-
0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
หมวด เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540
พระพุทธสุริโยทัยสิริกิติฑายุมงคล เนื้อเงิน





ชื่อร้านค้า | จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระพุทธสุริโยทัยสิริกิติฑายุมงคล เนื้อเงิน |
อายุพระเครื่อง | 33 ปี |
หมวดพระ | เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 08-6560-4037 |
อีเมล์ติดต่อ | Tayanrum@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พฤ. - 16 พ.ค. 2567 - 21:19.53 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พฤ. - 16 พ.ค. 2567 - 22:14.32 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระพุทธสุริโยทัยสิริกิติฑายุมงคล เนื้อเงิน พระชุดนี้ พิธีเสก ดีมากครับ...สุดยอดพระเกจิ ในยุคนั้น ได้มา ด้วยกัน ยกชุด เนื้อเงิน เนื้อนวะโลหะ รวม 2 เหรียญ เนื้อเงินหายากครับ .... .... พระพุทธสุริโยทัยสิริกิติฑายุมงคล พล.ต.ต.ทวิธาร วรินทราคม เขียน ต่วย’ตูน ปีที่ 37 เล่มที่ 24 ปักษ์หลัง – สิงหาคม 2551 หน้า 4-11 เป็นเวลา 58 ปีแล้ว นับแต่สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ของชาวไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 ขณะนี้พระองค์ทรงมีพระชนมายุ 76 พรรษา ทรงเป็นคู่พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และทรงเป็นพระแม่เจ้าของชาวไทย ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการในการขจัดความทุกข์ยาก ทรงช่วยเหลืออาชีพให้ราษฏรชองพระองค์มีรายได้ เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศชาติในทุก ๆ ด้าน ดังเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วโดยเฉพาะพระมหากรุณาธิคุณแก่ราษฏรเมื่อเกิดความไม่สงบใน 4 จังหวัดภาคใต้ พระมหากรุณีวแผ่ไปถึงแม้ชีวิตสัตว์ที่ใกล้สูญพันธ์ พระราชทานที่ดินส่วนพระองค์ให้เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เต่าทะเล ทรงอนุรักษ์สัตว์ป่าที่หายาก โดยทรงมีโครงการเพาะเลี้ยงเพื่อปล่อยกลับสู่ป่าเช่น ไก่ฟ้าพญาลอ ทรงสร้างปะการังเทียมให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ทรงรักษาป่าไม้ โบราณสถาน โบราณวัตถุของชาติ ฯลฯ สิ่งหนึ่งที่ปรากฏเด่นชัดคือ ทรงยกย่อง เทิดทูนวีรบุรุษ และวีรสตรี ผู้กล้าหาญในประวัติศาสตร์ซึ่งมีคุณูปการแก่บ้านเมืองให้บุคคลในชาติตระหนักและถือเป็นเยี่ยงอย่างทรงเคารพเทิดทูนความรักมาตุภูมิและความกล้าหาญ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นอย่างยิ่งสำหรับวีรสตรีทรงยกย่อง สมเด็จพระสุริโยทัยเป็นพิเศษ ที่ทรงเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ใสช้างเข้าป้องกันสมเด็จพระสวามี ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ จนพระองค์เองต้องสิ้นชีพบนคอช้าง มิฉะนั้นประวัติศาสตร์จะต้องเปลี่ยนโฉมหน้าไปอีกอย่างหนึ่งแล้ว เมื่อครั้งฉลองพระชนมายุ 60 พรรษา 12 สิงหาคม 2535 สมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้ทรงสร้างพระพุทธปฏิมากรถวายเป็นพระราชอุทิศ แต่สมเด็จพระสุริโยทัยโดยทรงประดิษฐานไว้บนคอระฆังของพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์เป็นครั้งใหญ่ แล้วมีการสมโภชพระเจดีย์อีกครั้งเป็นพระราชพิธี พระพุทธปฏิมานี้ เป็นพระพุทธรูปประทับยืนขนาด 9” พุทธลักษณะทรงเครื่องแบบสมัยอยุธยาตอนกลาง พระหัตถ์ขวาทอดขนามกับพระองค์ พระราชทานนามว่า “พระพุทธสุริโยทัยสิริกิตฑีฆายุมงคล” แปลงว่า “พระพุทธเจ้าทรงเป็นมงคลแห่งสมเด็จพระสุริโยทัย และทรงเจริญพระชนมพรรษาแห่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ” เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้เสด็จประกอบพิธีมังคลาภิเษก เสกดิน เสกน้ำ พระพุทธมนต์ปั้นหุ่นที่อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้เสด็จฯ เททองที่โรงหล่อกองหัตถศิลปะ กรมศิลปากร กิ่งอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม วันที่ 23 สิงหาคม 2534 เสด็จฯ ในพระราชพิธีมังคลาภิเษก ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามพระราชพิธีมังคลาภิเษกครั้งนี้วัดวาต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร เจริญพระพุทธมนต์ไปพร้อมกันด้วย ในวันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2534 เวลา 17.30 น. ได้เสด็จฯในงานพระราชพิธีสมโภชพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตในพระเกตุขององค์พระปฏิมาพระพุทธสุริโยทัยสิริกิติฑีฆายุมงคลที่ทรงอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน กับทรงประกอบพระราชพิธีอัญเชิญเจดีย์พระบรมธาตุจำลองขึ้นสู่ที่บรรจุบนคอระฆังขององค์พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย หลังจากนั้น เวลา 18.45 น. ได้เสด็จฯไปยังบริเวณทุ่งมะขามหย่องเพื่อทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ณ บริเวณทุ่งมะขามหย่องนั้นเพื่อเป็นสถานที่สดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระสุริโยทัยที่ทรงขาดคอช้าง ณ สมรภูมิแห่งนั้น หลังจากที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จขึ้นครองราชย์ได้เพียง 7 เดือน ทั้งนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯไปทอดพระเนตรและทรงเลือกสถานที่ดังกล่าวด้วยพระองค์เอง ทุ่มะขามหย่อง อยู่ในทุ่งฝั่งตะวันออกด้านเหนือห่างจากพระราชวังไปประมาณ 2 กม. มีวัดภูเขาทอง ซึ่งสมเด็จพระราเมศวรทรงสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.1930 เมื่อเสียกรุงครั้งแรก พ.ศ.2112 พระเจ้าบุเรงนองได้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นเป็นที่ระลึกที่วัดนี้ต่อมาเจดีย์ชำรุดหักพังลง พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่เป็นเจดีย์รูปย่อเหลี่ยมไม้สิบสองแบบไทย แต่ฐานพระเจดีย์ยังคงเป็นฐานทักษิณแบบพม่า เมื่อครั้งสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หนีราชภัยไปบวชเป็นพระภิกษุ ได้เดินทางไปชมเจดีย์ภูเขาทองแห่งนี้ และเขียน นิราศภูเขาทอง ไว้ซึ่งเป็นนิราศที่มีคุณค่าทางด้านกวีและประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก ปัจจุบันนอกจากทุ่งมะขามหย่องจะเป็นที่ตั้งของพระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระสุริโยทัยให้ประชาชนได้สักการะและระลึกถึงวีรกรรมที่สร้างไว้แก่ชาติบ้านเมืองแล้ว เมื่อคราวเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในจังหวัดภาคกลาง ยังพระราชทานให้ฝัน้ำเข้าสู่ทุ่งมะขามหย่องเพื่อแบ่งเบาระดับน้ำท่วมขังในพื้นที่อื่นได้ด้วย สำหรับเจดีย์ศรีสุริโยทัย อยู่ในวัดสบสวรรค์ ซึ่งเป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันตกนอกเขตพระราชวัง เพิ่งถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ.2451 เมื่อครั้นล้นเกล้าฯ ร.5 เสด็จไปทรงประกอบพิธีสังเวยอดีตพระมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาปรากฏว่าบริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งกรมทหารมณฑลกรุงเก่า จนกระทั่ง พ.ศ.2455 ในรัชสมัยของล้นเกล้าฯ ร.6 พระองค์และราษฏรจึงพร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์เทิดพระเกียรติสมเด็จพระสุริโยทัย และจารึกสดุดีวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ไว้ ห่างจากอนุสาวรีย์นี้ไปทางใต้ประมาณ 80 เมตรมีพระเจดีย์ขนาดใหญ่ปรากฏอยู่ ล้นเกล้าฯ ร.6 โปรดให้เรียกพระเจดีย์วัดสวนหลวงสบสวรรค์นี้ ว่า “พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย” (มีคำว่า “ศรี”) ในอดีตได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้ง ก่อนจะทำการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.2533 -2534 เนื่องในวาระฉลองพระชนมายุครบ 5 รอบ ของสมด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 12 สิงหาคม พ.ศ.2535 มีหลักฐานปรากฏวันเมื่อสมเด็จพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์บนคอช้าง กองทัพของกรุงศรีอยุธยาได้ล่าถอยเข้าภายในกำแพงเมืองสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ โปรดให้นำพระศพมาประดิษฐานไว้บริเวณสวนหลวงในกำแพงเมืองทิศตะวันตก ริมแม่น้ำเจ้าพระยา การศึกครั้งนี้ไม่มีผู้ใดแพ้ชนะพอน้ำเหนือเริ่มหลากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ถอยทัพกลับ จึงโปรดให้ปลงพระศพ ณ สวนหลวงแห่งนั้นและสถาปนาวัดสบสวรรค์ขึ้น เมื่อครั้งสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงสละราชสมบัติให้สมเด็จพระมหินทราธิราช พระราชโอรสแล้วได้เสด็จมาประทับ ณ บริเวณส่วนหลวงแห่งนี้และทรงปฏิบัติธรรมอุ ทิศให้พระมเหสีของพระองค์ หลังจากรุงแตกครั้งที่สองแล้ว วัดสบสวรรค์ได้ถูกทิ้งร้างขาดความเอาใจใส่ จนกระทั่งได้มีการค้นพบในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ และเรียกเจดีย์นี้ว่า “พระเจดีย์ศรีสุริโยทัย” ดังกล่าว อาจมีข้อสงสัยว่ารูปแบบพระเจดีย์ที่ปรากฏอยู่นี้เป็นแบบเดิมสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิหรือไม่ เพราะมีการบูรณปฏิสังขรณ์มาหลายครั้งแต่จากการก่อสร้างภายใน สามารถยืนยันได้ว่าเป็นเจดีย์ที่มีมาแต่เดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้พบ พระพุทธรูปสมัยอยุธยา พร้อมด้วย พระเจดีย์หินผลึกทรงลังกาประดิษฐานพระบรมสารีริกธาติ พร้อมเครื่องสูงซึ่งไม่ใช่เป็นของสามัญชนอย่างแน่นอน ในการสร้างพระพุทธสุริโยทัยสิริกิติฑีฆายุมงคลเพื่อประดิษฐานในองค์พระเจดีย์ เนื่องในวาระฉลองพระชนมายุครบ 5 รอบของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อ พ.ศ.2535 กองบัญชาการทหารสูงสุดได้รับพระราชทานพระบรมราชนุญาตให้สร้างพระพุทธรูปจำลองจากองค์ต้นแบบ ด้วยทองคำเงิน โลหะปิดทอง และโลหะรมดำ กับเหรียญรูปไข่ ทองคำ เงิน นวโลหะ และทองแดง ให้ประชาชนเช่าไปสักการบูชา เพื่อนำเงินรายได้เข้ามูลนิธิสมเด็จพระสุริโยทัยด้วย การที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงศรัทธาในความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระสุริโยทัย ซึ่งทรงเป็นสมเด็จพระอัยยิกาหรือสมเด็จยายเป็นอย่างมาก ทำให้เราได้ดูภาพยนตร์ไทย เรื่องสุริโยทัย ที่ ม.จ.ชาตรี เฉลิมยุคล หรือท่านมุ้ย ลงทุนสร้างขึ้นโดยเฉพาะ และใช้เวลาทุ่มเทศึกษาย้อนหลังเกี่ยวกับเรื่องราวของพระนเรศรวหรือสมเด็จพระนเรศวร จนนำมาสร้างภาพยนตร์เรื่องตำนานพระนเรศวรขึ้นถึง 3 ตอน เป็นภาพยนตร์ไทยที่ยิ่งใหญ่และเป็นความภาคภูมิใจที่ผู้สร้างเป็นคนไทย เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม พ.ศ.2539 สมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้มีพระราชเสาวนีย์ ให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัติรย์สร้างเหรียญขึ้น 2 แบบ แบบหนึ่งด้านหน้าเป็นพระรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับอีกแบบหนี่งเป็นรูปสมเด็จพระสุริโยทัย ส่วนด้านหลังของเหรียญทั้งสองแบบมีพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยย่อ สก. ประดับไว้ มีทั้งชนิดทองคำ เงิน นวโลหะ และทองแดง เสด็จฯ ทรงเททองชนวนเป็นส่วนพระองค์ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2539 มีพระราชพิธีมังคลาภิเษก ณ อุโบสถวันพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ.2539 เมื่อเกิดกรณีความไม่สงบขึ้นในจังหวัดภาคใต้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ได้มีพระราชเสาวนีย์ให้ พล.อ.ณพล บุญทับ รองสมุหราชองครักษ์ สร้างเหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รุ่น “สู้” ขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ทหาร ตำรวจ และราษฎรอาสาสมัครใน 3 จังหวัดภาคใต้ มีทั้งเหรียญชนิดเนื้อทองคำ เงิน เนื้อสองกษัตริย์ และทองแดง กระทำพิธีมังคลาภิเษกที่อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2548 เปิดให้ประชาชนเช่าบูชา วันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2548 ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารใหม่สวนอัมพร นำเงินรายได้ช่วยราษฏรที่ประสบปัญหาในภาคใต้ ปรากฏว่าเหรียญรุ่น “สู้” เป็นที่นิยมเลื่อมใสของประชาชนเป็นอย่างมากจนมีผู้หัวใสทำของปลอมขึ้นจำหน่ายโดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่คำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างอันเกิดจากน้ำพระทัยที่ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ท่านแต่เหรียญปลอมเส้นสายไม่คมชัดและลายพระหัตถ์คำว่า “สู้” ผิดเพี้ยนไปจากของจริงมาก การทำเหรียญปลอมของผู้เห็นแก่ได้ยังไม่เคยมีการดำเนินคดีลงโทษมาก่อน เหรียญรุ่น “สู้” นับเป็นครั้งแรกที่มีการดำเนินคดีลงโทษได้ แม้จะเป็นความผิดในฐานละเมิดสิทธิการประดิษฐ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ฯ และสิทธิในการประดิษฐ์ไม่ใช่โทษฐานปลอมแปลงตามประมวลกฎหมายอาญาก็ตาม |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...










อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments