พระร่วงรางปืนหลังตราพระนามย่อ จ.อุ เนื้อเงิน-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520

พระร่วงรางปืนหลังตราพระนามย่อ จ.อุ เนื้อเงิน

พระร่วงรางปืนหลังตราพระนามย่อ จ.อุ เนื้อเงิน - 1พระร่วงรางปืนหลังตราพระนามย่อ จ.อุ เนื้อเงิน - 2พระร่วงรางปืนหลังตราพระนามย่อ จ.อุ เนื้อเงิน - 3พระร่วงรางปืนหลังตราพระนามย่อ จ.อุ เนื้อเงิน - 4พระร่วงรางปืนหลังตราพระนามย่อ จ.อุ เนื้อเงิน - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระร่วงรางปืนหลังตราพระนามย่อ จ.อุ เนื้อเงิน
อายุพระเครื่อง 57 ปี
หมวดพระ พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ก่อนปี 2520
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 26 พ.ย. 2566 - 21:15.08
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 27 พ.ย. 2566 - 15:10.03
รายละเอียด
พระร่วงรางปืนหลังตราพระนามย่อ จ.อุ เนื้อเงิน

จำนวนสร้าง เนื้อเงิน 674 องค์เท่านั้นครับ

เมื่อก่อนมีคนโทรหามาก

( พระ อยู่ใน เลี่ยมเก่า ) สวยเดิม เลี่ยมไม่โดนพระ ใต้ฐานตอกโค้ด

ศักดิ์ศรี พระงานประกวด เจอต้องจัด...

เรื่องและภาพโดย
แดนท่าพระจันทร์ อดุลย์นันท์ทัต กิจไขยพร
.
🔴 วันอังคารที่ ๓ ตุลาคม ปี ๒๕๑๐ เวลา ๑๓ นาฬิกา ๑๕ นาที ทรงเสด็จพระราชดำเนิน วัดมงกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ทรงประกอบพิธีเททอง พระเครื่องชั้นสูง รุ่นแรก ๆ ที่เรียกว่าพระเครื่องสกุลกษัตริย์สร้าง
.
"พระร่วงรางปืนหลังฉัตร จ.อุ"
.
พระเถระ สมเด็จพระราชาคณะ เจ้าอาวาส พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณชั้นนำแห่งยุค ร่วมประกอบพิธีพุทธาภิเษก อาทิเช่น หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ ,หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ.ชลบุรี,หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐ,พระอาจาย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร , หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาต จังหวัดอุดรธานี , หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี ,หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
.
🔵 ด้วยพระบารมีธิคุณ และความศักดิ์สิทธิของพุทธคุณ จนพระอาจาย์ฝั้น อาจาโร กล่าวว่าคำกล่าวที่ว่า "อาตมาทำไว้ดีมากแล้ว เป็นของดีที่สุดเท่าที่อาตมาเคยทำไว้"
.
พระร่วงรวงรางปืน หลังฉัตร จ.อุ ในวาระ ๑๐๐ ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี ๒๕๑๑ จำนวนสร้าง ทองคำ ๗๔ องค์ เงิน ๖๗๔ องค์ทองแดง ๕,๐๐๐ องค์
.
🌑 พระร่วงรางปืนรุ่นนี้มากด้วยประสบการณ์ ใครบูชาไว้เป็นสิริมงคล ในเรื่องของความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า แคล้วคลาดปลอดภัย มหาอุตม์หยุดกระสุนปืน เป็นมหาอำนาจมหาตบะฯลฯ
.
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร เป็นที่เคารพศรัทธา มีคนไปกราบไหว้ฟังธรรมเทศนาและขอของดี หลวงปูฝั้น ท่านได้บอกพุทธศาสนิกชนที่ไปกราบขอวัตถุมงคลจากท่าน ๆ จะบอกให้ไปบูชาพระร่วงรางปืนหลังฉัตรจ.อุ.รุ่นนี้ที่วัดมกุฏฯ
.
" ท่านบอกว่าอาตมาทำไว้ดีมากแล้ว เป็นของดีที่สุดเท่าที่อาตมาเคยทำไว้ "
.
🌑 นายทหารที่เป็นรุ่นน้องของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชจวนที่ ร.ร.นายร้อยจปร.(สมเด็จพระสังฆราชจวนเคยเป็นนักเรียนนายร้อยจปร. แต่ทรงพระประชวร ไม่อาจศึกษาต่อได้ จึงเบนเข็มมาทางธรรม มีความเจริญก้าวหน้าในพระสมณศักดิ์มาโดยลำดับ) ได้รับประทานพระร่วงรุ่นนี้ จากสมเด็จพระสังฆราชจวนไปในราชการสงครามอินโดจีน ต่างแคล้วคลาดปลอดภัย และคงกระพันชาตรีจากคมกระสุนและคมระเบิด ทั้งในสมรภูมิสงครามเวียดนามและสมรภูมิรบ ในพระราชอาณาจักรลาวในสมัยนั้น เป็นที่เลื่องลือมาช้านานครับ .
.
ในปี ๒๕๑๑ วัดมงกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ครบรอบ ๑๐๐ ปี ประกอบกับ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถร(ศิริสม) ปธ.๙) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๖ พระชนมายุครบ ๗๐ พรรษา ด้วยวโรกาสสำคัญและมงคลยิ่งทั้ง สองวาระ จึงถือว่าเป็นการจัดสร้าง #"ครั้งหนึ่งครั้งเดี่ยว" สมควรต้องจัดอย่างยิ่งใหญ่และแสวง #"โลหะวัตถุที่ดีที่สุด"
.
พระเถระ สมเด็จพระราชาคณะ เจ้าอาวาส พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ จำนวน ๕๐๐ รูป ทูลถวายโลหะที่ปลุกเสก รวมทั้งแผ่นโลหะที่ลงอักขระเลขยันต์ รวมทั้งของหลวงปู่ฝั่น อาจาโร วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร อยู่ด้วย ( อันเป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่า "อาตมาทำไว้ดีมากแล้ว เป็นของดีที่สุดเท่าที่อาตมาเคยทำไว้")
.
ที่กล่าวมาทั้งหมดคือความสำคัญของพระร่วงรางปืนหลังฉัตรจ.อุ และความเป็นมาของพระร่วงรุ่นแรกนี้ที่มีการสร้างจำลองจากพระร่วงรางปืนของเก่า ต่อไปจะได้กล่าวถึงรายละเอียดในพิธีการจัดสร้างพระร่วงรางปืนหลังฉัตรจ.อุ. ดังนี้ครับ
.
🔴 พระร่วงรางปืนหลังฉัตร จ.อ. วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี ๒๕๑๑ พิธี ๑๐๐ ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระเครื่องที่หายาก สร้างพร้อมกับ พระกริ่งวชิรมงกุฏ ซึ่งในพิธีนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระอันเป็นพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ "พระพุทธวชิรมงกุฏ (พระพุทธรูปบูชา)" และ "พระกริ่งวชิรมงกุฏ" ในวันอังคารที่ ๓ ตุลาคม ปี ๒๕๑๐ เวลา ๑๓ นาฬิกา ๑๕ นาที โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตเช่น
.
๑.) หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ
๒.) หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ.ชลบุรี
๓.) หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
๔.) หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม
๕.) หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร ธนบุรี พระนคร
๖.) หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเฉลิมอาสน์ จ.ราชบุรี
๗.) หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม
๘.) หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช จ.พระนครศรีอยุธยา
๙.) หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
๑๐.)พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี
.
🔵 จัดให้มีพิธีพุทธาภิเษกถึง ๓ วันด้วยกันคือ
วันที่ ๙-๑๑ ม.ค. ปี ๒๕๑๑ มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกทั้งสายพระเกจิอาจารย์และสายวิปัสสนา(พระป่า)
.
ใน ปี ๒๕๑๑ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกมีอายุครบ ๑๐๐ ปี แห่งการสถาปนา ในวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๑ ประกอบกับ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเจริญพระชนมายุ ๗๐ พรรษา
.
ในวันที่ ๑๖ มกราคม ปี ๒๕๑๑ ทางคณะกรรมการจัดงานฉลองจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดงานฉลองศุภวาระมหามงคลวโรกาสทั้ง ๒ วาระเป็นงานเดียวกันระหว่าง วันที่ ๑๕-๑๘ มกราคม ปี ๒๕๑๑ และได้จัดสร้างมงคลวัตถุเป็นที่ระลึกได้แก่
.
พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ และได้ถวายพระนามว่า พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์วชิรมงกุฏ เป็นงานใหญ่มากๆ ในสมัยนั้น และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเททอง และมีพิธีพุทธาภิเษก ครั้งที่ ๒ อีก ๓ วัน ๓ คืน
.
เมื่อการเททองหล่อพระพุทธรูปพระกริ่งวชิรมงกฎ ซึ่งช่างขัดตกแต่งตามกรรมวิธี ต่อไปเสร็จแล้วพร้อมทั้งเหรียญพระรูปฯ จึงนิมนต์พระอาจารย์ต่าง ๆ มาทำพิธีพุทธาภิเษกในพระวิหารวัดมกฎกษัตริยารามอีก ๓ ครั้งคือ
.
🔘 เมื่อวันอังคาร ที่ ๙ วันพุธ ที่ ๑๐ และวันพฤหัสบดี ที่ ๑๑ มกราคม ปี ๒๕๑๑ พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์และคาถาจุดเทียนชัยในพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งวชิรมกฎและพระชัยวัฒน์วชิรมกุฏ พร้อมทั้ง พระพุทธรูปบูชาวชิรมกุฏ หน้าตัก ๕นิ้ว ๙ นิ้ว เหรียญพระรูปเหมือนสมเด็จพระสังฆราช(จวน)ดังนี้
.
วันอังคารที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๑ พระสงฆ์ที่สวดพุทธาภิเษกและนั่งปรก
.
๑.) พระธรรมไตรโลกาจารย์(นิรันดร์ นิรันตโร) วัดเทพศิรินทราวาส จังหวัดพระนคร
๒.) พระธรรมกิตติโสภณ(สุวรรณ สุวัณณโชโต) วัดเบญจมบพิตร จังหวัดพระนคร
๓.)พระธรรมวราภรณ์(สนั่น จันทปัชโชโต) วัดนรนาถสุนทริการาม จังหวัดพระนคร
๔.)พระธรรมจินดาภรณ์(ทองเจือ จินตกาโร) วัดราชบพิธฯ จังหวัดพระนคร
๕.)พระธรรมปาโมกข์(ทิม อุฑาฒิโม) วัดราชประดิษฐ์ฯ จังหวัดพระนคร
๖.)พระธรรมโสภณ(สนธิ์ กิจจกาโร ปธ.๗)วัดบวรนิเวศวิหาร จังหวัดพระนคร
๗.)พระราชเมธี วัดเศวตฉัตร จังหวัดธนบุรี
๘.)พระราชสุเมธาจารย์ วัดบางหลวง จังหวัดปทุมธานี
๙.) พระครูพัฒนกิจโกศล วัดชัยสิทธาวาส จังหวัดปทุมธานี
.
วันอังคารที่ ๙ มกราคม ปี ๒๕๑๑ พระสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ ๔ รูป และวัดอรัญญิกาวาส(วัดป่า) จ.ชลบุรี 4 รูป พระอาจารย์นั่งปรก
.
๑.) พระราชมุนี(บุญโฮม) วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนคร
๒.) พระวรพรตปัญญาจารย์(หลวงปู่เฮี้ยง ปุณณัจฉันโน)) วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดชลบุรี
๓.)พระครูพิพิธวิหารการ(หลวงปู่เทียม สิริปัญโญ) วัดกษัตราธิวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๔.)พระครูโกวิทสมุทรคุณ(หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท) วัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม
๕.)พระครูสุตาธิการี(ทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง จังหวัดสมุทรสาคร
๖.)พระครูสันทัดธรรมคุณ วัดบ้านช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๗.)พระอาจารย์ขอม วัดไผ่โรงวัว จังหวัดสุพรรณบุรี
๘.) พระอาจารย์กี๋ วัดหุช้าง จังหวัดนนทบุรี
๙.)พระครูสมห์อำพล พลวัฑฒโน วัดประสาทบุญญาวาส จัดหวัดพระนคร
.
🔘 วันพุธ ที่ ๑๐ มกราคม ปี ๒๕๑๑ พระสงฆ์วัดชนะสงคราม ๔ รูป และวัดอโศกราม ๔ รูป พระอาจารย์นั่งปรก
.
๑.)พระรักขิตวันมุนี(ถิร) วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี
๒.)พระพุทธมนต์วราจารย์(สุพจน์) วัดสุทัศน์เทพวราราม จังหวัดพระนคร
๓.)พระครูโศภนกัลยาณวัตร(เส่ง) วัดกัลยาณมิตร จังหวัดธนบุรี
๔.)พระอาจารย์คล้าย วัดจันดี จังหวัดนครศรีธรรมราช
๕.) พระครูประภัศรธรรมาภรณ์ วัดพระลอย จังหวัดสุพรรณบุรี
๖.)พระครูวิจิตรวิริยานุโยค วัดทองพุ่มพวง จังหวัดสระบุรี
๗.)พระครูพินิตสมาจาร วัดนามะตูม จังหวัดชลบุรี
๘.) พระครูพิทักษ์วิหารกิจ วัดราชนัดดาราม จังหวัดพระนคร
.
🔘 วันพฤหัสบดี ที่ ๑๑ มกราคม ปี ๒๕๑๑ พระสงฆ์วัดอโศกราม ๓ ชุด ๆ ละ ๔ รูป สวดพุทธาภิเษก พระอาจารย์นั่งปรก
๑.) พระราชวรคุณ วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
๒.)พระครูพรหมวิหาร วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
๓.)พระครูสันติวรญาณ(สิม) วัดสันติวัน(ถ้ำผาปล้อง) จังหวัดเชียงใหม่
๔.)พระอาจาย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร
๕.)พระอาจารย์อ่อน วัดป่าหนองบัวงาม จังหวัดอุดรธานี
๖.)พระสุนทรธรรมภรณ์ วัดป่าชัยวัน จังหวัดขอนแก่น
๗.)พระสุธรรมคณาจารย์(พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา
๘.)พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาต จังหวัดอุดรธานี
๙.)พระอาจารย์บุญมา วัดสิริสารวัน จังหวัดอุดรธานี
.
🔴.มีเนื้อทองคำ เนื้อเงินและเนื้อทองแดงรมดำ ผสมชนวนพระพุทธวชิรมกุฏ ๕ นิ้ว ๙ นิ้ว พระกริ่งวชิรมกุฏ พระชัยวัฒน์วชิรมกุฏ ที่สร้างจากแผ่นยันต์ของพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณในยุคนั้น จำนวนกว่า ๕๐๐ แผ่น

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top