-
0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
หมวด พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง
พระถ้ำเสือ กรุวัดเขาดีสลัก กรุใหม่
ชื่อร้านค้า | จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระถ้ำเสือ กรุวัดเขาดีสลัก กรุใหม่ |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 08-6560-4037 |
อีเมล์ติดต่อ | Tayanrum@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พ. - 22 ก.พ. 2566 - 21:13.09 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พฤ. - 02 มี.ค. 2566 - 09:07.28 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระถ้ำเสือ กรุวัดเขาดีสลัก กรุใหม่ สวย เดิม ดูง่าย พิมพ์กลาง พระถ้ำเสือกรุเขาดีสลัก(มาตรฐานสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย) มีการตรวจสอบอายุ และเทียบศิลปะจากกรมศิลปากรแล้วคะ เป็นยุคอู่ทอง ที่เป็นหนึ่งในยุคทวาราวดี โดยท่านบรรหาร ศิลปอาชา เป็นประธานให้ตรวจสอบอายุ ในปี2542คะ (ในการตรวจสอบ มีทั้งกรมศิลปากร ศึกษาธิการจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้เชียญชาญศิลปะ เซียนพระ และผู้ใหญ่ของจังหวัดสุพรรณบุรี) ส่วนเรื่องใครสร้าง อันนี้ไม่สามารถตอบได้คะ (มิ้งค์ไม่ใช่นักโบราณคดี หรือผู้เชียวชาญของกรมศิลปากร จึงมิควรจะตอบ แต่สามารถออกความคิดเห็นส่วนตัวได้) เพราะในตำราของอาจารย์มนัส โอภากุล ท่านได้วิเคราะห์ว่า เป็นฤาษีเป็นผู้สร้าง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป เราก็ได้หลักฐานใหม่ๆเพิ่มขึ้น อาจเป็นกษัตริย์ในยุคนั้น สร้างขึ้นมาเพื่อพิธีเฉลิมฉลองของราชวงศ์ เพราะถ้ำเสือ ดูจากเนื้อ - จะเห็นความแตกต่างของศิลปะเฉพาะกรุ - จะเห็นความแตกต่างของความเหี่ยวย่นของเนื้อ ซึ่งทำให้วิเคราะห์ได้ว่า (อาจ)มีการสร้างเป็นวาระๆ ไม่ได้สร้างในช่วงเวลาเดียวกัน เพราะมิ้งค์ใช้เวลาในการแยกพิมพ์มากกว่า 2ปี จึงแล้วเสร็จ การสร้างพิมพ์พระ แต่ละพิมพ์ การปั้มพระแต่และองค์ คงไม่สามารถทำเสร็จในเวลาอันสั้น และถ้าดูจากศิลปะ และเทคนิคในการทำแม่พิมพ์ หรือศิลปะการปั้มพิมพ์ ทำให้สร้างว่า พระถ้ำเสือ ไม่ได้ทำโดยคนเพียงคนเดียว หรือแค่กลุ่มคนกลุ่ม 7-8คนทำได้คะ พระถ้ำเสือ กรุวัดเขาดีสลัก กรุใหม่ กำลังอ่าน นิตยสารศิลปวัฒนธรรม 14,5 (มี.ค. 2536) หน้า160-162 พระถ้ำเสือ เมืองสุพรรณบุรี โดยอาจารย์มนัส โอภากุล 3 มกราคม 2019 · บทความจาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม 14,5 (มี.ค. 2536) หน้า160-162 พระถ้ำเสือ เมืองสุพรรณบุรี โดยอาจารย์มนัส โอภากุล 🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀🍀 กรุพระ มนัส โอภากุล “พระถ้ำเสือ” เป็นชื่อเรียกพระเครื่องชนิดหนึ่งที่เป็นพระดินเผา ขนาด จิ๋ว เล็ก กลาง ใหญ่ พุทธลักษณะไม่ค่อยงามเท่าใดนัก แต่มีความลึกซึ้งในพุทธคุณแฝงอยู่ในองค์พระ ความเป็นจริงพระถ้ำเสืออาจจะพบก่อนหน้าที่จะมามีชื่อว่า “พระถ้ำเสือ” เมื่อประมาณ 30 ปีมานี้ราษฎรกลุ่มหนึ่งขึ้นไปหามูลค้างคาวบน “เขาคอก” (ชื่อทางราชการ) “ถ้ำเขาเสื้อ” (ชาวบ้านเรียก) พบพระเครื่องเนื้อดินเผาภายในถ้ำเป็นจำนวนมาก จึงเก็บเอามาบ้านแล้วออกตระเวณเที่ยวเร่ขาย ก็ไม่มีผู้ใดสนใจ เพราะพุทธลักษณะไม่งดงามติดตามตรึงใจแก่ผู้ได้พบเห็น แต่แล้วมีผู้มาเหมาไปในราคาองค์ละ 5บาท จำนวน 100องค์ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมากในสมัยโน้น ต่อมามีผู้ประสบการณ์บ่อยครั้งจึงเกิดความนิยมเรื่อยๆมา ค่อยๆเขยิบราคาจากองค์ละ 5บาท เป็น 25บาท แล้วกลายเป็น ร้อย พัน หมื่น และไม่น่าเชื่อขึ้นถึงแสนบาท พระถ้ำเสือ พบที่อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีแต่เพียงแห่งเดียว พบตามป่าเขาลำเนาไพร ถ้ำต่างๆ เท่าที่ได้สอบถามนักนิยมพระเครื่องรุ่นแรกของอำเภออู่ทองบอกว่ามีอยู่ในราว 12กรุ คือ 1.วัดเขาพระ (วัดพระศรีสรรเพชญาราม) 2.วัดเขาพระ (บ้านจร้าเก่า-จร้าใหม่) 3.เขากระจิว 4.เขานกจอด 5.เขาวงพาทย์ 6.เขากำแพง (เป็นภูเขาไฟ ซึ่งดับมานานนับร้อยพันปี เพิ่งค้นพบเมื่อต้นปี พ.ศ.2535) 7.เขาวง (บนยอดเขามีถ้ำเล็ก ผนังถ้ำมีภาพเขียนสีเป็นรูปดอกไม้ และธรรมจักร สันนิษฐานว่าเป็นภาพเขียนยุคสมัยทวารวดี มีความหมายถึงอริยสัจสี่ และมรรคแปด) 8.วัดดอนบุป 9.ผาราม 10.วัดหลวง 11.เขาหนองกุฏิ 12.วัดเขาดีสลัก (พบพระทุทธบาทสมัยทวารวดี) พระถ้ำเสือ สมัยทวารวดี แต่ก่อนสันนิษฐานกันว่าพระถ้ำเสือเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา จากการพบหลักฐานต่างๆ และกรณีแวดล้อมต่างๆ ทำให้เชื่อว่าพระถ้ำเสือเป็นพระที่สร้างในสมัยทวารวดี พุทธลักษณของพระถ้ำเสือที่บ่งชัดว่าเป็นศิลปะทววารวดี คือ - พระนลาฎแคบ - พระเนตรโปน - พระนาสิกป้าน - พระโอษฐ์กว้าง แต่บางองค์แคบ พุทธศิลป์ดังกล่าวเป็นศิลปะของทวารวดีอย่างชัดแจ้ง หาใช่ศิลปะของพุทธศิลปะสมัยอยุธยาไม่ ตามทางสันนิฐานของข้าพเจ้าคาดว่าพระภิกษุในสมัยทวารวดีในลักทธิหินยาน หรือเถรวาทเป็นผู้สร้าง โดยหลักฐานที่ไม่สามารถจะเถียงหรือคัดค้านได้ คือ พระถ้ำเสือซึ่งพบที่วัดหลวงบางองค์ฝังจมอยู่ในแผ่นอิฐขนาดใหญ่ ต้องถึงกับทุบแตกจึงจะเอาพระออกจากอิฐได้ สีของพระที่ได้จากแผ่นอิฐมีสีแดงเช่นเดียวกับของอิฐ ข้าพเจ้าถามผู้พบพระถ้ำเสือในแผ่นอิฐถึงสองคน กล่าวตรงกันว่าแผ่นอิฐที่ฝังพระนั้นมีขนาดใหญ่มาก ยาวไม่น้อยกว่า 12-13นิ้ว กว้าง 6นิ้ว และหนา3นิ้วเศษ คิดเป็นปริมาตรแล้วมีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้ก่อสร้างในสมัยอู่ทอง ไม่น้อยกว่า 3เท่า ใหญ่กว่าอิฐในสมัยอยุธยาไม่น้อยกว่า 4-5เท่า จึงควรเชื่อว่าแผ่นอิฐขนาดใหญ่ที่มีพระฝังคมนั้นเป็นอิฐที่สร้างในสมัยทวารวดี ดังนั้น พระถ้ำเสือซึ่งฝังจมอยู่ในอิฐก็ควรจะเป็นพระที่สร้างในสมัยทวารวดีด้วยเช่นกัน พิมพ์พระถ้ำเสือ มี4พิมพ์ ยุคต้นๆ ของการพบพระถ้ำเสือบนเขาในถ้ำ และวัดต่างๆ มีกี่พิมพ์ ขอนำเอากล่าวไว้พอเป็นสังเขป ดังนี้ 📌#พิมพ์จิ๋ว แต่เดิมมิได้มีแบ่งออกเป็นพิมพ์อะไรบ้าง เรียกรวมกันว่า “พิมพ์ต้อ” อย่างเดียวเท่านั้น 📌#พิมพ์เล็ก ถือกันว่ามีพิมพ์หน้าหนุ่ม บ้างก็เรียกหน้าตุ๊กตา และมีพิมพ์หน้าแก่ ซึ่งพบที่วัดหลวง ต่อมาพบอีกพิมพ์หนึ่งเรียกว่า พิมพ์สังฆาฎิ 📌#พิมพ์กลาง มีพิมพ์หน้าหนุ่ม และหน้าฤาษี 📌#พิมพ์ใหญ่ มีขนาดใหญ่เท่ากับพระขุนแผน ไข่ผ่า หรือแตงกวาผ่าของวัดพระรูป แต่ก็มีขนาดย่อมลงมา ไม่มีการแบ่งหน้าแต่อย่างไร 🎀กรุแตก ครั้งล่าสุด!!!! จังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดเดียวที่มีพระเครื่องพระบูชาแตกกรุบ่อยครั้งที่สุด ในช่วง 3-4เดือน มานี้พบพระร่วงยืน พระร่วงนั่ง ถึง 3-4ครั้ง ล่าสุดกลางเดือนสิงหาคม 2535 พบพระถ้ำเสือแตกกรุที่วัดเขาดีสลักอีกเป็นครั้งที่ 2 หลังจากพบมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อในราว พ.ศ.2520 ครั้งนั้นเป็นการพบอย่างกระจัดกระจาย แต่คราวนี้พบในถ้ำลึก ชาวบ้านลงไปในถ้ำลึกประมาณ 20เมตร ซึ่งอยู่หน้าถ้ำละมุด บนกระพักสองของวัดเขาดีสลัก หน้าถ้ำละมุดมีรูอยู่รูหนึ่ง กว้างไม่เกิน 1เมตร ไม่มีทีท่าว่าจะเป็นถ้ำ ถ้าจะลงไปก้นถ้ำต้องค่อยๆ หย่อนตัวลงไปทีละคน ข้างล่างกว้างในราว 6-7เมตร เพานเตี้ยมาก สูงไม่เกิน 70-80ซ.ม. เขาบอกว่าเวลานั่งยองๆ ศีรษะชนเพดานถ้ำ ข้าพเจ้าเคยไปเห็นเมื่อคราวไปสำรวจฝ่าพระพุทธบาทหินที่วัดเขาดีสลัก ชี้ให้เพื่อนที่ไปด้วยกันดูว่า รูอะไร และพูดว่าคงไม่กล้าลงไป กลัวจะไปพบงูลากเอากิน ถ้ำลึกและแคบ ชาวบาน จุดตะเกียงแก๊สลงไป ใช้ไฟฉายไม่มีแสงสว่าง เพราะภายในนถ้ำไม่มีฝุ่นเป็นสือทำให้แสงไฟฉายพุ่งเป็นลำแสง ก็นับว่าอันตราไม่น้อย เพราะแก๊สเป็นตัวทำลายออกซิเจนให้หมดไปโดยเร็ว อาจจะไม่มีอากาศหายใจและเป็นลมสลบไปได้ เขาพบพระอยู่กับพื้นถ้ำ จึงใช้มือกอบโกย... |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments