-
0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
หมวด ครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง - หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ - หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดป่าหมู่ใหม่
เหรียญครูบาศรีวิชัย 50 ปี ถนนศรีวิไชยรำลึก หลัง ภปร.
ชื่อร้านค้า | จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญครูบาศรีวิชัย 50 ปี ถนนศรีวิไชยรำลึก หลัง ภปร. |
อายุพระเครื่อง | 40 ปี |
หมวดพระ | ครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง - หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ - หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดป่าหมู่ใหม่ |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 08-6560-4037 |
อีเมล์ติดต่อ | Tayanrum@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พ. - 10 พ.ย. 2564 - 21:30.47 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พ. - 29 ธ.ค. 2564 - 23:15.58 |
รายละเอียด | |
---|---|
เหรียญครูบาศรีวิชัย "50 ปี ถนนศรีวิไชยรำลึก" หลัง ภปร. ปี 2527 วัดบุพพาราม เชียงใหม่ พิธีใหญ่ ศิษย์ สายครูบาศรีวิชัย ร่วมเสก คับคั่ง..... ....เหรียญ พิมพ์เล็กลงยาสวยเดิมๆ ครับ เครดิต http://yooption559.blogspot.com/2013/05/50-2527.html เหรียญ ครูบาศรีวิชัย หลัง ภปร. ออกวัดบุพผาราม ปี 2527 "50 ปีถนนศรีวิไชยรำลึก" ด้านหน้าเป็นครูบาเจ้าศรีวิไชย และ ข้อความที่ระลึก 50 ปี ด้านหลังอัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ล้อมรอบด้วยพระคาถาชนะมารอ่านว่า “สัมพุทธานุภาเวนะ สัพพะสันตาปะวัตถิโต สัพพะสมัตถะสัมปันโน สิระภูโตสะทาภะวะ” พิธีมหามังคลาภิเษก วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2527 เวลา 15.19 น. พระเดชพระคุณพระธรรมโมลี เจ้าคณะภาค 7 เป็นองค์จุดเทียนชัย พระมหาเถระที่นิมนต์มาสวดพุทธาภิเษกเจริญพระพุทธมนต์ ทันใดนั้นเอง ท้องฟ้าก็เริ่มพยับเมฆมืดครึ้มลงอย่างน่าอัศจรรย์ ชั่วเวลาไม่นานฝนก็เริ่มตกลงมาอย่างที่เรียกว่า ‘ฝนพรำ’ นับแต่ยอดดอยสุเทพเรื่อยมาจนถึงเชิงดอย และบังเกิดกระแสลมเย็น พัดลงมาจากยอดเขาเข้าสู่วิหารวัดศรีโสดา ทำให้บรรยากาศในวิหารหลวงเกิดความเยือกเย็นและเงียบสงบอย่างน่าประหลาด เหตุเหล่านี้ทำให้ประชาชนนับพันที่นุ่งขาวห่มขาวเข้าร่วมพิธีต่างนั่งทำสมาธิพร้อมกันไปด้วยความปีติเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพิธีเจริญพระพุทธมนต์ดำเนินไปจนถึงเวลา 19.19 น.บรรดาพระอาจารย์ผู้มีอาวุโสซึ่งเป็นศิษย์ในครูบาเจ้าศรีวิไชยจำนวน 18 รูป ได้ประกอบพิธีสวดมนต์ไหว้พระตามแบบอย่างที่ได้เคยปฏิบัติเมื่อครั้งอยู่ร่วมกับครูบาเจ้าศรีวิไชย ซึ่งพิธีนี้อยู่นอกเหนือกำหนดการ นับเป็นมหามงคลแก่มงคลวัตถุ และ ประชาชนในพิธียิ่งนัก เป็นอันว่าเหรียญที่ระลึก 50 ปี ถนนศรีวิไชย ก็ผ่านพิธีศักดิ์สิทธิ์มาครบถ้วนบริบูรณ์ พระภิกษุที่มาปลุกเสกก็ล้วนแต่เก่งกล้าสามารถในองค์เองอยู่แล้ว อาทิเช่น.. ครูบาหล้า (ตาทิพย์) วัดป่าตึง ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง ครูบาบุญมี วัดท่าสะต๋อย ครูบาสิงหชัย วัดฟ้าฮ่าม ครูบามงคลคุณาทร วัดหม้อคำตวง ครูบาจันทร์แก้ว วัดดอกเอื้อง ครูบาโสภา วัดผาบ่อง ครูบาอ้าย วัดศาลา ครูบาอิ่นแก้ว วัดวาฬุการาม ครูบาอิ่นคำ วัดข้าวแท่นหลวง ครูบาคำตั๋น วัดสันทรายหลวง ครูบาญาณวิลาส วัดต้นหนุน ครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี้ย ครูบามูล วัดต้นผึ้ง ครูบาศรีนวล วัดช้างค้ำ ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม ครูบาอินตา วัดห้วยไซ ครูบาศรีนวล วัดเจริญเมือง จากบทความ ครูบาศรีวิชัย ตอน เหรียญดีเหรียญนึ่งของครูบาตี่ควรฮู้ไว้เจ่นลูกเจ่นหลาน วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ได้มีมติให้จัดโครงการ “วันกตัญญูเชิดชูเกียรติคุณ ฉลองสมโภชครบรอบ ๕๐ ปี สร้างทางขึ้นดอยสุเทพของครูบาศรีวิชัย” ในการดำเนินงานจัดหาทุนได้มีการสร้างวัตถุมงคลออกมาเป็นรูปเหมือนและเหรียญของครูบาศรีวิชัย..โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก “องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”ทรงพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ประดิษฐานไว้บนวัตถุมงคล.. สถานที่จัดงานล้านนามหาพุทธาภิเษก จัดขึ้นที่ วัดศรีโสดา ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งวัดนี้เป็นวัดที่ครูบาศรีวิชัยได้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมและปฏิบัติงาน ตลอดจนเป็นคลังเสบียงใหญ่ที่จัดสรรแบ่งปันเสบียงอาหาร ให้แก่ศรัทธาประชาชนที่มาช่วยงาน ซึ่งวัดศรีโสดาแห่งนี้ครูบาศรีวิชัยท่านอยู่พำนัก ระหว่างปฏิบัติงานสร้างทางขึ้นดอยสุเทพจนแล้วเสร็จ... วัดศรีโสดา ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง บรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบ ปราศจากสิ่งรบกวน เหมาะสมที่ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม มีบริเวณกว้างขวาง มีวิหารหลวงและสำคัญคือ “วัดนี้ตั้งอยู่ติดกับอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย...” สำหรับผมแล้ว นอกจากงานนี้จะมีพิธีกรรมที่ดี วัตถุมงคลที่มีคุณค่า “บรรดาพระคณาจารย์ผู้ทรงศีล” ที่นิมนต์มานั่งปรกอธิฐานจิตครั้งนี้.. “ล้วนเป็นลูกศิษย์และผู้เคยร่วมงานพัฒนา กับครูบาศรีวิชัยทั้งสิ้น”.. ซึ่งผมเชื่อว่าเพื่อนๆ บางท่านอาจจะเคยได้ไปกราบลูกศิษย์ของครูบาศรีวิชัยมากันบ้างแล้ว หรืออาจจะเคยไปกราบแต่ก็ไม่ทราบ บันทึกการจัดงานในครั้งนี้จึงเป็นหลักฐานสำคัญให้เราได้ทราบการสืบสายของครูบาอาจารย์ และในบางโอกาส”ผมอาจจะต้องใช้บันทึกน้อยตอนนี้เข้ามาเกี่ยวโยงกับเรื่องของคณาจารย์ทางภาคเหนือ”ถ้าผมได้มีโอกาสได้เขียนถึง.. รายนามพระคณาจารย์สายครูบาศรีวิชัยที่มาร่วมงานมีดังนี้ ขอเชิญเพื่อนๆ ตรวจสอบรายชื่อได้เลยครับ.. “ครูบาหล้า (ตาทิพย์) วัดป่าตึง ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง ครูบาบุญมี วัดท่าสะต๋อย ครูบาสิงหชัย วัดฟ้าฮ่าม ครูบามงคลคุณาทร วัดหม้อคำตวง ครูบาจันทร์แก้ว วัดดอกเอื้อง ครูบาโสภา วัดผาบ่อง ครูบาอ้าย วัดศาลา ครูบาอิ่นแก้ววัดวาฬุการาม ครูบาอิ่นคำ วัดข้าวแท่นหลวง ครูบาคำตั๋น วัดสันทรายหลวง ครูบาญาณวิลาส วัดต้นหนุน ครูบาสุรินทร์วัดศรีเตี้ย ครูบามูล วัดต้นผึ้ง ครูบาศรีนวล วัดช้างค้ำ ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม ครูบาอินตา วัดห้วยไซ ครูบาศรีนวลวัดเจริญเมือง.. (ความจริงแล้วลูกศิษย์ของครูบาศรีวิชัย ยังมีมากกว่านี้หลายเท่านักเพียงแต่ว่างานนี้นิมนต์มาเท่านี้ครับ)..” น้อยคนนักที่จะเห็นความสวยงามของโปรยฝน.. เว้นแต่เกษตรกร ที่หวังให้พืชผลเจริญงอกงามหรืออาจจะเป็นเด็กอนุบาลที่นั่งแอบหวังลึกๆ ให้น้ำท่วมเพื่อที่ตนเองจะได้ไม่ต้องไปโรงเรียน..ซึ่งคนกลุ่มนี้ถือว่าเป็นจุดเล็กๆของสังคมคนหมู่มาก... จะว่าไปแล้วก็ไม่ต่างกันครับถ้าผมจะขออนุญาตเพื่อนๆนำเอาบันทึกงานพุทธาภิเษกครั้งนี้ที่เขียนขึ้นโดยคนเชียงใหม่และอยู่ในพิธีกรรมดังกล่าวมาให้อ่านกัน.. วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เวลา ๑๕.๑๙ น.เมื่อได้ฤกษ์จุดเทียนชยันโต เจ้าคณะภาคเจ็ด ได้ทำพิธีจุดเทียนชัย พระมหาเถรานุเถระได้เจริญพระพุทธมนต์ปรากฏว่า.... ”...ท้องฟ้าได้เริ่มมีเมฆหมอกและฝนตกพรำ ชุ่มฉ่ำทั่วบริเวณตั้งแต่เชิงดอยสุเทพจนถึงบริเวณพระธาตุดอยสุเทพ มีกระแสลมเย็นพัดลงมาจากยอดเขา ทำให้บรรยากาศในวิหารหลวงเยือกเย็น ศรัทธาประชาชนนับพันที่นุ่งขาวห่มขาวมาร่วมพิธี ต่างนั่งทำสมาธิด้วยความสงบเรียบร้อยและปราบปลื้มในมงคลฤกษ์ครั้งนี้...” บรรดาพระคณาจารย์ศิษย์อาวุโสของครูบาศรีวิชัย จำนวน ๑๘ รูป ได้ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์... “..ไหว้พระตามแบบที่เคยปฏิบัติเมื่อครั้งได้อยู่กับครูบาศรีวิชัย..” ซึ่งเป็นพิธีกรรมพิเศษนอกเหนือจากกำหนดการที่พระคณาจารย์ทั้งปวงปฏิบัติเองตามที่เคยปฏิบัติมาในอดีต..”พิธีการเช่นนี้จัดว่าเป็นกรณีพิเศษจริงๆแบบล้านนาไทยดั้งเดิม..” หลังจากสวดมนต์ไหว้พระและทำการสักการะดวงวิญญาณของครูบาศรีวิชัยเสร็จแล้ว ต่อจากนั้นพระคณาจารย์ก็เข้าประจำที่นั่งปรกทำสมาธิอธิฐานจิต “แผ่พลังสู่มงคลวัตถุ” โดยมีพระพุทธมนต์พิธีสวดพุทธาภิเษก จนหมดรอบปรกแรก... พระคณาจารย์และประชาชนที่อยู่ไกลก็เดินทางกลับ ได้แวะนมัสการสักการะอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เพื่อกรวดน้ำอุทิศถวายกุศลแด่ครูบาศรีวิชัยและบรรพชนที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกับครูบาศรีวิชัยในครั้งอดีต ขอให้กุศลผลบุญครั้งนี้ จงดลบันดาลให้ทุกท่านจงประสบแต่ความสุข ให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง.... ครูบาอาจารย์ของผมบางท่านเคยสอนไว้ว่า..ทุกครั้งที่ได้สวดมนต์ไหว้พระหรือได้ทำบุญอย่าลืม”กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล” ท่านเปรียบเทียบไว้เห็นภาพว่า”ทุกครั้งที่น้ำตกกระแทกพื้นดิน ดินยังกระจาย..” เช่นเดียวกันการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลท่านว่า "ฟ้าดินยังต้องรับรู้..."หากเมื่อมาสวมเข้ากับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในพิธีนี้... ”บ่ายอมก่อต้องยอม บ่าเจื้อก่อต้องเจื้อเต๊อะ..” ท่านครูบาอิ่นแก้ว อนิญฺชโนเจ้าอาวาสวัดวาลุการาม (ป่าแงะ) ต.ตลาดขวัญ อ.ดอยสะเก็ด จ.เขียงใหม่ หรือชาวบ้านเรียกว่า “ครูบาป่าแงะ” ท่านเป็นพระมหาเถระผู้ทรงพรรษายุกาล ทางศาสนายกย่องว่า “ผู้ทรง รัตตัญญู ผู้รู้ราตรีนาน” รับนิมนต์เป็นคณาจารย์องค์แรกที่ตั้งจิตกรวดน้ำ... "ทันทีที่น้ำลงสู่ปฐพีที่หน้าอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย" ท้องฟ้าที่แล้งฝนมานานของเมืองเชียงใหม่ก็มี.. ”ฝนตกลงมาอย่างน่าอัศจรรย์ใจจริงๆ” .. และทำให้บริเวณนั้นเยือกเย็นชุ่มฉ่ำคล้ายกับเป็นน้ำพระพุทธมนต์ประพรมทุกๆคน น้ำฝนที่เปรียบเสมือนน้ำพระพุทธมนต์จากครูบาศรีวิชัยครั้งนี้ ปรากฏว่าตกทั่วเมืองเชียงใหม่ ซึ่งชาวเชียงใหม่เชื่อกันว่าเป็นปรากฏการณ์ที่แสดงว่าบรรพชนที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ได้รับถวายกุศลผลบุญครั้งนี้โดยครบถ้วน..... ปัจจุบันวัตถุมงคลชุดนี้ เป็นที่ยอมรับและมีประสบการณ์เกิดขึ้นกับผู้ที่นำไปบูชามากมาย เป็นที่กล่าวขานกันในกลุ่มผู้นิยมคติแนวนี้ โดยเฉพาะ ”เหรียญครูบาศรีวิชัยหลัง ภปร.” บางท่านถึงกับกล่าวว่า..ถ้าไม่สามารถหาเหรียญสมัยเก่าของครูบาศรีวิชัยได้ละก็...เหรียญรุ่นนี้สามารถนำขึ้นมาแขวนได้อย่างภาคภูมิใจในยุคที่วิกฤติพลังงานกำลังเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการศึกษาของเด็ก.. ว่ากันว่า “พุทธคุณบ่าขึ้นกับราคา” หรือ “ก๊านเซาะหาขึ้นกับความปอใจ๋” ยังคงความหมายเข้มแข็งและเหมาะสมกับเหรียญชุดนี้.. ผมเคยได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่หลายท่านเคยกล่าวถึงครูบาศรีวิชัยไว้ว่า.. “ท่านครูบาเจ้าเป็นพุทธบุตร ที่เกิดมาเพื่อช่วยพัฒนาพระพุทธศาสนาของล้านนา” ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ คงจะไม่ปฏิเสธคำกล่าวนี้นะครับ และส่วนตัวผมคิดว่าครูบาศรีวิชัย ท่านเป็นพระนักพัฒนาที่ยอดเยี่ยม มีความสามารถในการสร้างขวัญและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้มมามีส่วนร่วมในการบูรณะพัฒนาปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน ถาวรวัตถุที่ชำรุดทรุดโทรม ซึ่งหากเอามาเขียนคาดว่าจะใช้เวลาหลายวันแหละครับ... แม้ครูบาศรีวิชัยท่านจะมรณภาพไปนานร่วม ๗๐ ปีแล้วก็ตามแต่ผลงานและความนิยมนับถือในตัวครูบาก็ยังคงมีอยู่ไม่เสื่อมคลาย โพสต์เมื่อ 14th May 2013 โดย Yo Option ป้ายกำกับ: ครูบาศรีวิชัย |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments