สมเด็จพระสัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม สมเด็จพระญาณสังวร-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระสมเด็จญาณสังวรฯ วัดบวรนิเวศวิหาร

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม สมเด็จพระญาณสังวร - 1สมเด็จพระสัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม สมเด็จพระญาณสังวร - 2สมเด็จพระสัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม สมเด็จพระญาณสังวร - 3สมเด็จพระสัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม สมเด็จพระญาณสังวร - 4สมเด็จพระสัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม สมเด็จพระญาณสังวร - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม สมเด็จพระญาณสังวร
อายุพระเครื่อง 12 ปี
หมวดพระ พระสมเด็จญาณสังวรฯ วัดบวรนิเวศวิหาร
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พ. - 15 ก.ค. 2563 - 21:07.54
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ อา. - 25 ส.ค. 2567 - 15:36.02
รายละเอียด
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทโธพุทธโคดม สมเด็จพระญาณสังวร

แบบพิเศษ มีพระบรมธาตุ ( มีน้อย มาก)

....
....

พระรุ่นนี้ มีรายละเอียด มวลสาร ต่าง ๆ มากมาย

ขออนุญาต ไป ชม รายละเอียด แบบเต็ม ๆ เวอร์ชั่น...

https://www.yamakapatiharn.com/

สมเด็จองค์ปฐม” จึงหมายถึง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ที่ ๑ ของโลก องค์แรกสุดของโลก ถ้าลองสมมติว่า มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้มาตรัสรู้ในโลกนี้ เป็นจำนวนเท่ากับ ๑๐๐,๐๐๐ พระองค์แล้ว สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม ย่อมเป็นองค์ที่ ๑ หรือเป็นองค์แรกสุด หรือเป็นองค์ปฐมแรกสุด ของทั้งจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ พระองค์ พระราชพรหมยาน หลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร (ฤาษีลิงดำ) อดีตเจ้าอาวาส วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี เป็นผู้นำมาเผยแผ่ให้ได้รู้จักกันในวงกว้างขวาง และยังได้กล่าวถึงพระนามของสมเด็จองค์ปฐม ของโลกมนุษย์ คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม สิกขีที่ ๑

สมมติว่า ถ้าหากในทุกๆ มหาอนันตจักรวาลสากลพิภพ ยังมีพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น หรือมีพระรัตนตรัย และเหล่าพุทธบริษัท ๔ เกิดขึ้นเป็นจริงแล้วไซร้ คำว่า สมเด็จองค์ปฐม ก็ย่อมยังหมายถึง สมเด็จองค์ปฐมทุกๆ พระองค์ แห่งทุกๆ มหาอนันตจักรวาลสากลพิภพ แต่ถ้าหากไม่มีอยู่จริง ก็หมายถึงแต่สมเด็จองค์ปฐม แห่งโลกมนุษย์นี้เท่านั้น แต่มีคัมภีร์บางเล่มในพุทธศาสนามหายาน ได้กล่าวถึง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่อยู่ไกลออกไปจากโลกมนุษย์ เป็นโลกธาตุที่มีชื่ออยู่หลายชื่อ
รูป “ธงมหาพิชัยสงคราม” บางส่วน ในวงกลมที่มีรูปภาพพระพุทธเจ้า ประทับนั่งอยู่บนแท่นบัลลังก์ ทั้ง ๒ ข้าง
หมายถึง รูปภาพสัญลักษณ์เหล่านี้ ได้ตัดตอนเอาเฉพาะบางส่วนมาจาก รูปภาพธงมหาพิชัยสงคราม ซึ่งได้มีความเชื่อกันว่า เป็นธงสำหรับนำทัพออกรบเพื่อกู้ชาติ ของพระนเรศวรมหาราช และของพระเจ้าตากสินมหาราช ในการทำศึกสงคราม เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ แก่ทหารในกองทัพ จนสามารถกอบกู้ชาติได้สำเร็จภายในเวลาอันรวดเร็ว

รูป “พระพุทธเจ้าทรงประทับนั่งบนแท่นบัลลังก์ อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว รูปใบเสมา”
หมายถึง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ ตัวแทน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์

“ประภามณฑล พระฉัพพรรณรังสี รัศมี ๖ ประการ”
หมายถึง รัศมีรอบศีรษะ หรือ กายของผู้ศักดิ์สิทธิ์ รัศมี ๖ ประการ ซึ่งเปล่งออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า คือ

๑.นีลเขียวเหมือนดอกอัญชัน

๒.ปีตเหลืองเหมือนหรดาลทอง

๓.โลหิตแดงเหมือนแผ่นเงิน

๔.โอทาตขาวเหมือนแผ่นเงิน

๕.มัญเชฐสีหงสบาท เหมือนดอกเซ่ง หรือ หง่อนไก่

๖.ประภัสสรเลื่อมพราย เหมือนแก้วผลึก



“ฉัตร ๙ ชั้น ตั้งอยู่บนหางพญานาค ๒ ตน ทั้ง ๒ ข้าง”
หมายถึง ร่มที่ซ้อนกันเป็นลำดับชั้น ตั้งแต่ ๓ - ๕ – ๗ - ๙ ชั้น เป็นเครื่องบูชาที่เป็นเกียรติยศอันสูงสุด ทั้งทางโลกและทางธรรม ที่มีต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์

ฯลฯ

“พญานาค ทั้ง ๒ ตน อยู่ฝั่งละด้าน”
หมายถึง เพื่อเป็นตัวแทนแห่งเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหมด ที่มีความเคารพ เลื่อมใส ศรัทธา ได้อุทิศตนมารับใช้ มาประพฤติ ปฏิบัติธรรม ในพระพุทธศาสนา หมายถึง ความเป็นของคู่ แห่งพญานาคเพศผู้ และพญานาคเพศเมีย เพศตรงกันข้าม เพื่อการสืบเผ่าพันธุ์ เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ ให้ได้คงอยู่และได้พัฒนาให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป



ชื่อ “พระพุทธโคดม”
หมายถึง เป็นชื่อพระนามขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน แห่งภัทรกัปปัจจุบันนี้ ยังมีพระนามเฉพาะอีก คือ โคตรมะสักกะ (ศากยะ), สักยมุนี (ศากยมุนี), สักยสีห (ศากยสิงห์), สิทธัตถะ, สุทโธทนิ อาทิจจพันธุ์

พระองค์เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โคดม (โคตมพุทธ) เจริญในศากยสกุล พระนครอันเป็นถิ่นกำเนิด ชื่อ กบิลพัสดุ์ พระบิดา คือ พระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดามีพระนามว่า มายาเทวี ทรงครองฆราวาสอยู่ ๒๗ ปี มีปราสาท ๓ หลัง ชื่อ สุจันทะ โกกนุท และโกญจะ มเหสีพระนามว่า ยโสธรา โอรสพระนามว่า ราหุล ทรงทอดพระเนตรเห็นนิมิต ๔ ประการแล้ว เสด็จออกผนวชด้วยม้ากัณฑกะเป็นราชยาน มีนายฉันนะ เป็นสารถี บำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ๖ ปี ประกาศธรรมจักรที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี แก่ปัญจวัคคีย์ พระอัครสาวกทั้งสอง คือ พระอุปติสสะ (พระสารีบุตร) และพระโกลิตะ (พระมหาโมคคัลลานะ) พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอานนท์ พระอัครสาวิกาทั้งสอง คือ พระภิกษุณีเขมา และ พระภิกษุณีอุบลวรรณา อัครอุปัฏฐากอุบาสก คือ จิตตคฤหบดี และ หัตถกะอาฬวกะ อัครอุปัฏฐากยิกาอุบาสิกา คือ นันทมารดา (หมายถึง เวฬุกัณฏกีนันทมารดา) และ อุตตรา (หมายถึง ขุชชุตตรา) ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณที่ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์ (คือ ไม้อัสสัตถะ เป็นต้นโพธิ์) มีสาวกสันนิบาต (การประชุมพระสาวก) ครั้งใหญ่ ครั้งเดียว ภิกษุผู้เข้าร่วมประชุม ๑,๒๕๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ และเป็นเอหิภิกขุ ทรงดำรงชนม์อยู่ภายในอายุขัย ๘๐ ปี ได้ช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้อย่างมากมาย ทั้งตั้งคบเพลิงธรรม ไว้ปลุกคนภายหลัง ให้เกิดมีปัญญาได้บรรลุธรรม ได้ตรัสรู้ต่อไป





“เอวังโหตุ”
หมายถึง เป็นการกล่าวยืนยัน ตามความปรารถนาของผู้ขอ ที่ได้กระทำการสร้างบุญบารมีไว้ดีแล้ว ถูกต้องดีแล้ว อย่างบริสุทธิ์ ชอบธรรม จงพลันสำเร็จเป็นจริง ตามเหตุและผล เป็นปัจจัยยืนยัน แห่งการกระทำนั้นๆ ที่ได้ทำกรรมเอาไว้สำเร็จแล้วด้วยดี ย่อมได้รับประโยชน์ และความสุข ซึ่งเป็นผลลัพธ์ ย่อมตรงตามเหตุอย่างเที่ยงตรง แห่งการกระทำกรรมนั้นๆ อย่างแน่นอน เอวังโหตุ จะเป็นคำกล่าวเมื่อมีการกระทำกรรมที่ดี เป็นบุญกุศล



“รุ่น ๑” อยู่ในรูปใบโพธิ์
หมายถึง เป็นพระเครื่อง รุ่นที่ ๑ จะทำอะไรก็ตาม ที่สำคัญต้องเริ่มต้นให้ถูกต้อง ให้บริสุทธิ์ ให้ดี ให้เที่ยงตรง ให้มั่นคง การวางรากฐานเป็นสิ่งสำคัญมาก ต้องคิดให้ถูกให้ดี ต้องพูดให้ถูกให้ดี ต้องทำให้ถูกให้ดี ถ้า ๑ ผิด ๒ ก็ย่อมผิด ๓ ก็ผิดตามกันมา



“ใบโพธิ์”
หมายถึง ใบโพธิ์นี้มาจากต้นโพธิ์ จึงสมมติเปรีียบเสมือนเป็นใบโพธิ์ที่มาจากต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นต้นไม้ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม ได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้

ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา ส่วนหน่อของต้นโพธิ์ตรัสรู้ต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์ เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารถนาของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ ต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้ เกิดขึ้นเป็นของคู่บุญบารมีโดยเฉพาะ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม



“พ.ศ. ๒๕๕๕” อยู่ในรูปใบโพธิ์
หมายถึง พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปี พ.ศ. ที่เริ่มออกแบบ อยู่ในรูปใบโพธิ์ หมายถึง พระพุทธศาสนาจะไปสิ้นสุด เมื่อหลังจาก พ.ศ. ๕๐๐๐ ปี ไปแล้ว ตามที่พระอานนท์เถระ พุทธอุปัฏฐาก ได้กราบทูลขอต่อพระพุทธศาสนา จากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม และพระพุทธองค์ก็ทรงพระอนุญาตแล้ว



“รวย – สุข”
หมายถึง รวยด้วยและมีความสุขด้วย เมื่อมีสติปัญญา มีความรอบรู้ มีความสามารถ และยังได้ประพฤติปฏิบัติ ทั้งทางโลกและทางธรรม ได้อย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ ไม่เบียดเบียนใคร ไม่ทำร้ายใคร ไม่เห็นแก่ตัว หาทรัพย์สมบัติมาได้โดยชอบธรรม ยิ่งหาได้มากเท่าไร ก็ยิ่งบริจาคช่วยเหลือ โดยไม่หวังผลตอบแทน แก่สาธารณะมากขึ้นเท่านั้น ส่วนตัวเองและครอบครัว ใช้จ่ายทรัพย์แบบพอเพียง เมื่อรู้จักพอ ก็เป็นคนรวย และเมื่อประพฤติปฏิบัติธรรม พร้อมกับการดำรงชีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอ ก็ย่อมมีความสุข



“นิพพานเป็นสุขยิ่ง”
หมายถึง เป็นคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นิพพาน หมายถึง เย็น การสิ้นกิเลส หลุดจากกิเลส การดับกิเลส และกองทุกข์ เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา เย็นลงแห่งไฟกิเลส ไฟกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ จนเย็นสนิท ภาวะที่จิตนั้นไม่ถูกทำให้เร่าร้อน เจ็บปวดอีกต่อไป ไม่ทุกข์ ดับทุกข์สนิท หยุดความอยาก หยุดการกระทำตามความอยาก หยุดเสวยผลของการกระทำตามความอยาก



“ไม่ดูดรั้ง ไม่ผลักต้าน”
หมายถึง เป็นคำสอนของท่านผู้รู้ เป็นธรรมชาติแห่งใจที่เป็นกลาง ที่สมดุล เป็นสภาวะธรรมชาติที่สมบูรณ์ บริบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องดีแล้ว เท่ากับ จิตหนึ่ง บันทึกชึนเชา ของครูบาฮวงโป (ตวนชิ) แห่งนิกายเซ็น และหลวงปู่ดุลย์ และท่านเป่ยลุ่ย

จิตหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียว หรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ มันไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่ง ทั้งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ มันไม่อาจจะถูกลงความเห็นว่า เป็นของใหม่ หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาว ของสั้น ของใหญ่ ของเล็ก ทั้งนี้ เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทีียบทั้งหมดทั้งสิ้น

ความหมายด้านหลัง



“พระรัตนตรัย ๓ กาล”
หมายถึง แก้ว ๓ ดวง สิ่งมีค่าและเคารพบูชาสูงสุดของพุทธศาสนิกชน ๓ อย่าง คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นชื่อตัวแทนแห่งพระรัตนตรัย ทั้งในอดีต ทั้งในปัจจุบัน และทั้งในอนาคต



“นะ โม พุท ธา ยะ”
หมายถึง เป็นชื่อย่อแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ แห่งภัทรกัปปัจจุบันนี้ คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากกุสันธะ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโกนาคมน์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากัสสป สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม และที่จะมาตรัสรู้เป็นองค์ถัดไปในอนาคต คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมตเตยยะ (เรียกกันสามัญว่า พระศรีอารย์ หรือ พระศรีอริยเมตไตรย) พระเจ้าห้าพระองค์ เรียกคาถา นะโมพุทธายะ ว่าคาถาพระเจ้าห้าพระองค์



“พระปัจเจกพุทธเจ้า”
หมายถึง พระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ซึ่งตรัสรู้ได้ลำพังตนเอง มิได้สั่งสอนผู้อื่น ไม่ได้ตั้งพระพุทธศาสนา พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้เอง แต่ไม่อาจสอนผู้อื่นให้รู้ย่อมแทงตลอดอรรถรสนั้น ย่อมไม่แทงตลอดธรรมรส ได้บำเพ็ญบุญบารมีมาน้อยกว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ เมื่อตรัสรู้แล้วก็เหาะไปชุมนุมกันในป่าหิมพานต์ ที่เงื้อมนันทมูล เชิงภูเขาคันธมาทนกูฏ ต้องการให้เป็นชื่อแห่งตัวแทนของพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์



“ยอดธงมหาพิชัยสงคราม ทั้ง ๒ ข้าง”
หมายถึง ยันต์เกราะเพชร ซึ่งมาจากบทพุทธคุณ มีอนุภาพครอบจักรวาล



“ตราสัญลักษณ์รูปวงกลม ตราธรรมจักร”
หมายถึง เครื่องหมายทางพุทธศาสนา เป็นรูปวงล้อ มี ๘ ซี่ หรือ ๑๒ ซี่ จักร คือ ธรรม วงล้อธรรม หรือ อาณาจักรธรรม หมายถึง เทศนากัณฑ์แรก ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม ได้ทรงแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ ชื่อของปฐมเทศนา เรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หมายถึง จักรโดยชอบ ไม่มีการฆ่าฟัน มีแต่ทำให้เชื่อ เลื่อมใส ทำให้ยินยอมสมัครใจที่จะทำตามจนเกิดความพ้นทุกข์ นับเนื่องเป็นสาวกของพระพุทธองค์ นี้เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตตนะ



“ตราสัญลักษณ์ รูปวงกลมของฐานที่ ๗ และ หยิน – หยาง”
หมายถึง ฐานที่ ๗ นั้น มีศูนย์ ๕ ศูนย์ คือ

๑.ศูนย์ด้านหน้าธาตุน้ำ

๒.ศูนย์ด้านขวาธาตุดิน

๓.ศูนย์ด้านหลังธาตุไฟ

๔.ศูนย์ด้านซ้ายธาตุลม

๕.ศูนย์กลางอากาศธาตุ
แสดงที่ตั้งของดวงนิมิตจากฐานที่ ๗ (ยกจากฐานที่ ๖ สูงขึ้น ๒ นิ้ว) (ฐานที่ ๖ ศูนย์กลางกายตรงระดับสะดือ)
เป็นวิชชาธรรมกาย ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า นำมาแนะนำสั่งสอนไว้ให้แก่พวกเราได้ปฏิบัติธรรมเื่พื่อรักษาสืบทอดกันต่อไป
“หยิน – หยาง”
หมายถึง เป็นสัญลักษณ์ของลัทธิเต๋า ของท่านเล๊าจื้อ เป็นธรรมชาติแห่งความสมดุล แม้ธรรมชาตินั้นๆ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งเล็ก หรือ

ฯลฯ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top