พระสมเด็จ หลวงพ่อเกษม เขมโก สามนะ หลัง อุ รุ่นสรงน้ำ ปี 2530 -จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ
พระสมเด็จ หลวงพ่อเกษม เขมโก สามนะ หลัง อุ  รุ่นสรงน้ำ ปี 2530  - 1พระสมเด็จ หลวงพ่อเกษม เขมโก สามนะ หลัง อุ  รุ่นสรงน้ำ ปี 2530  - 2พระสมเด็จ หลวงพ่อเกษม เขมโก สามนะ หลัง อุ  รุ่นสรงน้ำ ปี 2530  - 3พระสมเด็จ หลวงพ่อเกษม เขมโก สามนะ หลัง อุ  รุ่นสรงน้ำ ปี 2530  - 4
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระสมเด็จ หลวงพ่อเกษม เขมโก สามนะ หลัง อุ รุ่นสรงน้ำ ปี 2530
อายุพระเครื่อง 38 ปี
หมวดพระ ครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง - หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ - หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดป่าหมู่ใหม่
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อา. - 30 พ.ค. 2564 - 21:15.09
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อ. - 07 พ.ย. 2566 - 22:22.57
รายละเอียด
พระสมเด็จ หลวงพ่อเกษม เขมโก สามนะ หลัง อุ รุ่นสรงน้ำ ปี 2530


สวยเดิม ๆ พร้อมกล่องเดิมครับ



วงเดือน เย็นฉ่ำสวนขลัง
4 ชม. ·
เรื่องของหลวงปู่เกษม​ เขมโก​ คัดลอกมาจากหนังสือเล่มน้อย​ จัดพิมพ์โดย​ ชมรมพุทธศาสน์​ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต​ ปี​ พ.ศ.​2536​ ขอกราบขอบพระคุณท่านผู้เขียน​ และผู้จัดพิมพ์ค่ะ​
........
เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ของท่านพระอาจารย์เกษม เขมโก โดยท่านพระครูวีรสารโกวิท สุชาดาราม ลำปาง
ท่านสาธุชนทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้รู้จักคุ้นเคยกับท่านพระอาจารย์เกษม เขมโก มานาน ตั้งแต่ข้าพเจ้าเป็นสามเณร อายุได้ 19 ปี ตัวข้าพเจ้าเองบรรพชาเมื่ออายุได้ 15 ปี ณ วัดพระแก้วดอนเต้า แล้วย้ายไปศึกษาบาลีไวยากรณ์ต่อที่วัดบุญวาทย์วิหาร พระอารามหลวง จังหวัดลำปาง สมัยเมื่อท่านเจ้าคุณปรีชาญาณมุนี เป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัด
กาลต่อมา ท่านเจ้าคุณปรีชาญาณมุนี ถึงแก่มรณภาพลง ทางเจ้าคณะมณฑลได้ส่งพระมหาสุรัส อภิรโส ป.๙ แห่งวัดเบญจมบพิตรฯ มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร พระมหาสุรัสย้ายกลับเข้ากรุงเทพฯ แล้วทางคณะสงฆ์ส่วนกลางได้แต่งตั้งท่านเจ้าคุณวีรญาณมุนี (หมื่น) ป.๓ มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร สืบแทนต่อมา พระมหาเปรียญที่มาร่วมในชุดของท่านเจ้าคุณวีรญาณมุนี ซึ่งท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้า มีจำนวน 4 รูป คือ พระมหามั่ว อภิชโย ปธ. ๕ พระมหาสุด ฐิตวีโร ปธ.๙ (พระเทพวิสุทธิญาณมุนี วัดมหา​พฤฒาราม กรุงเทพฯ ปัจจุบัน) พระมหานารถ ฐิตปญฺโญ ปธ.๕ และพระมหาค้ำ ฐิตอํกุโร ปธ.๖ ในปี พ.ศ. 2484 ข้าพเจ้าได้เข้าศึกษา ปธ.๓ พร้อมนักธรรมโท ซึ่งในปีนั้น ท่านมหาสุด ปธ.๙ ได้เป็นอาจารย์สอน ปธ.๓ ข้าพเจ้าได้เป็นศิษย์เข้าแปลพระธรรมบททั้งแปดภาค และแปลได้ดี และคล่องแคล่ว เป็นอย่างเยี่ยม พร้อมทั้งสัมพันธ์และรู้หลักไวยากรณ์ดีมาก และก็ในปีนี้แหละที่ท่านพระอาจารย์เกษม เขมโก ครั้งท่านยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน อ.เมือง จ.ลำปาง ได้หอบเอาคัมภีร์พระธรรมบทไปร่วมศึกษา และแปลด้วย เผอิญมีวันหนึ่งท่านพระอาจารย์มหาสุดติดธุระนิมนต์ไปงานศพในตอนบ่าย ท่านจึงมอบให้ข้าพเจ้าทำหน้าที่เป็นครูสอนแทนท่าน ในวันนั้นมีนักเรียนประมาณสิบกว่ารูป รวมทั้งท่านพระอาจารย์เกษมด้วย ในวันนี้เอง การสอนที่ท่านพระอาจารย์สุดได้สอนทิ้งไว้ มีอยู่คำศัพท์หนึ่งที่ยากมาก นักเรียนแปลไม่ค่อยจะถูกศัพท์
ศัพท์ดังกล่าวคือ “สกฏทารุกฏฺฐจรกปุริสวตฺถุ” อันเป็นศัพท์สมาส มีหลายศัพท์ติดกันยาว ข้าพเจ้าเคยได้รับการสอนมาจากอาจารย์สอนบาลี หลายท่านว่า ถ้ามี 6 ศัพท์ เป็น 5 สมาส ถ้ามี 5 ศัพท์ ก็เป็น 4 สมาส ศัพท์สมาสถ้าแปลผิด ก็เรียกว่าแปลผิด ศัพท์สมาสไม่ได้ศัพท์หลายๆ ศัพท์ รวมกันเรียกว่าศัพท์สมาส ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า ขณะนี้ข้าพเจ้าทำหน้าที่ครูสอนแทน ข้าพเจ้าจึงทดลองให้เพื่อนนักเรียนทุกรูปลองแปลดูทีละองค์ ก็แปลกันผิด เพราะเขาแปลกันว่า “อันว่าเรื่องแห่งบุรุษผู้เที่ยวไป​เพื่อเกวียนด้วยฟืน" บ้าง​ ซึ่งผิดสมาส ผิดความหมายทั้งหมด
ทีนี้มาถึงองค์ท่านพระอาจารย์เกษม​ เขมโก​ ตอบบ้างละ​ ตอนที่ทำหน้าที่​ครูสอนแทน​ ในวันนี้​ข้าพเจ้ายังเป็นสามเณร​ ก็ต้องมีความเคารพในพระเป็นธรรมดา​ ข้าพเจ้าเคยสอนนักธรรมตรี​ โท​ เอก​ และบาลีให้พระก็เกิดมีความรู้สึกอึดอัดใจบ้าง​ เวลาเข้าห้องเรียนเพื่อทำหน้าที่ครูสอนก็ต้องแสดงความเคารพกราบไหว้พระที่ท่านมาสมัครเป็นนักเรียน ก็ไม่เห็นเสียดายอันใดนี่นะ​ ได้บุญได้พร​ 4​ เสียอีก​ และแล้วข้าพเจ้าก็ยกมือวันทาขอร้องให้ท่าน​พระเกษม​ เขมโก (เวลานั้นยังเป็นนักเรียน) ขอให้ท่านลองแปลดู ท่านเกษมก็ลุกขึ้นแปลต่อหน้าเพื่อนนักเรียนทั้งหมดชั้น ท่านแปลได้ถูกสมาสไวยากรณ์ดี สละสลวยเสียด้วย ท่านแปลว่าอย่างไร? ท่านแปลว่า “อันว่าเรื่องแห่งบุรุษผู้เที่ยวไปเพื่อไม้ฟืนด้วยเกวียน”
ดังนี้ ข้าพเจ้ายังได้ออกปากชมเชยท่านว่า ท่านเกษมเก่ง เก่งกว่าใครในชั้น ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งปฏิภาณปัญญาของท่าน ตั้งแต่สมัยนั้นมา มาถึงสมัยนี้ท่านก็เก่ง และรุ่งเรืองด้วยศีล สมาธิปฏิภาณปัญญาอย่างยอดเยี่ยมจริงๆ นี่เป็นเรื่องจริงที่ข้าพเจ้ายังทรงจำได้ แม้องค์ท่านก็เคยเล่าให้ใครต่อใครฟังอยู่เสมอ
เรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ จากท่านพระอาจารย์เกษม เขมโก แห่งสุสานไตรลักษณ์ (ศาลาดำ) ไม่มีวันเล่าสิ้นสุดเพียงวันเดียว ยิ่งเล่ายิ่งสนุก ยิ่งเล่ายิ่งอยากฟังเพลิน วันไหนหากข้าพเจ้าไม่เอ่ยนามของท่าน รู้สึกเหมือนว่า วันนี้ทั้งวันข้าพเจ้ายังไม่ได้ทำการงานอะไรเลย จึงอยากจะเชิญท่านสาธุชนทั้งหลาย ฟังเรื่องราวต่อไปอีก
การสนทนากับพระอาจารย์ฯ ไม่ว่าข้าพเจ้าจะเริ่มต้น ณ ที่แห่งใด พระอาจารย์ฯ มักจะส่งภาษาบาลีเป็นการทักทายข้าพเจ้า บางครั้งท่านพระอาจารย์ก็จะใช้วานศิษยานุศิษย์ของท่านนำเอาภาษิต บาลี ที่ท่านคิดแต่งขึ้น หรือบางครั้งก็จะเป็นคำกราบไหว้พระ บางทีก็เป็นคำถวายทานที่ท่านแต่ง ย่อสั้นลง ส่งไปให้ข้าพเจ้าเพื่อช่วยพิจารณาแก้ไข เป็นอยู่อย่างนี้เสมอ ข้าพเจ้าจึงขอพาท่านพบบาลี ณ โอกาสนี้
ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าได้ไปกราบท่านพระอาจารย์เกษม เขมโก นมัสการท่าน ท่านจะหารือกับข้าพเจ้าว่า ท่านพระครู บาลีที่ผมส่งไปให้นั้น ตรวจดูเสร็จแล้วหรือยัง ผิดตรงไหนบ้าง? ถูกตรงไหนบ้าง? ปกติท่านพระอาจารย์จะตั้งนิคเนมให้กับข้าพเจ้าว่า ท่านพระครูหน่อมบ้าง เจ้าหน้าที่กองตำราบ้าง พระสาสนโสภณบ้าง
บาลีคำสอนของท่านพระอาจารย์มีหลายหัวข้อ ทั้งที่ใช้สวดมนต์ แผ่เมตตา ถวายของทานอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งท่านนิยมให้ใช้อย่างย่อ พอแก่สติปัญญาของคนผู้ไม่รู้บาลี จะศึกษาเรียนได้ง่าย ถ้าหากสนใจ ซึ่งมีผู้คิดรวบรวมพิมพ์ขึ้นบ้าง แล้วมีไปจนกระทั่งถึงคำเยี่ยมศพ คำเวียนศพ คำเก็บกระดูก มีอยู่บทหนึ่งที่ข้าพเจ้าสนใจมาก เพราะเป็นแนวทางจะให้มีผู้ศรัทธาทำบุญให้ทาน ไม่ให้เกิดความสอดแคลง กินแหนงในภายหลังได้ และเป็นแนวทางจะได้ให้รู้ว่า สงฆ์ สมมติสงฆ์ อริยสงฆ์ บาลีบทนี้มีว่า “อิทํ มยฺหํ ทานํ สงฺฆํ คตฺฉตุ” ซึ่งแปลว่า “อันว่าของทานนี้ของข้าพเจ้า ของจงถึงซึ่งพระสงฆ์เจ้าด้วยเถิด” เมื่อหลายปีมาแล้ว ท่านเคยสอนไว้อย่างนี้ แต่เดี๋ยวนี้ ท่านพระอาจารย์เกษม เขมโก นำมาปรึกษากับข้าพเจ้าว่า ผมได้แปลคำเหน็บเพื่อให้สูงส่งขึ้นไปอีก คำแปลว่าดังนี้ “อันว่าของทานนี้ ของข้าพเจ้า ขอจงถึงซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้าด้วยเถิด” แล้วท่านพระอาจารย์ก็มาถามข้าพเจ้าว่า อย่างนี้เข้าทีไหม? ถูกดีไหม? ข้าพเจ้าก็ได้แต่ ตุณฺหี เอวเมตํ ธารยามิฯ
เรื่องต่อไปก็เรื่อง เทศน์คู่ ระหว่างข้าพเจ้ากับท่านพระอาจารย์เกษม เขมโก ในงานที่ได้รับอาราธนานิมนต์ (ในงานต่างๆ) ท่านพระอาจารย์กล่าวว่า บางครั้งก็เปรียบเหมือนมวยล้ม บางครั้งก็เกือบแพ้แต้ม (แพ้คะแนน) เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ถ้าปัญหาอันใดที่ข้าพเจ้าไต่ถามท่าน แล้วนัดแนะกับท่านว่าให้ท่านตอบอย่างนั้น และตอบอย่างนี้ เช่นนี้ท่านเรียกภาษาทางโลกว่ามวยล้ม คือมีเทศน์ปุจฉาวิสัชชนาในป่าช้า สุสานไตรลักษณ์ คราวฉลองกุฏิ ครั้งนั้นข้าพเจ้าจำได้ว่า หลังจากได้ถามถึงปัญหาต่างๆ มามากแล้ว ข้าพเจ้าก็รีบถามปัญาสุดท้ายจากท่านว่า อะไรเอ่ย? “สี่นอหาม สามนอแห่ หนึ่งนอนั่งแคร่ หนึ่งนอแว่เก็บผักหักไม้ สองนอถือไม้ไต้นำทาง” ตอบปัญหาโลกแล้ว ตอบปัญหาธรรม ข้าพเจ้าได้นัดแนะ กับท่านพระอาจารย์ว่า ให้ท่านตอบว่า ช้าง ดังนี้ท่านว่า มวยล้ม
อีกปัญหาหนึ่งท่านเคยพูดว่า เกือบแพ้แต้ม (แพ้คะแนน) ท่านพระครู เสียแล้วสิ แต่ไม่แพ้เพราะปฏิภาณปัญญาของท่านเฉียบแหลมว่องไวดีมาก อันนี้ไม่ได้นัดแนะกัน แต่ทีแรกเหมือนจะคิดไม่ออก ปัญหานั้นมีว่า สัตว์อะไรเอ่ย? ตอนเช้าเดิน 4 ขา กลางวันเดิน 2 ขา ตอนค่ำเดิน 3 ขา ท่านใช้ปฏิภาณปัญญาของท่าน ต่อมาว่าได้แก่คนเรา หรือได้แก่เด็ก พอนึกออกว่า ได้แก่เด็ก เท่านั้นก็ตอบว่าเป็นสายไปทีเดียว อย่างนี้ท่านว่าเกือบแพ้แต้ม ในการตอบในการถาม สนุกดี
ตามปกติแล้ว ท่านพระอาจารย์เกษม เขมโก เป็นผู้มีอารมณ์เบิกบานดี และมีอารมณ์ขำขันมาคุยกับข้าพเจ้าเสมอ บางครั้งท่านคุยอะไรออกมาทั้งๆ ที่มีคติ คนที่นั่งอยู่ใกล้ชิด ได้ยินได้ฟังการคุยของท่านแล้วจะอดหัวเราะชอบใจไม่ได้
เช่นมีครั้งหนึ่ง​ อุบาสิกาบุญชื่น ตันบุญฤทธิ์ เข้าไปกราบนมัสการเรียนถามท่านพระอาจารย์ว่า ท่านพระอาจารย์เจ้าคะ ท่านพระอาจารย์เป็นพระอรหันต์แล้วน้อ ท่านพระอาจารย์ก็ตอบทันทีว่า เราเป็นอาระหันตา ตาของเราหันทุกสิ่งทุกอย่าง (มองเห็นด้วยตาทุกสิ่งทุกอย่าง) เห็นอะไรก็อยากได้
อาระอุบาสิกาบุญชื่น อาระหันตา แปลว่า ตันบุญฤทธิ์ ถามต่อไปอีกว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านพระอาจารย์ก็คงจะเป็นพระอริยะแล้ว เราเป็นอริเยอะ แปลได้ความว่า ท่านมีข้าวของที่ได้รับจากการถวายทานไว้เยอะแยะ
พอท่านพระอาจารย์ตอบอุบาสิกาบุญชื่นจบแล้ว เสียงฮาหัวเราะก็ดังขึ้นพร้อมกัน แต่อุบาสิกาบุญชื่น หาได้จบเรื่องที่ใคร่รู้ ใคร่เห็นของแกเพียงเท่านั้นไม่ จึงถามกับท่านพระอาจารย์ต่อไปอีกว่า ท่านพระอาจารย์เจ้าคะ ท่านพระอาจารย์คงได้มรรคผลสำเร็จแล้วนะเจ้าคะ ท่านพระอาจารย์ตอบว่า เราได้มรรคผลแล้ว มักผลไม้ (ชอบกินผลไม้) เช่น มะม่วง มังคุด ลำไย พุทรา ทุเรียน ขนุน กล้วย ลางสาด ฯลฯ เลยได้ชื่อเป็นอาจารย์มรรคผลอย่างนี้แหละโยมเอ้ย
ปรัชญาบรรยากาศในการอยากทราบในข้อความนั้นเป็นอย่างยิ่ง ก็เลยกลับกลายมาเป็นอารมณ์ขันแล้วก็จางหายไปอากาศธาตุอย่างนี้แหละท่านสาธุชน..

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top