เหรียญหลวงปู่เจริญ วัดป่าพระธาตุเขาน้อย ราชบุรี 1-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน

เหรียญหลวงปู่เจริญ วัดป่าพระธาตุเขาน้อย ราชบุรี 1

เหรียญหลวงปู่เจริญ วัดป่าพระธาตุเขาน้อย ราชบุรี   1 - 1เหรียญหลวงปู่เจริญ วัดป่าพระธาตุเขาน้อย ราชบุรี   1 - 2เหรียญหลวงปู่เจริญ วัดป่าพระธาตุเขาน้อย ราชบุรี   1 - 3เหรียญหลวงปู่เจริญ วัดป่าพระธาตุเขาน้อย ราชบุรี   1 - 4เหรียญหลวงปู่เจริญ วัดป่าพระธาตุเขาน้อย ราชบุรี   1 - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหลวงปู่เจริญ วัดป่าพระธาตุเขาน้อย ราชบุรี 1
อายุพระเครื่อง 14 ปี
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ ส. - 15 ส.ค. 2563 - 21:10.28
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ จ. - 21 ธ.ค. 2563 - 20:53.39
รายละเอียด
เหรียญหลวงปู่เจริญ ราหุโล (พระภัทรศีลสังวร) รุ่นพระอาทิตย์ทรงกรด ปี 2554

สร้างเพื่อแจกให้ผู้มาทำบุญสร้างโรงพยาบาลอำเภอบ้านคา วัดป่าพระธาตุเขาน้อย อ.บ้านคา ราชบุรี



หลวงปู่เจริญ ราหุโล วัดป่าพระธาตุเขาน้อย เป็นพระบุกเดี่ยว เป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เช่นเดียวกับพระอาจารย์มหาปิ่นผู้ก่อตั้งวัดป่าพระธาตุเขาน้อยนั่นเอง
โดย...ภัทระ คำพิทักษ์

พระภัทรศีลสังวร หรือ หลวงปู่เจริญ ราหุโล ท่านพำนักอยู่ในกรุงบ้าง ออกไปอยู่ตามวัดตามต่างจังหวัดบ้าง เข้าๆ ออกๆ แต่ตลอดเวลานั้นท่านเจริญกรรมฐานตลอด ความนี้ปรากฏอยู่เมื่อตอนที่ท่านเล่าถึง แม่ชีกิ้ม รัตนรัตน์ ซึ่งเป็นผู้ที่เลี้ยงดูท่านมาว่า

“...ครั้งหนึ่งได้สนทนาธรรมกับป้าชี ป้าชีว่า “ทำกรรมฐาน ได้อะไร”

เราถามกลับว่า “โยมทำกรรมฐานทั้งหมดต้องการอะไรล่ะ”

“ต้องการรู้”

เราซักต่อไปว่า “ต้องการรู้อะไร”

“ไม่รู้เหมือนกัน”

“ก็ให้รู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจังได้อะไรล่ะโยม มันไม่เที่ยง ดูสิ รูปนามเที่ยงที่ไหน เกิดดับอยู่เรื่อย”

“โอ๊ย บวชมาตั้งนานเพิ่งรู้วันนี้เอง รู้แต่ว่ากำหนด แต่ไม่เห็น วันนี้กำหนดเห็นแล้วว่ารูปนามเกิดดับจริง”

“เมื่อไม่เที่ยงแล้ว มันแสนจะทุกข์ด้วย ตั้งแต่โยมเกิดมาจนบัดนี้ อายุ 70 กว่าแล้ว มันสุขตรงไหนบ้างล่ะ”

“โห จริงของท่าน”



“นอกจากทุกข์แล้ว ทีนี้ก็ดูอนัตตาสิ อนัตตาเป็นเนื้อเป็นตัวหรือเปล่า ไม่มีเลย จะทำไร่ทำนาได้เงินได้ทองเป็นเนื้อเป็นตัวแต่อนัตตาได้อะไร ได้ของเปล่าทั้งนั้น ของเปล่าๆ ตรงนี้พระพุทธเจ้าท่านได้มา ท่านว่าโลกเป็นของว่าง เป็นของเปล่า พอว่างกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ก็ว่างด้วย เรียกว่าอนัตตาไม่ใช่ตัวตน”

พูดอย่างนี้ก็เข้าใจ “โอ บวชมาตั้งนานเพิ่งรู้จากท่านนั่นแหละ”

หลวงปู่เจริญเคยพำนักที่วัดราชประดิษฐ์ฯ จากนั้นไปพำนักที่วัดสัมพันธวงศ์ในช่วงสั้นเพื่อเตรียมออกไปช่วยสร้างวัดสารนารถธรรมาราม จ.ระยอง เมื่อเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว ปี พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นพรรษาที่ 12 ท่านได้ย้ายไปอยู่วัดบุปผาราม คราวนี้อยู่วัดนี้นานถึง 37 ปี แล้วไปอยู่วัดป่าพระธาตุเขาน้อย จ.ราชบุรี 6 ปี จึงกลับมาอยู่วัดบุปผารามอีก2 ปี

วัดบุปผารามยุคนั้นอยู่ภายใต้การดูแลของพระธรรมวราลังการ (กล่อม อนุภาโส) ท่านว่าหลวงปู่กล่อมรูปนี้เคยได้รับการอบรมจากหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี มาก่อน

ท่านเล่าว่า หลวงปู่กล่อมกำหนดให้ท่องหลักสูตรเจริญพุทธมนต์แบบมคธ ปากเปล่าทั้ง มหาสมัยสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร ธชัคคสูตร วัดบุปผารามเป็นสถานที่เจริญด้วยปริยัติและปฏิบัติธรรม

“การทำวัตรเช้า-เย็น เราถือเป็นข้อวัตรสำคัญ คือ ตั้งใจทำมิได้ขาด เช่นครั้งเมื่อเราอยู่ที่วัดบุปผารามตลอด 39 ปีนั้นเราก็ตั้งใจลงทำวัตรทุกวันมิได้ขาด ยกเว้นเมื่อมีธุระนอกวัดหรือคราวเราออกไปธุดงค์” ท่านว่า

หลวงปู่เจริญกล่าวถึงครูบาอาจารย์ของท่านอีกรูปหนึ่งคือ พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย ว่า

“ยังมีพระกรรมฐานอีกรูปหนึ่งที่เราให้ความเคารพ คือ พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย พระอาจารย์สมชาย ใช้ระบบของหลวงปู่เทสก์ เพราะถ่ายทอดมาจากหลวงปู่มั่น หลวงปู่ฝั้น ก็มุ่งทางสมถะ องค์นี้สมถะอ่อนไป แต่วิปัสสนาดี เช่น กำหนดเห็นอยู่นี้ อย่าเลยว่าเห็นหญิงเห็นชาย กำหนดสักว่าเห็น ถ้าเห็นเป็นหญิงนั้นเป็นสมมติ หญิงไม่มีในโลกนี้ ให้สักว่าเห็น เห็นบ้าน เห็นเรือน เห็นสีขาว สีเขียว ให้สักว่าเห็น เอาเสียงกระทบ เสียงใกล้ เสียงไกล เสียงใหญ่ เสียงเล็ก สักว่ากระทบเท่านั้น แล้วก็หายไป ดูผิวพรรณหน้าตาลูกศิษย์ ท่านก็รู้แล้วว่า นอนมากหรือน้อย หรือปฏิบัติมาก”

ท่านเล่าว่า ถึง พ.ศ. 2540 ก็ได้กราบลา พระธรรมรัตนดิลก (อาคม อุตตฺโร) ไปอยู่จำพรรษาวัดป่าพระธาตุเขาน้อย จ.ราชบุรี ครั้งแรก 6 ปี ก่อนกลับไปอยู่วัดบุปผารามอีก 2 ปี ระหว่างที่อยู่วัดบุปผาราม มีหลายครั้งที่ออกธุดงค์ไปภาวนาในป่า มีครั้งหนึ่งที่ไปทางภาคตะวันตก ถึง จ.กาญจนบุรี ไปอยู่ที่วัดธุดงคนิมิต ซึ่งสร้างขึ้นโดย พระอาจารย์สุพิศ กตปุณฺโญ

ท่านว่าพระอาจารย์สุพิศรูปนี้ “เป็นชาว จ.มหาสารคาม เคยมีครอบครัวมาก่อน เกิดเบื่อหน่าย จึงออกบวช ท่านเป็นพระเด็ดขาด ปฏิบัติเคร่งครัดมากพอๆ กับพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร วัดวาชูคุ...ในวันที่ท่านจะสิ้นบุญ ไม่มีใคร มีแต่น้องสาวคนหนึ่งนั่งอยู่ข้างล่างเตียง ท่านนอนอยู่บนเตียง แล้วพูดว่า “น้องเอ๊ย เราเกิดสายเลือดเดียวกัน เธอเป็นผู้หญิง ฉันเป็นพระ เธอถูกฉันไม่ได้ ฉันจะตายแล้วนะ ฉันจะพลิกตัวไม่ตายบนเตียง เธออย่ามาถูก ท่านก็พลิกตัวจากเตียงลงข้างล่าง แล้วก็มรณภาพ จึงได้นำศพกลับไป จ.มหาสารคาม”

มีผู้บอกท่านว่า พระอาจารย์สุพิศบรรลุชั้นอนาคามี ไปได้ไกลสำเร็จชั้นสุทธาวาส

หลวงปู่เล่าถึงประสบการณ์การภาวนาที่วัดธุดงคนิมิตว่า “เมื่อเข้าไปภาวนาในถ้ำหลังวัด เราได้เข้าไปในถ้ำลึกนั้นได้ 3 คืน ก็มีคนมาเยี่ยม พอมาถึงก็ส่องไฟฉายเข้าตัวเอง เราคิดว่าถ้ำนี้เห็นจะมีปัญหา

“ผมมาดีครับ ผมไม่มีอะไรหรอก”

“เข้ามาสิ เชิญๆ”

“สังเกตว่าพาเด็กมาด้วย เอาชากาแฟมาถวาย แล้วก็นั่งอยู่ข้างเตียง เขาเล่าว่าเมื่อไม่กี่วันมีพระตายหามออกไปองค์หนึ่งดูว่าบีบคอตัวเองตาย เป็นพระเชียงใหม่ พี่น้องมารับศพกลับไปแล้ว เขาว่าพระนั้นตายอยู่บนเตียงที่เรานั่ง ก่อนจะกลับก็พูดทิ้งท้ายว่า ‘หลวงพ่ออย่าไปกลัวอะไรเลย คนเราสูงที่สุดก็แค่ตาย’ ได้อุดมคติจากเขาว่า ชีวิตเพียงแค่ตาย เหนือจากนั้นไม่มีอะไรแล้ว

“พอเขากลับไป เราก็เริ่มป่วย เหงื่อออกเต็มจีวรเปียกเป็นเมือกไปหมด มันดูดอย่างไรไม่ทราบ เพราะว่ามืดและทึบ หายใจลำบาก อากาศเข้าทางเดียวทางปล่องข้างบน ตกเย็นค้างคาวบินเข้าออก เหม็นขี้เหม็นเยี่ยวค้างคาว เราเป็นลมเพราะกลิ่นนั้น

“นึกขึ้นได้ถึงคำสั่งของโยมแม่ที่เคยบอกว่า ‘ท่านบวชก็บวชนะ อย่าเที่ยวอดๆ อยากๆ ฉันข้าวฉันปลาให้เป็นเวล่ำเวลา ไปเที่ยวอย่าเข้าลึกนัก’

“เราคงจะไม่ได้พบแม่แล้ว เลยอธิษฐานว่า ถ้าชีวิตนี้จะได้พบแม่อีกครั้งหนึ่งขอให้หาย ไม่ต้องกินยาเถิด พออธิษฐานเช่นนั้น เหงื่อก็แห้งอย่างรวดเร็ว รุ่งเช้าจึงเก็บบริขารขึ้นมาที่เชิงเขาที่พระอาจารย์สุพิศอยู่

“พระอาจารย์สุพิศถามว่า ‘ทำไมท่านอยู่ไม่ครบ 7 วันล่ะ 6 วันก็ออกมาแล้ว ผมดูท่านหน้าซีดๆ เมื่อคืนท่านมีอะไร’

“ไม่มีอะไรครับ”

“แหม อย่าพูดอำพรางนะ ผมโดนมาแล้วที่ถ้ำนี้ ผมไปอยู่ 24 วัน ญาติโยมต้องไปหามผมมา มันดูดผมซีดหมด แพ้อำนาจในภูเขา มันมีสารฟอสฟอรัสอยู่มาก” เราจึงบอกตรงๆ ว่า ‘เมื่อคืนผมป่วยหนัก โยมแม่เคยสั่งว่าอย่าเข้าลึก นี่ผมเข้าไปลึกในถ้ำ ผมต้องลาท่านกลับไปกรุงเทพฯ จะเดินทางไปปักษ์ใต้ไปหาโยมแม่ คิดถึงโยม’

“มานึกได้ว่า คำสั่งของโยมแม่สำคัญจริงๆ ว่าอย่าเข้าไปที่ลึก ไม่ใช่ป่าลึก แต่หมายถึงถ้ำที่ลึก คำสั่งของแม่เหมือนคำพระสอน สมัยบวชใหม่ๆ โยมแม่เตือนว่าอย่าสักว่าบวช |ให้ว่าปัจจเวกบ้าง คนปักษ์ใต้เขาว่าปัจจเวก คือ พิจารณาจีวร บิณฑบาตที่อยู่ ยารักษาโรค อะไรปัจจเวก บทที่ขึ้นว่า ยะถาปัจจะยัง ปะวัตตะมานังฯ ปฏิสังขา โยนิโสฯ อัชชะมะยาฯ เป็นปัจจเวก อย่าว่าแต่เพียงปัจจเวกเลย”

ท่านว่า “เมื่อโยมพ่อสิ้นบุญ โยมแม่ได้มาอยู่กับเราที่วัดบุปผารามเป็นเวลา 2 ปี ได้นิมนต์พระไปเทศน์ทุกคืน ด้วยอานิสงส์นี้เราจึงสนใจฟังเทศน์ สืบหาพระที่เทศน์ดีจากวัดประยุรวงศาวาส วัดกัลยาณมิตร วัดราชสิทธาราม วัดโมลีโลกยาราม วัดอนงคาราม และวัดพิชัยญาติการาม ไปนิมนต์เองให้ท่านเทศน์ โปรดโยมแม่ที่กุฏิเจ้าจอมเลียม โดยเตรียมจีวรให้โยมแม่ถวาย คืนละผืน พวกแม่ชี ผ้าขาวในวัดมาร่วมฟังเทศน์ทุกคืนตลอดเวลา 2 ปี

“อยู่มาได้ 2 ปี โยมแม่ก็เริ่มป่วย เราเที่ยวหายาไปทั่ว เขาว่ามีหมอรักษาโรคได้ดีที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ก็ไปหา โยมแม่อาการ|ทรุดลงทุกวันจนถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2516 ตั้งศพที่วัดบุปผาราม 9 วัน เรายังนึกว่า ถ้าตั้งศพที่บ้าน หมู เป็ด ไก่ คงจะต้องตายไปหลายตัว แต่แม่สิ้นบุญไปโดยไม่มีสัตว์ตายเลย

“เราได้กรรมฐานจากโยมแม่ในเวลาเผาศพ หลังจากญาติพี่น้องกลับไปหมดแล้ว เหลือแต่เรากับสัปเหร่อ ในราว 3 ทุ่ม ได้ขอสัปเหร่อเปิดดูศพที่กำลังเผา เห็นกะโหลกศีรษะของแม่ยังเหลืออยู่ เหมือนกับแม่ให้กรรมฐานไว้ ให้เห็นความจริงทั้งหมดนึกสังเวชว่ากะโหลกพระอรหันต์ของเราขาว ไฟกินเนื้อหมด เหลือแต่กะโหลกขาวผ่อง ก็ได้อารมณ์กรรมฐานตั้งแต่วันนั้น จนบัดนี้เรายังเห็นภาพกะโหลกของโยมแม่อยู่”

ท่านเล่าถึงเหตุที่มาอยู่ที่วัดป่าพระธาตุเขาน้อยว่า

“เพราะรู้จักกับพระอาจารย์มหาปิ่น ชลิโต ที่ จ.นครศรีธรรมราช ตั้งแต่พรรษาที่ 3 ท่านเดินทางไปแสดงธรรมที่วัดพระมหาธาตุ วัดคงคาวดี และสำนักต่างๆ ที่ จ.นครศรีธรรมราช ผู้คนนิยมชมชอบมากมายและท่านมีบทบาทสำคัญมากที่บุกเบิกปักษ์ใต้ให้มีข้อวัตร|ปฏิบัติตามระเบียบของพระอยู่ป่า

เวลานั้นออกพรรษา ท่านก็เที่ยวรูปเดียว แล้วไปพักวัดพระมหาธาตุ เราก็เข้าไปกราบ ท่านถามว่า “ท่านอยู่วัดไหน ชื่ออะไร”

“ชื่อเจริญ ผมอยู่วัดนี้”

ท่านว่า “ไปอยู่กับผมซิ ผมอยู่พังงานี้เอง หลวงปู่เทสก์ก็อยู่วัดหลังศาล ถ้าคุณไป ไปอยู่วัดผมก็ได้”

พอเราไปภูเก็ต จึงไปหาท่าน แต่มิได้อยู่ประจำกับท่านพระครูสีลาภิรัต (สงวน ยุตฺตธมฺโม) ซึ่งเคยติดตามพระอาจารย์มหาปิ่นไปเที่ยวธุดงค์ด้วยกันเล่าให้ฟังว่า พระอาจารย์มหาปิ่นเป็นพระสำคัญ เป็นพระบุกเดี่ยว เรียกว่า ช้างโทน ไปผู้เดียวในป่า เป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ

ปี พ.ศ. 2499 พระอาจารย์มหาปิ่นมาจากพังงามาสร้างวัดป่าพระธาตุเขาน้อย ท่านมาแบบปิดตามา คือนั่งกรรมฐานแล้วเห็นนิมิตว่า มีที่แห่งหนึ่งอยู่บนเชิงเขา ท่านคิดสร้างวัดขึ้นในป่าจึงเดินดั้นด้นข้ามลำห้วยมากางกลดอยู่ ที่ตรงนี้เป็นของพวกกะเหรี่ยงมาก่อน กะเหรี่ยงเห็นพระมาอาศัย จึงรวมกันถวายที่รอบภูเขาเป็นวัด ท่านก็ได้สร้างวัดนี้เป็นวัดแรก

สร้างเสร็จไปได้สัก 4-5 ปี เราก็ยังอยู่ที่กรุงเทพฯ ไม่ทราบว่าท่านมาอยู่ที่นี่ จนกระทั่งมีผู้ถามว่า “ท่านๆ รู้จักพระอาจารย์มหาปิ่นไหม”

“รู้จักสิ เรารู้จักมานานแล้ว เป็นพระดี”

เขาว่า “เดี๋ยวนี้อยู่ที่วัดบ้านคา ท่านไม่ได้ไปเที่ยวบ้างหรือ”

“บ้านคา มีต้นหมากรากไม้บ้างไหม”

“มีอยู่ อุดมสมบูรณ์ดี”

“แต่เราก็ยังไม่ได้ไปหา จนกระทั่งผ่านมาราวสัก 10 ปี เมื่อเราเข้ามาดู ท่านก็มรณภาพไป 2 ปีแล้ว เหลือแต่กุฏิที่ท่านเคยอยู่และร้างไป จึงติดต่อเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน (พระอาจารย์สุนันท์ ปุญฺญนนฺโท) ขออนุญาตบูรณะซ่อมแซม จึงประจำอยู่มาจนบัดนี้”

ท่านสรุปหน้าที่การงานในอดีตของท่านไว้ด้วยความเพียง 3 บรรทัดว่า “เคยได้รับแต่งตั้งและหน้าที่การงานของคณะธรรมยุติกนิกาย พ.ศ. 2419 ทำบัญชีกลางปี สถิติวัดหลวง วัดราษฎร์ สำนักสงฆ์ พำนักสงฆ์ เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล จำนวนพระภิกษุ สามเณร เนื้อที่วัดสัทธิวิหาริกอุปัชฌาย์ ทั่วประเทศ จนถึง พ.ศ. 2540 ลาออก ทำหน้าที่นี้”

ทุกวันนี้ท่านเป็นเพียง หลวงปู่เจริญ ราหุโล วัดป่าพระธาตุเขาน้อย เป็นพระบุกเดี่ยว เป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เช่นเดียวกับพระอาจารย์มหาปิ่นผู้ก่อตั้งวัดป่าพระธาตุเขาน้อยนั่นเอง

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top