เหรียญ พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน เนื้อนวะโลหะ-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน

เหรียญ พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน เนื้อนวะโลหะ

เหรียญ พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน เนื้อนวะโลหะ - 1เหรียญ พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน เนื้อนวะโลหะ - 2เหรียญ พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน เนื้อนวะโลหะ - 3เหรียญ พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน เนื้อนวะโลหะ - 4เหรียญ พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน เนื้อนวะโลหะ - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญ พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน เนื้อนวะโลหะ
อายุพระเครื่อง 20 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน
ราคาเช่า 450 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 02 ก.ค. 2567 - 21:21.00
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 02 ก.ค. 2567 - 21:20.59
รายละเอียด
เหรียญ พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน เนื้อนวะโลหะ

ครูบา บุญชุ่ม ทำพิธี เสก ตั้งแต่ ปี 2547

แบบทรงนี้ จะหายากกว่า เหรียญ รูปไข่

เนื้อทองแดง พระล้านนา เขาโชว์ครับ

http://www.pralanna.com/shoppage.php?shopid=728223

ของผมนวะโลหะครับ




สวยเดิม ๆ

จัดสร้างเมื่อปี ๒๕๔๗
โดยทางจังหวัดเชียงรายเป็นผู้จัดสร้าง มีผู้ว่าฯ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และมีครูบาบุญชุ่ม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ปลุกเสกพิธีใหญ่ริมแม่น้ำโขง เนื่องในวาระเฉลิมพระชนมายุ ๗๒ พรรษาแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ.

นับแต่ได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอินเดียเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว พุทธลักษณะ ได้ปรับเปลี่ยนไปตามอุดมคติ ความเชื่อเรื่องความงามของแต่ละชนชาติที่แตกต่างกันออกไป

พระพุทธรูปนอกจากเป็นภาพสื่อสะท้อนให้ระลึกถึงคุณพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์แล้ว ยังถือได้ว่า เป็นบันทึกแห่งภูมิปัญญาที่รวบรวมสภาพที่แท้จริงของสังคมแต่ละยุคสมัยไว้ด้วย เช่น ในสมัยสุโขทัย เป็นช่วงที่ บ้านเมือง ร่มเย็น เป็นสุข ไม่มีศึกสงคราม ภาพสะท้อนจากองค์พระพุทธรูปจึงมีความนุ่มนวลสวยงาม

เมืองเชียงแสนเป็นดินแดนที่มีเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีนามว่า พระเจ้าล้านตื้อ (ตื้อ เป็น หน่วยนับของทางภาคเหนือแปลว่า โกฎิ) ที่จมอยู่ใน ลำน้ำโขง ซึ่งปัจจุบันบริเวณดังกล่าว อยู่หน้าที่ว่าการ อำเภอ เชียงแสน ดังมีประวัติ ความเป็นมาบางตอนปรากฏชัดอยู่ในประวัติศาสตร์ ต่อมาได้มีการค้นพบ เปลวรัศมี ในลำน้ำโขง เชื่อว่าเป็นของพระเจ้าล้านตื้อ หล่อด้วยทองสำริด มีขนาดความสูง 70 เซนติเมตร เมื่อคำนวณเทียบ สัดส่วน แล้ว จะมีความกว้างของหน้าตักองค์พระประมาณ 9.00 เมตร ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงแสน

คณะผู้ออกแบบมีความเห็นว่า ในบรรดาพระพุทธรูปเชียงแสนที่มีอยู่หลายแบบ พระพุทธรูปปางมารวิชัย “สิงห์หนึ่ง” มีพุทธลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนที่งดงามยิ่ง มีความล่ำสันสมบูรณ์บึกบึน เปี่ยมด้วยพลังอำนาจ เพราะสร้างขึ้นในช่วงแรกๆของการรวบรวมบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น มีศึกสงครามอยู่อย่างต่อเนื่อง พุทธลักษณะ จึงดู เข้มแข็ง

สำหรับการสร้างพระพุทธนวล้านตื้อ ใน พ.ศ. 2547 นี้ เกิดจากความตั้งใจร่วมกันของกระทรวงมหาดไทย โดยนายประมวล รุจนเสรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย คณะสงฆ์โดย พระธรรมราชานุวัตร รองเจ้าคณะภาค 6 วัดพระแก้ว พระราชสิทธินายก เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย วัดพระสิงห์ และจังหวัดเชียงราย โดย นายนรินทร์ พานิชกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยคณะข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้พิจารณาเห็นว่า เป็นช่วงที่ ี่บ้านเมือง เจริญรุ่งเรืองและเศรษฐกิจดี ประชาชนมีความร่มเย็นเป็นสุข มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน และดินแดนเชียงแสนเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ และแหล่งประวัติศาสตร์อารยธรรม รวมทั้งพระเจ้าล้านตื้อ ถือเป็นที่เคารพ สักการะของพุทธศาสนิกชนในอนุภาค ลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งหากค้นพบและนำขึ้นมาจากลำน้ำโขงได้ ก็อาจจะมีปัญหาใน การอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของ จนอาจกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ และพุทธศาสนิกชนในอนุภาค ลุ่มน้ำโขงได้ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเห็นชอบร่วมกันว่า ควรจะถือเอาพระพุทธรูปเชียงแสนสี่แผ่นดิน ที่ได้จัดสร้าง ไว้ถวายเป็นมหามงคลแด่องค์สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ณ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ เป็นองค์แทน พระเจ้าล้านตื้อ โดยร่วมใจกันถวายนามว่า “พระพุทธนวล้านตื้อ เชียงแสนสี่แผ่นดิน เฉลิมพระเกียรติ” และการออกแบบมีความอ่อนช้อยสวยงามสอดคล้องกับอุดมคติของสมัยปัจจุบัน

คณะผู้ออกแบบจึงได้วางแนวทางการออกแบบ ไว้ดังนี้

1. นำพุทธลักษณะของพระพุทธรูปเชียงแสน “สิงห์หนึ่ง” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีความงดงามเหนือกว่าแบบใด ในบรรดาศิลปสกุลช่างเชียงแสนด้วยกัน และเป็นที่นิยมศรัทธาของประชาชนชาวล้านนาโดยทั่วไป มาเป็นแบบหลัก เป็นแนวทางในการออกแบบ

2. เนื่องด้วย พระพุทธรูปนี้สร้างขึ้น ในวาระมหามงคลสมัย พุทธลักษณะจึงมีความนุ่มนวลเปี่ยมด้วยพระเมตตา คณะผู้ออกแบบมีความเห็นร่วมกันว่า สมควรนำแนวทางพุทธศิลป์สกุลช่างสุโขทัยมาหลอมรวมไว้เพื่อช่วยให้เกิความกลมกลืนมากยิ่งขึ้นในอัตราส่วน 80:20

3. ได้เสนอโครงการเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสมหามงคลสมัย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2547 และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จึงได้อัญเชิญตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ประทับเหนือผ้าทิพย์ การจัดองค์ประกอบฐานบัวรองรับประดับประดาด้วยศิลปะเชียงแสนโบราณ และเรือสำเภาโบราณตั้งชื่อว่า “เรือกุศลธรรม” ตลอดทั้งการจัดภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบได้ออกแบบอย่างถูกต้องตามหลัก สถาปัตยกรรม และ วิศวกรรมปัจจุบัน

พระพุทธนวล้านตื้อ หรือพระเชียงแสนสี่แผ่นดิน จึงเป็นพระพุทธรูปที่เป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาและปรัชญาทางพุทธศิลป์ นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รังสรรค์ร่วมยุคสมัย ดุจการหลอมรวมความจงรักภักดีของพสกนิการชาวไทยทุกหมู่เหล่าขึ้นเป็นองค์พระพุทธปฏิมากรรมล้ำค่า เพื่อ น้อมเกล้า ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงเป็นแม่ของแผ่นดิน

การสร้างพระเชียงแสนสี่แผ่นดินนี้ มีหลายท่านขนานนามว่า เป็นพระเชียงแสนสิงห์ 4 รุ่นใหม่ก็เป็นได้

นอกจากนี้ ฝ่ายจัดสร้างยังได้ดำเนินการสร้างพระพุทธรูปเพิ่มเติม ดังนี้

1. พระนำฤกษ์ พุทธลักษณะ พระเชียงแสนสิงห์ 1 เนื้อนวโลหะ ขนาดหน้าตัก กว้าง 16 นิ้ว เพื่อนำทูลเกล้าถวายแดสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ

2. พระต้นแบบ พุทธลักษณะ พระเชียงแสนสิงห์ 1 เนื้อทองเหลือง ทาสีทองทั้งองค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 1 เมตร ประดิษฐานหน้าพระพุทธนวล้านตื้อ เพื่อให้ผู้ไปสักการะบูชาปิดทอง แทน พระพุทธนวล้านตื้อองค์ใหญ่

3. พระเชียงแสนสิงห์ 1 เนื้อทองเหลือง ขนาดหน้าตักกว้าง 72 นิ้ว (1.80 เมตร) สูง 100 นิ้ว จำนวน 3 องค์ สำหรับประดิษฐานที่ วัดทองทิพย์พัฒนาราม เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้วประเทศลาว วัดปาเชต์มหาราชฐาน เมืองสิบสองปันนา ประเทศจีน พระธาตุเวดากองจำลอง จังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมี้ยนม่าร์

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top