เหรียญ รอยพระพุทธบาท พระราชวุฒาจารย์ วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี (2)-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระเกจิภาคอีสานเหนือ

เหรียญ รอยพระพุทธบาท พระราชวุฒาจารย์ วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี (2)

เหรียญ รอยพระพุทธบาท พระราชวุฒาจารย์ วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี (2) - 1เหรียญ รอยพระพุทธบาท พระราชวุฒาจารย์ วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี (2) - 2เหรียญ รอยพระพุทธบาท พระราชวุฒาจารย์ วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี (2) - 3
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญ รอยพระพุทธบาท พระราชวุฒาจารย์ วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี (2)
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ พระเกจิภาคอีสานเหนือ
ราคาเช่า 350 บาท
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ พร้อมเช่า
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 16 มี.ค. 2567 - 21:35.29
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 16 มี.ค. 2567 - 21:35.29
รายละเอียด
เหรียญ รอยพระพุทธบาท พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่สวัสดิ์ ขันติวิริโย วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี

เป็นเหรียญที่ออกแบบได้สวยงามมากครับ

สายกรรมฐาน

"พระราชวุฒาจารย์" (สวัสดิ์ ขันติวิริโย) หรือ "เจ้าคุณอุดร" เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี (ธรรมยุต) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ (พระอารามหลวง) ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี



“ท่านเจ้าคุณอุดร” (พระอุดรคณาจารย์) พระมหาเถระแห่งวัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี

พระเถระ ชั้นผู้ใหญ่

"ท่านเจ้าคุณอุดร" ได้รับการยกย่องว่า "เป็นพระมหาเถระที่เป็นรัตตัญญูที่สุดในวัดโพธิสมภรณ์" (ผู้รู้จักวันคืนที่ผ่านมายาวนาน) เพราะองค์ท่านจำวัดอยู่วัดโพธิสมภรณ์ มาตั้งแต่เป็นสามเณร พ.ศ.๒๔๘๕ จนมรณภาพ พ.ศ.๒๕๕๗ รวมมากกว่า ๗๒ ปี โดยได้ติดตามพระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พันธุโล)จนกระทั่งท่านมรณภาพ ซึ่งพระธรรมเจดีย์ได้ชื่นชมท่านว่า "เรียบร้อย ขยันทำงาน เรียบง่าย ทำงานดี เป็นพระไม่นิ่งดูดาย การงานรับมอบหมายสำเร็จลุล่วง"

อีกทั้งช่วงที่ท่านศึกษาธรรมอยู่กับท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์นั้น ท่านเจ้าคุณได้พาท่านไปกราบฟังธรรมกับองค์พระบุพพาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าโนนนิเวศน์ จ.อุดรธานี ทำให้ท่านเกิดศรัทธาปสาทะในอรรถธรรมอันลึกซึ้งของพ่อแม่ครูอาจารย์ และเลื่อมใสในข้อวัตร ปฏิปทาของพระกัมมัฏฐานยิ่งนัก นอกจากหลวงปู่มั่นแล้ว ท่านเจ้าคุณอุดร ยังมีความเคารพศรัทธาในองค์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และหลวงปู่ขาว อนาลโย อีกด้วย ท่านเจ้าคุณอุดร ท่านยังมีความชำนิชำนาญในด้านช่าง ด้วยเพราะในสมัยก่อนการก่อสร้างนั้น จะไม่ได้จัดจ้าง จะใช้แรงงานพระเสียส่วนใหญ่ ท่านจึงได้สนองงานถวายท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์เอง โดยเฉพาะงานด้านปั้นอิฐ และช่างไม้ จึงได้เป็นแม่งาน ในการบูรณปฏิสังขรณ์ให้กับวัดตลอดมา

ประวัติของพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่สวัสดิ์ ขันติวิริโย) หรือ ท่านเจ้าคุณอุดร ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี (ธรรมยุต) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ (พระอารามหลวง) เดิมชื่อ “สวัสดิ์ วุฒิเสน” ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๖๖ บิดาท่านชื่อ ด้วง วุฒิเสน มารดาชื่อ นางใบ วุฒิเสน ท่านบรรพชาเป็นสามาเณร เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๔๘๕ ที่วัดโพธิสมภรณ์ และเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๘๖ โดยมี พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์

เกล็ดประวัติ "เจ้าคุณอุดร" ที่เขียนไว้ในหนังสือ "เจ้าคุณอุดร จำอดีตชาติได้" ระบุว่า ท่านเป็นลูกคนที่ ๑๑ ขณะโยมพ่อเป็นนักเลงเหล้า แต่ครั้งมากราบท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ตอนมาเทศนาที่อุดรธานี ทำให้โยมพ่อเลิกเหล้า หันมาสนใจทางธรรมแทน เมื่อเจ้าคุณอุดร เรียนจบประถม ๔ ไม่อยากเรียนต่อ แต่โยมพ่ออยากให้ลูกเรียนหนังสือ จึงยื่นคำขาดให้เลือกจะเรียนต่อ หรือบวชเรียน จึงได้บวชเรียนในที่สุด
สำหรับหนังสือ "เจ้าคุณอุดร จำอดีตชาติได้" บันทึกไว้ว่า เจ้าคุณอุดร ระลึกได้ว่าท่านก็คือ พี่ชายคนที่ ๒ "พวง วุฒิเสน" มาเกิดใหม่ ที่เรียนเก่ง ขยันขันแข็ง เข้ามาเรียนถึง ร.ร.อุดรพิทยานุกูล เมื่อครั้งตั้งอยู่วิทยาลัยเทคนิค โดยพักและเรียนธรรม ที่วัดมัชฌิมาวาส แต่ต้องเสียชีวิตไปเมื่ออายุ ๑๕ ปี แล้วอีก ๑ ปี ก็มาเกิดเป็นท่านเจ้าคุณอุดร ท่านจดจำชีวิตวัยเด็กของพี่ชายได้ทั้งหมด สร้างความแปลกใจให้กับญาติพี่น้อง และบุคคลอื่นหลายคน และที่เห็นประจักษ์คือ สามารถเขียน-อ่านภาษาธรรม ได้ดีเหมือนพี่ชาย

ปี พ.ศ.๒๔๙๕ ท่านเป็นเจ้าคณะอำเภอเมือง – บ้านผือ (ธรรมยุต)
ปี พ.ศ.๒๕๑๑ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ พระอารามหลวง อ.เมือง จ.อุดรธานี
ปี พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี (ธรรมยุต)
ปี พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี

องค์พ่อแม่ครูอาจารย์พระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด ได้เคยกล่าวยกย่อง “ท่านเจ้าคุณอุดร” ในงานพระราชทานเพลิงสรีระสังขารของหลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร ณ วัดป่านาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๐ มีใจความว่า...
"ใครที่ยังไม่เคยเห็นเจ้าคุณอุดร นั่นนั่งอยู่ถัดกับเจ้าคุณฯ (หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป)
นี่ละที่ว่าให้เรา ไม่เคยดุใครนะ ไม่เคยได้ยินดุใครเลย เรียกว่าเลิศทางไม่ดุนะ นี่ละที่ได้ออกมาเป็นต่อหน้าต่อตา
วันนั้นมีการประชุม ชำระเรื่องราวเสร็จสรรพ เราเป็นตัวออกโรงพูดง่าย ๆ ว่างั้น ขึ้นเวที ๔๕ นาทีจบ
พอจบเราก็เหนื่อยนอนแผ่สองสลึง พระก็นวดเส้นให้
เจ้าคุณนี้นั่งอยู่ข้าง ๆ “ถ้าใครอยากเห็นฤทธิ์เดชอาจารย์ของเรา ให้มาดูเวลาขึ้นเวที เห็นนิสัยของท่าน”
เราก็ใส่ปั๊วะเลย เราทำท่าดุนะ ดุเพื่อจะหยั่งเสียงนิสัยคนใจดีว่างั้นเถอะ
เพื่อจะหยั่งเสียงคนใจดีจะเป็นยังไง จะออกลายไหนมา
พอจบลงก็ "นี่มันเน่าเฟะมาแล้ว มาอุ่นกินอะไร มันเสียปากเสียท้องรู้ไหม มันบูดมันเสียไปหมดแล้วนี่น่ะ มาอุ่นกินหาอะไร"
เราขู่นะ ทางนั้นจะออกแง่ไหน ก็แบบเก่านั่นละ
"โอ๊ย อุ่นไม่อุ่น กินวันยังค่ำก็อร่อยตลอดเวลา" พูดเฉยนะ แบบเฉย ท่านก็ไปแบบของท่านเฉย
เราขู่แหย่ลองดูเป็นยังไง นึกว่าจะคึกคักขึ้นต่อสู้กัน
โอ๊ยแล้วเท่านั้น ไม่มี ไม่เคยดุใครละ ดุคนไม่เป็น ท่านเจ้าคุณนี่ ดุคนไม่เป็น
ไอ้เรานี่ไม่ได้ละ ถ้าวันไหนไม่ได้ดุ วันนั้นต้องสะพายยาทันใจติดย่ามไปแก้ปวดศีรษะ ไม่ได้ดุคนมันปวดหัว มันต้องเอายาทันใจกินไป แก้ไปเรื่อย พอระงับ ถ้าได้ดุคนละก็ไม่ต้องกินยาทันใจ นี่ไม่มีใครดุ เป็นอย่างนั้นละ"

เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๕๒ ท่านเจ้าคุณอุดร มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคชรา จนอาการท่านทรุดลง และเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์อุดร แพทย์ตรวจพบมะเร็งที่โคนลิ้นระยะสุดท้าย คณะแพทย์วินิจฉัยว่า ท่านจะดำรงขันธ์อยู่ได้ไม่เกิน ๖ เดือน ความทราบถึงองค์พระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หลวงตาได้มอบปัจจัยเป็นจำนวนเงิน ๒,๒๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าทำการรักษาพยาบาลท่านเจ้าคุณอุดร หลังจากที่เข้ารับการรักษาอาการอาพาธเป็นเวลานาน ท่านเจ้าคุณอุดร ได้ละสังขารลง เมื่อวันพุธที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๙.๓๗ น. ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น สิริอายุรวม ๙๐ ปี ๕ เดือน ๑๙ วัน ๗๐ พรรษา

ชมภาพบรรยากาศงานพระราชทานเพลิงสรีระสังขารของ ท่านเจ้าคุณอุดร พระรัตตัญญูภิกษุ ผู้รู้ราตรีนาน แห่งวัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี ได้ที่ลิงค์
https://m.facebook.com/thindham/albums/754197887964088/?ref=bookmark

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top