-
0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
หมวด เครื่องรางของขลัง
กระบอกยา ครูบาสร้อย วัดมงคลคีรีเขตร์ จ.ตาก
ชื่อร้านค้า | จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า) |
---|---|
ชื่อเจ้าของร้านค้า | |
ชื่อพระเครื่อง | กระบอกยา ครูบาสร้อย วัดมงคลคีรีเขตร์ จ.ตาก |
อายุพระเครื่อง | - |
หมวดพระ | เครื่องรางของขลัง |
ราคาเช่า | - |
เบอร์โทรติดต่อ | 08-6560-4037 |
อีเมล์ติดต่อ | Tayanrum@hotmail.com |
LINE |
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
|
สถานะ | |
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ | ส. - 14 ก.ย. 2562 - 21:10.26 |
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ | ส. - 28 ก.ย. 2562 - 12:55.10 |
รายละเอียด | |
---|---|
กระบอกยา ครูบาสร้อย วัดมงคลคีรีเขตร์ จ.ตาก สวยเดิมครับ... กระบอกยาศักดิ์สิทธิ์ ของดีเกจิดัง-ครูบาสร้อย ครูบาศักดิ์สิทธิ์แห่งบ้านมะตะวอ "ครูบาสร้อย ขันติสาโร" หรือ "ครูบาศักดิ์สิทธิ์แห่งบ้านมะตะวอ" หลายท่านคงคุ้นหูหรือเคยได้ยินกิตติศัพท์ของท่านบ้างไม่มากก็น้อย ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 10 กว่าปีก่อนหลายๆ ท่านคงคุ้นหูว่ามีครูบาที่มีอาคมขลังศักดิ์สิทธิ์อยู่รูปหนึ่งในเขตทางภาคเหนือ ที่กล่าวมานั้นคือ "หลวงพ่อครูบาสร้อย ขันติสาโร" แม่ตะวอ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ชาวบ้านแถบใกล้เคียง หรือต่างจังหวัดที่เคยมากราบท่านจะทราบดีว่าท่านเป็นพระที่มีอาคมขลังมากรูปหนึ่ง ถ้าท่านที่เคยไปกราบท่านจะทราบดีว่าท่านมีของดีอยู่อย่างหนึ่งที่ท่านมักแจกให้กับลูกศิษย์ที่นับถือ คือ "กระบอกยาอันศักดิ์สิทธิ์" ซึ่งภายในมีของดีบรรจุอยู่คือ สีผึ้ง ชานหมาก เกศา ว่าน พระสีวลีองค์จิ๋ว และมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ชาวกะเหรี่ยง พม่า และชนเผ่าต่างๆ นับถือกันมากครับ ถ้าท่านใดเจอที่ไหนบูชาเก็บไว้คุ้มครองกายได้ดีทีเดียวครับ "กระบอกยาศักดิ์สิทธิ์" เป็นวัตถุมงคลหรือเครื่องรางของขลังอีกชนิดหนึ่งซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับท่านเป็นอย่างมาก เพราะแต่ก่อนถ้าใครได้ไปกราบครูบาหรือครูบารับนิมนต์ไปไหนท่านจะนำหลอดยานี้ติดมาแจกให้กับลูกศิษย์อยู่เสมอ ลูกศิษย์ส่วนมากมีคล้องหรือติดตัวกันแทบทุกคน ทำให้เกิดประสบการณ์ด้านแคล้วคลาด คงกระพัน เป็นเมตตามหานิยม เล่าให้ฟังเหมือนโม้หรืออุตริ ของอย่างนี้ต้องลองใช้เองหรือสอบถามลูกศิษย์ทางสายครูบาสร้อยจะรู้ว่าดีแค่ไหน วัดมงคลคีรีเขตร์ (ครูบาสร้อย) ตั้งอยู่ริมทางหลวงสายแม่สอด-ท่าสองยาง-แม่สะเรียง บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 136 หมู่ที่ 1 ต.ท่าสอง ยาง อยู่ติดกับลำห้วยแม่จวง สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2462 สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดนี้คือ กุฏิครูบาสร้อย ขันติสาโร อดีตเจ้าอาวาสวัดมงคลคีรีเขตร์ มรณภาพเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2541 เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวพม่าเชื้อสายกะเหรี่ยงที่อยู่ตรงข้ามอำเภอชายแดนฝั่งตะวันตก เชื่อกันว่าเป็นผู้ที่มีอาคมกล้าแข็งสามารถป้องกันอันตรายต่างๆ ให้กับผู้ที่เคารพนับถือ ซึ่งวัดนี้อยู่ตรงข้ามกับค่ายทหารกะเหรี่ยง มีชื่อค่ายว่า แม่ตะวอ เมื่อมีการสู้รบรุนแรง ดังนั้น ชาวบ้านและกะเหรี่ยงทั้งไทยและพม่าจึงเข้ามาหลบภัยอยู่ที่วัดนี้นี่เอง ครูบาสร้อยได้มรณภาพเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2541 ปัจจุบันอยู่ในโลงแก้วในกุฏิ ที่ท่านเคยอยู่โดยไม่เน่าเปื่อย หลวงพ่อสร้อยท่านถือกำเนิดเมื่อวันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2472 ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเส็ง พื้นที่เขตตำบลละหานทราย (ปัจจุบันเป็นอำเภอแล้ว) อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โยมบิดาของท่านมีนามว่า วัน และโยมมารดาของท่านมีนามว่า กรด ส่วนท่านกำเนิด ในสกุลใดนั้นในหนังสือเขียนไว้ไม่กระจ่าง ผมจึงขอละเว้นที่จะนำเสนอเพื่อป้องกันความสับสนต่อไป) ท่านมีพี่สาวเพียงคนเดียวมีนามว่า คิด ภายหลังท่านกำเนิดมาได้ 7 วันโยมบิดาของท่านก็ได้ถึงแก่กรรม และเมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบโยมมารดาของท่านก็ได้ถึงแก่กรรม ซึ่งท่านก็ได้อยู่ในความดูแลของคุณยายท่านมานับแต่นั้น ซึ่งคุณยายของท่านนับเป็นบุคคลที่ชอบเข้าวัดฟังธรรมตามวิถีชีวิตชนบท ซึ่งจะพาท่านไปด้วยเสมอ ทำให้ท่านได้ใกล้ชิดกับวัดมาตลอดนับแต่วัยเด็ก ด้วยในวัยเด็ก "หลวงพ่อครูบาสร้อย ขันติสาโร" มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับวัดมาตลอด และในช่วงหนึ่งมีโอกาสถวายน้ำตาลแด่พระธุดงค์ โดยพระรูปนั้นได้กล่าวกับท่านว่า เมื่อใหญ่แล้วให้บวชนะ ซึ่งท่านได้ระลึกถึงคำนี้มาตลอด จนท่านเรียนจบประถม 4 จึงได้ขออนุญาตคุณยายของท่านบวชเป็นสามเณร โดยคุณยายของท่านได้เห็นชอบด้วยจึงพาท่านไปบวชที่วัดชุมพร ซึ่งอยู่ในละหานทรายนั่นเอง โดยมีหลวงพ่อมั่น เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากที่ท่านบรรพชาเรียบร้อยแล้วท่านก็ได้อยู่กับห ลวงพ่อมั่นนั่นเอง โดยหลวงพ่อมั่นท่านได้สอนให้สามเณรรูปใหม่ (หลวงพ่อสร้อย) หัดบริกรรมด้วยการตกลูกประคำเป็นการฝึกสมาธิ และระวังวัตรถากท่านเช่นการบีบนวด หลวงพ่อมั่นก็จะกล่าวบรรยายอบรมข้อธรรมต่างๆ ไปพร้อมกัน จนหลวงพ่อมั่นเห็นว่าสามเณรสร้อยมีจิตใจที่นิ่งมั่นคงดีแล้ว ท่านจึงได้สอนอาคมต่างๆ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติสมาธิด้วย และยังได้พาท่านออกธุดงค์ รุกขมูลเพื่อให้ได้รับข้อธรรมต่างๆ ให้เพิ่มพูน ท่านได้อยู่เป็นสามเณรกับหลวงพ่อมั่นมาจนล่วงได้อายุ 22 ปี จึงได้ทำการอุปสมบทโดยมีหลวงพ่อมั่นเป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงพ่อสุข วัดโพธิ์ทรายทองเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อสุตเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ขันติสาโร" หลังจากที่เสร็จสิ้นการอุปสมบท หลวงพ่อสุขได้กล่าวชวนท่านไปด้วย ยังความดีใจแก่ท่านเป็นที่สุด ได้กราบลาหลวงพ่อมั่นขออนุญาตตามหลวงพ่อสุขไป โดยเริ่มแรกหลวงพ่อสุขได้ให้ท่านขึ้นครูกรรมฐาน โดยในช่วงต้นหลวงพ่อสุขได้เน้นหนักท่านในเรื่องการปฏิบัติกรรมฐาน ท่านเล่าว่าท่านปฏิบัติจนมีความสุขบางทีถึงกับไม่ได้หลับได้นอนเลย แต่ก็ไม่มีความง่วงเหงาหาวนอนแต่อย่างใด ในพรรษาถัดมาหลวงพ่อมั่นซึ่งเปรียบดังบิดาของท่านก็ได้มรณภาพลง ท่านจึงได้กลับไปจัดงานถวายแก่หลวงพ่อมั่น เสร็จสิ้นแล้วจึงกลับมายังวัดหลวงพ่อสุขดังเดิม โดยหลวงพ่อสุขได้เริ่มสอนวิชาต่างๆ แก่ท่าน ซึ่งวิชาที่สำคัญคือการตรวจดูบุญวาสนา และเวรกรรมของผู้ป่วย เพื่อช่วยในการรักษาโรคภัยต่างๆ อยู่ต่อมาในระหว่างอยู่ศึกษากับหลวงพ่อสุขอยู่นั้น (ในหนังสือไม่ได้บอกว่าช่วงพรรษาใด) ท่านได้เกิดอาการปวดศีรษะอย่างแรงขณะปฏิบัติสมาธิอยู่บนศาลาจึงขอหลวงพ่อสุขไปพัก โดยระหว่างนั้นเองขณะนอนลงพัก วิญญาณของท่านก็ได้หลุดจากร่าง (ช่วงระหว่างวิญญาณท่านออกไปนี้ ผมขอละไว้นะครับ) ซึ่งการมรณะครั้งนี้ท่านได้สิ้นลมไป 7 วันเต็มๆ ซึ่งในระหว่างนั้นหลวงพ่อสุขได้ทำพิธีเพื่อตามท่าน นำท่านกลับมา (ซึ่งวิชาเดียวกันนี้ท่านได้ใช้ช่วยชีวิตเด็กชาวกะเหรี่ยงให้ฟื้นคืนมาแล้ว) เข้าสู่ปีพ.ศ. 2497 หลวงพ่อสร้อยได้ขอลาหลวงปู่สุขเข้าสู่กรุงเทพฯ จุดหมายคือวัดมหาธาตุ ด้วยขณะนั้นขึ้นชื่อในเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านได้อยู่ศึกษาเป็นเวลา 7 เดือนท่านจึงลาพระอาจารย์ชาดกผู้สอนท่านกลับคืนยังบุรีรัมย์ เมื่อญาติโยมได้รู้ข่าวการกลับมาของท่าน จึงได้ทำการต้อนรับและนิมนต์ให้ท่านอยู่ที่วัดกลางนา เป็นรองเจ้าอาวาส หลังจากออกพรรษา "หลวงพ่อครูบาสร้อย ขันติสาโร"ได้ตัดสินใจออกรุกขมูลโดยท่านได้ล่ำลาญาติโยมแล้วก็ออกเดินรุกขมูลลัดเลาะไปตามจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ ต่อไปยังอุบลฯ จนยาวไปถึงนครพนม ข้ามไปยังฝั่งลาวแล้วข้ามกลับมายังมุกดาหาร ต่อเรื่อยไปจนเข้าสู่เทือกเขาภูพาน เขตสกลนคร ซึ่งท่านได้พบกับพระเถระรูปหนึ่งและได้ขอร่ำเรียนวิชาด้วย เรื่อยไปจนเข้าหล่มสักเข้าพิษณุโลก ซึ่งช่วงนี้ท่านหลงป่าอยู่ จนทะลุออกมายังอุตรดิตถ์ จากการหลงป่าครั้งนี้ท่านจึงเปลี่ยนมาเดินโดยใช้เส้นทางรถไฟช่วย ล่วงได้ 7 วัน ท่านก็ล่วงถึงดอยสะเก็ด เชียงใหม่ โดยพบกับหลวงปู่แหวน และได้ขอศึกษาข้อธรรมต่างๆ จากหลวงปู่แหวนโดยช่วงนั้น หลวงปู่แหวนท่านกำลังเน้นไปทางอสุภะกรรมฐาน ซึ่งช่วงนี้ท่านว่าท่านได้พบกับข้อธรรมที่ลึกซึ้งมากขึ้น จากนั้นท่านได้ลาหลวงปู่แหวน ออก รุกขมูลต่อ รอนแรมไปจนถึงแม่สะเรียง พักที่วัดศรีบุญเรืองท่านตั้งใจจะไปหาเพื่อนที่แม่ฮ่องสอนแต่ด้วยติดกาลพรรษาท่านจึงได้ประจำพรรษาที่วัดศรีบุญเรือง จนล่วงกาลพรรษา ท่านจะออกเดินทางต่อ พอดีได้ทราบจากญาติโยมว่าที่ท่าสองยางมีวัดร้างอยู่ ท่านจึงคิดอยากไปที่นั่นดูด้วยคิดว่าคงเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม สร้างวัดมงคลคีรีเขตร์ เส้นทางการมายังท่าสองยางนี่นับว่าลำบากเอาการ โดยจากแม่สะเรียง ผ่านไปยังแม่กระตวนจนสุดที่แม่ระมาด ต่อเรือไปยังแม่วะ แล้วเดินต่อไปยังแม่กะ จนลุถึงท่าสองยางชาวบ้านก็ดีใจที่ได้พบพระสงฆ์ ได้ให้ท่านอยู่โปรดโดยช่วยกันสร้างกุฏิให้ท่านด้วยใบตองตึง โดยพรรษานั้นท่านได้อธิษฐานอยู่พรรษาแต่รูปเดียว ซึ่งระหว่างนั้นได้มีลูกหลานชาวบ้านนามว่าเด็กชายสม แสนไชย คอยอยู่วัตรถากท่าน ต่อมาด้วยท่านมุ่งที่จะใช้เวลาในการปฏิบัติให้มากขึ้น จึงหลบการพบผู้คนด้วยการลงไปกางกลดอยู่ในบริเวณป่าช้า ซึ่งเด็กชายสมก็ได้ตามไปด้วย โดยเลือกอยู่ใต้ต้นตะเคียนต้นหนึ่ง ต่อมาชาวบ้านได้นิมนต์ท่านกลับไปยังวัดตามเดิม โดยได้ร่วมใจปรับปรุงวัดให้ท่าน ในวันที่ท่านย้ายกลับเข้าวัดนั้นปรากฏว่าตะเคียนต้นที่ท่านใช้อยู่ระหว่างปฏิบัติที่ป่าช้าถึงกับโค่นลง ต่อมาในปีพ.ศ.2500 ท่านได้จัดให้มีการบวชพระและสามเณรขึ้น ทำให้วัดมีพระอยู่จำพรรษาขึ้น รวมได้ 11 รูป ล่วงมาปี พ.ศ.2503 ช่วงพรรษาหลังฉันเช้าแล้วท่านมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวจึงได้นอนพัก ปรากฏว่าวิญญาณท่านได้ออกจากร่างไปอีกครั้งเหมือนดังเช่นเคยเกิดกับท่านสมัยอยู่กับหลวงปู่สุข แต่ครั้งนี้ท่านหายไปเพียง 1 วัน ล่วงมาปีพ.ศ. 2505 ท่านมีดำริจะสร้างวัดให้ดีขึ้น ให้ถูกต้องมีวิสุงคามวาสี เหมือนกับเทวดาที่รักษาวัดจะทราบเรื่องราว คืนนั้นในสมาธิเทวดาซึ่งเดิมเป็นเจ้าของที่แห่งนั้น ได้มาปรากฏและถามถึงความต้องการของท่าน ท่านก็บอกไปว่าจะบูรณะปรับปรุงวัดให้ดีขึ้น ท่านเจ้าของที่ได้อนุโมทนายกที่ให้ท่าน แล้วลาท่านไปอยู่ที่แห่งใหม่ ยังเทือกเขาแถบนั้น โดยในสมาธินั้นได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับตำแหน่งต่างๆ ในบริเวณวัดที่จะปลูกสร้างถาวรวัตถุ แต่มาติดที่บริเวณหนึ่งซึ่งกำหนดจะเป็นที่ตั้งของศาลา มีหินก้อนใหญ่สองก้อนกีดขวางอยู่ซึ่งท่านคิดว่าลำพังกำลังชาวบ้านคงยากที่จะเอาออกได้ ในสมาธินั้นท่านว่าเจ้าที่ท่านได้ช่วยเอาออกให้ ปรากฏเป็นควายตัวใหญ่สองตัวเอาเขาขวิดจนหินสองก้อนนั้นกลิ้งหายไป ต่อมา "หลวงพ่อครูบาสร้อย ขันติสาโร" ได้สบโอกาสที่จะสร้างศาลา ท่านก็มาติดปัญหาที่หินสองก้อนนี้ ซึ่งทำให้ท่านหวนคิดถึงนิมิตในครั้งนั้นว่าเจ้าที่ท่านช่วยเอาหินออกแล้วนี่ จนช่างผู้คุมงานเสนอให้ท่านย้ายที่ตั้งศาลา แต่ปรากฏว่าในขณะนั้นได้มีรถที่ใช้ก่อสร้างทางของกรมทางฯ มาจอดที่วัด เจ้าหน้าที่ทั้งสองคนได้มาบอกหลวงพ่อว่าได้รับคำสั่งให้มาช่วยยกหินสองก้อนนั้นออกไป ทำให้การสร้างศาลาลุล่วงไปด้วยดี จนแล้วเสร็จในราวเดือน 5 ของปี 2506 และท่านก็ได้พัฒนาปรับปรุงวัดเรื่อยมา และในระหว่างนั้นท่านก็ได้ให้การอุปถัมภ์ทั้งวัดต่างๆ และหน่วยงานของราชการ เช่น โรงพยาบาล เสียดายที่รายละเอียดส่วนนี้ไม่มีบันทึกไว้ แต่ที่แน่ๆ ทั้งละหานทราย และนางรอง ท่านก็ได้ให้การช่วยเหลือหลายแห่งเหมือนกัน บั้นปลายชีวิตหลวงพ่อสร้อยท่านได้ตรากตรำอย่างหนักในช่วงชรา ผมเองจำได้ว่าครั้งหนึ่งก่อนท่านมรณะไม่เท่าไหร่ ท่านยังมีเมตตาช่วยเททองวัตถุมงคลให้กับวัดที่หลวงปู่สุขให้การทำนุบำรุงมาก่อนอย่างเต็มใจ แม้ช่วงนั้นท่านจะไม่แข็งแรงเท่าไหร่ ซึ่งหลังจากเททองเสร็จไม่เท่าไหร่ท่านก็มรณภาพ ไม่ทันได้กลับมาปลุกเสก ซึ่งอาจนับได้ว่าเป็นวัตถุมงคลชุดสุดท้ายของท่านก็ว่าได้ จนเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2540 ลูกศิษย์ได้นำท่านเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครธนพระราม 2 จนวันที่ 14 มกราคม 2541 หลวงปู่หงส์ท่านได้มาเยี่ยมหลวงพ่อสร้อย ด้วยหลวงปู่หงส์ท่านว่าท่านฝัน หลวงพ่อสร้อยท่านกระโดดลงจากเตียง เมื่อพบกัน หลวงปู่หงส์ท่านได้ทำด้ายคล้องคอให้แก่หลวงพ่อสร้อย และหลวงพ่อสร้อยท่านได้กล่าวกับหลวงปู่หงส์ในทำนองว่า? จะขอลาแล้ว ขอลามรณภาพจะได้ไหม? ซึ่งหลวงปู่หงส์ท่านก็นิ่ง แล้วก็เดินทางกลับ จากนั้นวันที่ 17 มกราคม 2541 หลวงพ่อสร้อยท่านได้เรียกพระลูกวัดที่อยู่ที่นั้นมารวมกัน ได้จับมือจับแขนพระทุกรูป และได้กล่าวอบรมเป็นครั้งสุดท้าย ในลักษณะว่า "ต่อไปเราจะไม่ได้เจอกันอีกแล้วนะ ให้ปฏิบัติตัวกันให้ดี ขยันทำงาน มีอะไรก็ทำไป ให้ประหยัดและอดทนทุกคนนะ" มาวันที่ 18 มกราคม 2541 หลวงพ่อสร้อยได้สั่งให้ลูกศิษย์นับเงินที่ลูกศิษย์มาร่วมทำบุญกับท่าน เพื่อเตรียมเป็นค่าใช้จ่ายแก่โรงพยาบาล ยังความตกใจและหวั่นใจของลูกศิษย์เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยท่านเองยังไม่หาย และอาการก็ทรุดหนัก แต่ท่านเตรียมออกจากโรงพยาบาล ฯลฯ |
พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...
อื่นๆ...
กำหลังโหลด Comments