-
มีพระกรุยอดนิยมหลากหลายสภาพ ให้เลือกชมเน้นพระแท้ ดูง่าย รับประกันความแท้ตามสากลนิยม มีให้เลือกชมทั้งพระเนื้อดิน ชิน ผง
แทบทุกองค์ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชียวชาญ โดยมีรางวัลจากการผ่านงานประกวดมาตรฐาน
หรือ
ผ่านการออกใบรับรองพระแท้ จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
ที่สามารถยืนยันถึงความแท้และความถูกต้องของข้อมูล
ที่เกี่ยวกับองค์พระได้เป็นอย่างดี -
ส่วนใหญ่เป็นพระกรุพระเก่ายอดนิยมหลายองค์เป็นพระในตำนาน หาชมได้ยากในปัจจุบัน
บางองค์ไม่มีแม้แต่รูปให้ผ่านสายตา
ส่วนบางองค์มีให้เห็นแค่เฉพาะภาพในหนังสือพระเครื่องมาตรฐานสูงบางเล่มเท่านั้น
สนใจเชิญติดต่อกันเข้ามาได้
ยินดีต้อนรับด้วยความเป็นกันเองทุกท่านทุกสายเลยจ้า
หมวด พระปิดตาทั่วไป
พระปิดตาวัดนางชี องค์นี้ขนาดกะทัดรัด น่ารักจริงๆ เลยจ้า
ชื่อร้านค้า | jorawis - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระปิดตาวัดนางชี องค์นี้ขนาดกะทัดรัด น่ารักจริงๆ เลยจ้า |
อายุพระเครื่อง | 156 ปี |
หมวดพระ | พระปิดตาทั่วไป |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | Jorawis@gmail.com |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อา. - 30 ม.ค. 2554 - 21:03.20 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | อา. - 03 ธ.ค. 2566 - 17:00.57 |
รายละเอียด | |
---|---|
องค์นี้เป็นพิมพ์ปิดตาเศียรแหลม สมัยก่อนนักสะสมรุ่นปู่เรียกว่าพิมพ์เขียด เป็นพระพิมพ์ปิดตาครึ่งซีกขนาดเล็ก หลังจารสวยงามแบบเดิม ๆ ผิวยังขาวสวย ลองอ่านประวัติดูแล้วจะรู้ว่าน่าสนใจอย่างไรนะ? พระกรุวัดนางชีมีทั้งเนื้อตะกั่วและเนื้อผง ตามประวัติว่าหลวงปู่เอี่ยม แห่งวัดหนัง บางขุนเทียนได้สร้างและบรรจุกรุไว้ อายุของพระกรุนี้จึงใกล้เคียงกับพระปิดตาเนื้อตะกั่วยอดนิยมของท่าน พุทธคุณนั้นมิได้เป็นรองพระปิดตายอดนิยมของวัดหนังเลย วัดนางชีเป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่โบราณ สืบไม่ได้ความชัดเจนนักว่าสร้างมาแต่เมื่อใด ใครเป็นผู้สร้าง แต่ก็พอสรุปได้ว่าเป็นวัดเก่ามีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดเล็กๆ และสาเหตุที่เรียกชื่อว่าวัดนางชี น่าจะมาจากพระนามของสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์ มหานาคนารี พระชนนีของสมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยดฟ้าจุฬาโลกหมาราช (รัชกาลที่1 พ.ศ. 2325-2352) ซึ่ง สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์ฯ ท่านได้เสด็จหนีออกมาบวชเป็นชี เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 1 เกิดความขัดแย้งกันในพระบรมวงศานุวงศ์ ครั้นต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3 พ.ศ.2367-2394) จึงได้รับพระราชทาน การสถาปานาเป็นพระอารามหลวง และโปรดเกล้าให้ให้เจ้า พระยาโชฎึกราชเศรษฐี เป็นแม่งานซ่อมสร้างจึงปรากฏฝีมือเป็นศิลปะแบบอย่างช่างจีน เช่นที่พระอุโบสถวิหาร ส่วนประกอบเครื่องบน ไม่นิยมทำช่อฟ้าใบระกาอย่างสถาปัตยกรรมไทย หลังคามักจะมุงกระเบื้องสีเหลืองกับสีเขียว บานประตูพระอุโบสถจำหลักเป็นลวดลายเชิงศิลปะช่างจีน ทำนองเดียวกับพระอุโบสถวัดเทพธิดาฯ ตามพระราชนิยมในยุคนั้น หากเคยไปกราบหลวงปู่เอี่ยม ที่วัดหนังราชวรวิหาร วัดนางชีจะอยู่ยริเวณเดียวกับห่างกันแค่ชั่วข้ามคลองบางขุนเทียน ในปัจจุบันแค่เดินข้ามถนนเล็ก ๆ ที่ตัดผ่านวัดก็ถึงวัดนางชีแล้ว ภายในวัดนางชีที่หน้าพระอุโบสถ มีเจดีย์ราย แบบย่อไม้สิบสองขนาดใหญ่อยู่ 4 องค์ อันเป็นที่บรรจุกรุพระปิดตาพิมพ์ต่างๆ ไว้ การเปิดกรุที่วัดนางชีมีอยู่หลายครั้งหลายหน แต่การเปิดกรุในครั้งแรกอยู่ระหว่างสงครามอินโดจีน ราวๆ ปี พ.ศ. 2484-2487 โดยได้มีคนร้ายได้เข้าเจาะพระเจดีย์ค้นหาสมบัติเป็นการเริ่มแรกก่อน ทางวัดเห็นว่าหากปล่อยทิ้งไว้จะเป็นช่องทางให้คนร้ายย้อนกลับมากระทำการอีก จึงได้เปิดกรุต่อและขุดพบพระพิมพ์เนื้อชินตะกั่วมากมายหลายสิบพิมพ์ แต่ส่วนใหญ่เป็นพระปิดตา พิมพ์ต่างๆ และพิมพ์อื่นๆ อีกสองสามพิมพ์ รวมถึงพิมพ์นาคปรกขนาดเล็กกระทัดรัดและพิมพ์ปรกโพธิ์อีกด้วย เนื้อพระที่พบเป็นพระเนื้อชินตะกั่ว พระทั้งหมดที่พบได้มีความนิยมเล่นหากันมานานแล้ว แต่พระของวัดหนังจะได้รับความนิยมสูงกว่าจวบจนปัจจุบัน พระทั้งหมดที่บรรจุอยู่ในกรุนี้สันนิษฐานได้ว่า หลวงปู่เอี่ยม (ท่านเจ้าคุณภาวนาโกศลเถระ) เป็นผู้สร้างพระเครื่องเหล่านี้ไว้ โดยอาจจะมีพิธีพุทธาภิเษกของทางวัดและได้นิมนต์ท่านหลวงปู่เอี่ยมเป็นเจ้าพิธี เนื่องจากพิมพ์หลายๆ พิมพ์ก็ละม้ายเหมือนกับพระของวัดหนังมาก และพระเครื่องอีกหลายๆ วัดที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ที่ได้มีการจัดสร้างพระพิมพ์ต่าง ๆ ในสมัยนั้นก็มักจะนิมนต์หลวงปู่เอี่ยมท่านช่วยสร้างให้แทบทั้งสิ้น กล่าวกันว่าพุทธคุณของพระกรุนี้เด่นดังทางแคล้วคลาดคงกระพันเป็นเยี่ยม ไม่แพ้ของวัดหนังเลย |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments