เหรียญ รุ่นแรก หลวงปู่เจริญ วัดป่าพระธาตุเขาน้อย จ.ราชบุรี-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน

เหรียญ รุ่นแรก หลวงปู่เจริญ วัดป่าพระธาตุเขาน้อย จ.ราชบุรี

เหรียญ รุ่นแรก หลวงปู่เจริญ  วัดป่าพระธาตุเขาน้อย จ.ราชบุรี - 1เหรียญ รุ่นแรก หลวงปู่เจริญ  วัดป่าพระธาตุเขาน้อย จ.ราชบุรี - 2เหรียญ รุ่นแรก หลวงปู่เจริญ  วัดป่าพระธาตุเขาน้อย จ.ราชบุรี - 3เหรียญ รุ่นแรก หลวงปู่เจริญ  วัดป่าพระธาตุเขาน้อย จ.ราชบุรี - 4เหรียญ รุ่นแรก หลวงปู่เจริญ  วัดป่าพระธาตุเขาน้อย จ.ราชบุรี - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญ รุ่นแรก หลวงปู่เจริญ วัดป่าพระธาตุเขาน้อย จ.ราชบุรี
อายุพระเครื่อง 16 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 03 มี.ค. 2564 - 21:12.48
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ พ. - 13 มี.ค. 2567 - 19:58.09
รายละเอียด
เหรียญ รุ่นแรก หลวงปู่เจริญ ราหุโล วัดป่าพระธาตุเขาน้อย จ.ราชบุรี

ที่ระลึกในการทำบุญอายุ 80 ปี พ.ศ.2552

สวยมากครับ เหรียญนี้ ...หายาก ครับ รุ่นแรก ของท่าน อนาคตไกลแน่ ยิ่งผิว แบบนี้...


ประวัติ รายละเอียด แบบเต็ม ๆ เวอร์ชั่น

#หลวงปู่เจริญ ราหุโล วัดพระธาตุเขาน้อย จ.ราชบุรี ... หน่อเนื้อเชื้อไขชาวปักษ์ใต้ ทายาทธรรม #หลวงปู่สิงห์ #หลวงปู่เทศก์ #พระอาจารย์วัน . . #อัตโนประวัติหลวงปู่เจริญ ราหุโล . . . หลวงปู่เจริญ เป็นที่รู้จักกันดี เมื่อคราวหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี นำพระกรรมฐานเคลื่อนทัพลงภาคใต้ ไม่เพียงแต่จะเป็นการขยายวงศ์พระกรรมฐานไปปักฐานลงในภาคใต้ หากแต่ยังเปลี่ยนแปลงชีวิตของใครหลายคนหนึ่งในจำนวนนั้นคือ พระภัทรศีลสังวร หรือหลวงปู่เจริญ ราหุโล เมื่อคราวหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี นำพระกรรมฐานเคลื่อนทัพลงภาคใต้หลังหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มรณภาพนั้น ไม่เพียงแต่จะเป็นการขยายวงศ์พระกรรมฐานไปปักฐานลงในภาคใต้ หากแต่ธรรมยาตราขบวนนั้นยังเปลี่ยนแปลงชีวิตของใครหลายคนไปอย่างสิ้นเชิง หนึ่งในจำนวนนั้นคือ พระภัทรศีลสังวร หรือหลวงปู่เจริญ ราหุโล เรื่องราวของหลวงปู่เจริญอาจจะไม่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างนัก แต่เมื่อคราวท่านเจริญชนม์ 80 ปี เมื่อปี 2552 คณะศรัทธานำโดยพระอาจารย์สาคร ธัมมาวุธ วัดป่ามณีกาญจน์ ได้อาราธนาท่านให้รจนาอัตโนประวัติขึ้นเพื่อเผยแผ่ ประวัตินั้นมิได้ยาวนัก “คาบใบลานผ่านลานพระ” จึงขอนำมาพิมพ์ซ้ำโดยมิตัดทอน เพื่อร่วมเผยแผ่ธรรมประวัตินี้ให้กว้างขวางต่อไป โดยจะแบ่งนำเสนอเป็นสองตอน เริ่มต้นดังนี้ อัตโนประวัติ ชาติภูมิลำเนาเดิม เกิดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอปากพนัง ตำบลขนาบนาก บิดาชื่อ นายหนอน คุ้มขนาบ มารดาชื่อ นางแก้ว รัตนรัตน์ มีพี่น้อง ๕ คน หญิง ๓ ชาย ๒ ๑.พี่สาวคนโตชื่อ จีบ มรณะแล้ว ๒.พี่สาวชื่อ จู มรณะแล้ว ๓.พี่สาวชื่อ ลิ้นจี่ ยังมีชีวิต ๔.พี่ชายชื่อ จำรูญ ยังมีชีวิต ๕.คนสุดท้องชื่อ เจริญ เป็นภิกษุ ด.ช.เจริญ เกิดวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ วันพระ โยมแม่เล่าว่าเกิดกลางวัน เวลาพระบิณฑบาต คราวตั้งท้องเกิดนิมิตฝันว่าได้มีดทองคำเล่มหนึ่ง สวยงามเหลืองอร่าม น่าจะได้บวชอยู่เป็นพระ อยู่ในผ้าเหลืองตลอดชีวิต แต่เมื่อเจริญเติบโตแล้ว กลับไม่มีนิสัยเด็กดีติดตัวเลย จนพี่สาวพูดว่า ถ้ามิใช่เป็นลูกแม่เดียวกัน จะไม่สนใจคบด้วยเลย ผู้อ่านลองคิดดู เด็กคงเลวเอามากๆ เหลือโปรดปรานแน่ๆ จึงมีคำพูดออกมาเช่นนี้ และเป็นความจริง สังคมภายในภายนอก ใกล้ไกลไม่มีผู้ใดชมว่าเด็กดีแม้คนเดียว การศึกษาวัยเด็ก เข้าเรียนตามเกณฑ์ ป.๑ มิได้เรียน ป.๒ เรียน ป.๓ ป.๔ ไปเรียนต่อมัธยม ๑ มิได้เรียนมัธยม ๒ แต่เรียนมัธยม ๓ จบลาออกกลับไปอยู่กับบิดามารดา ทำไร่ทำนา ออกบวช คัดเลือกทหารแล้วไม่ถูก บิดาการพาไปฝากพระอาจารย์พระครูสังวราภิรัตน์ (สิน จนฺทวณฺโณ) เจ้าอาวาสวัดบางอุดมขณะนั้น​ไม่มีแววว่าจะได้บวชอยู่ได้ในพุทธศาสนา จะเป็นเพราะเหตุใด ต้องเล่าความจริงของชีวิต จะบวชเพราะโยมพ่อบอกต้องบวชให้ได้ ๓ พรรษา ๓ ปี จึงลาสิกขาได้ และหาคู่ครองให้ เราต้องการคู่ครองจึงบวช เจ้าอาวาสไม่รับฝากให้บวช อ้างว่าเด็กนิสัยไม่ดี อยู่ไปจะแหกพรรษา เสียชื่อวัดวาอาราม เสียชื่อพ่อแม่พี่น้อง จะบวชอาจารย์ไม่รับให้บวช พ่อแม่ก็หนักใจ จึงสมกับคำว่า “ตัดหางปล่อยวัด” ไม่ดีเสียหายอะไรก็ถวายวัด ทิ้งวัด แต่วัดมีดีอะไรก็เอาเข้าบ้าน โยมพ่อ โยมแม่จึงอ้อนวอนว่า “ท่านพระครู นิมนต์รับไว้เถิด เสียหายอะไรค่อยว่ากัน” ท่านพูดว่า “ถ้าอย่างนั้น จงท่องนวโกวาท และเจ็ดตำนานให้จำ จึงจะให้บวช” ท่องตลอดก่อนบวช อยู่เป็นนาคเตรียมบวชกว่าเดือน และบังคับว่าเข้าวัดแล้วมิให้เข้าบ้าน นอกจากไปบิณฑบาต บรรพชาอุปสมบท ครั้นถึงวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๓ อุปสมบทในน้ำ (อุทกุกเขปสีมา) ใช้เรือสองลำต่อกันเอาไม้พาดทำเป็นแพห่างจากฝั่งระยะคนกวักน้ำไม่ถึงในคลองบางหรง ซึ่งแต่ก่อนคลองนี้กว้างใหญ่กว่าปัจจุบันมาก โดยมี พระครูบริหารสังฆกิจ (เต้ง เขมงฺกโร) เป็น พระอุปัชฌาย์ พระพุทธิสารเถระ เป็น พระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูปภัสสรเมธาภรณ์ เป็น พระอนุสาวนาจารย์ พอบวชแล้วเจ้าอาวาสก็ว่า “คุณไปอยู่ห้องนี้” เป็นห้องร้างใครๆ ไม่ชอบอยู่ ห้องร้างก็จริง แต่เคยเป็นห้องสมุดเก่าแก่ มีตู้หนังสือและหนังสือปกขาดอยู่บ้าง ก็เที่ยวเปิดดู หนังสือเล่มแรก หนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า มโหสถเผด็จ เป็นหนังสือชาดกเล่มหนาปกแข็ง พิมพ์ก่อนเราเกิด เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้เสวยพระชาติเป็นมโหสถ บำเพ็ญปัญญาบารมี ก็เปิดดูสารบัญเรื่องตั้งแต่มโหสถแรกเกิด เติบโต จนถึงพระเจ้าแผ่นดินทดลองสติปัญญาโดยตั้งปัญหาต่างๆ ให้แก้ พออ่านจบก็อ่านอีกราว ๑o เที่ยว ซาบซึ้ง เหลือเกิน กลับไปบ้านเล่าให้แม่ฟัง แม่ถามว่า “อ้าว นี่เอาความรู้มาจากไหน” ตอบว่า “ได้มาจากที่อ่านหนังสือในห้องที่อาจารย์ให้อยู่” “ตอนเดินทางมาอยู่ที่วัดบุปผาราม ก็เอาหนังสือมโหสถเผด็จนี้มาด้วย เพราะกลัวจะลืม และได้เปิดดูอยู่บ่อยๆ แต่พอเที่ยวหลังมา ลืมสนิทเลย ไม่ได้เอามาด้วย หนังสือเล่มนี้หยิบจับไม่ได้แล้ว เป็นหนังสือที่รักมาก ไม่ใช่แค่เรื่องนี้เท่านั้น หนังสืออื่นขาดก็ปะ เหมือนผ้านุ่งผ้าห่มไม่ดีก็เย็บปักถักร้อย บางทีก็เอากาวทาไว้ บวชเรียนอยู่ได้ก็เพราะหนังสือเล่มนี้ ทำให้เกิดปัญญาขึ้นเยอะ รู้เยอะ แล้วก็จำแม่นด้วย จำเรื่องได้ตั้งแต่มโหสถเกิด ปิดตาเล่าได้เลยตั้งแต่เริ่มแรกจนเรื่องสุดท้าย เดี๋ยวนี้ก็ยังจำได้อยู่ ถ้าได้เล่าแล้วก็ต้องเล่ากันเป็นวันเป็นคืนเลย แม่นมาก หนังสือมโหสถทำให้ชีวิตบวชอยู่ได้ ความจริงสมองไม่ใช่ดีนะ อาศัยอ่านซ้ำซาก อย่างเดี๋ยวนี้กำลังอ่านเรื่องพระมาลัยเถระ เป็นของเก่าแก่สมัยนานดึกดำบรรพ์ อ่านมาเที่ยวหนึ่งแล้วที่กรุงเทพฯ มาอยู่ที่นี่ได้อ่านต่อ อ่านแล้วไม่ปล่อยเลยไปทีเดียว ตรงไหนที่ลึกๆ ก็ขีดเส้นแดงไว้ หมั่นทบทวนความจำศัพท์บางอย่างไพเราะ ผ่านหูผ่านตา เช่นว่า เทวคันธีมา (กลิ่นหอมของเทวดา) สวรรณภิงคาร (ที่อุทิศกรวดน้ำแผ่ส่วนบุญ) หนังสือที่ควรจะศึกษาถือเป็นคลังปริยัติ คือ มิลินทปัญหา วิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคนี้วิเศษเหลือเกิน ศีลนิเทศน์ สมาธินิเทศน์ ปัญญานิเทศน์ การอ่านหนังสือไม่เคร่งเครียดมากเกินไป พอเครียดก็เดินจงกรมไปมา แล้วก็อ่านต่อ พอเพลียก็นอน นอนก็ไม่ได้กะว่าจะนานเท่าไหร่ นอนหลับเต็มอิ่มก็ตื่นมาอ่านต่อทันที ไม่ได้เลือกเวลาไหน ยิ่งที่นี่สงบ อ่านได้ทั้งวัน อ่านหนังสือไม่ได้ตั้งว่าเช้าหรือเย็น แล้วแต่อารมณ์ ถ้าอารมณ์ดี สมองแจ่มใสก็อ่าน อ่านแล้วก็ต้องเตรียมสมุดเอาไว้” ชาตินี้ไม่ลาสิกขา ครั้นบวชได้ ๑ พรรษา รับกฐินแล้ว พี่ชายไปเยี่ยมและพูดว่า “ลาสิกขาได้แล้ว” ตอบพี่ว่า “ลามิได้ เพราะโยมพ่อพูดไว้ว่าต้องบวชให้ได้ ๓ ปี ไม่ครบ ๓ ปี ลาสิกขาออกมา มิให้เหยียบบันไดบ้าน” และตอบกับพี่ว่า “จำไว้เถิด ชาตินี้จะไม่ลาสิกขา” พี่ชายพูดว่า “ถอนคำพูดเสีย จะเสียสัจธรรม” ตอบพี่ว่า “ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ไม่ลาสิกขาแล้ว” พี่ชายพูดต่อไปว่า “มรดกของลูกคนสุดท้อง ตกเป็นของท่าน” ตอบพี่ว่า “พี่ๆ แบ่งกันเองเถิด เราไม่รับมรดก” ตั้งแต่พรรษาแรกผ่านไปประมาณ ๓ ปี อาจารย์เจ้าอาวาสพูดกับโยมแม่ว่า “แม่แก้ว ฝ่ามือเป็นหลังมือไปแล้ว” ฝ่ามือเป็นหลังมือ คือ ชั่วสุดๆ แล้วกลับเป็นดี นิสัยโลเลไม่ค่อยได้เรื่องได้ราว ไม่น่าจะบวชอยู่ได้ เหมือนองคุลิมาลไม่น่าจะกลับตัวได้ คนชั่วช้าสามานย์แต่กลับจิตกลับใจกลับตัวเป็นคนดีได้ ไม่น่าเชื่อ การจำพรรษา พรรษาที่ ๑ วัดบางอุดม อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พรรษาที่ ๒ วัดบางอุดม พรรษาที่ ๓ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พรรษาที่ ๔ วัดอุทัยโพธาราม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี พรรษาที่ ๕ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร พรรษาที่ ๖ วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี พรรษาที่ ๗ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวิหาร กรุงเทพฯ พรรษาที่ ๘ วัดสารนารถธรรมาราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง พรรษาที่ ๙ วัดสารนารถธรรมาราม พรรษาที่ ๑๐ วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร พรรษาที่ ๑๑ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร พรรษาที่ ๑๒ ถึง ๔๘ วัดบุปผารามวรวิหาร กรุงเทพฯ พรรษาที่ ๔๙ ถึง ๕๔ วัดป่าพระธาตุเขาน้อย อำเภอบ้านคอ จังหวัดราชบุรี พรรษาที่ ๕๕ ถึง ๕๖ วัดบุปผารามวรวิหาร พรรษาที่ ๕๗ ถึง ๕๙ (ปัจจุบัน) วัดป่าพระธาตุเขาน้อย ชอบบังคับให้ทำดี บวชไปได้ ๑ ปี ออกพรรษามาแล้ว อาจารย์ถามว่า “ยังจะอยู่เป็นพระไปอีกหรือ” ตอบว่า “อยู่ต่อไป” ท่านจึงส่งหนังสือปาฏิโมกข์ แล้วบังคับว่าต้องท่องให้ตลอด และก็ต้องจำใจท่อง ๒๗ วัน ตั้งแต่พรรษาแรก เพราะกลัวอาจารย์จึงทำได้ดี อายุมากขึ้นจึงรู้คุณค่าอาจารย์ชอบบังคับให้ทำดี ปัจจุบันก็ยังท่อง ถึงไม่สวดก็ต้องทวน อากาศดีๆ ไปนั่งที่ต้นโพธิ์ทวนปาฏิโมกข์ไปเรื่อยๆ พระเจริญสมองทึบ เรียนไม่ค่อยจะทันเพื่อนฝูง จึงต้องเพิ่มความขยัน ความเพียร ความเอาใจใส่การเรียน เรียนเที่ยวเดียวไม่จำ ต้องซ้ำซาก ท่องแล้วท่องอีก อ่านแล้วอ่านอีก อ่านคำสอนของเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ตรึก ธมฺมวิตกฺโก) ท่านพูดว่า อย่าลืมนะเข้าห้องน้ำนำหนังสือติดมือเข้าไปด้วย ก็ปฏิบัติตามท่าน ตามหาครู การตามหาครูอาจารย์ที่ดี หายาก พบยาก ทั้งไกลในการไปหา อาจเป็นเพราะชาติก่อนไม่เคยสร้างบุญบารมีมากับอาจารย์ หรือบุญเราน้อย เช่น คราวออกพรรษาที่ ๓ แล้วไปหาหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่วัดเจริญสมณกิจ (วัดหลังศาล) จังหวัดภูเก็ต ต้องไปทางเรือ ลงท่าที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ไปจังหวัดภูเก็ต เพื่อไปอยู่กับหลวงปู่ เรือเดินทางทางทะเล เรือจมน้ำ เครื่องเรือแตก ก็ต้องลำเลียงเรือเล็กขึ้นฝั่งที่เกาะลันตา การกินการอยู่ก็ให้ลำบาก ไปถึงปลายทางเข้าไปหาหลวงปู่ก็กลัวอีก ไม่รู้ทำตัวอย่างไร เพราะชาวใต้ไม่ค่อยรู้ขนบธรรมเนียมของพระกรรมฐานเหมือนอยู่ป่าทางอีสาน อยู่กับหลวงปู่เทสก์ เห็นปฏิปทาธุดงค์ที่ท่านพาดำเนินให้ปฏิบัติเป็นแบบอย่างงดงามน่าเลื่อมใส จึงได้สมาทานธุดงควัตรข้อฉันมื้อเดียว และฉันในบาตรอย่างเคร่งครัดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อยู่ไม่นานหลวงปู่กลับไปจังหวัดหนองคาย ฝากไว้กับพระอาจารย์วัน อุตฺตโม พระอาจารย์วันท่านก็นิ่งลึกอย่างน่าเกรงขาม ท่านก็ไม่ค่อยพูด เราไม่กล้าถาม อยู่อย่างคุมเชิง หมู่คณะไม่แสดงความเป็นกันเอง เราระแวงรอบตัว เรื่องการใช้บาตร บาตรเรามิได้เผาด้วยไฟ ๕ ไฟขึ้นไปจึงถือเป็นผิด อธิษฐานเป็นบาตรครองมิได้ พระอาจารย์วันท่านจึงให้หาบาตรและเครื่องทัพสัมภาระ เช่น ไม้ไผ่แห้ง ถังใหญ่ขัดบาตรให้ขาวทั้งนอกและภายใน จัดวิธีบ่มเผาบาตรสำเร็จเรียบร้อย จึงอธิษฐานเป็นบาตรครอง อยู่กับพระอาจารย์วัน ท่านสอนอย่าลงเท้าแรง เดินช้าๆ เบาๆ เหมือนกับแมวเดิน เราไม่ใช่ทหารแตกแถวหนี ถึงว่า ในวงกรรมฐานใหญ่ๆ เขาให้เดินเบาๆ |ถ้าเดินเบาธรรมะเกิดมาก แต่ถ้าเดินหยาบธรรมะไม่เกิด ออกจากจังหวัดภูเก็ตไปอยู่จำพรรษากับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นเวลา ๕ เดือน ที่วัดอุทัยโพธาราม จังหวัดเพชรบุรี ตอนที่อยู่กับพระอาจารย์สิงห์ พระที่เคยอยู่กับท่านเห็นจะหายากสมัยนี้ “เราโชคดีได้จำพรรษาด้วย ได้เห็นอากัปกิริยา ท่านจะเดิน ท่านจะพูดจาอะไรเป็นหลักเป็นฐานทั้งนั้น เวลาแสดงเทศน์แบบพูด ไม่ได้ตั้งนะโมหรือสุภาษิตอะไร ว่าธรรมะไปเลย พูดเสียงห้าวๆ เสียงหนักๆ พูดแล้วดึงดูดหัวใจ เราติดใจมานานตั้งบัดนั้นถึงบัดนี้” พระอาจารย์สิงห์เป็นพระอันดับหนึ่งของภาคอีสานในสมัยนั้น คือเขาถือกันในวงกรรมฐานว่าไก่ป่าขันตัวเดียวเท่านั้น ขันหลายตัวไม่ได้ ไก่บ้านยังขันกันหลายตัว แต่เป็นการภายใน เขาไม่ค่อยบอกกัน ต้องสังเกตเอง เมื่อออกพรรษาที่ ๔ ได้พบกับหลวงปู่เทสก์ และพระอาจารย์วันอีกครั้งที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพฯคราวนี้หลวงปู่เทสก์ถามว่า “คุณเจริญพรรษาเท่าใดแล้ว” ตอบว่า “๔ พรรษาแล้ว” คำพูดของท่านในวันนั้นทำให้เราจำได้ ท่านพูดว่า “อยู่ให้ตลอดชีวิตเสียจึงจะดี” เราจำคำนั้นจนถึงวันนี้ เพราะท่านให้กำลังใจ กำเนิดนักเทศน์ “เป็นนักเทศน์ตั้งแต่พรรษา ๔ เมื่อก่อนเทศน์ดีกว่านี้เพราะเรี่ยวแรงดี วันหนึ่ง ๕ เที่ยวก็ได้ เดี๋ยวนี้ ๒ เที่ยวก็ยุ่งแล้ว ความจำยังจำดี แต่ต้องท่องบ่อย พุทธสุภาษิต ศาสนพิธี หนังสือนักธ
ฯลฯ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top