พระร่วงนั่ง กรุวัดมุมลังกา องค์นี้สวยสมบูรณ์ แถมดูง่ายได้ใจ มาอีกแล้วจ้า-jorawis - webpra
VIP
  • มีพระกรุยอดนิยมหลากหลายสภาพ ให้เลือกชม
    เน้นพระแท้ ดูง่าย รับประกันความแท้ตามสากลนิยม มีให้เลือกชมทั้งพระเนื้อดิน ชิน ผง
    แทบทุกองค์ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชียวชาญ โดยมีรางวัลจากการผ่านงานประกวดมาตรฐาน
    หรือ

    ผ่านการออกใบรับรองพระแท้ จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
    ที่สามารถยืนยันถึงความแท้และความถูกต้องของข้อมูล
    ที่เกี่ยวกับองค์พระได้เป็นอย่างดี
  • ส่วนใหญ่เป็นพระกรุพระเก่ายอดนิยม
    หลายองค์เป็นพระในตำนาน หาชมได้ยากในปัจจุบัน
    บางองค์ไม่มีแม้แต่รูปให้ผ่านสายตา

    ส่วนบางองค์มีให้เห็นแค่เฉพาะภาพในหนังสือพระเครื่องมาตรฐานสูงบางเล่มเท่านั้น

    สนใจเชิญติดต่อกันเข้ามาได้
    ยินดีต้อนรับด้วยความเป็นกันเองทุกท่านทุกสายเลยจ้า
  • Page 1
  • Page 2
มีพระยอดนิยมมากมายให้เลือกชม เน้นพระแท้ดูง่ายโดยเฉพาะพระกรุ พระเก่า ประกันความแท้ตามมาตรฐานสากลนิยม

หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระร่วงนั่ง กรุวัดมุมลังกา องค์นี้สวยสมบูรณ์ แถมดูง่ายได้ใจ มาอีกแล้วจ้า

พระร่วงนั่ง  กรุวัดมุมลังกา องค์นี้สวยสมบูรณ์ แถมดูง่ายได้ใจ มาอีกแล้วจ้า - 1พระร่วงนั่ง  กรุวัดมุมลังกา องค์นี้สวยสมบูรณ์ แถมดูง่ายได้ใจ มาอีกแล้วจ้า - 2พระร่วงนั่ง  กรุวัดมุมลังกา องค์นี้สวยสมบูรณ์ แถมดูง่ายได้ใจ มาอีกแล้วจ้า - 3พระร่วงนั่ง  กรุวัดมุมลังกา องค์นี้สวยสมบูรณ์ แถมดูง่ายได้ใจ มาอีกแล้วจ้า - 4
ชื่อร้านค้า jorawis - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระร่วงนั่ง กรุวัดมุมลังกา องค์นี้สวยสมบูรณ์ แถมดูง่ายได้ใจ มาอีกแล้วจ้า
อายุพระเครื่อง 706 ปี
หมวดพระ พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า)
อีเมล์ติดต่อ Jorawis@gmail.com
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 11 ก.ค. 2559 - 14:04.56
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 08 ก.ย. 2560 - 19:55.55
รายละเอียด
องค์นี้เป็นพระร่วงนั่ง กรุวัดมุมลังกา สภาพสวยงามขนาดเห็นรายละเอียดในพระพักตร์ชัดเจน ขอบรรยายด้วยภาพก็แล้วกันจ้า แม้สภาพผิวผ่านการอาราธนามาบ้าง แต่ไม่ถือเป็นข้อด้อย กลับทำให้สภาพผิวที่มีการสัมผัสจับต้อง มีความจัดซึ้งนุ่มนวลตา ตามแบบฉบับพระกรุพระเก่า แม้ไม่มีบัทึกการแแตกกรุของพระกรุวัดมุมลังกาได้ชัดเจนนัก แต่ก็พอสันนิษฐานได้ว่า คงอยู่ในช่วงหลังกึ่งพุทธกาลราวปี พ.ศ. 2507 ที่มีคนร้ายลักลอบขุดค้นโบราณสถานในเขตเมืองเก่าและศรีสัชนาลัยหลายต่อหลายครั้งก่อนเปิดกรุอย่างเป็นทางการ โดยส่วนใหญ่มักจะใช้การลำเลียงออกทางริมฝั่งแม่น้ำยมแล้วลงเรือข้ามฟากมาทางถนน เนื่องจากในครั้งนั้นยังไม่มีสะพานข้ามจากถนนเข้าสู่ตัวเมืองเก่าศรีสัชนาลัย ตัวสะพานเพิ่งจะสร้างหลังจากมีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการ เพื่อปรับภูมิทัศน์เป็นอุทยานประวัติศาสตร์แล้ว ในแต่ละครั้งคนร้ายได้พระเครื่องไปเป็นจำนวนมาก มีทั้งพระบูชา รวมทั้งพระเครื่องเนื้อชินเงินผิวปรอทขาว(กรุเขาพนมเพลิง) และพระเครื่องเนื้อดินเผาที่มีมากมาย หลากหลายกรุ เป็นร้อยพิมพ์ ทั้งพิมพ์ลีลา พิมพ์ยืนประทานพร และพิมพ์นั่งของวัดพระเชตุพน พิมพ์ เม็ดน้อยหน่า พิมพ์นั่งล้อพุทธศิลป์ทวารวดีแบบกรุจระเข้ร้อง ซึ่งพอสันนิษฐานได้ว่า พระร่วงนั่งกรุวัดมมลังกา ก็คงขึ้นจากกรุในช่วงดังกล่าวนี้เอง

นอกจากความสมบูรณ์สวยงาม รอมานานที่จะส่งลงสนามประชัญโฉม ตั้งแต่ได้มาจากน้องชายใจดี ในเวปนี้แบ่งมาให้ แต่ก็ไม่ค่อยมีรายการให้ส่งมากนัก ส่วนใญ่รายการประกวดโต๊ะพระเนื้อดินทั่วไปในปัจจุบัน จะเป็นรายการพระเนื้อดินสุโขทัย ไม่จำกัดพิมพ์ ผลก็คือ ส่งไปหลายครั้งก็เจอแต่พระเนื้อดินพิมพ์ยอดนิยม ทั้งพระลีลา หรือพระพิมพ์ทรงสวยงามแต่อายุน้อยกว่า อย่างพระกรุวัดทัพผึ้ง จนล่าสุดส่งชิงชัยในงานเล็กๆที่พันธ์ทิพย์บางกะปิ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2559ได้โบว์เหลืองพร้อมประกาศมาเชยชมเรียร้อย เป็นเครื่องยืนยันความแท้ตามสากลนิยมจ้า


สนใจลองติดต่อสอบถามกันเข้ามาได้จ้าแต่คงไม่ถูกอย่างที่หวัง พระแท้ราคาถูกคงไม่มี มีแต่พระแท้ราคาสมเหคุสมผลจ้า


หรือหากองค์นี้ยังไม่ถูกใจอาจมีพระรายการอื่น ๆ ที่ทำนกำลังค้นหาอยู่เชิญที่นี่เลยจ้า

http://www.web-pra.com/Shop/jorawis




เมืองศรีสัชนาลัย” และ "เมืองชะเลียง" นั้นเป็นกลุ่มเมืองเก่า ครอบคลุมพื้นที่ในเขตของตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิตร ตำบลหนองอ้อ ตำบลท่าชัย ที่มีประวัติมายาวนาน ทำให้พอสันนิษฐานได้ว่าบริเวณพื้นที่แถบนี้เป็นชุมชนที่มีผู้อาศัยอยู่มานานแล้ว

ตามประวัติศาสตร์ บริเวณพื้นที่ตั้งวัดพระปรางค์อันเป็นที่ตั้งของ “เมืองเชลียง หรือเมืองชะเลียง” นั้น แต่เดิมเป็นศูนย์กลางของชนชาวขอมโบราณที่ได้ขยายอาณาจักรมาจากเขตนครธม ลพบุรี สุโขทัย ไปจนจรดโยนกนาคนคร ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในพื้นที่เขตจังหวัดเชียงราย บริเวณนี้จึงเป็นเมืองถาวรที่มีการตั้งรกรากอยู่อาศัยกันมายาวนานเก่าแก่ ก่อนสุโขทัยเป็นราชธานีนับเป็นร้อยปี ตัวเมืองเป็นแผ่นดินลุ่มน้ำ ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำยม มีความอุดมสมบูรณ์ ในทางยุทธศาสตร์มีชัยภูมิลักษณะแคบยาว มีแม่น้ำเป็นกำแพงเมืองธรรมชาติสองด้าน ทำให้การคมนาคม การเดินทางเพื่อค้าขายทำได้สะดวก แม้พ่อค้าวาณิชชาวจีนในยุคนั้นต่างก็รู้จักเมืองนี้ และเรียกขานชื่อเมืองตามสะดวกปากของตน ที่ออกเสียงใกล้เคียงกันมาก ว่า “เมิงเฉิงเหลียง” ซึ่งบริเวณที่ตั้งของเมืองชะเลียงเก่าดั้งเดิมนั้น นับได้ว่านอกจากเป็นศูนย์กลางการค้าขายแล้วชัยภูมิที่ตั้งของเมืองยังอยู่บนเส้นทางการค้า การคมนาคมระหว่างเมืองชียงแสน เชียงราย พะเยา งาว แพร่ และหลวงพระบาง ด้วยชัยภูมิที่เหมาะสมนี้เอง ต่อมาหลังพ้นรัชสมัยพ่อขุนศรีนาวนำถม ในปี พ.ศ. 1800 หลังเหตุการณ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขับพวกขอมออกจากเมืองสุโขทัยแล้ว ในปีถัดมาพ่อขุนรามคำแหงซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 19 พรรษา ตามพระบิดาไปรบด้วยขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด เมื่อถึงการยุทธหัตถีจนได้รับชัยชนะ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงโปรดเกล้าให้พ่อขุนรามคำแหงไปครองเมืองเชลียง โดยมีฐานะเป็นเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย กาลต่อมาเมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชขึ้นเสวยราชครองเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 1820-1860 เนื่องจากตัวเมืองเป็นที่ลุ่มมีน้ำล้อมรอบจนเกือบเป็นเกาะ ทำให้ถูกน้ำท่วมบ่อยครั้ง จึงโปรดให้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ เหนือลำน้ำขึ้นไปอีก โดยผนวกรวมพื้นที่ของเมืองเชลียงเก่าเข้าไปด้วย แล้วตั้งชื่อเสียใหม่ว่า “เมืองศรีสัชนาลัย”

“เมืองศรีสัชนาลัย” ที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ มีการกล่าวถึงเมืองนี้ครั้งแรกในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแห่งมหาราชในปี พ.ศ. 1835 ทำให้พอสันนิษฐานได้ว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม ตรงบริเวณที่เรียกว่าแก่งหลวง ซึ่งเป็นแก่งหินขนาดใหญ่ขวางลำน้ำอยู่ การที่มีชัยภูมิเช่นนี้ ทำให้เมืองนี้น้ำท่าข้าวปลามีความอุดมสมบูรณ์

วัดมุมลังกาจากข้อมูลที่เผยแพร่โดย กองโบราณคดี กรมศิลปากรได้ให้ข้อมูลไว้ว่า


วัดมุมลังกา เป็นโบราณสถานนอกเมืองโบราณสุโขทัยด้านใต้ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของถนนพระร่วง แม้ไม่ปรากฏหลักฐานประวัติการสร้าง เนื่องจากมีฐานเจดีย์ใหญ่ซึ่งเข้าใจว่าอาจเป็นเจดีย์ทรงระฆัง นักวิชาการสันนิษฐานจากซากเสนาสนะที่คงเหลืออยู่ว่าอาจเป็น วัดลังการาม ตามที่ปรากฏชื่อ ในจารึกวัดอโสการาม ที่กล่าวว่าสร้างขึ้นประมาณ พุทธศักราช ๑๙๔๒

ในปัจจุบันเจดีย์ประธานเหลือแต่ฐาน มีวิหารอยู่ด้านตะวันออกของเจดีย์ และเจดีย์รายรอบบริเวณนั้น ที่น่าสังเกตคือมีอุโบสถตั้งอยู่ในทิศตะวันตกขององค์เจดีย์ อันเป็นการวางผังที่พบในการสร้างวัดของกรุงศรีอยุธยา

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top