เหรียญหล่อ พระพุทธรักษ์สามัคคีทรงเครื่องจักรพรรดิ ปางปราบพญาชมพู ปี 52-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน

เหรียญหล่อ พระพุทธรักษ์สามัคคีทรงเครื่องจักรพรรดิ ปางปราบพญาชมพู ปี 52

เหรียญหล่อ พระพุทธรักษ์สามัคคีทรงเครื่องจักรพรรดิ ปางปราบพญาชมพู ปี 52 - 1เหรียญหล่อ พระพุทธรักษ์สามัคคีทรงเครื่องจักรพรรดิ ปางปราบพญาชมพู ปี 52 - 2เหรียญหล่อ พระพุทธรักษ์สามัคคีทรงเครื่องจักรพรรดิ ปางปราบพญาชมพู ปี 52 - 3เหรียญหล่อ พระพุทธรักษ์สามัคคีทรงเครื่องจักรพรรดิ ปางปราบพญาชมพู ปี 52 - 4เหรียญหล่อ พระพุทธรักษ์สามัคคีทรงเครื่องจักรพรรดิ ปางปราบพญาชมพู ปี 52 - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหล่อ พระพุทธรักษ์สามัคคีทรงเครื่องจักรพรรดิ ปางปราบพญาชมพู ปี 52
อายุพระเครื่อง 15 ปี
หมวดพระ พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน
ราคาเช่า 350 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระมาใหม่
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 22 พ.ย. 2567 - 21:28.05
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 22 พ.ย. 2567 - 21:28.05
รายละเอียด
เหรียญหล่อ พระพุทธรักษ์สามัคคีทรงเครื่องจักรพรรดิ ปางปราบพญาชมพู ปี 52

พระพุทธรักษ์สามัคคี เป็นพระพุทธปฏิมาทรงเครื่องต้นเยี่ยงกษัตริย์ หรือทรงเครื่องมหาจักรพรรดิ ประทับยืนบนเกสรบัวบนปัทมบัลลังก์ ยกพระหัตถ์สองข้างแสดงวิมุทรา (สัญลักษณ์ทางพุทธศาสตร์) ดังภาพ (ปางแสดงธรรม) พระเศียรสวมศิราภรณ์ ฉลองพระองค์ด้วยเครื่องขัตติยราช

พุทธานุภาพมหาบารมีในการปกครอง ให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในหมู่ชน เมื่อสักการะจักเกิดอำนาจวาสนา ผู้ปกครองคนหมู่มากพึงมีไว้บูชา

ที่มาของการจัดสร้าง.....
ด้วยเหตุการณ์บ้านเมืองได้เกิดปัญหาความขัดแย้งอย่างรุนแรง ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นเวลานานพอสมควร ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนไทย จนเกิดความแตกแยกในวงกว้าง จนเกิดผลเสียหายต่อสภาพเศรษฐกิจของชาติ เกิดภาวะวิกฤต ผู้คนส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตความเป็นอยู่อย่างลำบาก เป็นทุกข์ เบื่อหน่าย และสิ้นหวังที่จะต่อสู้กับชีวิต ตลอดจนหมดกำลังใจที่จะมุ่งมั่นทำความดี

เหตุการณ์ทั้งหลายนี้ทำให้ "พระอุดมประชาทร" (หลวงพ่ออลงกต ติกขปัญโญ) เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทน้ำพุ อ.เมือง จ.ลพบุรี ได้ร่วมปรึกษาหารือกับบรรดาศิษยานุศิษย์ จากหลายสาขาอาชีพ ต่างเห็นพ้องตรงกันว่า ควรร่วมกันหาหนทางแก้ไข
จนทำให้เกิดโครงการ "หลอมรวมใจรักสามัคคี" เพื่อสร้างความสมัครสมานสามัคคีให้บังเกิดขึ้นในหมู่พี่น้องคนไทยด้วยกัน มีความจริงใจต่อกัน เข้าใจกัน โดยอาศัยซึ่งน้ำใจที่ทุกคนมีอยู่ ร่วมกันเสียสละ และใช้ความรู้ความสามารถ ร่วมกันทำกิจกรรมรณรงค์ ให้เกิดความสามัคคีแก่คนในชาติ โดยการจัดแสดงคอนเสิร์ตการกุศลขึ้นตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ เริ่มจากครั้งแรกนั้นจัดขึ้นที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ในวันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม 2552

พร้อมกันนี้ได้มีพิธีเททองหล่อพระพุทธปฏิมา " พ ร ะ พุ ท ธ รั ก ษ์ ส า มั ค คี "
เป็นพระพุทธรูปยืนที่มีขนาดใหญ่โตอลังการมาก ที่ความสูง 108 เซนติเมตร (1 เมตรกว่า) ฐานกว้าง 25 เซนติเมตร หนักประมาณ 15 กก.

เพื่อมอบให้กับ 76 จังหวัดทั่วประเทศ และได้มีการจัดสร้าง "พระพุทธรักษ์สามัคคี" เพิ่มอีกจำนวน 84 องค์ (เท่ากับ 7 รอบพระชนม์พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในขณะนั้น)

เพื่อให้ประชาชนทั่วไปทำบุญบูชา โดยเห็นว่าการจัดสร้างพระพุทธรูปรุ่นนี้เป็นการกุศลที่น่าสนับสนุน อีกทั้งพุทธลักษณะขององค์พระก็มีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง และประการสำคัญที่สุดคือ....

"เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในดิถีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ" ในปี 2552
หลวงพ่ออลงกต กล่าวว่า การจัดสร้างพระพุทธรูป "พระพุทธรักษ์สามัคคี" ครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยเป็นอย่างดี โดยนายพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ได้มีส่วนร่วมในการสร้างบุญกุศลร่วมกับองค์กรต่าง ๆ อยู่เสมอ เมื่อได้รับทราบจากหลวงพ่ออลงกต เกี่ยวกับโครงการ "หลอมรวมใจรักสามัคคี" ทางสมาคมก็ยินดีที่ให้ความร่วมมือในทันที โดยได้ขอความร่วมมือเพื่อนพ้องน้องพี่ในวงการพระ ให้ช่วยกันมอบชนวนโลหะต่าง ๆ เพื่อใช้ในการหล่อหลอมสร้างองค์พระพุทธรูป "พระพุทธรักษ์สามัคคี"
ซึ่งในวันแถลงข่าวปรากฏว่า ได้มีบรรดาร้านพระเครื่อง และเซียนพระจำนวนมาก ได้นำชนวนโลหะศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งเหรียญพระพุทธ เหรียญพระเกจิอาจารย์ต่าง ๆ ฯลฯ ถวายแด่หลวงพ่ออลงกตจำนวนมาก เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของชนวนเนื้อโลหะที่ใช้ในการเททองหล่อ "พระพุทธรักษ์สามัคคี" ต่อไป

ขณะเดียวกันได้มีผู้เสนอให้มีการจัดสร้าง "พระพุทธรักษ์สามัคคี" อีกจำนวนหนึ่ง เพื่อให้ประชาชนทั่วไปทำบุญบูชา โดยเห็นว่าการจัดสร้างพระพุทธรูปรุ่นนี้เป็นการกุศลที่น่าสนับสนุน และพุทธลักษณะขององค์พระก็มีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหลวงพ่ออลงกตเองได้อนุญาตให้จัดสร้างขึ้นได้ แต่ขอให้มีจำนวนจำกัด

ที่มา : คอลัมภ์สุดยอดพระเครื่อง น.ส.พ. คมชัดลึก 3 พ.ย. 52



พุทธประวัติที่มาของปางปราบพญาชมพู...
สมัยหนึ่งพระบรมศาสดาเสด็จประทับสำราญพระอิริยาบทอยู่ในพระเวฬุวัน ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารทรงสร้างถวาย ครั้งนั้นพญาชมพูวดี ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีบุญญาธิการและฤิทธานุภาพมาก ได้มาคุกคามและรบกวนพระเจ้าพิมพิสารอยู่เสมอ พระองค์จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เวฬุวัน ขอพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง

องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเล็งพระญาณเห็นว่า จะโปรดพญาชมพูวดีได้ จึงทรงเนรมิตพระเวฬุวันให้เป็นดังดุจเมืองสวรรค์ และ "ทรงเนรมิตพระองค์เองเป็นเจ้าราชาธิราช ทรงเครื่องราชาภรณ์เยี่ยงกษัตริย์ครบทุกประการ" และดำรัสให้พระอินทร์แปลงเป็นราชฑูตไปเชิญพญาชมพูวดีมาเฝ้าที่พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงแสดงธรรมโปรดจนพญาชมพูวดีหมดทิฐิมานะ ขอบรรพชาอุปสมบทพร้อมด้วยพระมเหสีและราชโอรส

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top