ปี ถือเป็นบรรพชนต้นสกุล " ณ ลำปาง" "ณ ลำพูน" "ณ เชียงใหม่" ซึ่งต่อมาบุตรหลานของเจ้าพ่อทิพย์ช้างได้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ จึงเป็นที่มาของราชสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน" หรือ "เจ้าเจ็ดองค์ " ด้วยวีรกรรมอันกล้าหาญของเจ้าพ่อหนานทิพย์ช้างซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่ให้ความร่วมมือกับทางกรุงธนบุรีจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ในการรวบรวมดินแดนที่เคยเป็นแคว้นล้านนาในอดีตผนวกเข้ากับดินแดนของเมืองหลวง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการที่ประเทศไทยมีขอบเขตการปกครองเป็นประชารัฐเป็นปึกแผ่นมั่นคงเช่นในปัจจุบัน นับเป็นผลพวงส่วนหนึ่งจากบทบาท ของหนานทิพย์ช้างผู้นี้ด้วย ในปัจจุบันที่ตั้งของอนุสาวรีย์แห่งวีรกรรมซึ่งคณะข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวลำปาง เครือญาติและผู้สืบสกุล ณ ลำปางร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติคุณของเจ้าพ่อทิพย์ช้าง ผู้ที่กอบกู้อิสรภาพ สถาปนาความเป็นปึกแผ่นมั่นคงให้แก่นครลำปางและหัวเมืองฝ่ายเหนือ อยู่ริมถนนสายเอเชีย หมายเลข 1 ไฮเวย์สายลำปาง-เชียงราย ห่างจากตัวเมืองลำปางประมาณ 2 กิโลเมตร อนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2527 โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เสด็จทรงประกอบพิธีเททองเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2527 โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์ในเวลาต่อมา หากองค์นี้ยังไม่ถูกใจ อาจมีซักองค์ที่ท่านกำลังค้นหาอยู่ เชิญที่นี่ได้เลยจ้า http://www.web-pra.com/Shop/jorawis |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments