สมเด็จ 9 ชั้น 9 มงคล พระครูกาชาด วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน หลังปี 2525

สมเด็จ 9 ชั้น 9 มงคล พระครูกาชาด วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

สมเด็จ 9 ชั้น 9 มงคล พระครูกาชาด วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง - 1สมเด็จ 9 ชั้น 9 มงคล พระครูกาชาด วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง - 2สมเด็จ 9 ชั้น 9 มงคล พระครูกาชาด วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง - 3สมเด็จ 9 ชั้น 9 มงคล พระครูกาชาด วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง - 4
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง สมเด็จ 9 ชั้น 9 มงคล พระครูกาชาด วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
อายุพระเครื่อง 32 ปี
หมวดพระ พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน หลังปี 2525
ราคาเช่า 250 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระมาใหม่
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 30 พ.ย. 2567 - 21:44.38
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 30 พ.ย. 2567 - 21:44.38
รายละเอียด
สมเด็จ 9 ชั้น 9 มงคล พระครูกาชาด วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง




พุทธาภิเษก โดยพระอาจารย์ สายเขาอ้อปี ปี2535 สภาพสวย พระสมเด็จ ๙ ชั้น ด้วยมวลสารวิเศษที่ศักดิ์สิทธิ์และหายากยิ่ง 9 มงคล พระครูกาชาดทำพิธีปลุกเสกเดี่ยว ภายในไตรมาสนี้ตลอด 3 เดือนอย่างเต็มที่แล้วจัดพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ซ้ำอีกครั้งใน วันที่ 15 ตุลาคม 2535 ตรงกับวันพฤหัส ดิถี 4 ค่ำ ต้องตามตำราอัฏฐกาลตำรับเขาอ้อ เวลา 19.00น. (ฤกษ์ยามที่ดีที่สุดในวันนั้น มีผลด้านโชคลาภมาก)โดยพระคณาจารย์เรืองวิทยาคมสายเขาอ้อ 11 รูป ดังรายนามดังนี้ 1. หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน 2. หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ 3. พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา 4. หลวงพ่อคล้อย วัดภูเขาทอง 5. หลวงพ่อพรหม วัดบ้านสวน 6. หลวงพ่อเทพ วัดประดู่เรียง 7. หลวงพ่อชวน วัดโคกเนียน 8. หลวงพ่อเอียด วัดโคกแย้ม และสิ่งที่สำคัญยิ่งคือคณาจารย์ผู้มีราชทินนาม พระครู 4 กา 4ท่านนั่งปลุกเศก 4 ทิศ(ตามตำนานประวัติพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช ท้าวจัตุโลกบาลทั้ง 4 แปลงร่างเป็น อีกา4 สี รักษาพระบรมธาตุ4 ทิศ ด้วยอิทธิฤทธิ์ของ กา 4ตัวนี้เองพระบรมธาตุ จึงปลอดภัยจากภัยธรรมชาติและภัยจากมนุษย์เช่น สงครามมานับพันปีจึงเป็นเหตุให้จะต้องตั้งสมณศักดิ์พระครู 4 รูปเป็นสมมุติ กา 4 ตัว4 สี เพื่อรักษาพระบรมธาตุ) 1. พระครูกาเดิม วัดตะเขียนบางแก้ว นั่งปรกด้านทิศเหนือ (พระครูกาเดิม หมายถึง กา สีดำ) 2. พระครูการาม วัดชายคลอง นั่งปรกด้านทิศใต้ (พระครูการาม หมายถึง กา สีเหลือง) 3. พระครูกาชาด วัดดอนศาลา นั่งปรกด้านทิศตะวันออก (พระครูชาด หมายถึง กา สีแดง) 4 พระครูกาแก้ว วัดอินทราวาส นั่งปรกด้านทิศตะวันตก (พระครูกาแก้ว หมายถึง กา สีขาว) พิธีมหาพุทธภิเษกดำเนินไปอย่างเข้มขลังตลอด 4 ชั่วโมงครึ่ง เมื่อถึงเวลาดี ๔ ทุ่ม ๓๐ นาที เป็นยามแห่งชัยชนะข้าศึกศัตรูหมู่ร้ายที่ดียิ่งนัก หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน เป็นผู้ดับเทียนชัย พระคณาจารย์โปรยปรายข้าวดอกดอกไม้ และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ทั่วอิทธิมงคล เป็นการเสร็จพิธีโดยถูกต้องสมบูรณ์แบบทุกประการ สภาพสวยรับประกันพระแท้
(เครดิตจาก http://www.zoonphra.com/amulet/catalog.php?storeno=s013&idp=121184)


ข้อมูลประกอบภาพ
ความจริง ที่ควรรู้ #ชีพนี้จักพลีเพื่อพิทักษ์ชาติและราชบัลลังก์
10 กรกฎาคม 2020 ·
"นั่งท่าเสือบนหนังเสือ เท้าเหยียบเหล็กกล้า ปิดหัวด้วยหนังหมี"
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล (เสด็จองค์ชายใหญ่) ขณะรับการป้อนน้ำมันงาจากพระครูกาชาด(บุญทอง) วัดดอนศาลา จ.พัทลุง ชายสูงอายุที่อยู่ไกลๆ ชุดขาว ใส่แว่น คืออาจารย์แจ้ง เพชรรัตน์ ศิษย์ปรมาจารย์ทองเฒ่า ววัดเขาอ้อ
พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของสำนักวัดเขาอ้อ
ความเชื่อทางไสยศาสตร์ของสำนักวัดเขาอ้อที่สำคัญถือเป็นหลัก นิยมใช้ประกอบพิธีกรรมให้สานุศิษย์และประชาชนที่ศรัทธาโดยทั่วไปมี 4 พิธี คือ พิธีเสกว่านให้กิน พิธีหุงข้าวเหนียวดำ พิธีเสกน้ำมันงานดิบ และพิธีแช่ว่าน
นอกจากนี้ก็ยังมีพิธีอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น พิธีสอนให้ชักยันต์ด้วยดินสอดำ และการสร้างพระเครื่องรางของขลัง วิชาดูฤกษ์ยาม ตำรารักษาโรคภัยไข้เจ็บจากสมุนไพร และการรักษาด้วยคาถาอาคม เพื่อประโยชน์ของการศึกษาทางด้านความเชื่อทางไสยศาสตร์ จึงขอนำเอาพิธีกรรมที่กล่าวแล้วข้างต้น มาอธิบายไว้ในที่นี้พอสังเขป
พิธีหุงข้าวเหนียวดำ
นิยมทำพร้อมกับพิธีเสกน้ำมันงาดิบ ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "กินเหนียวกินมัน" แต่ละปีจะประกอบพิธีกิน 2 ครั้ง คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 และ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10
พิธีหุงข้าวเหนียวดำ หมายถึง การนำเครื่องยาสมุนไพร หรือว่านชนิดต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 108 ชนิด มาผสมกันแล้วต้มเอาน้ำยามาใช้หุงข้าวเหนียวดำ ซึ่งข้าวเหนียวดำที่นำมาหุงนั้นเป็นข้าวเหนียวที่เรียกกันว่า �ข้าวเหนียวดำหมอ� คือมีลักษณะเมล็ดดำสนิท โต และแข็งกว่าเหนียวดำทั่วไป
การประกอบพิธีนิยมทำกันภายในอุโบสถมากกว่าสถานที่อื่นๆ ในสมัยก่อนนิยมทำกันในถ้ำฉัตรทันต์ หม้อและไม้ฟืนทุกอัน จะต้องลงอักขระเลขยันต์กำกับด้วยเสมอ พระอาจารย์ผู้ประกอบพิธีจะเริ่มปลุกเสก ตั้งแต่จุดไฟ จนกระทั่งข้าวเหนียวในหม้อสุก แล้วนำข้าวเหนียวที่สุกแล้วไปประกอบพิธีปลุกเสกอีกครั้งหนึ่งจนเสร็จพิธี
พิธีกินข้าวเหนียวดำ จะทำพิธีกันภายในอุโบสถ ก่อนกินถ้าสานุศิษย์คนใดไม่บริสุทธิ์ต้องทำพิธีสะเดาะ หรือเรียกว่า "พิธีการเกิดใหม่" หรือ "พิธีบริสุทธิ์ตัว" เพื่อให้ตัวเองบริสุทธิ์จากสิ่งไม่ดีชั่วร้ายทั้งปวง เมื่อถึงเวลาฤกษ์กินข้าวเหนียวดำ สานุศิษย์จะเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นนุ่งด้วยผ้าขาวม้าโจงกระเบนไม่ใส่เสื้อ แล้วเข้าไปกราบพระอาจารย์ผู้ประกอบพิธี 3 ครั้ง เสร็จแล้วพระอาจารย์จะให้นั่งชันเข่าบนหนังเสือ เท้าทั้ง 2 เหยียบบนเหล็กกล้าหรือเหล็กเพชร ปิดศรีษะด้วยหนังหมี มือทั้ง 2 วางบนหลังเท้าของตัวเอง พระอาจารย์ใช้มือซ้ายกดมือทั้ง 2 ไว้ พร้อมกับภาวนาพระคาถา ส่วนมือขวาปั้นข้าวเหนียวดำเป็นก้อนป้อนให้ศิษย์ครั้งละ 1 ก้อน แล้วปล่อยมือศิษย์ที่กดไว้บนเหลังเท้า มือทั้ง 2 ของศิษย์จะลูบขึ้นไปตั้งแต่หลังเท้าจนทั่วตัวจดใบหน้า การลูบขึ้นนี้เรียกว่า "การปลุก" เสร็จแล้วลูบลง เอามือทั้ง 2 ไปวางไว้บนหลังเท้าทั้ง 2 เช่นเดิม โดยกะประมาณว่ากินข้าวเหนียวก้อนแรกหมดพอดี สำหรับผู้ที่ไม่เคยกินอาจกลืนลำบาก เนื่องจากว่าข้าวเหนียวมีรสขมมาก บางคนป้อนก้อนแรกถึงกับอาเจียนออกมาก็มี แต่ถ้ากลืนก้อนแรกจนหมดได้ ก้อนต่อไปจะไม่มีปัญหา พระอาจารย์จะป้อนจนครบ 3 ก้อน ในแต่ละครั้งจะลูบขั้นลูบลง เช่นเดียวกับครั้งแรก แต่ครั้งที่ 3 นั้นเมื่อศิษย์กินข้าวเหนียวหมดแล้ว พระอาจารย์จะใช้มือซ้ายกดมือทั้ง 2 ไว้ที่เดิมหัวแม่มือขวาสะกดสะดือศิษย์ ทำทักษิณาวัตร 3 รอบ พร้อมกับภาวนาพระคาถาไปด้วย เป็นการผูกอาคม
สำหรับคุณค่าของการกินข้าวเหนียวดำ สานุศิษย์ของสำนักเขาอ้อ เชื่อกันว่าใครกินได้ถึง 3 ครั้ง จะทำให้อยู่ยงคงกระพันชาตรี เป็นมหานิยม และยังเป็นยาแก้โรคปวดหลังปวดเอวได้เป็นอย่างดี
พิธีกรรมที่กระทำนั้นจึงเป็นกระบวนการในวิธีและวิถีที่จักกระทำให้บุคคลเข้าถึงธรรม เพราะเมื่อบุคคลเข้าถึงอาคม ก็จักเข้าถึงธรรม เมื่อเข้าถึงธรรม จักพบและเป็นอยู่อย่างยอดยิ่ง
ขอขอบพระคุณ
- หนังสือ "วัดดอนศาลา" โดย คุณธีระทัศน์ ยิ่งดำนุ่น และ คุณจำเริญ เขมานุวงศ์
- หนังสือ "ที่ระลึกงานฉลองสัญญาบัตร พัดยศ พระครูอดุลธรรมกิตติ์ เจ้าอาวาสวัดเขาอ้อ" โดย คุณสมคิด คงขาว และ คุณศิริพงศ์ ยูงทอง 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top