-
มีพระกรุยอดนิยมหลากหลายสภาพ ให้เลือกชมเน้นพระแท้ ดูง่าย รับประกันความแท้ตามสากลนิยม มีให้เลือกชมทั้งพระเนื้อดิน ชิน ผง
แทบทุกองค์ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชียวชาญ โดยมีรางวัลจากการผ่านงานประกวดมาตรฐาน
หรือ
ผ่านการออกใบรับรองพระแท้ จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
ที่สามารถยืนยันถึงความแท้และความถูกต้องของข้อมูล
ที่เกี่ยวกับองค์พระได้เป็นอย่างดี -
ส่วนใหญ่เป็นพระกรุพระเก่ายอดนิยมหลายองค์เป็นพระในตำนาน หาชมได้ยากในปัจจุบัน
บางองค์ไม่มีแม้แต่รูปให้ผ่านสายตา
ส่วนบางองค์มีให้เห็นแค่เฉพาะภาพในหนังสือพระเครื่องมาตรฐานสูงบางเล่มเท่านั้น
สนใจเชิญติดต่อกันเข้ามาได้
ยินดีต้อนรับด้วยความเป็นกันเองทุกท่านทุกสายเลยจ้า
หมวด พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตร ฯพ.ศ. 2499 องค์นี้เนื้อเงินลงยาสภาพสวยงาม เกินบรรยายมาแล้วจ้า
ชื่อร้านค้า | jorawis - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตร ฯพ.ศ. 2499 องค์นี้เนื้อเงินลงยาสภาพสวยงาม เกินบรรยายมาแล้วจ้า |
อายุพระเครื่อง | 67 ปี |
หมวดพระ | พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | Jorawis@gmail.com |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ส. - 18 มี.ค. 2560 - 21:37.46 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ส. - 06 ม.ค. 2567 - 13:47.34 |
รายละเอียด | |
---|---|
องค์นี้เนื้อเงิน ลงยาสีเขียว พระนาสิกยังโด่งคม อันเป็นจุดสังเกตและใช้ประเมินสภาพความสวยสมบูรณ์ของนักสะสมวัตถุมงคลประเภทเหรียญ ผิวเหรียญบางส่วนยังปรากฎร่องรอยกะไหล่ทองเดิมอยู่ เหรียญพระล้ำค่าคู่บ้านคู่เมือง รปแบบสวยงาม ทั้งยังได้พระคณาจารย์เข้มขลัง อธิษฐานจิต ในพิธีพุทธาภิเษกในวาระมหามงคล เมื่อค่อนศตวรรษมาแล้ว เหรียญสวยพ.ศ.ลึกแบบนี้ นานทีปีหนเข้ามาให้ยลโฉมกัน สนใจเชิญเข้าร่วมประมูล หรือติดต่อสอบถามกันเข้ามาเลยจ้า Jorawis รับประกันความแท้ตามสากลนิยมเช่นเดิมจ้า หากเหรียญนี้ยังไม่สวยงสมพอที่จะ "โดนใจ" อาจมีพระบางรายการ ที่ทำนกำลังค้นหาอยู่เชิญที่นี่ได้เลยจ้า http://www.web-pra.com/Shop/jorawis สำหรับความเป็นมาของหลวงพ่อทองคำ และวัดไตรมิตรฯ jorawis ขอคัดประวัติความเป็นมาบางส่วนจากแหล่งข้อมูลมาให้ศึกษากันดังนี้จ้า วัดไตรมิตรวิทยาราม เดิมมีชื่อว่าวัดสามจีนใต้ สร้างขึ้นตั้งแต่ราว พ.ศ. 2374 มีตำนานเล่าว่าชาวจีน 3 คนร่วมกันสร้างขึ้น จีนสามคนนี้จะเป็นญาติกันหรือไม่ มิอาจทราบได้ แต่คงต้องเป็นมิตรรักใคร่กันสนิทสนม จึงร่วมใจกันสร้างวัดอันเป็นวิหารทานที่ยิ่งใหญ่นี้ได้ กาลเวลาผ่านไป สภาพภายในวัดชำรุดทรุดโทรมลงมาก จึงเริ่มดำเนินการบูรณะปรับปรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2477 เมื่อครั้งพระมหากิ๊ม สุวรรณชาติ เป็นผู้รักษาการในหน้าที่เจ้าอาวาส ในระยะแรกพบอุปสรรคหลายประการ ต่อมา ใน พ.ศ. 2480 จึงได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคมให้ดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมทั้งหมดแล้วสร้างขึ้นใหม่ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ ได้เมตตาคิดค้นนามที่เป็นมงคลมาเฉลิมเพิ่มความสง่าให้กับวัดสามจีนใต้ โดยเปลี่ยนเป็น "วัดไตรมิตรวิทยาราม" และกรมสามัญศึกษา ได้เปลี่ยนนามโรงเรียนมัธยมวัดสามจีนใต้ เป็น "โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย" ตามนามวัดที่ได้เปลี่ยนใหม่ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 สภาพวัดไตรมิตรวิทยาราม เมื่อครั้งมีนามว่าวัดสามจีนใต้นั้น ในบริเวณวัดเต็มไปด้วยสิ่งสกปรกโสโครก กุฏิหลายหลังเอียงกระเท่เร่ หอระฆัง ศาลา หอสวดมนต์ หอฉัน หอไตร ปลูกสลับซับซ้อน สูง ๆ ต่ำ ๆ ไม่เป็นระเบียบ ทั้งยังชำรุดทรุดโทรม เก่าคร่ำคร่า ยากที่จะซ่อมแซมแก้ไขให้ดีได้ ที่ของวัดมีผู้เช่าตัดตอนไปปลูกเป็นห้องแถวชั้นเดียวเตี้ย ๆ หลายแถวให้ผู้คนเช่าอาศัยอยู่ ห้องแถวเหล่านี้หลังคาและพื้นชำรุดทรุดโทรม มีน้ำโสโครกขังเฉอะแฉะ มีฝูงเป็ดและสุกรเที่ยวหาอาหารอยู่ระเกะระกะ มีอุจจาระและกลิ่นปัสสาวะตลบอบอวล ผู้เช่าที่มีอาชีพในการทำเส้นหมี่ ก็ตากเส้นหมี่ไว้หน้าห้องแถวเลอะเทอะ ที่มีอาชีพทำขนมก็ทิ้งเศษอาหารไว้เกลื่อน แมลงวันตอมเป็นหมู่ใหญ่ หญิงที่เ่ช่าห้องรวมกันอยู่หลาย ๆ คน มีท่าทางอันน่าสงสัยว่าซ่อนเร้นการกระทำอันผิดศีลธรรม ฯลฯ เมื่อแรกอัญเชิญพระสุโขทัยไตรมิตรมาอยู่ที่วัดสามจีนใต้หรือวัดไตรมิตรนั้น วัดยังอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก ยังไม่ได้เริ่มการบูรณะปรับปรุง โบสถ์และวิหารก็เก่าแก่ ไม่เหมาะกับการประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ จึงอัญเชิญพระพุทธรูปปูนปั้นมาประดิษฐานอยู่ข้างพระเจดีย์ โดยปลูกเพิงสังกะสีไว้พอกันแดดกันฝน ระหว่างนี้ มีผู้มาขอพระพุทธรูปองค์ใหญ่นี้หลายราย รายหนึ่งมาเจรจาขอท่านไปเป็นพระประธานวัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ พระวิสุทธาธิบดี (ไสว ฐิตวีโร) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระวีรธรรมมุนี เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรในขณะนั้นเห็นว่า พระประธานในวัดไตรมิตรก็มีแล้ว หากให้ท่านไปเป็นพระประธานวัดอื่น จะเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ก็อนุญาตให้ไป แต่สุดท้าย มีเหตุติดขัด ไม่สามารถอัญเชิญไปได้ บางรายมาขอ แต่ขาดแคลนค่าพาหนะ บางรายวางแผนที่จะอัญเชิญท่านไปทางรถไฟ แต่เมื่อวัดขนาดความกว้างความสูงขององค์พระพุทธรูปซึ่งเป็นปูนปั้น ก็พบว่าส่วนพระเกตุมาลาสูงกว่าสะพานรถไฟ อัญเชิญไปไม่ได้ รายสุดท้าย มีผู้มาติดต่อขอไปเป็นพระประธานวัดบ้านบึง (วัดบึงบวรสถิตย์) อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี พระวีรธรรมมุนีก็อนุญาต แต่เมื่อตัวแทนของวัดบ้านบึงมาสำรวจดูองค์พระอีกครั้ง ก็ติว่าท่านไม่งาม ไม่สมที่จะเป็นพระประธาน จึงเปลี่ยนใจไม่รับไป พระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ จึงต้องกรำแดดกรำฝนอยู่ในเพิงสังกะสี ข้างพระเจดีย์วัดไตรมิตร ต่อไปอีกเป็นเวลาเกือบ 20 ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2497 ทางวัดจึงเริ่มก่อสร้างพระวิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปที่อัญเชิญมา เพื่อให้เหมาะสมกับการเป็นปูชนียวัตถุอันควรแก่การสักการบูชาของพุทธศาสนิกชน พระวิหารที่สร้างขึ้นนี้มี 2 ชั้น ชั้นบนตรงกลางเป็นอาคารทรงไทยจตุรมุข เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 พระวีรธรรมมุนี พร้อมด้วยคณะกรรมการวัดไตรมิตรวิทยาราม ได้ทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ จากเพิงสังกะสีขึ้นประดิษฐานบนพระวิหารทรงไทยจตุรมุขที่สร้างขึ้นใหม่ ช่างได้ใช้เชือกโอบรอบองค์พระและสอดใต้ฐานทับเกษตร (ทับเกษตร หมายถึงส่วนบนของฐานที่รองรับพระพุทธรูปปางประทับนั่ง) รวบเชือกเป็นสาแหรกขึ้นไปเบื้องพระเศียร ติดรอกและขอสำหรับกว้าน ดำเนินการตั้งแต่ฉันเพลแล้วจนกระทั่งพลบค่ำ ได้พยายามยกองค์พระพุทธรูปเพื่อขึ้นไปประดิษฐานบนพระวิหารอยู่หลายหน แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ด้วยองค์พระมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการเคลื่อนย้ายก็ยังไม่ทันสมัย สุดท้าย ยกได้สูงเพียงฝ่ามือ เชือกก็ขาดสะบั้นลง องค์พระกระแทกกับพื้นอย่างแรงเสียงดังสนั่น ขณะนั้นเป็นเวลามืดค่ำแล้ว อีกทั้งฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก มีฟ้าคะนอง พระวีรธรรมมุนีเห็นว่าไม่สะดวก จึงให้ยุติไว้แต่เพียงนั้น ทำได้แค่เพียงเคลื่อนย้ายองค์พระมาใกล้พระวิหารเท่านั้น คืนวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ฝนตกตลอดทั้งคืน ครั้นถึงเวลาใกล้รุ่ง ฝนเริ่มขาดเม็ด ท่านเจ้าคุณมีความเป็นห่วงเรื่องงานเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปปูนปั้นที่คั่งค้างอยู่ จึงเดินฝ่าละอองฝนมาสำรวจหน้างานเพื่อหาทางอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานให้สะดวกเรียบร้อย เมื่อมาถึงก็พบว่า ปูนตรงพระอุระแตกกะเทาะลงมา เห็นรักปิดทองอยู่ชั้นหนึ่ง จึงให้พระภิกษุสามเณรช่วยกันกะเทาะปูนที่ิหุ้มองค์พระนั้นออก จึงเห็นเป็นทองตลอดทั้งองค์ เมื่อจะอัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานบนพระวิหารและเพื่อให้น้ำหนักในการยกน้อยลง จึงได้คุ้ยเอาดินใต้ฐานทับเกษตรออก ก็พบกุญแจกลสำหรับถอดองค์พระออกเป็นตอน ๆ ได้ 9 แห่ง เพื่อสะดวกในการถอดอัญเชิญขึ้นไปประดิษฐาน จึงได้ถอดออกเพียง 4 ส่วนคือ พระศอ พระหัตถ์ทั้ง 2 ข้าง พระนาภี สำหรับอีก 5 ส่วนนั้นไม่ได้ถอดออก คงรักษาไว้ให้อนุชนทั้งหลายได้ชมฝีมือช่างสมัยโบราณ กุญแจกลเหล่านี้ ผู้หล่อดั้งเดิมได้ใส่ทองคำสำรองมาให้ครบถ้วน รวมทั้งมุกที่ใส่พระเนตรด้วย วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2498 นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้มาชมพระพุทธรูปทองคำที่วัดไตรมิตรวิทยาราม เมื่อพิจารณาแล้วจึงระบุว่า เนื้อทองคำที่สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ เป็น "ทองเนื้อเจ็ด น้ำสองขา" ซึ่งมีค่าสูงยิ่ง คำเรียกเนื้อทองดังกล่าว เรียกตามมาตราทองคำของไทยสมัยโบราณ ที่กำหนดเรียกชนิดทองคำเป็นเนื้อต่าง ๆ เทียบกับมูลค่าของเงิน ซึ่งตั้งไว้ตั้งแต่ทองเนื้อสี่จนถึงทองเนื้อเก้า "เนื้อ" หรือ "น้ำ" หมายถึงสารที่เป็นทองคำ จะบริสุทธิ์มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสิ่งเจือปน ทองเนื้อสี่ หนัก 1 บาท มีค่าเท่ากับเงิน 4 บาท ทองคำชนิดที่มีความบริสุทธิ์สูงสุด คือ ทองเนื้อเก้า หนัก 1 บาท มีค่าเท่ากับเงิน 9 บาท ส่วน "ขา" หมายถึง เศษ 1 ส่วน 4 ของหนึ่งบาท หรือหนึ่งสลึง ดังนั้น "ทองเนื้อเจ็ด น้ำสองขา" จึงหมายถึงทองคำชนิดที่หนัก 1 บาท มีค่าเท่ากับเงิน 7 บาท 2 สลึง แต่ค่าของเงินเมื่อเทียบกับทองย่อมผันแปรไปตามยุคสมัย ต่อมาคำเรียกทองคำเนื้อต่าง ๆ นี้ จึงไม่ได้แสดงถึงราคาเมื่อเทียบกับเงิน เป็นแต่เพียงแสดงค่าความบริสุทธิ์ของเนื้อทองคำเท่านั้น ทั้งนี้ ทองคำบริสุทธิ์อย่างทองเนื้อเก้าจะมีความอ่อนตัวมาก ไม่สามารถหล่อเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ได้ โดยทั่วไปการหล่อพระพุทธรูปทองต้องใช้ทองเนื้อรองลงมา จึงจะมีความแข็งแกร่งเพียงพอ ซึ่งทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขาที่ใช้สร้างพระสุโขทัยไตรมิตรก็จัดเป็นทองคำที่มีความบริสุทธิ์สูง จึงเปล่งประกายความสุกปลั่งออกมาอย่างงดงาม เมื่ออัญเชิญพระสุโขทัยไตรมิตรขึ้นไปประดิษฐานบนพระวิหารแล้ว วัดไตรมิตรวิทยารามได้จัดงานฉลองสมโภชในวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 ซึ่งในมงตลวาระดังกล่าวข้างต้น างวดได้จัดสร้างเหรียญที่ระลึก และจัดพิธีพุทธาภิเษกด้วย แม้จะไม่ปรากฎการบันทึกข้อมูลเป็นหลักฐานชัดเจนนัก แต่จากหลักฐานเท่าที่พอสืบค้นได้ ปรากฏรายนามพระเกจิคณาจารย์บางท่านที่เข้ามาร่วมพุทธาภิเษกเหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตร ฯพ.ศ. 2499ดังต่อไปนี้ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติฯ หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ฯลฯ ต่อมา พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามพระสุโขทัยไตรมิตรว่า "พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร" พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือหลวงพ่อทองคำ ประดิษฐาน ณ วิหารทรงไทยจตุรมุขเป็นเวลายาวนานนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 สภาพอาคารได้ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา กอปรกับมีนักท่องเที่ยวมาสักการบูชาและชื่นชมความงดงามยิ่งใหญ่ของพระพุทธรูปทองคำเป็นจำนวนมาก สถานที่ประดิษฐานจึงคับแคบ ปี พ.ศ. 2549 อันเป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติ 60 ปี และทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษาในปี พ.ศ. 2550 วัดไตรมิตรวิทยาราม ด้วยความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนและพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ได้จัดสร้างพระมหามณฑปเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงประกอบพิธีถอดพระเกตุมาลาพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร ซึ่งถือเป็นมหามงคลอุดมปฐมฤกษ์แห่งการเคลื่อนย้ายองค์พระจากพระวิหารหลังเดิม สู่พระมหามณฑป ที่ประดิษฐานแห่งใหม่ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เวลา 09:09 น. ได้จัดพิธีเคลื่อนย้ายองค์พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร จากพระวิหารหลังเดิม สู่พระมหามณฑป ที่ประดิษฐานแห่งใหม่ โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ เป็นประธานในพิธี วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 14:09 น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ( พระอิศริยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงประกอบพิธีสวมพระเกตุมาลาพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร ในพิธีสมโภชพระมหามณฑปฯ ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม พิธีสมโภชพระมหามณฑป จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ระหว่างวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 รวม 9 วัน วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (ในรัชกาลที่9) เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงยกฉัตรขึ้นประดิษฐานเหนือพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร ที่ประดิษฐาน ณ พระมหามณฑปเฉลิมพระเกียรติฯ วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นฉัตร 5 ชั้น มีความสูงจากกำพูถึงยอดฉัตร 3 เมตร 31 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางระบายฉัตร 2 เมตร เป็นฉัตรเหนือพระพุทธปฏิมากรที่มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพื่อเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 อ้างอิง - พระพุทธรูปสำคัญ กรมศิลปากร - ประวัติและผลงานของพระวิสุทธาธิบดี - ประวัติพระพุทธรูปทอง โดย ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ - ส่วนนิทรรศการพระพุทธรูปทองคำ วัดไตรมิตรวิทยาราม - http://thaprajan.blogspot.com/2013/06/blog-post.html |
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments