-
0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
หมวด พระเกจิภาคใต้
เหรียญหลวงพ่อร่วง วัดศาลาโพธิ์ สงขลา
ชื่อร้านค้า | จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญหลวงพ่อร่วง วัดศาลาโพธิ์ สงขลา |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระเกจิภาคใต้ |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 08-6560-4037 |
อีเมล์ติดต่อ | Tayanrum@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | อา. - 21 ม.ค. 2567 - 21:13.56 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ส. - 03 ก.พ. 2567 - 21:00.19 |
รายละเอียด | |
---|---|
เหรียญหลวงพ่อร่วง วัดศาลาโพธิ์ สงขลา เป็นเหรียญที่ออก รุ่น 2 ตอกโค้ด ใบโพธิ์ แต่เป็นรุ่นแรกที่วัดสร้าง เหรียญสวยเดิม กรณ์ สงขลา ยันต์ เครื่องราง 23 ธันวาคม 2023 เวลา 15:04 น. · ####พระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้” จังหวัดปัตตานี หนึ่งในพระผู้เข้าร่วมพิธี เมื่อท่านได้เห็นรายชื่อพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีแล้ว ท่านจึงได้ถาม ว่า “ทำไมไม่นิมนต์ ท่านอาจารย์ร่วง วัดศาลาโพธิ์มาด้วยล่ะ ท่านร่วงเก่งนะ” เล่ากันว่าด้วยคำยกย่องที่พระอาจารย์ทิม มีต่อหลวงปู่ร่วงนี่เอง ทำให้หลวงพ่อปั้นต้องเร่งรีบไปนิมนต์หลวงปู่ร่วงมาร่วมในพิธีและก็กลายเป็นประเพณีเลยว่า เมื่อวัดโคกสมานคุณจะจัดพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลใดๆ ก็ตาม พระเกจิอาจารย์องค์แรกที่ต้องนิมนต์คือ “หลวงปู่ร่วง ธัมมธินโน” เจ้าอาวาสวัดศาลาโพธิ์ ตำบลบ้านหาร อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หลวงปู่ร่วงเป็นพระที่สมถะ ไม่สะสมและใจดี ช่วงที่เขาบวชอยู่กับท่านสิ่งที่เห็นจนชินตาคือเรื่องของการผู้เสียสละและผู้ให้ เขาว่าเมื่อมีผู้มานิมนต์ท่านก็จะรับไปสงเคราะห์ไม่ว่าจะไกลแค่ไหน ใครมาขอวัตถุมงคลท่านก็จะหยิบแจกเป็นกำๆ บางทีมีชาวบ้านมาขอความช่วยเหลือด้านปัจจัยจากท่าน เมื่อท่านพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควร ท่านก็จะสงเคราะห์ไปตามนั้น จากประวัติของหลวงปู่ร่วงมีบันทึกไว้ว่า ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะโรง ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๔๗ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบลบ้านหาร อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คุณพ่อสุข-คุณแม่สุ่น พรมจรรย์ ได้ให้กำเนิดทารกน้อยเพศชายคนที่ ๖ ของครอบครัว ถึงแม้ว่าหลังจากที่เด็กชายร่วงเกิดได้ไม่กี่ปี ทางการจะเริ่มหันมาพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย แต่นั่นก็ยังไม่สามารถทำให้ครอบครัวพรมจรรย์ซึ่งประกอบอาชีพเป็นชาวนาลืมตาอ้าปากได้ เพราะความที่ครอบครัวของท่านมีบุตรชายหญิงมากถึง ๙ คน ชีวิตในวัยเด็กของท่านจึงต้องช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานทุกอย่าง จวบจน ๑๒ ปีต่อมานั่นแหละครับเด็กชายร่วง จึงได้มีโอกาสเรียนหนังสือ ณ วัดศาลาโพธิ์ ภายใต้ความดูแลของพระอาจารย์ใจแก้ว เจ้าอาวาสในขณะนั้น หลวงปู่ร่วงอุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ณ วัดดอนแย้ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีพระครูรัตนโมฬี (หนู) วัดดอนแย้ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ขวัญ วัดบางกล่ำ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์นวล วัดบางหวี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากที่อุปสมบทเรียบร้อยแล้ว ท่านได้ใช้ชีวิตและเวลาในการศึกษาพระธรรมวินัยและคาถาอาคมจากพระอุปัชฌาย์ของท่านอยู่ถึง ๕ ปี จึงได้กราบลาพระอุปัชฌาย์กลับมาจำพรรษา ณ วัดศาลาโพธิ์ ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน นอกจากพระอุปัชฌาย์หนูแล้ว ครูบาอาจารย์ที่หลวงปู่ร่วงเคยเดินทางไปขอเรียนวิชาก็ยังมีอีกหลายองค์ครับ เช่นหลวงพ่อปาน วัดโคกสมานคุณ หาดใหญ่ พระอาจารย์มหาลอย วัดแหลมจาก หาดใหญ่ ฯลฯ ซึ่งแต่ละองค์ได้ถ่ายทอดวิชาให้แก่ท่านพอสมควร แต่อาจารย์ที่หลวงปู่ร่วงได้เรียนมาแบบหนักๆ รับมาแบบเต็มๆ เป็นฆราวาสที่ชื่อ “พ่อทวดแก่ ศรีพรม” ครับ พ่อทวดแก่ ศรีพรม นอกจากจะเป็นบุคคลที่อายุยืนที่สุดในหมู่บ้านแล้ว ท่านยังได้รับการยกย่องว่าเป็นฆราวาสผู้เรืองเวทย์อีกด้วยครับ ว่ากันว่าด้วยรูปร่างของท่านที่สูงใหญ่น่าเกรงขามและมีสายตาที่แวววาวดุจดั่งดวงตาของเสือ ทำให้ไม่ค่อยมีผู้ใดกล้าสบสายตากับท่านเนื่องจากเกรงกลัวในตบะเดชะของท่านครับ หลวงปู่ร่วงเคยเล่าไว้ว่าพ่อทวดแก่ ศรีพรมเป็นผู้ที่เก่งในวิชาไสยศาสตร์ โดยเฉพาะวิชามหาอุตม์ต้องถือเป็นที่สุด ท่านเล่าว่าเคยมีชาวบ้านมายิงนกที่เกาะอยู่บนหลังคาบ้านของพ่อทวดแก่ ศรีพรม แต่เจ้ากรรมยิงเท่าไรก็ยิงไม่ออกแต่พอหันปากกระบอกปืนไปทางอื่นกลับยิงออก มีบางคนเคยฝืนทดลองยิงต่อปรากฏว่าปืนแตกเล่นเอา หน้าแตก มือแตกเลือดไหลไปตามๆ กัน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้พ่อทวดแก่ ศรีพรมเป็นที่เคารพยำเกรงของชาวบ้านเป็นอย่างมาก ท่านได้สอนคุณธรรมของผู้มีวิชาอาคมกับหลวงปู่ร่วงไว้ว่า.. ๑.ให้ใช้วิชาเพื่อช่วยเหลือมนุษย์โดยเฉพาะผู้ตกทุกข์ได้ยาก ๒.ห้ามใช้วิชาไปในการเบียนเบียนผู้อื่น ๓.ห้ามใช้วิชาโดยเห็นแก่อามิสสินจ้าง หลวงปู่ร่วงเคยเล่าไว้ว่าหลังจากที่เรียนวิชาจากพ่อทวดแก่ ศรีพรมแล้ว ท่านก็ได้ใช้วิชาเหล่านั้นบ้างในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ตามแต่จะได้รับการร้องขอจากชาวบ้าน จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๘๔ ซึ่งเป็นระยะที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ขยายตัวเข้าสู่ทวีปเอเซียจนเกิดเป็นสงครามเอเซียมหาบูรพา ญี่ปุ่นได้อาศัยประเทศไทยเป็นทางผ่านไปโจมตีมลายู ฯลฯ กองทัพผู้รุกรานได้ยกพลขึ้นบกบริเวณฝั่งอ่าวไทย โดยเฉพาะที่จังหวัดสงขลาซึ่งเป็นจุดสำคัญที่สุด เพราะมีทางรถไฟจากหาดใหญ่ไปมลายู เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในยามศึก หลวงปู่ร่วงได้สร้างตะกรุดโทนและตะกรุด ๓ ดอกออกมาสำหรับแจกจ่ายให้กับทหารหาญที่ต้องเข้าร่วมรบในสงครามครั้งนี้ และก็ไม่ผิดหวังครับ เพราะต่อมาทั้งตะกรุดโทนและตะกรุด ๓ ดอก ได้กลายมาเป็นกระบอกเสียงชั้นดีในการขยายเกียรติคุณของท่านให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ด้วยเหตุว่าตะกรุดที่แจกออกไปได้สร้างปาฏิหาริย์ให้เกิดกับบรรดาเหล่าทหารหาญที่พกพาติดตัว หลายคนโดนทหารญี่ปุ่นยิงแต่ก็ไม่เข้าและก็อีกหลายคนโดนทหารญี่ปุ่นแทงด้วยดาบปลายปืนแต่ร่างกายก็ไม่ได้รับอันตราย เรียกได้ว่าทุกคนต่างรอดตายได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ คำว่า “ทหารผีดิบ” กลายเป็นคำที่ใช้เรียกแทนคำว่า “ทหารไทย” สำหรับทหารญี่ปุ่น ไม่มีใครบอกได้ว่าเกียรติคุณของหลวงปู่ร่วงหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งนี้ขจรออกไปกว้างไกลแค่ไหน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นลูกโซ่ติดตามมาคือท่านต้องมานั่งจารนั่งเสกตะกรุดสำหรับแจกแก่ทหารไทยที่ต้องเข้าร่วมรบในสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนามในกาลต่อมา ว่ากันว่าในสมัยนั้นทหารไทยสายเลือดสงขลาล้วนมีตะกรุดของท่านติดตัวเกือบทุกคน หลวงปู่ร่วง ธัมมธินโน มรณภาพในช่วงปลายปี ๒๕๓๙ ซึ่งคุณสุกฤชบอกว่าเรื่องมรณภาพนี้หลวงปู่ร่วงท่านทราบล่วงหน้ามานานแล้ว เพราะเขาเคยเห็นหลวงปู่ร่วงเขียนบอกวัน เดือน ปี ที่ท่านจะมรณภาพไว้บนกระดานดำก่อนหน้านี้มาหลายปีแล้ว เมื่อครั้งที่คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก นำโดยคุณหมอสมสุข คงอุไร ได้จัดให้มีพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลขึ้นที่สำนัก ในพิธีดังกล่าวคุณหมอสมสุขได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ที่ทรงอิทธิคุณหลายองค์มาร่วมปลุกเสก เช่น หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน ฯลฯ ร่วมทั้งหลวงปู่ร่วง วัดศาลาโพธิ์ด้วย รุ่นพี่ท่านนี้เล่าว่าเมื่อพิธีพุทธาภิเษกเริ่มไปได้สักระยะหนึ่ง เสียงภาษาใต้ของหลวงปู่ร่วงก็ดังขึ้นมาท่ามกลางความเงียบ “พอแล้วๆ แค่นี้ลูกระเบิดลงก็ไม่พรือ คาถาทำสามวันก็ไม่หมด” |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments