ตะกรุดนวหรคุณเกื้อหนุนชีวิต (ตะกรุดปืนเสีย) หลวงพ่อสืบ วัดสิงห์-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เครื่องรางของขลัง

ตะกรุดนวหรคุณเกื้อหนุนชีวิต (ตะกรุดปืนเสีย) หลวงพ่อสืบ วัดสิงห์

ตะกรุดนวหรคุณเกื้อหนุนชีวิต (ตะกรุดปืนเสีย)  หลวงพ่อสืบ วัดสิงห์ - 1ตะกรุดนวหรคุณเกื้อหนุนชีวิต (ตะกรุดปืนเสีย)  หลวงพ่อสืบ วัดสิงห์ - 2ตะกรุดนวหรคุณเกื้อหนุนชีวิต (ตะกรุดปืนเสีย)  หลวงพ่อสืบ วัดสิงห์ - 3ตะกรุดนวหรคุณเกื้อหนุนชีวิต (ตะกรุดปืนเสีย)  หลวงพ่อสืบ วัดสิงห์ - 4
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง ตะกรุดนวหรคุณเกื้อหนุนชีวิต (ตะกรุดปืนเสีย) หลวงพ่อสืบ วัดสิงห์
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ เครื่องรางของขลัง
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ จ. - 16 ก.ย. 2567 - 21:42.24
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 30 ก.ย. 2567 - 14:10.57
รายละเอียด
ตะกรุดนวหรคุณเกื้อหนุนชีวิต (ตะกรุดปืนเสีย) เนื้อทองแดงร้อยไหมเบญจพรรณ หลวงพ่อสืบ วัดสิงห์

ข้อมูลในกลุ่ม ท่านว่า

ตะกรุดนวหรคุณ - (เพชรนำ้เอกด้านตะกรุด)



หลวงพ่อสืบ วัดสิงห์ จ.นครปฐม สยบอาถรรพณ์ตะเคียนทอง
มาจากหนังสือพิมพ์ : dailynews.gif​
อาถรรพณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์ของสรรพสิ่ง บางครั้งก็เกิดขึ้นแบบหาเหตุผลไม่ได้ แต่ก็ได้เกิดเป็นสิ่งที่สำแดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์มาแล้วหลายเหตุการณ์ และหลายสาเหตุที่เป็นปรากฏการณ์แบบชวนให้พิศวงมาแล้ว หลายๆ คนจึงเชื่อว่าอำนาจแห่งเทพยดาอารักษ์บนแผ่นดินไทย ยังมีอยู่ดั่งเช่นเรื่องนี้ที่เกิดขึ้น ณ วัดสิงห์ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ที่เหนือลิขิตประกาศิตฟ้าดิน ขอนำความจริงมาเสนอโดยเหตุการณ์นี้ขอย้อนไปหลายสิบปีที่วัดสิงห์ซึ่งเป็นวัดโบราณเก่าแก่ สร้างมาตั้งแต่สมัยยุคปลายอาณาจักรทวารวดี และมารุ่งเรืองในยุคอู่ทองสืบต่อมาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งกวีเอกสุนทรภู่เคยล่องเรือผ่านไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ และได้เขียนนิราศกล่าวถึงวัดสิงห์ไว้ว่า
"ถึงวัดสิงห์สิงสู่อยู่ที่นี่ แต่ใจพี่ไปสิงมิ่งสมร
ถึงตัวจากพรากพลัดกำจัดจร ยังอาวรณ์หวังเสน่ห์ทุกเวลา"​
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า วัดสิงห์เป็นวัดโบราณเก่าแก่ หลังจากผ่านพ้นวันเดือนปีไปสู่หลายร้อยปี วัดสิงห์ ก็เริ่มโรยราจนเกือบร้าง เนื่องจากเจ้าอาวาสที่มาปกครองวัดนี้ถึง ๔ รูป ต่างมีเหตุต้องอาถรรพณ์ตะเคียนทองจนต้องลาสิกขาไปมีภรรยาเกือบทั้งสิ้น โดยเรื่องราวการต้องอาถรรพณ์ตะเคียนทองนี้มีว่า มีต้นตะเคียนทองขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ใกล้บริเวณพระมหาธาตุเจดีย์อิศวรนวโกฏิ ซึ่งเป็นพระมหาธาตุเจดีย์ที่บรรจุรอยพระพุทธบาทคู่และรอยพระหัตถ์พระพุทธเจ้า ตลอดจนพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน โดยสร้างมาตั้งแต่ต้นสมัยอู่ทอง จึงมีความเก่าแก่ได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ซึ่งขณะนั้นเอียงลงมาใกล้จะล้มลงเต็มที
และในหลายสิบปีที่ผ่านมาต้นตะเคียนทองต้นใหญ่ที่ขึ้นอยู่ใกล้พระมหาธาตุเจดีย์ ก็ได้เกิดเหตุอาเพศเนื่องจากมีต้นโพธิ์ที่ขึ้นทับซ้อนต้นตะเคียนทองในลักษณะโอบกอดต้นตะเคียนทองเอาไว้แถมงอกงามเจริญอย่างรวดเร็ว หลังจากต้นโพธิ์ต้นนี้ขึ้นมาแล้วเจ้าอาวาสวัดสิงห์เวลานั้น ก็ประสบเหตุอาถรรพณ์ต้องลาสิกขาออกไปมีภรรยาโดยไม่มีเค้าลางมาก่อน สร้างความประหลาดใจแก่ชาวบ้านใกล้วัดสิงห์เป็นอย่างยิ่ง โดยผู้เฒ่าเล่าว่าเป็นอาเพศของต้นโพธิ์ที่ขึ้นโอบต้นตะเคียนทอง โดยที่ผู้คนต่างเรียกต้นโพธิ์แบบนี้ว่า "โพธิ์ปาราชิก" โดยเชื่อกันว่าต้นตะเคียนทองมีเพศเป็นหญิงที่มีเทพารักษ์เป็นเจ้าแม่ตะเคียนทอง ส่วนต้นโพธิ์นั้นเปรียบเสมือนดั่งพระสงฆ์ เมื่อไปทำการกอดรัดต้นตะเคียนทองจึงถือกันมาแต่โบราณว่าเป็นโพธิ์ปาราชิก ที่ได้แสดงอาเพศถึงตัวเจ้าอาวาสของวัดด้วย
ครั้นเจ้าอาวาสรูปแรกลาสิกขาแล้ว ก็มีเจ้าอาวาสอีก ๓ รูป ที่ต่างก็ต้องอาถรรพณ์เฉกเช่นกันคือ ต้องลาสิกขาไปมีภรรยาทั้งหมด ส่วนต้นตะเคียนทองที่มีต้นโพธิ์โอบกอดขึ้นทับอยู่นี้ก็งอกงามตลอดมา โดยชาวบ้านย่านนั้นหลายๆ คนอยากให้ตัดทิ้ง แต่ก็มีอีกพวกที่ไม่ยอมให้ตัด ก็คือพวกที่ได้รับผลจากการบนบานต่างๆ รวมทั้งขอเลขก็ประสบผลสำเร็จมากมาย จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้นในหมู่ชาวบ้าน
พระครูอินทสิริชัย (ม้วน อินทสุวัณโณ) อดีตเจ้าคณะตำบลท่าพระยา ซึ่งเป็นผู้ปกครองวัดสิงห์อยู่ในขณะนั้น เห็นว่าวัดสิงห์ชำรุดทรุดโทรมมาก เจ้าอาวาสที่ส่งไปกี่รูปก็ลาสิกขาไปมีครอบครัวหมด จึงพิจารณาเลือกศิษย์เอกซึ่งมีศีลาจารวัตรดี เคร่งครัดในพระธรรมวินัยไปเป็นเจ้าอาวาส เพื่อพัฒนาวัดสิงห์ให้เจริญรุ่งเรือง เพราะหลวงพ่อม้วนก็เป็นศิษย์ผู้สืบพุทธาคมมาจากหลวงพ่อสุข วัดห้วยจระเข้ ซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่นาค โดยที่หลวงพ่อม้วนก็ได้ถ่ายทอดพุทธาคมให้แก่ศิษย์เอกของท่านซึ่งก็คือหลวงพ่อสืบ จนแน่ใจว่าน่าจะเอาชนะอาถรรพณ์ที่วัดสิงห์ได้ จึงตัดสินใจส่งไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดสิงห์
ต่อมาหลังจากหลวงพ่อสืบมาอยู่วัดสิงห์แล้ว ก็ได้บำเพ็ญสมณธรรมอย่างเคร่งครัด พร้อมกับพัฒนาวัดสิงห์ให้เจริญขึ้นเป็นลำดับ ทุกวันเมื่อกลับจากบิณฑบาตตอนเช้าก็มายืนหยุดอยู่หน้าต้นตะเคียนทองและต้นโพธิ์ปาราชิก พร้อมทำการอธิษฐานบารมีแผ่เมตตาให้เป็นประจำ จึงเกิดเรื่องแปลกประหลาดคือต้นตะเคียนทองและต้นโพธิ์ปาราชิกที่เคยงดงามเขียวขจีกลับเริ่มเหี่ยวลง และต่อมาก็แห้งตายไป จึงเป็นที่ร่ำลือกันในบรรดาศิษย์ว่าเป็นเพราะบารมีของหลวงพ่อสืบ ที่มีเหนืออาถรรพณ์ของเจ้าแม่ตะเคียนทองและโพธิ์ปาราชิกไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง
ปัจจุบันหลวงพ่อสืบ หรือ พระครูพิทักษ์วีรธรรม (สืบ ปริมุตโต) เจ้าคณะตำบลท่าพระยา ได้เจริญในพระธรรมและพัฒนาวัดสิงห์เจริญรุ่งเรือง สืบทอดตำแหน่งเจ้าคณะตำบล ต่อจากอาจารย์ของท่านคือ หลวงพ่อม้วน วัดไทร พร้อมใช้วิทยาคมที่ได้รับถ่ายทอดมาช่วยเหลือชาวบ้าน จนมีลูกศิษย์ลูกหาไปมาหาสู่จำนวนมาก เพราะท่านได้สร้างตะกรุดขึ้น ๓ ชนิดจนสร้างประสบการณ์มามากมายคือ ตะกรุดนวหรคุณเกื้อหนุนชีวิต ที่มีอานุภาพปกป้องคุ้มภัยอันตรายได้อย่างวิเศษยิ่ง ตะกรุดพุทธโสฬสสะกดไพรี ซึ่งเป็นตะกรุดที่มีพุทธานุภาพขจัดปัดเป่าทุกข์โศก โรคภัยต่างๆ ตลอดจนคุ้มครองป้องกัน และ ตะกรุดวิปัสสีตรีราชา เป็นตะกรุดสุดยอดทางเมตตามหาลาภที่มีประสบการณ์มาแล้ว ส่วนเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกที่ท่านสร้างขึ้นเพื่อมอบให้ผู้ร่วมทำบุญบูรณะพระมหาธาตุเจดีย์อิศวรนวโกฏิ ที่กำลังดำเนินการบูรณะให้คืนสู่สภาพเดิมต่อไปนั้น มีผู้สนใจเหรียญรุ่นนี้กันจำนวนมาก เนื่องจากเนื้อเหรียญผสมชนวนแผ่นยันต์จำนวนนับร้อยแผ่น ที่ท่านจารขึ้นตามตำรับที่สมบูรณ์แบบ ท่านเป็นพระเถระอีกรูปที่ดำรงสมณเพศอย่างเคร่งครัด สง่างามและรุ่งเรืองในพระธรรมตามครรลองแห่งพระพุทธองค์ ท่านจึงสามารถเอาชนะมารทั้งปวงตลอดจนอาถรรพณ์พิศวงตามที่บรรยายมา นับว่าเป็นพระเถระซึ่งควรค่าแก่การทำบุญและบูชาสักการะได้อย่างสบายใจในยุคปัจจุบัน
แฉ่ง บางกระเบา

ที่มาของ "สมเด็จปืนเสีย" และ "ตะกรุดปืนเสีย"​
เนื่องด้วยมีคนต้องการทดลองของขลังของหลวงพ่อสืบ ท่านจึงลองนำไปยิงด้วยปืนลูกโม่ ปรากฎว่าลูกโม่ถึงกับแตกกระสุนหลุดกระเด็นออกมา ปืนที่ใช้ก็ใหม่ๆ ไม่ใช่ปืนเก่าอะไร หลังจากนั้นผู้คนจึงได้ให้สมญานามท่านว่า "หลวงพ่อสืบปืนเสีย" และเรียกพระสมเด็จที่ท่านสร้างรวมทั้งตระกรุดว่า "สมเด็จปืนเสีย" และ "ตระกรุดปืนเสีย" จนหนังสือพิมพ์เดลินิวส์และลานโพธิ์ได้นำเรื่องของท่านไปลง ทำให้ท่านมีชื่อเสียงขึ้นมา หลังจากนั้นตะกรุดของท่านถูกกล่าวขานถึงความขลังมากจน ได้รับฉายาว่า "ตะกรุดปืนเสีย"

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top