-
0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
หมวด พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ปี 2521 ถึง 2540
พระชัยวัฒน์ (หลวงพ่อเหลือ) พิมพ์ฐานสูง เนื้อชนวนโลหะกายสิทธิ์ 9 มงคล ตำรับเขาอ้อ
ชื่อร้านค้า | จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | พระชัยวัฒน์ (หลวงพ่อเหลือ) พิมพ์ฐานสูง เนื้อชนวนโลหะกายสิทธิ์ 9 มงคล ตำรับเขาอ้อ |
อายุพระเครื่อง | 32 ปี |
หมวดพระ | พระหล่อ-เหรียญหล่อ-พระปั๊มรูปเหมือน ปี 2521 ถึง 2540 |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 08-6560-4037 |
อีเมล์ติดต่อ | Tayanrum@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | พ. - 02 ก.ย. 2563 - 21:19.14 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พ. - 09 ก.ย. 2563 - 22:01.43 |
รายละเอียด | |
---|---|
พระชัยวัฒน์ (หลวงพ่อเหลือ) พิมพ์ฐานสูง เนื้อชนวนโลหะกายสิทธิ์ 9 มงคล ตำรับเขาอ้อ พระครูกาชาด(บุญทอง) วัดดอนศาลา สร้างปี 35 สวยเดิม เลี่ยมพร้อมใช้ พระสูง ประมาณ 3 ซ.ม. หลวงพ่อเหลือเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่ ของสำนักเขาอ้อ เป็นที่เคารพของบรรพชนสำนักเขาอ้อทุกรุ่น ไม่ว่าจะ พระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ หลวงพ่อเอียด วัดดอนศาลา มีความนับถือในองค์หลวงพ่อเหลือมาก โดยกล่าวขานว่า หลวงพ่อเหลือท่านสามารถบันดาลฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล และถ้าหากมีงานสำคัญก็สามารถบนบานให้ฝนไม่ตกได้เช่นกันความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเหลือ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้วัดดอนศาลา เจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่าวัดใดๆในสายเขาอ้อด้วยกัน พระครูกาชาด(บุญทอง) วัดดอนศาลา ศิษย์หลวงพ่อเอียด อีกรูปหนึ่งท่านจึงจัดสร้าง พระชัยวัฒน์หลวงพ่อเหลือ เนื้อชนวนโลหะกายสิทธิ์ ๙ มงคล ตามตำรับเขาอ้อ ขึ้น ๒ พิมพ์ คือ ๑. พระชัยวัฒน์หลวงพ่อเหลือ พิมพ์ฐานสูง พิมพ์ฐานเตี้ย วัตถุประสงค์เพื่อฉลองอายุครบ ๗๒ ปี และสมนาคุณตอบแทนผู้บริจาคทรัพย์ ก่อตั้งมูลนิธิการศึกษาและพัฒนาวัดดอนศาลา และเพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆแก่ประชาชน แล้วจัดพิธีพุทธาภิเศกใหญ่ซ้ำอีกครั้งในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๓๕ ตรงกับวันพฤหัส ดิถี ๔ ค่ำ ต้องตามตำราอัฏฐกาลตำรับเขาอ้อ เวลา ๑๙.๐๐ น. ( ฤกษ์ยามที่ดีที่สุดในวันนั้น มีผลด้านโชคลาภมาก ) โดยพระคณาจารย์เรืองวิทยาคมสายเขาอ้อ ๑๑ รูป ดังรายนามดังนี้ ๑. หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน ๒. หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ ๓. พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา ๔. หลวงพ่อคล้อย วัดภูเขาทอง ๕. หลวงพ่อพรหม วัดบ้านสวน ๖. หลวงพ่อเทพ วัดประดู่เรียง ๗. หลวงพ่อชวน วัดโคกเนียน ๘. หลวงพ่อเอียด วัดโคกแย้ม และสิ่งที่สำคัญยิ่งคือคณาจารย์ผู้มีราชทินนาม พระครู ๔ กา นั่งปลุกเศก ๔ ทิศ (ตามตำนานประวัติพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช ท้าวจัตุโลกบาลทั้ง ๔ แปลงร่างเป็น อีกา ๔ สี รักษาพระบรมธาตุ ๔ ทิศ ด้วยอิทธิฤทธิ์ของ กา ๔ ตัวนี้เองพระบรมธาตุ จึงปลอดภัยจากภัยธรรมชาติและภัยจากมนุษย์เช่น สงครามมานับพันปีจึงเป็นเหตุให้จะต้องตั้งสมณศักดิ์พระครู ๔ รูป เป็นสมมุติ กา ๔ ตัว ๔ สี เพื่อรักษาพระบรมธาตุ) ๑. พระครูกาเดิม วัดตะเขียนบางแก้ว นั่งปรกด้านทิศเหนือ (พระครูกาเดิม หมายถึง กา สีดำ) ๒. พระครูการาม วัดชายคลอง นั่งปรกด้านทิศใต้ (พระครูการาม หมายถึง กา สีเหลือง) ๓. พระครูกาชาด วัดดอนศาลา นั่งปรกด้านทิศตะวันออก (พระครูชาด หมายถึง กา สีแดง) ๔. พระครูกาแก้ว วัดอินทราวาส นั่งปรกด้านทิศตะวันตก (พระครูกาแก้ว หมายถึง กา สีขาว) องค์นี้ฐานสูง พระครูกาชาด ได้บอกกับทางคณะศิษย์ว่า ไห้บูชาเถิดจะเหลือกินเหลือใช้แน่นอน เครดดข้อมูลจาก http://www.zoonphra.com/amulet/catalog.php?storeno=s161&idp=133807 |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments