เหรียญรุ่นแรก อาจารย์กา วัดแค อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540

เหรียญรุ่นแรก อาจารย์กา วัดแค อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

เหรียญรุ่นแรก อาจารย์กา วัดแค อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม - 1เหรียญรุ่นแรก อาจารย์กา วัดแค อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม - 2เหรียญรุ่นแรก อาจารย์กา วัดแค อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม - 3เหรียญรุ่นแรก อาจารย์กา วัดแค อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม - 4
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญรุ่นแรก อาจารย์กา วัดแค อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
อายุพระเครื่อง 28 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 08 ม.ค. 2566 - 20:55.26
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ส. - 11 ก.พ. 2566 - 23:33.29
รายละเอียด
เหรียญรุ่นแรก อาจารย์กา วัดแค อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ปี 40 อายุครบ 87 ปี

สร้าง รุ่นเดียว และ เนื่อเดียว

(เหรียญ สวย อยู่ใน ตลับชุบทอง )

...เจ้าของ เบี้อแก้..ที่มีประสบการณ์ มากมาย...สนน ราคา พุ่งพรวด จาก หลักพันต้น ๆ ถึง หลักหมื่น (เบี้ยยุคแรก ) และก็หาของยากมาก

เครดิต ข้อมูลจาก อาจารย์ เจริญสิทธิ์


อ.กา เดิมเป็นคนสุพรรณบุรี เติบใหญ่ในยุคที่เสือร้าย เกลื่อนเมือง โดยเฉพาะที่สุพรรณบ้านเกิดของท่าน

อ.กา เคยเล่าให้ศิษย์ของท่านฟังว่า

ถ้าอยากอยู่อย่างสงบสุข ต้องคบเสือ

ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้ อ.กา ต้องคบเสือเป็นเพื่อนโดยปริยาย เพราะว่าเมื่อเสือจะเข้าปล้น พอเอ่ยชื่อว่า

เป็นเพื่อนกับเสือก๊กไหน ส่วนใหญ่จะรอดพ้นจากถูกปล้น

จากการที่ต้องคบเสือหลายก๊กเป็นเพื่อน ทำให้ อาจารย์ทางด้านพุทธาคมของท่านก็คือ เหล่าเสือร้ายที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านพุทธาคมนั่นเอง ว่ากันว่า

อ.กา มีอาจารย์ทางด้านพุทธาคม เป็นเสือปล้น ไม่ต่ำกว่า 3คน

ด้วยเหตุนี้ ทำให้ อ.กา ท่านมีดีตั้งแต่สมัยยังเป็นฆราวาส

หลังจากเข้าวัยหนุ่ม ท่านได้บวชเรียนและศึกษาวิปัสนากรรมฐานตลอดจนภาษาบาลี สันสกฤต กับ หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จนแตกฉาน ท่านได้ธุดงค์ไปทั่วเพื่อศึกษาวิชาความรู้กับเกจิที่มีชื่อเสียงในยุคของท่าน หนึ่งในนั้น ก็คือ หลวงพ่อเต๋ คงทอง แห่งวัดสามง่าม

แต่เพราะความที่ท่านอยู่กับพวกเสือมานาน หรืออาจจะเป็นเพราะกรรมอันใดไม่ทราบไ้ด้

ชายสามโบสถ์ ยังสู้ท่านไม่ได้ เนื่องเพราะว่า อ.กา ต้องสึกแล้วบวชใหม่ถึง 5ครั้ง และทุกครั้งที่สึก ท่านจะได้เมียทุกครั้งไป

ครั้งสุดท้ายที่ท่านสึกเนื่องจากชาวบ้านวัดสัมปทวน นิมนต์ให้ท่านเป็นเจ้าอาวาส ท่านไม่ยอมรับจึงลาสิกขาบท

การบวชครั้งสุดท้าย ท่านได้มาจำพรรษาที่วัดแค ในสมัยอ.อ่อน เป็นเจ้าอาวาส โดยอ.อ่อนได้ให้ท่านเป็นครูสอนภาษาบาลี สันสกฤต
จาการที่ได้สอบถามจากเจ้าอาวาสวัดแคองค์ปัจจุบัน ศิษย์ครอบครูอ.กา ทำให้ได้รับทราบความจริงว่า

อ.กา ไม่ได้เป็นศิษย์ของหลวงปู่เพิ่ม

แต่จากการที่อ.กา ท่านได้จำพรรษาหลายวัด และได้วิชาความรู้มากมาย หนึ่งในวิชาที่ท่านได้ก็คือ

ตำราเบี้ยแก้ สายหลวงปู่รอด วัดในโรง

ซึ่งตัวอ.กา เองจากความเชี่ยวชาญทางด้านวิปัสนาและอักขระขอม ทำให้ท่านทำเบี้ยแก้ที่มีพุทธคุณ ไม่ด้อยไปกว่าหลวงปู่เพิ่ม

แต่ใน ด้านมหาอุตม์และคงกระพัน เบี้ยอ.กา กลับมีมากกว่า โดยการทดลองยิงจากผู้ที่มาเช่าเบี้ยของท่านและจากประสบการณ์จากผู้ใช้จริง

เรามาดูคำเฉลยกันจากตำราที่อ.กาท่านเขียนด้วยมือของท่านกัน
เบี้ยแก้ของอ.กา จะมีการจารอักขระตัวกลางด้วย

นะโมพุทธายะ ด้านข้างซ้ายเป็นเ็ฺฺฺฑาะ ด้านข้างขวาเป็นเฑาะมหาอุตม์ ตัวนี้แหละครับ ที่ยิงไม่ออก ออกไม่เข้า

โดยยันต์ชุดนี้ อ.กา จะจารที่ใต้แผ่นตะกั่ว ก่อนที่จะตีหุ้มเบี้ยแก้ และจารที่ผ้าแดงอีกครั้งก่อนที่จะหุ้มเบี้ยที่ตีตะกั่วหุ้ม แล้วจึงถักเชือกทับอีกทีนึง

จะเห็นได้ว่า เบี้ยของอ.กา ท่านมีการจารอักขระถึงสองชุด ซึี่งมากว่าเบี้ยของหลวงปู่เพิ่ม โดยเฉพาะการกำกับด้วยตัวเฑาะมหาอุตม์ ซึ่งทำให้ผมไม่สงสัยเลยว่า

ทำไม ในช่วง สามสี่ปีมานี้ผมได้ยินเรื่องของเบี้ยแก้อ.กา มากกว่าเบี้ยหลวงปู่เพิ่ม โดยเฉพาะมหาอุตม์

จากการที่ไม่เคยรู้จักอ.กาเลย ทำให้ผมต้องพยายามหาข้อมูลเีกี่ยวกับตัวท่านในทุกรูปแบบ แต่นับว่าโชคดีที่ได้ข้อมูลจาก เจ้าอาวาสวัดแค ศิษย์ของท่าน ซึ่งได้อนุญาตให้ผมได้ถ่ายรูปตำราพุทธาคม ที่เขียนด้วยลายมือของ อ.กาเอง และตกทอดมาอยู่กับศิษย์ของท่าน
หลังจากที่เบี้ยแก้ของอ.กา มีประสบการณ์กับผู้ใช้กันมาก ทำให้การทำเบี้ยแก้ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ศิษย์ของท่านได้แนะนำให้ อ.กาใช้มุ้งไนล่อน ครอบเบี้ยแก้ แทนการใช้ถักด้วยเชือก

จึงทำให้เกิดวิวัฒนาการด้านการสร้างเบี้ยแก้ที่ไม่เหมือนใคร คือหุ้มด้วยผ้ามุ้งก่อนลงรักซ้ำอีกครั้ง

เบี้ยแก้ที่หุ้มด้วยมุ้งเป็นเบี้ยแก้ยุคสุดท้ายของอ.กา ปัจจุบันนี้เล่นหาไม่ถูกแถม

หายากกว่าเบี้ยหลวงปู่เพิ่มมาก โดยเฉพาะชุดที่ถักด้วยเชือก

ราคาในปัจจุบันอยู่ที่หลักพันต้นไปกลาง แล้วแต่สภาพ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top