-
0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
หมวด พระปิดตาทั่วไป
เหรียญพระปิดตา หลวงปู่รอด วัดสันติกาวาส
ชื่อร้านค้า | จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญพระปิดตา หลวงปู่รอด วัดสันติกาวาส |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | พระปิดตาทั่วไป |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 08-6560-4037 |
อีเมล์ติดต่อ | Tayanrum@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ส. - 05 ต.ค. 2562 - 21:27.25 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | พฤ. - 21 พ.ย. 2567 - 15:41.11 |
รายละเอียด | |
---|---|
เหรียญพระปิดตา หลวงปู่รอด วัดสันติกาวาส เหรียญ สวย ผิวเดิม... หลวงปู่รอด ท่านเป็น ศิษย์ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ เครดิตภาพ หลวงปู่รอดจาก http://www.kadpra.com/topicpage.php?topicid=23605 ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บ ThaiAmuletWeb.com ประวัติ หลวงปู่รอด ฐิตฺวิริโย วัดสันติกาวาสพระครูสถิตวีรธรรม ผู้สืบทอดพุทธาคม จากหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ในบรรดาพระเกจิอาจารย์ผู้เป็นศิษย์สืบสายพุทธาคมจาก หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น เทพเจ้าแห่งปากน้ำโพ ที่ยังดำรงชีพอยู่และมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วนั่นก็คือ พระครูสถิตวีรธรรม หรือ หลวงปู่รอด และที่เรียกขานกันด้วยความเคารพว่า หลวงพ่อเสือ ปัจจุบันอายุ 83 ปี พรรษา 63 ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม และเจ้าอาวาสวัดสันติกาวาส ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก หลวงปู่รอด ชื่อเดิมว่า บุญรอด แจ่มจุ้ย เป็นบุตรของ นาย เพชร และ นางบุญมา นามสกุล แจ่มจุ้ย ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พงศ. 2464 ณ. บ้านโคน ต.พญาปั่นแดน อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ หลวงปู่รอดได้ใช้ชีวิตเติบโตและร่ำเรียนวิชาความรู้ที่ อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ครั้นอายุได้ 14 ปี ได้ย้ายบ้านปอยู่ที่ บ้านป่ามะม่วง อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย รวม ระยะเวลา 3 ปี จากนั้นจึงย้อนกลับไปอยู่ที่บ้านโคนซึ่งเป็นถิ่นกำเนิด กระทั่งอายุ 21 ปี จึงได้หันเหชีวิตเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ โดยการอุปสมบท เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2485 ที่วัดเชิงหวาย ต.ตลุกเทียม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก โดยมี พระครูญาณปรีชา วัดดอกไม้ ต.ท่ามะเฟือง อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิกาหาด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ เจ้าอธิการพวง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้ฉายาว่า ฐิตฺวิริโย พักจำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงหวายเป็นเวลา 2 พรรษา จำนั้นจึงย้ายมาอยู่ที่วัดสันติกาวาส ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ความรู้ทางธรรม ปี พงศ. 2489 สามารถสอบไล่ได้นักธรรมโท สำนักวัดสันติกาวาส ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณูโลก ซึ่งท่านมีความชำนาญทางด้านเทศนาธรรม การบรรยายธรรม การปาฐกถาธรรม วิปัสสากรรมฐาน และ การก่อสร้าง(นวกรรม) มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านการเขียนและอ่านอักขระขอม หน้าที่การงานที่ได้รับพ.ศ. 2489 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวันสันติกาวาส พ.ศ. 2491 เป็นพระกรรรมวาจาจารย์ พ.ศ. 2493 เป็นเจ้าคณะตำบลวงฆ้อง พ.ศ. 2494 เป็นกรรมการสงฆ์ฝ่ายสาธารณูปาการ อำเภอพรหมพิรามพ.ศ. 2489-2499 เป็ฯผู้รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม พ.ศ. 2509 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. 2510 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม พ.ศ. 2520 เป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมพิราม พ.ศ. 2544 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอต่อไปอีก 3 ปี เรื่องราวชีวิต พระดีศรีพรหมพิราม พระครูสถิตวีรธรรม หรือหลวงปู่รอด ฐิตฺวิริโย เจ้าอาวาสวัดสันติกาวาส ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ท่านมีชีวิตที่น่าศึกษามิใช่น้อย เมื่อครั้งยังเป็นฆราวาสท่านได้ชื่อว่าเป็น ลูกผู้ชายตัวจริง คนหนึ่งทีเดียว ท่านไม่ใช่นักเลง เหล้าไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ แต่ก็อยู่ท่ามกลางหมู่นักเลงหลายก๊กหลายเหล่า เลยทำให้ชีวิตกล้าแกร่ง ค่อนข้างใจร้อน ใครพูดแสลงหูก็มีอารมณ์เหมือนกัน ถึงขนาดเคยมีเรื่องฟันแทงเกือบติดคุกทีเดียว แม้กระทั่งตอนจะบวชก็ยังมีมารมาผจญ แต่ด้วยจิตใจที่หนักแน่น และไม่ยอมใครถ้าหากไม่มีเหตุผล ท่านจึงผ่านพ้นวิกฤติชีวิตที่น่าหวาดเสียวมาได้เสมอ อำเภอพรหมพิรามสมัยก่อน เป็นศูนย์รวมของบรรดาโจรผู้ร้าย มีทั้งเสือที่เป็นสัตว์และไอ้เสือที่เป็นคนเยอะแยะไปหมด เสือหลวย เป็นเสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด นอกจากนี้ก็มี เสือเสงี่ยม,เสือดำ,เสือม้วน ซึ่งส่วนใหญ๋จะเป็น เสือต่างถิ่น เสียมากกว่า หลงปู่รอดเล่าให้ฟังว่า มีเสืออยู่คนหนึ่งเมื่อมันชอบลูกสาวบ้านใด มันก็จะถือเหล้าขวดเดียวเข้าไปสู่ขอเอาดื้อ ๆ เวลาขึ้นบ้านไหนมันก็จะพูดว่า พ่อแม่มารับไหว้เดี๋ยวนี้ กินเหล้าแล้วผมขอลูกสาวไปเลยนะ โยมพ่อของหลวงปู่รอดเป็นคนที่มีวิชา แต่ท่านไม่ค่อยสนใจสักเท่าไร จนกระทั่งบวช เมื่อได้พบเจอเหตุการณ์ไอ้เสือปล้นต่าง ๆ ก็เลนขอรับการถ่ายทอดวิชาจากโยมพ่อเพื่อไว้ป้องกันตัว และช่วยเหลือคนอื่น ลูกสาวชาวบ้านที่ถูกฉุดไป หลวงปู่รอดได้เมตตาตามไปช่วยกลับคืนมาได้เกือบหมด โดยไม่กลัวพวกเสือแต่อย่างใด เพราะสมัยนั้นพวกเสือต่าง ๆ ต้องมาพึ่งบารมีพ่อ ซึ่งเป็นหมอแผนโบราณประจำตำบล ตกคืนนั้นพวกเสือมันมาตามคืน ท่านกำลังท่องหนังสืออยู่ได้ยินเสียงลั่นไกปืน 2-3 ครั้ง พอรู้ว่าถูกลอบยิงก็รีบวิ่งเข้ากุฏิไปคว้าขวานออกมา พร้อมตะโกนท้าพวกมันให้ออกมาฟันกันซึ่ง ๆ หน้า แต่มันก็ไม่กล้าและล่าถอยไป ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้น ท่านยังมานั่งคิดว่า เป็นเรื่องแปลกดีที่ยิงไม่ออก ช่วงหนึ่งหลวงปู่รอดเคยคิดจะย้ายไปจำพรรษาที่อื่น เพราะพวกนักเลงเยอะ มีทั้งลักขโมย ปล้นสะดม และฆ่ากัน พระหลายรูปทนไม่ได้ต้องสึกออกไปเพราะความกลัว ตัวท่านเองตั้งใจจะเข้าไปเรียนบาลีที่กรุงเทพ ฯ แต่ญาติโยมไม่ยอมให้ไป ถึงขนาดนิมนต์เจ้าคณะตำบลละเจ้าคณะอำเภอมาช่วยอ้อนวอนไว้ จึงตัดสินใจอยู่ต่อมาจนถึงทุกวันนี้ เดิมทีหลวงปู่รอดท่านตั้งใจจะบวชเพียง 3 พรรษา แต่ด้วยจิตยึดมั่นในทางธรรมก็ล่วงเลยไปถึงพรรษาที่ 9 และคิดจะลาสิขา แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะจิตใจอุทิศให้พระศาสนา อย่างเต็มเปี่ยม จนปัจจุบันย่างข้า 63 พรรษาแล้ว ตลอด 62 พรรษาที่ผ่านมา แทบจะกล่าวได้ว่าท่านไม่เคยหยุดนิ่ง เริ่มการสร้างวัดสันติกาวาสจากสภาพวัดร้างให้พลิกฟื้นคืนความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ซึ่งต้องใช้ความสามารถในการเรียกความศรัทธาชาวบ้านอย่างสูง แต่ด้วยความเป็นคนจริงบวกกับการประพฤติปฏิบัติตนที่ทำให้ผู้คนเกิดความเคารพเลื่อมใส เพียงไม่นานก็ทำให้วัดสันติกาวาส สมบูรณ์ทั้งด้านเสนาสนะ และศาสนวัตถุต่าง ๆ นอกจากนี้ หลวงปู่รอดยังได้ใช้วิชาความรู้มาช่วยสงเคราะห์ผู้ที่ประสบทุกข์ร้อนทั้งร่างกาย และ จิตใจ อาทิ การเป่าหัว-เสกยารักษาโรค การดูดวง ซึ่งวิชาเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วท่านจะเรียนรู้ด้วยตนเองจากตำรับตำราเก่า ๆ ในช่วงที่ท่านได้อยู่รับใช้หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพนั้น ก็ได้รัยการถ่ายทอด คาถารอบโลก ซึ่งเป็นคาถาที่หลวงพ่อเดิมท่านใช้ประจำตัว ไม่ว่าจะการพรมน้ำมนต์ หรือการปลุกเสกวัตถุมงคล โดยหลวงปู่รอดได้นำมาใช้เป็นคาถาประจำตัวเช่นกัน ซึ่งพระคาถานี้มีด้วยกัน 7 บท อาทิ คาถาหายตัว,คาถามหานิยม,คาถาคงกระพันชาตรี ฯลฯ นอกจากเป็นเพราะท่านมีวิชาอาคมขลังแล้ว ยังมาจากชื่ออันเป็นมงคลนามว่า รอด ซึ่งเชื่อกันว่าจะทำให้รอดพ้นจากเรื่องเลวร้ายต่าง ๆ จากร้ายกลายเป็นดี แต่ท่านก็มักเตือนสติลูกศิษย์ลูกหาอยู่เสมอว่า ใครที่มีวัตถุมงคลของท่านแล้วจะให้รอดเหมือนชื่อนั้นจะให้รอดทุกคนเป็นไปไม่ได้ เพราะเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสิ่งคู่กับมนุษย์ทุกคนไม่มีทางหนีความตายไปได้ จะตายช้าตายเร็ว ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายอย่างรวมกัน ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน หลวงปู่รอดอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคลหลายรุ่นหลายแบบด้วยกัน อาทิ จัดสร้างขึ้นในโอกาสจัดงานฉลองอายุครบ 7 รอบ 84 ปี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548 แม้ว่าอายุท่านจะล่วงเลยเข้าสู่วัยชราแล้ว แต่กิจนิมนต์ของท่านแทบจะไม่มีวันเว้นว่าง ต่อมา หลวงปู่รอด เข้าโรงพยาบาลพรหมพิราม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เนื่องจากมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ส่วนหนึ่งมาจากกิจนิมนต์ที่หลวงปู่ไม่เคยปฏิเสธ ทุกวันท่านจะต้องเดินทางไกล เพื่อไปร่วมในพิธีซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการอธิษฐานจิต ปลุกเสกวัตถุมงคล ด้วยท่านเป็นพระเกจิที่ได้รับความศรัทธา แต่ด้วยอายุที่มาก การพักผ่อนน้อย ทำให้ล้มป่วยอาพาธลง แม้คณะศิษย์จะขอร้องให้ท่านงดรับกิจนิมนต์ แต่ท่านก็บอกว่า "เขามาเพราะเขาเชื่อมั่นศรัทธาจะปฏิเสธเขาได้อย่างไร" หลังเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลพรหมพิรามได้ 3 วัน อาการหลวงปู่รอดทรุดหนักลง จึงส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลพุทธชินราช โดยคณะแพทย์ได้พยายามรักษาอาการอย่างสุดความสามารถ แต่ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้ ในที่สุด หลวงปู่รอด ได้ละสังขารลงอย่างสงบ เมื่อเวลาประมาณ 03.00 น. วันที่ 18 พฤศจิกายน 2551 |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments