-
0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
พระหูยาน จปร.วัดราชบพิธ เนื้อนวะโลหะ
ชื่อร้านค้า | จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระหูยาน จปร.วัดราชบพิธ เนื้อนวะโลหะ |
อายุพระเครื่อง | 48 ปี |
หมวดพระ | เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 08-6560-4037 |
อีเมล์ติดต่อ | Tayanrum@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | จ. - 12 มี.ค. 2555 - 22:54.19 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ศ. - 13 เม.ย. 2555 - 16:00.24 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระหูยาน จปร.วัดราชบพิธ เนื้อนวะโลหะ ... ... สุดยอดเหรียญ ประสบการณ์ ปืนแตก . . เนื้อนวะโลหะ ท็อปสุด ในรุ่น หายาก ได้มาเดิม ๆ พร้อม กับเนื้อทองแดง .... “พระพิมพ์หูยานลพบุรี” โดยสร้างล้อพิมพ์จาก “พระหูยานศิลปะลพบุรี” โดยแกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่มีความสวยงามขนาดพอเหมาะคือไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป ด้านหลังประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” จัดสร้างเป็น ๒ เนื้อ “นวโลหะ” และ “เนื้อทองแดง” ออกแบบและแกะแม่พิมพ์โดย นายช่างเกษม มงคลเจริญ “การจัดสร้างวัตถุมงคลฉลอง ๑๐๐ ปีของวัดราชบพิธฯครั้งนั้น มีความพิถีพิถันมากโดยกำชับให้ช่างทำการเจือ “เนื้อโลหะ” ทั้งหมดที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯเททองวัตถุมงคลเป็นปฐมฤกษ์ ผสมกับแผ่นยันต์ลงอักขระของบรรดา “คณาจารย์” ผู้ทรงวิทยาคุณจากทั่วประเทศ “๑๐๘รูป” พร้อมทั้งชนวนโลหะวัตถุมงคลรุ่นเก่า ๆ ทุกรุ่นของวัดราชบพิธฯลงในวัตถุมงคล “ทุกแบบทุกเนื้อและทุกพิมพ์” ให้ทั่วถึงกัน ทางวัดจึงกำหนดประกอบพิธี “มหาพุทธาภิเษก” เป็นเวลา “๓ วัน ๓ คืน” คือระหว่างวันที่ ๒๙-๓๐-๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณา ธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี “จุดเทียนชัย” ในวันศุกร์ที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๔ “พระคณาจารย์” ผู้ทรงวิทยาคุณจาก “ทั่วพระราชอาณาจักร” ซึ่งล้วนเเต่เป็น “พระคณาจารย์” ที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านพุทธคมในยุคนั้นทั้งสิ้นที่รับนิมนต์มานั่งปรกปริกรรมเจริญภาวนาจำนวน “๑๐๘ รูป” โดยผลัดเปลี่ยนกันมาร่วมพิธีในเเต่ละวัน (อาทิ ลป.โต๊ะ/ลพ.เงิน/ลป.เทศก์/หลวงตามหาบัว/ลพ.เทียม/พระอาจารย์นำ/ลป.หิน/ลพ.ทูรย์/ลพ.ทองอยู่/ลพ.กี๋/ลพ.ขอม/ลพ.โชติ ระลึกชาติ/ลป.อ่อน/ลพ.เย่อ/ลพ.นอ/ลพ.แต้ม/พระอาจารย์วัน/ลพ.เชื้อ ฯลฯ เป็นต้น) อนึ่งสำหรับ “พระพิมพ์หูยาน จ.ป.ร.” รุ่นฉลอง “๑๐๐ ปีวัดราชบพิธฯ” นี้ บรรดาเซียนพระยุค “ปี ๒๕๑๔” นิยมเรียกขานว่ารุ่น “ปืนแตก” โดยจากคำบอกเล่าของท่านเจ้าคุณ “พระธรรมเมธี (อัคค ชิโน)” เช่นกัน เหตุที่บรรดาเซียนพระยุคนั้นเรียกกันก็สืบเนื่องจาก “หลังการจัดทำพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ได้มีบรรดานายทหารจาก กรมรักษาดินแดน และ กระทรวงกลาโหม ซึ่งอยู่ใกล้กับ วัดราชบพิธฯ ได้ มาบูชาซึ่งสมัยนั้นราคาถูกมากเพียง “องค์ละ ๑๐ บาท” เท่านั้นและหลังจากบูชากันไปแล้วทหารหลายรายได้นำไปพิสูจน์ “ความเข้มขลัง” ด้วยการนำ “พระหูยาน จ.ป.ร.” ที่นำไปเลี่ยมพลาสติกแล้วไปแขวนกับ “ธงชาติ” แล้วชักธงชาติระดับเหนือศีรษะขึ้นจากนั้นทำการ “ทดลองยิง” ปรากฏว่า “นัดแรก” กระสุนปืนเกิดด้าน “ยิงไม่ออก” จึงทำการตรวจสอบปืนใหม่แล้วทดลอง “ยิงอีกนัด” คราวนี้ปรากฏว่าเกิดเสียง “ระเบิด” ดังขึ้นและพอสิ้นเสียงระเบิด “ทหาร” ผู้ทำการทดลองยิงก็ออกอาการ “ตกใจ” เมื่อเห็น “ปากกระบอกปืน” ที่ใช้ทดลองยิง “แตกเป็นรอยร้าวทั้งลำกล้อง” ใช้การไม่ได้อีกเลยตั้งแต่นั้นมาบรรดา “ทหาร” ที่อยู่ในเหตุการณ์ทดลองยิงจึงเรียก “พระหูยาน จ.ป.ร.” ว่ารุ่น “ปืนแตก” เป็นที่เลื่องลือกันมากในยุคนั้น นอกจากนี้บรรดาทหารที่อาสาสมัครไปร่วมรบใน “สมรภูมิเวียดนาม” ที่รอดชีวิตกลับมาก็มีการร่ำลือว่า “เหตุที่รอดชีวิตเพราะได้พกพาพระหูยานรุ่นปืนแตกนี้ติดตัวไปด้วย” รวมทั้งบรรดาเซียนพระหลายรายรวมทั้งเซียนสายตรง “พระกริ่ง-รูปหล่อ” ที่ชื่อ “เกี๊ยก ทวีทรัพย์” ก็มีการบอกเล่ากันต่อ ๆ มาว่า “พระหูยาน จ.ป.ร.” มีพุทธคุณเข้มขลังด้าน “ยอดเหนียว” เนื่องจากมีเหตุ “วัยรุ่นยกพวกตะลุมบอนกัน” พร้อมทั้งใช้อาวุธที่มีทั้งมีดดาบและปืนฟันและยิงใส่กันแบบ “เอาเป็นเอาตาย” แต่ปรากฏว่าผู้ที่พกพา “พระหูยาน จ.ป.ร.” ติดตัวไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บเลยทั้งที่บางรายถูกฟันจนเสื้อขาดและบางรายถูกยิงจนเสื้อเป็นรูทะลุแต่จุดที่ถูกฟันและถูกยิงเป็นเพียง “รอยจ้ำ” ช้ำแดงเท่านั้น ดังนั้น “วัตถุมงคล” ชุด “ฉลอง ๑๐๐ ปี วัดราชบพิธฯ” นี้จึงเป็นวัตถุมงคลที่ถึงพร้อมด้วย “พระพุทธคุณ, พระธรรม คุณ, พระสังฆคุณ” และ “พระมหากษัตริยาธิคุณ” ของ “พระมหากษัตริย์” ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐแก่ประเทศไทยถึง “๒ พระองค์” ด้วยกันคือ “รัชกาลที่ ๕” และ“รัชกาลที่ ๙” อย่างเปี่ยมล้นยิ่งนัก. |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments