เหรียญ สมเด็จสังฆราชจวน วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี 2511-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญ สมเด็จสังฆราชจวน วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี 2511

เหรียญ สมเด็จสังฆราชจวน วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี 2511 - 1เหรียญ สมเด็จสังฆราชจวน วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี 2511 - 2เหรียญ สมเด็จสังฆราชจวน วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี 2511 - 3เหรียญ สมเด็จสังฆราชจวน วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี 2511 - 4เหรียญ สมเด็จสังฆราชจวน วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี 2511 - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญ สมเด็จสังฆราชจวน วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี 2511
อายุพระเครื่อง 57 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 30 ก.ค. 2567 - 21:35.19
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พฤ. - 26 ก.ย. 2567 - 22:33.25
รายละเอียด
เหรียญ สมเด็จสังฆราชจวน วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี 2511


เหรียญ พิมพ์ใหญ่ สภาพ สวยเดิม ๆ ทุกเหรียญ


มี 9 เหรียญ ๆ ละ 250 บาท

เหลือ 1 เหรียญ


พิธีเสก พร้อมกับ พระกริ่งวชิรมงกุฎ ในงาน ฉลอง 100 ปี วัดมกุฎกษัติยาราม ปี 2511
เป็นพิธีพุทธาภิเษกที่ใหญ่มากเพราะปลุกเสกกันถึง 9 วัน 9 คืน สำหรับพิธีเททองหล่อพระกริ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมาดำเนินการเททองเอง ส่วนการปลุกเสกมียอดพระคณาจารย์ที่เก่งๆมากมาย มาร่วมงานนี้กันอย่างคับคั่ง เช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ หลวงพ่อเทียม หลวงพ่อกี๋ หลวงพ่อนอ หลวงปู่นาค วัดระฆัง หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว หลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่า หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อน้อย เป็นต้น ตอนนี้คนรู้ประวัติของพระชุดนี้กันมาก ทำให้ปัจจุบันพระชุดนี้มีคนเก็บเข้ารังกันหมดโดยเฉพาะพระกริ่งวชิรมกุฏ ที่ถูกจัดอยู่ในทำเนียบพระที่เกี่ยวข้องกับในหลวง


เนื้อทองคำ


http://www.goldcoin456.com/default.asp?pid=40732&content=productdetail



เหรียญสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2511
.....ทางคณะกรรมการจัดงานฉลองจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดงานฉลองศุภวาระมหามงคลวโรกาสทั้ง 2 วาระเป็นงานเดียวกันระหว่าง วันที่ 15-18 มกราคม พ.ศ. 2511
.....โดยคณะกรรมการมีมติว่าใน “ศุภวาระมงคลวโรกาส” ดังกล่าวจึงควรจัดสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบ พระพุทธรูป - พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ - เหรียญ สำหรับเป็นที่ระลึกและเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ศิษยานุศิษย์ ตลอดจนผู้เคารพนับถือทั่วไปมีไว้สักการบูชา
***โลหะที่จะนำมาจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้นั้น คณะกรรมการมีแนวคิดว่าด้วยเหตุที่ วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นวัดที่ พระมหากษัตริย์ ทรงสร้างเป็น พระอารามหลวง และมีอายุการสร้างมายาวนานถึง 100 ปี
.....ประกอบกับ “สมเด็จพระสังฆราช (จวน)” เจ้าอาวาสในขณะนั้นทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา อีกทั้งวัดมกุฏกษัตริยารามยังมิเคยจัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อเป็นที่ระลึกทั้งในส่วนของพระอารามหรือส่วนพระองค์เลย ดังนั้นการจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้จึงนับเป็นการสร้าง “ครั้งหนึ่งครั้งเดียว” จึงควรแสวงหา “โลหะวัตถุที่ดี ที่สุด” ในขณะนั้นมาเป็นเนื้อหาการจัดสร้าง
.....และโดยที่ทรงเป็น “สกลมหาสังฆปริณายก” พระราชา คณะหรือเจ้าคณะและเจ้าอาวาสรวมทั้งพระคณา จารย์ทั่วราช อาณาจักรกว่า 500 รูป ก็ยินดีถวายโลหะวัตถุที่ได้ปลุกเสกไว้แล้ว
.....รวมทั้งถวายแผ่นโลหะชนิดต่าง ๆ ที่มีการลงอักขระยันต์มาเป็นส่วนผสมอีกด้วย เพื่อให้วัตถุมงคลที่จัดสร้างครั้งนี้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกประการ
.....ซึ่งหลังจากรวบรวมโลหะวัตถุและแผ่นโลหะที่ลงอักขระยันต์ได้ตามจำนวนที่ต้องการแล้ว คณะกรรมการจัดสร้างได้นำมาประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม ก่อน
.....จากนั้นจึงนำไปประกอบพิธีเททองเฉพาะ “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” และนำเหรียญมาปลุกเสก ณ มณฑลพิธี หน้าพระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม
♦️♦️พิธีเททองครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เวลา 13 นาฬิกา 15 นาที
.....โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตเช่น
- หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ
- หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ.ชลบุรี
- หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
- หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม
- หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร
-หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเฉลิมอาสน์ จ.ราชบุรี
- หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา
- หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
- พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี
ฯลฯ เป็นต้น
♦️♦️พิธีเททองครั้งที่ 2 นี้ ได้จัดประกอบพิธีในพระวิหาร วัดมกุฏกษัตริยาราม ถึง 3 วัน 3 คืนคือระหว่าง วันอังคารที่ 9 ถึงวันพฤหัส บดีที่ 11 มกราคม 2511
- โดยสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงจุดเทียนชัยเวลา 15.21 น. ในวันที่ 9 มกราคม 2511
- แล้วเสด็จออกเททองหล่อ “พระชัยวัฒน์วชิรมงกุฏ” ในเวลา 15.29 น.
พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับอาราธนาทำพิธีปลุกเสกและนั่งปรก จานวน 100 รูป อาทิเช่น
-พ่อท่านคล้าย วัดจันดี(วัดสวนขัน) นครศรีฯ
- หลวงปู่นาควัดระฆังฯ กท.
- หลวง พ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
- หลวงพ่อเส่งวัดกัลยา กท.
- หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี
- พระอาจารย์ฝั้น อาจาโรวัดป่าอุดมสมพร
- หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม ชลบุรี
- หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
- หลวงพ่อพุธฐานิโย วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
- หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี
- หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าฯ ชลบุรี
- หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสาคร
- หลวงปู่เทียม วัดกษัตรา พระนครศรีอยุธยา
- พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ปัตตานี ฯลฯ เป็นต้น
🔺️🔺️ในสมัยนั้น เวลาหลอมพระในเบ้าเตาหลอม ทางผู้ทำหน้าที่หย่อนโลหะ จะยื่นช้อนใส่ชนวน ให้กับผู้ที่เข้าร่วมในพิธี บางคนสมัยนั้น มักใส่สร้อยทองคำ บ้างสลึง บ้าง 1 บาท ถอดจากคอแล้วหย่อนลงไป ให้ท่านสังเกตุสีของเหรียญจะออกสีทองเรืองๆ บางเหรียญจะออกสีเขียวปีกแมงทับ บางเหรียญสีออกนวะ (น้ำตาลทอง) เป็นสีสวยงามเอกลักษณ์เฉพาะในตัวเหรียญเอง
พระเถระและพระเกจิอาจารย์ได้ตั้งสัตยาธิษฐานให้เกิดคุณานุภาพต่างๆ ดังนี้
1. เพื่อให้เป็นมหาอุต
2. เพื่อให้แคล้วคลาด
3. เพื่อให้อยู่ยงคงกระพัน
4. เพื่อให้คุ้มกันอันตราย
5. เพื่ให้มีเมตตามหานิยม
6. เพื่อให้มีโชคลาภ
7. เพื่อให้เกิดสวัสดิมงคล
8. เพื่อให้เกิดชนะศัตรู
9. เพื่อให้แล้วแต่อธิษฐาน
Cr.ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top