เหรียญ รุ่นแรก หลวงพ่อเบี่ยง วัดทุ่งเสมอ กาญจนบุรี-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญ รุ่นแรก หลวงพ่อเบี่ยง วัดทุ่งเสมอ กาญจนบุรี

เหรียญ รุ่นแรก หลวงพ่อเบี่ยง วัดทุ่งเสมอ กาญจนบุรี - 1เหรียญ รุ่นแรก หลวงพ่อเบี่ยง วัดทุ่งเสมอ กาญจนบุรี - 2เหรียญ รุ่นแรก หลวงพ่อเบี่ยง วัดทุ่งเสมอ กาญจนบุรี - 3เหรียญ รุ่นแรก หลวงพ่อเบี่ยง วัดทุ่งเสมอ กาญจนบุรี - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง เหรียญ รุ่นแรก หลวงพ่อเบี่ยง วัดทุ่งเสมอ กาญจนบุรี
อายุพระเครื่อง -
หมวดพระ เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ พฤ. - 22 ส.ค. 2562 - 21:09.17
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 07 ก.พ. 2563 - 23:03.50
รายละเอียด
เหรียญ รุ่นแรก หลวงพ่อเบี่ยง วัดทุ่งเสมอ กาญจนบุรี

สวยมากครับ เหรียญนี้ เส้นสาย วิ่งกระจาย...

เหรียญผิวเดิม ครับ แดง ๆๆๆ


ประวัติ หลวงพ่อเบี่ยง วัดทุ่งเสมอ

วัดทุ่งสมอ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เป็นวัดโบราณแห่งหนึ่ง สร้างโดยชาวบ้านกลุ่มหนึ่งซึ่งมีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ บริเวณบ้านทุ่งสมอในปัจจุบัน ซึ่งได้ปรากฏความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยของ พระครูวิบูลธรรมประภาส (หลวงพ่อเบี่ยง อุทโย) อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 7 พระเกจิอาจารย์เรืองนามของอ.พนมทวน

หลวงพ่อเบี่ยง เกิดในสกุล “ดอกนาค” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 พ.ย. 2459 ณ บ้านเลขที่ 2 บ้านห้วยสะพาน ต.หนองโรง อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เป็นบุตรของนายเก๋ นางบาง มีพี่น้องรวม 6 คน ได้รับการศึกษาในโรงเรียนวัดห้วยสะพาน จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เมื่อปีพ.ศ.พ.ศ.2473

พออายุครบบวชได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดห้วยสะพาน เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2479 โดยมีพระปลัดหรุง วัดทุ่งสมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาทางธรรมว่า “อุทโย” ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยจนสอบได้นักธรรมเอกในสำนักเรียนวัดห้วยสะพาน เมื่อปีพ.ศ.2486

ด้านวิชาไสยเวทพุทธาคม ได้รับการถ่ายทอดจากพระปลัดหรุง อดีตเจ้าอาวาส และตำราต่างๆ ทั้งยังเคยเดินทางไปขอร่ำเรียนวิชาเพิ่มเติมจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของเมืองกาญจน์ในอดีตหลายองค์ อาทิ หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ หลวงพ่อดี วัดเหนือ หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม ฯลฯ ที่สำคัญ ได้เดินทางไปศึกษาแนววิชาธรรมกายกับหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ จนมีความเชี่ยวชาญ

หลวงพ่อเที่ยงท่านยังเป็นพระผู้มากไปด้วยเมตตาธรรม คอยช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอ ทำให้บรรดาชาวบ้านตลอดจนพระเณรในวัดเคารพศรัทธาท่านเป็นอย่างมาก พระในวัดทุกรูปท่านจะอบรมให้อยู่ในระเบียบอันสมควรแก่สมณเพศ ส่วนชาวบ้านที่มาทำบุญท่านก็จะคอยอบรมให้ละซึ่งกิเลสและความชั่ว หันมาประพฤติปฏิบัติธรรมสร้างความดีเสมอมา

สำหรับสหธรรมิกที่สนิทสนมคุ้นเคยกันมากคือ หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม ถึงขนาดเรียกท่านว่า “ไอ้มอญ” ในสมัยก่อนงานปลุกเสกแถบเมืองกาญจน์หรือใกล้เคียง ท่านทั้งสองมักจะได้รับนิมนต์ไปในพิธีคู่กันเสมอ จนเป็นที่รู้กันว่า ถ้าจะเอาดีทางคงกระพันต้องหลวงพ่ออุตตมะ แต่ถ้าจะเอาทางเมตตา ต้องไปหาหลวงพ่อเบี่ยง

ในด้านวัตถุมงคลที่ท่านสร้างไว้สมัยยังมีชีวิตอยู่นั้น มีด้วยกันมากมายหลายแบบ ที่นิยมมากได้แก่ เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อในโบสถ์ (หลวงพ่อเทพมงคล) ซึ่งเป็นพระประธานในโบสถ์วัดทุ่งสมอศักดิ์สิทธิ์ จัดสร้างเป็นรูปสามเหลี่ยมหูในตัว เล่ากันว่า ผู้นำไปสักการะบูชาแล้วเกิดประสบการณ์อภินิหารทางด้านแคล้วคลาด เช่น อุบัติเหตุรถคว่ำไม่เป็นอะไร

เคยมีผู้นำไปให้ลูกหลานห้อยคอบูชา แล้วอธิษฐานขอให้รอดจากการถูกเกณฑ์ทหาร ซึ่งส่วนใหญ่มักจะบนท่านด้วย “ภาพยนตร์” หรือเรียกง่ายว่า “บนหนัง” แล้วจับได้ใบดำกันแทบทั้งนั้น อีกอย่างหนึ่งซึ่งสร้างชื่อเสียงให้ท่านมาก ก็คือ“สีผึ้ง” มีพุทธคุณเยี่ยมทางเมตตามหานิยม และเจรจาค้าขาย

นอกจากนี้ ยังมีรูปหล่อโบราณ รูปเหมือนปั๊ม พระปิดตาเนื้อผงขาวผสมผงอิทธิเจที่ท่านลบเอง เยี่ยมทางด้านเมตตา พระผง รูปเหมือนจันทร์ลอย ผ้ายันต์มหามงคล เหรียญหลวงปู่อิเกโร ด้านหลังรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จำพวกเครื่องรางที่ได้รับความนิยมได้แก่ ตะกรุดโทนมี 2 รุ่น คือแบบคาดเอว ยาวประมาณ 5 นิ้ว และแบบห้อยคอ ยาวประมาณ 3 นิ้ว
บั้นปลายชีวิต เนื่องจากท่านได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมและพระพุทธศาสนามายาวนาน ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน สุขภาพร่างกายจึงไม่แข็งแรง อีกทั้งมีอายุมากก็ยังตรากตรำงานด้วยความเหน็ดเหนื่อย แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อ ยิ่งทำให้สังขารร่วงโรย กระนั้นก็ยังคงปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต และมรณภาพลงด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2543 รวมสิริอายุได้ 84 ปี 5 เดือน พรรษาที่ 64 ได้รับพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 3 มี.ค. 2544 ณ เมรุวัดทุ่งสมอ
ต้องขออนุญาติเจ้าของข้อมูลด้วยนะครับ

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top