-
0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
หมวด พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
พระสมเด็จพิมพ์เล็ก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ ) วัดมหาธาตุ
![พระสมเด็จพิมพ์เล็ก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ ) วัดมหาธาตุ - 1](/upload/shopItem3/898/1392629-1c67e.jpg)
![พระสมเด็จพิมพ์เล็ก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ ) วัดมหาธาตุ - 2](/upload/shopItem3/898/1392629-2d1f8.jpg)
![พระสมเด็จพิมพ์เล็ก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ ) วัดมหาธาตุ - 3](/upload/shopItem3/898/1392629-3f994.jpg)
ชื่อร้านค้า | จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระสมเด็จพิมพ์เล็ก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ ) วัดมหาธาตุ |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 08-6560-4037 |
อีเมล์ติดต่อ | Tayanrum@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ |
![]() |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อา. - 28 เม.ย. 2567 - 21:11.24 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ส. - 25 พ.ค. 2567 - 22:35.00 |
รายละเอียด | |
---|---|
สุขสันต์ วันอาทิตย์ วันนี้ จัดมาแบบราคาเบา ๆ ทุกรายการ พระสมเด็จพิมพ์เล็ก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ ) วัดมหาธาตุ พ ร ะ ส ว ย ม า ก พระผู้บริสุทธิ์ แม้จะถูกกล่าวหา...เช่นไร ท่านก็ยังคง ปฏบัติตนด้วยความดี จนสามารถ ผ่านพ้น ห้วงเวลาแห่งความเลวร้ายได้ ....... ....... ข้อความบางตอนจาก...http://mayuresuan.blogspot.com/2014/02/blog-post_5.html สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) [ เมื่อปีพ.ศ. 2528 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์] สมณะศักดิ์ : สมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ประวัติโดยย่อ : สมเด็จอาจ อาสโภ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 แรม 4 ค่ำเดือน 12 ณ บ้านโต้น ต.บ้านโต้น อ.เมือง สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า คำตา ดวงมาลา เป็นบุตรคนโตของนายพิมพ์ และนางแจ้ ดวงมาลา จังหวัดขอนแก่น มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น 4 คนท่านเป็นบุตรคนโต น้องอีกสามคนคือ นางบี้ นายเพิ่ม และนางเอื้อ ตามลำดับ เมื่ออายุ 14 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีจันทร์ จ.ขอนแก่น โดยมีอาจารย์พระหน่อ วัดศรีจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาท่านย้ายมาอยู่กรุงเทพฯเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ จนอายุครบ 20 ปี ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 8 ณ พัทธสีมาวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ขณะยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมไตรโลกาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระญาณสมโพธิ (สวัสดิ์ กิตฺติสาโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) ขณะยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระศรีสมโพธิ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า อาสโภ นอกจากนั้น พระธรรมไตรโลกาจารย์ (เจ้าอาวาสขณะนั้น) ได้เปลี่ยนชื่อท่านจาก คำตา เป็น อาจ เพื่อให้เหมาะกับบุคลิก องอาจ แกล้วกล้า ท่านสอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยคเมื่อ พ.ศ. 2472 และในปี พ.ศ. 2503 ท่านยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรมนั้น ท่านได้ถูกกล่าวหาว่าเสพเมถุนทางเวจมรรค ( การเสพเมถุนทางทวารหนัก ) กับลูกศิษย์ จึงถูกถอดสมณศักดิ์และตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ทว่าต่อมาสามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นความเท็จ แม้กระนั้นต่อมาใน พ.ศ. 2505 ท่านได้ถูกทางการกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ จึงถูกบังคับสึกเป็นฆราวาส และจำคุกอยู่ที่กองบังคับการตำรวจสันติบาลอยู่หลายปี (กล่าวกันว่าสาเหตุที่แท้จริงมาจากเรื่องการเมืองในวงการคณะสงฆ์ไทยในเวลานั้น) ขณะที่ท่านถูกจองจำในคุก ท่านยังคงปฏิบัติตน เช่นพระสงฆ์ดังเดิม โดยนุ่งห่มขาวเหมือนผู้ถือศีล มีผ้าคลุมสีกากี และ น้ำตาลไหม้ ฉันข้าวมื้อเดียว นั่งกรรมฐาน และเดินจงกรม จนกระทั่งได้รับการปล่อยตัว เมื่อศาลทหารสามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของท่านได้และตัดสินยกฟ้องเมื่อ พ.ศ. 2509 คดีดังกล่าวนี้นับเป็นเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาของไทย ซึ่งสร้างความสะเทือนใจให้แก่ศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เมื่อท่านได้รับการปล่อยตัวออกม ท่านได้กล่าววลีเด็ดไว้ว่า “ จงชนะความร้ายด้วยความดี “ และ สร้างเหรียญรุ่นแรก ออกมา เป็น เนื้อทองเหลือง, ทองแดงรมดำ เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจให้สาธุชนรุ่นหลัง ว่า อย่าได้อาฆาตพยาบาทใคร ดังวลีที่ท่านกล่าวไว้ข้างต้น ไม่ว่าท่านจะถูกใส่ร้ายป้ายสีจากคณะสงฆ์ ขนาดนั้น ท่านไม่เคยถือโทษโกรธเคืองแม้แต่น้อย มิหนำซ้ำยัง บำเพ็ญภาวนา และแผ่เมตตาแก่บุคคลเหล่านั้นอีกด้วย สมเด็จอาจ ท่านมรณะภาพเมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ด้วยอาการอาพาธ และภาวะหัวใจวาย ด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 86 ปี 1 เดือน 66 พรรษา เกร็ดความรู้ : สมเด็จอาจ ท่านยังเป็นบุคคลแรกที่นำการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่ (หรือแบบยุบหนอ-พองหนอ) จากพม่ามาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยเปิดสอนครั้งแรกที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ในปี พ.ศ. 2496 จากนั้นจึงขยายไปเปิดสอนที่สาขาอื่นทั่วราชอาณาจักร มีการตั้งกองการวิปัสสนาธุระที่วัดมหาธาตุฯ ต่อมาถูกยกสถานะเป็นสถาบันวิปัสสนาธุระ สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 และได้เผยแพร่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบยุบหนอ-พองหนอจนแพร่หลายดังปัจจุบัน ตุ่นหนุนดวง 06 กุมภาพันธ์ 2557 |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
![](/upload/shopItem3/898/1403930-1ea6a.jpg)
![](/upload/shopItem3/898/1403892-12642.jpg)
![](/upload/shopItem3/898/1403894-10881.jpg)
![](/upload/shopItem3/898/1403849-1d1b9.jpg)
![](/upload/shopItem3/898/1403852-1753d.jpg)
![](/upload/shopItem3/898/1403755-16990.jpg)
![](/upload/shopItem3/898/1403079-157fa.jpg)
![](/upload/shopItem3/898/1403139-12fb3.jpg)
![](/upload/shopItem3/898/1403031-13355.jpg)
![](/upload/shopItem3/898/1403345-1124a.jpg)
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments