เหรียญฉลองพัดยศ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดเทพนิมิตสุดเขตแดนสยาม-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน

เหรียญฉลองพัดยศ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดเทพนิมิตสุดเขตแดนสยาม

เหรียญฉลองพัดยศ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดเทพนิมิตสุดเขตแดนสยาม - 1เหรียญฉลองพัดยศ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดเทพนิมิตสุดเขตแดนสยาม - 2เหรียญฉลองพัดยศ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดเทพนิมิตสุดเขตแดนสยาม - 3เหรียญฉลองพัดยศ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดเทพนิมิตสุดเขตแดนสยาม - 4
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญฉลองพัดยศ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดเทพนิมิตสุดเขตแดนสยาม
อายุพระเครื่อง 5 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน
ราคาเช่า 350 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พระมาใหม่
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ศ. - 21 มิ.ย. 2567 - 21:31.29
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 21 มิ.ย. 2567 - 21:31.29
รายละเอียด
เหรียญฉลองพัดยศ หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล วัดเทพนิมิตสุดเขตแดนสยาม จ.เชียงราย ทองแดงผิวไฟ

เหรียญนี้ เป็นรุ่นนิยม อีก หนึ่งรุ่น

ในกลุ่ม เนื่อเงิน ทะลุสี่พันบาท

พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
22 กันยายน 2018 ·
หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล "สมณะผู้สั่งสมบุญมาด้วยของอันละเอียดปราณีต"ท่านเป็นพระมหาเถระที่มีปฏิปทาเป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านในเขตจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียง ท่านเป็นพระกัมมัฏฐาน มีความเคร่งครัดต่อการฝึกฝนวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยกิตติศัพท์ แห่งคุณงามความดีที่ท่านได้ฟื้นฟูสภาพจากสำนักสงฆ์วิปัสสนาที่ไม่มีอะไรเลย จนกลายเป็นวัดที่โดดเด่น คือ วัดรัตนวนาราม และ อนาลโยทิพยาราม อ.เมือง จ.พะเยา , วัดป่าเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง , วัดเทพนิมิตสุดเขตสยาม อ.เชียงของ จ.เชียงราย ทุก ๆ วัดล้วนจัดสร้างขึ้นด้วยความปราณีตวิจิตรงดงามก็ด้วยบุญบารมีที่หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโลท่านเคยสั่งสมมาด้วยของอันปราณีตละเอียดอ่อนในฐานะพระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาพระโพธิญาณ จนเป็นที่นับถือเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

หลวงปู่หลวง กตปุญโญ ผู้เป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่ไพบูลย์ ในสมัยที่หลวงปู่หลวง ยังมีชีวิตอยู่ท่านเคยกล่าวยกย่อง หลวงปู่ไพบูลย์ไว้หลายประการ เช่น

๑.หลวงพ่อไพบูลย์ เป็นพระที่เก่งนิมิตจากการปฏิบัติธรรม แม้แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านทรงโปรดให้พระอาจารย์ไพบูลย์ แปลพระนิมิตที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมของพระองค์บ่อยครั้ง

๒.หลวงพ่อไพบูลย์ เป็นพระที่เปี่ยมด้วยจาคะเสียสละด้วยการให้ ไม่ว่าจะเป็นให้ทาน ให้อภัย เป็นพระสุปฏิปันโนที่ปรารถนาพระโพธิญาณในอนาคตกาล

ชีวประวัติหลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล
หลวงปู่ไพบูลย์ ท่านมีนามเดิมว่า “ไพบูลย์ สิทธิ” เกิดเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๔๗๗ เป็นบุตรของคหบดีชาวอำเภอเกาะคา โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายกองแก้ว และ นางคำสิทธิ ด้วยความที่โยมพ่อของท่านมีอาชีพเป็นแพทย์แผนโบราณ ทำให้เด็กชายไพบูลย์เกิดความเคยชินและคุ้นเคยกับภาพชีวิตที่วนเวียนอยู่กับ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย จนมองว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีใครสามารถห้ามความตายหรือหนีพ้นความตายได้

ท่านเล่าว่าในช่วงนั้นจิตใจของท่านไม่รู้เป็นอย่างไร เพราะนอกจากท่านคิดอยู่แต่จะหาทางออก หาวิธีให้หลุดพ้นจากวงเวียนชีวิตแล้ว ท่านยังมีความสงสารไม่อยากเห็นความเจ็บ ไม่อยากเห็นความตาย ไม่อยากให้ใครเจ็บและไม่อยากให้ใครตาย

ดังนั้นเมื่อท่านเห็นคนเจ็บมาให้พ่อของท่านรักษา ท่านก็จะรีบกุลีกุจอเข้าไปช่วย บางครั้งเมื่อท่านเห็นว่ามีชาวบ้านเอากุ้งหอยปูปลาใส่ข้องใส่กระบุงมาวางขาย ท่านก็จะรบเร้าแม่ของท่านให้ซื้อไปปล่อย

ชะรอยพ่อแม่ของท่านคงจะจับสังเกตุอุปนิสัยของลูกคนเล็กมาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อมีโอกาสได้พบครูบาอาจารย์ พ่อแม่ของท่านจึงมักจะเล่าเรื่องถวายและขอความคิดเห็น ซึ่งความเห็นของแต่ละองค์ล้วนสอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกันว่า

“ลูกชายคนนี้ต้องบวช เพราะวาสนาบารมีของเขาสร้างสมอบรมมาทางนี้”

อย่างไรก็ตามครับ ด้วยปกติวิสัยของคนที่เป็นพ่อเป็นแม่ย่อมอยากเห็นลูกของตนได้ดี ทั้งๆ ที่รู้ว่าการออกบวชนั้นก็ดีและประเสริฐอยู่แล้ว แต่ก็หาสร้างความสบายใจให้กับผู้ที่เป็นพ่อแม่ได้ เพราะเหตุการณ์ข้างหน้ามีความเสี่ยงอยู่เสมอ

ใครจะไปรับรองได้ว่าหากลูกของตนเกิดบวชไม่ตลอดรอดฝั่งและสึกออกมาใช้ชีวิตเยี่ยงคนธรรมดา การเข้าไปต่อสู้ในโลกของฆราวาสที่ต้องแข่งขันกันนั้น มันจะเป็นการช้าไปหรือเปล่า ทางที่ดีคือควรจะเรียนหนังสือให้จบเรียบร้อยก่อนแล้วจึงบวช

ด้วยเหตุผลนี้แหละครับ เส้นทางชีวิตในทางโลกของเด็กชายไพบูลย์จึงดำเนินไปตามแนวทางที่พ่อแม่ของท่านได้วางไว้ คือเรียนหนังสือจนจบและออกไปทำงาน จนเมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้บวชตามประเพณีของลูกผู้ชาย

ในขณะที่พ่อแม่ของท่านมีความคิดว่าการบวชจะทำให้ท่านเป็น “คนสุก” ของสังคม เมื่อสึกออกมาจะได้ตั้งครอบครัวและมีบุตรสืบสกุลต่อไป ในทางกลับกันตัวท่านเองก็มีความคิดว่าการบวชครั้งนี้เป็นแค่การชิมลางถือเป็นการซ้อมใหญ่ไปในตัวเท่านั้น

ในวัยเยาว์ ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ จ.เชียงใหม่ เรียนจบชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ ๖ ก่อนไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงตน จนเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฏาคม ๒๕๐๗ อายุครบ ๓๐ ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้ปิดฉากชีวิตในทางโลกด้วยการอุปสมบทอีกครั้ง ณ วัดป่าสำราญนิวาส ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยมีพระครูธรรมวิวัฒน์ วัดเชตวัน จังหวัดลำปางเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “สุมังคโล” ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้มีมงคลดีพร้อม"

หลังจากที่หลวงพ่อได้จำพรรษาและศึกษาธรรมกับ “หลวงปู่หลวง กตปุญโญ” เจ้าอาวาสวัดป่าสำราญนิวาส จนเข้าถึงแก่นธรรมได้ระดับหนึ่งแล้ว ท่านจึงได้ขยายความเข้าใจเพิ่มเติมโดยการออกเดินธุดงค์ตามป่าเขาและตั้งใจทำความเพียรอย่างเด็ดเดี่ยว ท่านว่าเมื่อนั่งภาวนาและเกิดนิมิตผุดขึ้นมาในดวงจิต อย่าได้ตื่นเต้นคิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษ ให้มีสติคุมรู้เท่าทันและพิจารณาด้วยหลัก ๒ ประการ คือ

๑.ไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกสิ่งเป็นทุกข์ ทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน

๒.อริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พิจารณาเหตุให้เกิดทุกข์ ธรรม เป็นเครื่องดับทุกข์และข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์

หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล ท่านว่า… “สิ่งที่จริง ก็รู้เอง สิ่งที่ไม่จริง ก็แยกแยะได้”

เมื่อมีความก้าวหน้าจากการปฏิบัติธรรมแล้ว ได้ออกท่องธุดงค์ไปจำพรรษาในภาคอีสาน และกลับธุดงค์ขึ้นมาแถบป่าเขาในเขตเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย

พ.ศ.๒๕๑๓ หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโลได้มีโอกาสไปร่วมงานถวายเพลิงศพพระอาจารย์สม ที่ อ.แม่เมาะ ได้พบกับ พระอาจารย์ทอง ที่เดินทางมาจากวัดอโศการาม จึงได้ชักชวนพระไพบูลย์ออกเดินธุดงค์หาความวิเวก คณะของหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโลท่านได้ผ่าน มาถึง จ.พะเยา ได้พักบำเพ็ญสมณธรรมอยู่วัดร้างและจำพรรษา ณ วัดร้างแห่งนี้ ชาวบ้านแถบนั้นได้มาทำบุญฟังเทศน์ เกิดความเลื่อมใสศรัทธา พากันอาราธนาให้ท่านอยู่ ช่วยบูรณะวัดร้างขึ้นใหม่ อยู่ช่วยปฏิสังขรณ์วัดร้าง จากสภาพวัดร้าง จนมีสภาพดีขึ้นตามลำดับ พร้อมกันนี้ได้ยื่นหนังสือขอสร้างวัดไปยังกรมการศาสนา ได้รับอนุญาต ให้สร้างเป็นวัดในพระพุทธศาสนา มีนาม "วัดรัตนวนาราม"

ต่อมาได้มี ชาวบ้านจากบ้านสันป่าม่วง บ้านสันบัวบก บ้านสันป่าบง เข้ามาอาราธนาท่านไปดูสถานที่สำคัญ บนดอยสูง ฝั่งกว๊านพะเยาด้านตะวันตก เพื่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์ไว้เป็นที่บำเพ็ญกุศลของชาวบ้าน ท่านเป็นพระป่ากรรมฐานที่เน้นการปฏิบัติและการพัฒนาควบคู่กันไปครับ โดยเฉพาะกับการอนุรักษ์ป่าเขาลำเนาไพรให้คงอยู่ในสภาพเดิมตามธรรมชาติท่านถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ท่านชอบบอกเสมอ ๆ ว่า… “รู้ไหม..พระพุทธเจ้าท่านประสูติในป่า ตรัสรู้ในป่า ทรงแสดงปฐมเทศนาก็ในป่า และท้ายที่สุดท่านเสด็จปรินิพพานก็ในป่าเช่นกัน”

ในสมัยที่พระพุทธเจ้าท่านยังทรงมีชีวิตอยู่เมื่อถึงเวลาที่พระองค์จะทรงสอนธรรมะแก่ผู้ใด หากพระองค์ทรงสังเกตุว่าบุคคลผู้นั้นยังเป็นผู้ที่มีความตระหนี่และความหวงแหนอยู่ในใจ พระองค์จะเริ่มสอนในเรื่องของการให้เป็นเรื่องแรก ทั้งนี้เพื่อเป็นการซักฟอกจิตใจของผู้นั้นให้มีความละเอียดสะอาดสดใสเสียก่อน จากนั้นพระองค์จึงจะแสดงธรรมที่ลึกซึ้งเป็นลำดับต่อไป

“พวกกระผมไม่ขัดข้องที่ท่านจะมาอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้เพื่อบำเพ็ญประพฤติปฏิบัติ แต่ถ้าพระคุณเจ้าจะสร้างวัด ก็ขอให้สร้างเป็นวัดหลวงปู่ขาวเถิด พวกกระผมจะยินดีเป็นอย่างยิ่ง”

คำขอเพียงข้อเดียวของ “เจ้าพ่อดำ” เทพวิญญาณเจ้าที่ ณ ป่าเขาบริเวณนี้

เจ้าพ่อดำได้ขอความเมตตาจากหลวงพ่อเพียงหนึ่งข้อ หลังจากที่หลวงพ่อได้ตัดสินใจรับนิมนต์ชาวบ้านสันป่าบง ในการพัฒนาป่าเขาแห่งนี้ให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เขากล่าวว่าเขาเป็นใหญ่แถบนี้มานาน ตลอดเวลาที่ผ่านมาเขาไม่เคยยอมอ่อนน้อมให้ใคร แต่ที่ยอมลงให้หลวงพ่อก็เพราะเห็นในความตั้งใจจริงและยอมพ่ายต่อกระแสความเมตตาของหลวงพ่อที่แผ่ออกมา เขาว่ากระแสความเมตตาของหลวงพ่อเยือกเย็นนัก

ก่อนหน้านี้ประมาณ ๓ ปี หลวงปู่ได้จำพรรษาและบำเพ็ญเพียรในฐานะประธานสงฆ์อยู่ที่ “วัดรัตนวนาราม” จนคืนหนึ่งหลังจากที่ท่านเสร็จสิ้นภารกิจต้อนร้บญาติโยมจากแดนไกล ท่านได้เข้าสมาธินั่งภาวนาตามปกติ ระหว่างที่กำลังเจริญภาวนาอยู่นั้น ท่านได้นิมิตเห็นทรายทองจำนวนมากกำลังไหลจากยอดเขาสูงลงมาสู่วัดรัตนวนาราม

ท่านเล่าว่ารังสีแสงของทรายทองที่ไหลลงมาดั่งสายน้ำนั้นได้ท่วมท้นอาบวัดรัตนวนารามทั้งวัดจนกลายเป็นประหนึ่งวัดทองคำ และเมื่อท่านได้มองทวนรังสีแสงสีทองย้อนขึ้นไป ท่านจึงพบว่าแท้จริงแล้วทรายทองทั้งหมดนั้นได้ไหลลงมาจากยอดเขาที่อยู่อีกฟากหนึ่งของกว๊านพะเยานั่นเอง

ด้านทิศตะวันออกของกว๊านพะเยา เป็นที่ตั้งของ “วัดรัตนวนาราม”

ด้านทิศตะวันตกของกว๊านพะเยา เป็นป่าเขาและมียอดดอยสูงชื่อว่า “ดอยม่อนแก้ว”

ชาวบ้านสันป่าบงเชื่อว่า “ดอยม่อนแก้ว” เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะที่นั่นชาวบ้านมักจะเห็นแสงสว่างเป็นดวงกลมล่องลอยไปมาอยู่บนยอดดอย แสงนั้นบางทีก็สว่างเรืองรอง บางทีก็สว่างจ้าเป็นสีเหลืองสดอาบทั้งดอยจนกลายเป็นดอยทองคำ และที่สำคัญคือเหตุการณ์แบบนี้ชอบที่จะปรากฏให้เห็นในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

นอกจากนี้ในบริเวณดังกล่าวยังได้ชื่อว่า “เป็นที่แรงและมีผีดุ” ชาวบ้านบางคนได้เล่าไว้ว่า หากพวกเขาไปทำไร่ทำนาในบริเวณนั้น พอถึงตอนเย็น พวกเขาจะต้องรีบกลับออกจากสถานที่แห่งนั้น เคยมีบางคนไม่เชื่อและไปเผลอนั่งหลับ ก็จะมีคนร่างกายสูงใหญ่ตัวดำ มากระตุกขาหรือคอยแหย่ให้ตื่น เล่นเอาบางคนตกใจถึงกับเสียสติ เจ็บไข้ได้ป่วยและบางรายก็ถึงกับเสียชีวิต

สำนักสงฆ์อนาลโย สำนักสงฆ์เล็ก ๆ ที่เริ่มต้นจากการใช้เพิงผาเป็นที่ปฏิบัติธรรม ค่อยๆ ปรับปรุงโดยเพิ่มยกแค่ให้สูงพอกันสัตว์เลื้อยคลาน ต่อมาก็เป็นกระต๊อบ มีฝา มีหลังคา จนในที่สุดได้พัฒนากลายมาเป็น “วัดอนาลโยทิพยาราม” ในปัจจุบัน

ทุกวันนี้นอกเหนือไปจากการมีชื่อเสียงในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของพื้นที่แล้ว ความสงบภายใต้ร่มเงาของพระพุทธศาสนา ความร่มรื่นของป่าเขาน้อยใหญ่ที่ยังสมบูรณ์ และความสวยงามของภูมิทัศน์รอบ ๆ ที่ได้พัฒนาให้สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ ทำให้วัดอนาลโยทิพยารามแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหน้าเป็นตาของจังหวัดพะเยาด้วยครับ

คำว่า “อนาลโย” เป็นฉายาของ “หลวงปู่ขาว อนาลโย” วัดถ้ำกลองเพล

หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล กล่าวว่า หลวงปู่ขาวท่านเป็นพระที่มีเมตตาธรรมอันสูงส่ง มีคุณธรรมอันล้ำเลิศ คนหูหนวกก็คงเคยเห็นท่าน คนตาบอดก็คงเคยได้ยินชื่อเสียงของท่าน คงจะมีแต่คนที่ทั้งหูหนวกและตาบอดเท่านั้นที่ไม่เคยได้ยินชื่อเสียงและไม่เคยเห็นท่าน

สำนักสงฆ์แห่งนี้ ในเวลาไม่นาน ได้รับการยกฐานะให้เป็นวัด ชื่อ “วัดอนาลโยทิพยาราม” ได้รับประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๓๐

แม้ทุกวันนี้ หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล วัดอนาลโยทิพยาราม จะดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการชั้นผู้ใหญ่ แต่วัตรปฏิบัติท่านยังคงเรียบง่ายดุจเดิม ยังคงให้การอบรมศีลธรรมแก่สาธุชนที่เข้ามาทำบุญฟังธรรม เน้นให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระ พุทธศาสนา ตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม เป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้เป็นปกติสุขในสังคม แม้สังขารเริ่มโรยราไปบ้างตามกาลเวลา แต่จิตใจของท่านยังเข้มแข็ง เป็นบุคคลต้นแบบในการดำเนินชีวิตที่ดีงามโดยแท้

วัดที่ท่านจัดสร้างขึ้น หรือจะเรียกว่า เนรมิตขึ้นมาก็ไม่ผิด ล้วนวิจิตรอ่อนช้อยงดงามยิ่ง สิ่งนี้ก็ด้วยบุญบารมีที่ท่านเคยสั่งสมมาด้วยของที่ปราณีตละเอียดอ่อน

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมคำสอนนี้ ทุกๆ ท่าน

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top