-
มีพระกรุยอดนิยมหลากหลายสภาพ ให้เลือกชมเน้นพระแท้ ดูง่าย รับประกันความแท้ตามสากลนิยม มีให้เลือกชมทั้งพระเนื้อดิน ชิน ผง
แทบทุกองค์ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชียวชาญ โดยมีรางวัลจากการผ่านงานประกวดมาตรฐาน
หรือ
ผ่านการออกใบรับรองพระแท้ จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
ที่สามารถยืนยันถึงความแท้และความถูกต้องของข้อมูล
ที่เกี่ยวกับองค์พระได้เป็นอย่างดี -
ส่วนใหญ่เป็นพระกรุพระเก่ายอดนิยมหลายองค์เป็นพระในตำนาน หาชมได้ยากในปัจจุบัน
บางองค์ไม่มีแม้แต่รูปให้ผ่านสายตา
ส่วนบางองค์มีให้เห็นแค่เฉพาะภาพในหนังสือพระเครื่องมาตรฐานสูงบางเล่มเท่านั้น
สนใจเชิญติดต่อกันเข้ามาได้
ยินดีต้อนรับด้วยความเป็นกันเองทุกท่านทุกสายเลยจ้า
หมวด วัตถุมงคล ร.5-ร.9
เหรียญทรงผนวช บาตรน้ำมนต์ เหรียญขนาดบูชาค่าควรเมือง มาแล้วจ้า
ชื่อร้านค้า | jorawis - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญทรงผนวช บาตรน้ำมนต์ เหรียญขนาดบูชาค่าควรเมือง มาแล้วจ้า |
อายุพระเครื่อง | 56 ปี |
หมวดพระ | วัตถุมงคล ร.5-ร.9 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | (ไม่แสดงเบอร์ เนื่องจากรายการนี้ไม่ได้ปล่อยเช่า) |
อีเมล์ติดต่อ | Jorawis@gmail.com |
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พฤ. - 24 มี.ค. 2559 - 09:13.43 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ส. - 20 เม.ย. 2567 - 14:46.11 |
รายละเอียด | |
---|---|
เหรียญlสภาพสวยสมบูรณ์ ผิวงาม แม้ผ่านกาลเวลาตั้งแต่สร้างมาครึ่งศตวรรษแล้วก็ตาม เหรียญนี้เคยได้รับเกียรติให้ลงโชว์โฉม ขึ้นหน้าปกนิตยสาร "ศักดิ์สิทธิ์" ปีที่2 ฉบับที่ 766 ประจำวันที่16 ธันวาคม 2557 ปัจจุบันเลี่ยมรักษาผิวเหรียญไว้อย่างดีในอะคริลิคใส พร้อมฐานตั้งไม้ทรงเสมา ทาทองอย่างดี ใหญ่โตอลังการด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 9 ซ.ม ใครจะนำไปห้อยคอก็ไม่ผิดกติกาจ้า อย่างน้อยท่าน พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช ก็เคยนำมาห้อยคอมาแล้ว ตามรูปถ่ายที่นำมาให้ชมนี้ รูปที่เห็นท่านถ่ายรูปคู่กับผู้ใหญ่ในวงการพระท่านนึง ที่ได้รับการยอมรับว่าเชี่ยวชาญในการูพระปิดตามาก ระดับปรมาจารย์ ที่ถ่ายรูปคู่กันไว้เมื่อกว่า 30 ปีที่ผ่านมาจ้า ล่าสุดเหรียญนี้ผ่านการตรวจสอบว่าเป็นพระแท้ตามสากลนิยมจากงานเซอร์ฯของสมาคมฯ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านด้วยจ้า เหรียญาตรน้ำมนต์ทรงผนวชนี้ มีการสร้างเพื่อวัตถุประสงค์ให้ตั้งบูชา ตามประวัติการจัดสร้างมีทั้ง เนื้อเงิน เนื้อทองแดง เนื้อสตางค์ หรือเนื้อทองผสม รวมกันทุกเนื้อแม้ไม่มีการบันทึกไว้ชัดเจน แต่ก็ทราบกันทั่วไปว่า มีไม่เกิน 100 เหรียญแน่นอน เพราะความใหญ่โต ทำให้สิ้นเปลืองเนื้อวัสดุเป็นอย่างมาก คนทั่วไปจึงไม่นิยมมาคล้องคอ จำนวนการสร้างจึงน้อยมากจ้า ขอบอกกกก สนใจอาราธนาเหรียญหายากระดับตำนาน ติดต่อสอบถามกันเข้ามาได้จ้า เหรียญสวย วัตถุประสงค์การจัดสร้างและพิธีดี มีผ่านมาไม่บ่อย พลาดแล้วคงเสียใจไปอีกนานนน นอกจากเหรียญบาตร์น้ำมนต์ทรงผนวชเหรียญนี้ อาจมีรายการพระที่ท่านค้นหาอยู่ก็ได้ เชิญที่นี่ได้เลยจ้า http://www.web-pra.com/shop/jorawis สำหรับท่านที่สนใจประวัตืการจัดสร้างของเหรียญทรงผนวชนี้ Jorawis ขอคัดลอกเปิดความในคอลัมน์เปิดเล่ม ของนิตยสาร "ศักดิ์สิทธิ์" ปีที่2 ฉบับที่ 766 ประจำวันที่16 ธันวาคม 2557 มาให้ศึกษากันจ้า เหรียญพลังแผ่นดิน เหรียญค่าควรเมือง เหรียญบาตร์น้ำมนต์ทรงผนวช พ,ศ, 2508 วัดบวรนืเวศวิหาร ประวัติการสร้าง เมื่อปี พ.ศ. 2508 ทางวัดบวรฯได้ดำเนินการจัดงานอันเป็นมหามงคลยิ่ง 4 ประการ คือ วันที่ 24 สิงหาคม 2508 เป็นวันมหามงคลที่พึงจารึกเป็นประวัติการณ์พิเศษ ด้วยสมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ในโอกาสที่มีพระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร และได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการกุศลอีก 3 อย่าง ในวันมหามงคลนี้ อันควรเรียกได้ว่า "จาตุรงคมงคล" อนึง ทางวัดบวรริเวศวิหาร ได้ขอพระบรมราชานุญาตสร้าง เหรียญพระบรมรูปทรงผนวช มีพระปรมาภิไธย ซึ่งเป็นลายพระหัตถเลขาทรงไว้ในสมุดทะเบียนวัดว่า "ภูมิพลอดุลยเดช ปร. ภูมิพโล" อยู่ภายใต้พระบรมรูป (ถ่ายทำจากลายเซ็นตามจริง) เบื้องบนมีอักษรว่า "ทรงผนวช ๒๔๙๙" ส่วนอีกด้านหนึ่งมีรูปพระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร มีอักษรเป็นวงกลมที่ขอบเหรียญว่า"สมเด็จฯสมโภชพระเจดีย์ทองบวรนิเวศ ในมงคลสมัยพระชนมายุเสมอสมเด็จพระราชบิดา ๒๙ สิงห์ พ.ศ. ๒๕๐๘ " เหรียญทั้งหมด ได้นำเข้าในพิธีพุทธาภิเษก ในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถึง 4 ครั้งคือ ในวันที่ 27 สิงหาคม 2508 เสด็จฯ ทรงบำเพ็ญพุทธาภิเษกครั้งหนึ่ง วันที่ 28 สิงหาคม 2508 เสด็จฯ ในพระราชพิธีกุศลทักษิณานุปทานถวายสมเด็จพระราชบิดาครั้งหนึ่ง วันที่ 29 สิงหาคม 2508 เสด็จ 2 ครั้ง ตอนเช้าเสด็จฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระราชบิดา ทรงปฏิบัติพระราชกิจทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอีก 3 อย่าง มีทรงประกอบพิธีหล่อพระพุทธรูป ภปร. เป็นต้น พิธีพุทธาภิเษก ได้ประกอบพิธีกันทั้งคืน มีพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณนั่งปรกถึง 5 ชุด ชุดละ 8 องค์ ล้วนแล้วแต่เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ทรงคุณและมีชื่อเสียงโด่งดัง เช่น 1.สมเด็จพระญาณสังวร พระสังฆราชวัดบวรฯ กรุงเทพมหานคร 2.หลวงปู่ดี วัดเหนือ กาญจนบุรี 3.หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร 4.อาจารย์นำ วัดดอนศาลา พัทลุง 5.หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม นครปฐม เป็นต้น ทำให้เหรียญพระบรมรูปทรงพระผนวชรุ่นแรกนี้ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบันและเป็นวัตถุมงคลยอดนิยมเป็นอันดับต้นๆของนักนิยมพระเครื่อง การจัดสร้างมีทั้งแบบบูชาและห้อยคอคือ 1.เหรียญกลมขนาดบูชา เส้นผ่าศูนย์กลาง 9 ซม. มี 3 เนื้อด้วยกันคือ 1.1.เนื้อเงิน 1.2.เนื้อทองแดง 1.3.เนื้อสตางค์(ทองฝาบาตร) จำนวนการสร้างไม่เกิน 100 องค์ 2.เหรียญกลมขนาดห้อยคอ มี 5 เนื้อด้วยกันคือ 2.1.เนื้อทองคำ(หูเชื่อม) 2.2.เนื้อเงิน(หูเชื่อม) 2.3.เนื้อทองแดง 2.4.เนื้ออัลปาก้า 2.5.เนื้อสตางค์(ทองฝาบาตร) ไม่ทราบจำนวนเพราะไม่มีบันทึกจำนวน พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งฉายไว้ในขณะทรงผนวชเมื่อปี พ.ศ.2499 นั้น ได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานบนเหรียญที่ระลึกหลายครั้ง เหรียญหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูง และเป็นที่แสวงหาของนักสะสมคือ เหรียญที่ออกโดยวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2508 รู้จักกันในนาม เหรียญทรงผนวช ความจริงแล้ว เหรียญทรงผนวช ไม่ใช่เหรียญที่จัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกเมื่อครั้งทรงผนวชโดยตรง ด้วยจัดสร้างขึ้นภายหลังจากที่ทรงลาผนวชแล้วถึงเก้าปี พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชในปีพ.ศ.2499 แต่ "เหรียญทรงผนวช" สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2508 เพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จฯ พระราชกุศล จาตุรงคมงคล "เหรียญ ทรงผนวช" มีเนื้อที่จัดทำขึ้นคือเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง และแยกบล็อกด้านหลังได้เป็น 2 บล็อก คือ บล็อกธรรมดา (บล็อกปกติ) และ บล็อกนิยม (มีรอยเว้าที่ขอบเหรียญตรงหูห่วง) เป็นเหรียญที่ปั๊มออกมาจากกองกษาปณ์ ดังนั้น เหรียญจะมีความคมชัดสูง เห็นรายละเอียดชัดเจน รอยตัดขอบด้านข้าง จะเป็นลักษณะการปั๊มกระแทก มักจะไม่ขาดจากกันทีเดียว แต่เป็นลักษณะการตักขอบขาดครึ่งหักครึ่งจากแรงกระแทกของเครื่อง ด้านหลังขอบเหรียญจะต้องมีเส้นวิ่งเป็นรัศมี ส่วนหูเหรียญจะต้องมีรอยจิก เป็นเหรียญที่นับวันจะยิ่งทรงคุณค่า กอปรกับพุทธลักษณะแม่พิมพ์อันสวยงาม ถึงแม้ในสมัยนั้นจำนวนการสร้างจะค่อนข้างมาก แต่ก็เป็นที่นิยมแสวงหาอย่างสูงตลอดมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน |