พระปิดตายันต์ยุ่ง รุ่นเจริญบารมี หลวงพ่อเจริญ ฐานบุตโต วัดโนนสว่าง-จ่าจีระสิทธิ์ - webpra
VIP
  • 0 8 6 - 5 6 0 4 0 3 7
  • Page 1
  • Page 2
หน้าที่ และความรับผิดชอบ

หมวด พระปิดตาทั่วไป

พระปิดตายันต์ยุ่ง รุ่นเจริญบารมี หลวงพ่อเจริญ ฐานบุตโต วัดโนนสว่าง

พระปิดตายันต์ยุ่ง รุ่นเจริญบารมี หลวงพ่อเจริญ ฐานบุตโต  วัดโนนสว่าง - 1พระปิดตายันต์ยุ่ง รุ่นเจริญบารมี หลวงพ่อเจริญ ฐานบุตโต  วัดโนนสว่าง - 2พระปิดตายันต์ยุ่ง รุ่นเจริญบารมี หลวงพ่อเจริญ ฐานบุตโต  วัดโนนสว่าง - 3พระปิดตายันต์ยุ่ง รุ่นเจริญบารมี หลวงพ่อเจริญ ฐานบุตโต  วัดโนนสว่าง - 4พระปิดตายันต์ยุ่ง รุ่นเจริญบารมี หลวงพ่อเจริญ ฐานบุตโต  วัดโนนสว่าง - 5
ชื่อร้านค้า จ่าจีระสิทธิ์ - (คลิ๊กที่นี่เพื่อดู ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า)
ชื่อเจ้าของร้านค้า
ชื่อพระเครื่อง พระปิดตายันต์ยุ่ง รุ่นเจริญบารมี หลวงพ่อเจริญ ฐานบุตโต วัดโนนสว่าง
อายุพระเครื่อง 9 ปี
หมวดพระ พระปิดตาทั่วไป
ราคาเช่า -
เบอร์โทรติดต่อ 08-6560-4037
อีเมล์ติดต่อ Tayanrum@hotmail.com
LINE
(คลิ๊กที่นี่เพื่อเพิ่มเพื่อนกับเจ้าของร้าน)
สถานะ เช่าแล้ว
Facebook
เปิดให้เช่าตั้งแต่วันที่ อ. - 11 มิ.ย. 2562 - 21:09.19
แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อ ศ. - 28 มิ.ย. 2562 - 22:21.02
รายละเอียด
พระปิดตายันต์ยุ่ง รุ่นเจริญบารมี หลวงพ่อเจริญ ฐานบุตโต วัดโนนสว่าง

ประวัติโดยสังเขป
พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (เจริญ ฐานยุตฺโต)

นามเดิม เจริญ นามสกุล สารักษ์ เกิดเมื่อวันที่ ๗ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๔ ที่บ้านหนองวัวซอ อุดรธานี บิดาเดิมเป็นชาวอุบลราชธานีชื่อ นายสงวน สารักษ์ มารดาเป็นชาวบ้านเชียงหวาง อำเภอเพ็ญ อุดรธานี ชื่อนางฮวด สารักษ์ เชื้อสายทางบิดาเป็นชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิดเกี่ยวพันเป็นลูกหลานเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ และหลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาลวัน หนองวัวลำภู มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๑๐ คนเป็นชาย ๘ คน หญิง ๒ คน เป็นคนที่ ๖

บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบุญญานุสรณ์ อำเภอหนองวัวซอ อุดรธานี มีพระครูประสิทธิ์คณานุการ อดีตเจ้าคณะอำเภอหนองวัวซอ ธรรมยุต เป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะเป็นสามเณรได้สนใจศึกษาหัดอ่านเขียนคัมภีร์ใบลานอักษรธรรมอีสานกับพ่อใหญ่มั่นผู้เฒ่าที่ปราชญ์ชาวบ้านซึ่งสามารถอ่านเขียนและจารอักษรธรรมอีสานได้ และท่านผู้นี้เป็นฆราวาสที่มีอาคมด้วย จึงได้เรียนอักษรธรรมและอาคมบ้างพอประมาณ ต่อมาจึงสามารถอ่านเขียนอักษรธรรมล้านนาและอักษรไทยน้อยได้จนแตกฉานและสามารถจารหนังสือใบลานได้ตั้งแต่บรรพชาไม่ถึง ๒ พรรษา ความที่ไม่เข้าใจว่าทำไมชาวบ้านจึงนับถือภูตผีปีศาจ จึงศึกษาถึงที่มาที่ไปจนผ่านไปหลายปีจึงทราบได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงให้เลิกนับถือสิ่งเหล่านั้นและให้ถือพระรัตนตรัยแทน จึงเริ่มสนใจในวิชาพุทธาคมและเริ่มศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาข้อความในคัมภีร์ซึ่งต่อมาทำให้เป็นผู้มีความรอบรู้ในเรื่องพระคัมภีร์อย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเรื่องพระสูตร เรื่องราวในทางธรรมะต่างๆ ตำรายาแผนไทยโบราณ ตำราดวงชะตา ตำราลงอักขระปลุกเสกต่างๆ ซึ่งได้ศึกษาพอประมาณ

ต่อมา จึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์สมพงษ์หรือพระธรรมสังวร วัดพระพุทธบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ อุดรธานีเรียนวิชาลงตะกรุดโทนและวิชารักษาคนผู้ถูกมนต์ทำร้ายเป็นต้น และอาศัยอยู่กับหลวงปู่โถน พระครูสถิตธรรมรัตน์ วัดโสกแจ อำเภอกุดจับ อุดรธานี ได้เรียนวิชาลงตะกรุดหกกษัตริย์ และกบตายคารู และลงนะหน้าทอง และอีกหลายอย่าง เป็นสามเณรอุปัฏฐากอยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล หนองบัวลำภู เป็นต้น

เมื่ออายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดป่าสามัคคีอุปถัมภ์ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย โดยมีพระครูสิริธรรมวัฒน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินัยกิตติโสภณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสุนทรนวกิจ วัดอรุณรังษี เป็นพระอนุสวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “ฐานยุตฺโต” ในคณะธรรมยุต

เมื่ออุปสมบทแล้วได้ไปจำพรรษาอยู่กับพระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่เมตตาหลวง) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อำเภอปากช่อง นครราชสีมา หลวงปู่ให้เรียนเอาวิชาเมตตาหลวง ตำราเลขยันต์ คาถาลงตะกรุดโทน แคล้วคลาด ยันต์ตรีนิสิงเห และสอนให้บริกรรมธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ นะ มะ พะ ทะ หลายปีต่อมาขณะจำพรรษาอยู่วัดป่าพรรณนานิคม ได้พบหลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก จังหวัดสุรินทร์

เมื่อหลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาลวัน หนองบัวลำภู มรณภาพลง ได้มางานพระราชทานเพลิงศพท่านและได้รับนิมนต์ให้อยู่ต่อ ต่อมาพระครูพุทธศาสโนวาท (ชาลี) เจ้าอาวาสวัดศรีสว่าง (ชื่อวัดในขณะนั้น) ถึงแก่มรณภาพลง จึงได้อยู่ช่วยงานศพจนแล้วเสร็จ ชาวบ้านจึงอาราธนาให้จำพรรษาที่วัดนั้น และขอให้ช่วยพัฒนาวัดด้วยเพราะเป็นวัดในอำเภอบ้านเกิด จนกระทั่งได้รับแต่งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ต่อมาเปลี่ยนชื่อวัดศรีสว่างเป็น วัดโนนสว่าง และจำพรรษาอยู่จนปัจจุบัน ตั้งแต่มาช่วยพัฒนาอารามแห่งนี้ก็เจริญ รุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ พระครูพิพัฒน์วิทยาคมก็ได้ใช้สรรพวิชาพุทธาคมที่ได้เล่าเรียนมาตั้งแต่เป็นสามเณรช่วยสงเคราะห์ชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนทั่วไปตามกำลังที่มี ส่วนการสร้างวัตถุมงคลและปลุกเสกวัตถุมงคลนั้นได้ทำตามตำหรับวิชาผึ้งพันน้ำมันหมื่น จนทำให้วัตถุมงคลเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ควรแก่การนำไปสักการะบูชา

ผู้สืบสานตำหรับวิชาพุทธาคมอีสานโบราณผึ้งพัน น้ำมันหมื่น

ในการปลุกเสกวัตถุมงคลของพระครูพิพัฒน์วิทยาคม ในขณะปลุกเสกนั้น จะต้องนั่งบนอาสนะที่หล่อด้วยขี้ผึ้งแท้หนัก ๔๐,๐๐๐ หรือ ๔๘ กิโลกรัม และบริกรรมธาตุและพระคาถาด้วยลูกประคำงาช้างจำนวน ๒๑๖ ลูก และสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการพิธีศักดิ์สิทธิ์นี้คือ ครุภัณฑ์ ซึ่งก็คือเครื่องบูชาพระรัตนตรัยชุดใหญ่ อันประกอบด้วยเครื่องบูชาตามตำหรับโบราณหลายชนิดเช่น เครื่องพัน หมายถึงจำนวนละพันชิ้น และน้ำมันหมื่น อันได้แก่น้ำมันหลายชนิดเช่นน้ำมันงา หรือน้ำมันยางแบบโบราณแท้ ซึ่งทั้งหมดทั้งนั้นก็ คือเครื่องบูชาพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตั้งแต่สมัยโบราณ กล่าวกันสืบๆมาว่า ครูบาอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมสายอีสานโบราณจนถึงผู้ทรงวิทยาคมทางฝั่งลาวหากจะเรียนสรรพวิทยาคมต่างๆ หรือจะลงประจุคาถาอาคมลงในวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นนั้น ต้องแต่งเครื่องบูชาด้วยเครื่องบูชาที่เรียกว่า ผึ้งพัน น้ำมันหมื่นเท่านั้น เมื่อแต่งเครื่องบูชาแล้วจึงเริ่มทำพิธีมหาพุทธาภิเษก และลงประจุอาคม ที่สำคัญต้องกระทำการในวันบุญมหาชาติเท่านั้น จึงจะได้วัตถุมงคลที่ศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังมีอานุภาพเต็มเปี่ยมไปด้วยพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพและสังฆานุภาพ

ผึ้งพัน ประกอบด้วยเทียนขี้ผึ้งแท้ หนึ่งพันเล่ม ธูปพันดอก เมี่ยงหมากพันชุด บุหรี่พันมวน ดอกไม้ประกอบด้วย ดอกผักตบ ดอกบัวหลวง ดอกอัญชัน ดอกปีบ (ดอกก้านของ) ดอกโสน (ใช้ลำโสนมาแต่งเป็นดอกไม้) ดอกคัดเค้า ขันบายศรี ข้าวเหนียวปั้นพันก้อน กรวยกระทงใบฝรั่งพันกรวย เงินพันบาท ธงช่อ ธงหาง ข้าวคั่วตอกแตก จัดให้ได้อย่างละพัน พอสังเขปเท่านี้ และมีอีกหลายชนิดที่ไม่ขอกล่าวถึง

น้ำมันหมื่น โบราณใช้น้ำมันยาง หรือน้ำมันงาหนักหนึ่งหมื่น ใส่กระปุกหรือขวดแก้ว ทุกอย่างที่กล่าวใส่ลงในภาชนะพานโตก หรือภาชนะจักสานขนาดใหญ่ ส่วนเทียนขี้ผึ้งห่อรวมกันไว้ด้วยผ้าขาวแล้วพันด้วยด้ายฝ้ายดิบสีขาว ทุกอย่างรวมเรียกว่า ครุภัณฑ์ เป็นเครื่องบูชาพระพุทธเจ้า นี่คือที่มาของคำว่าผึ้งพัน น้ำมันหมื่นที่พระครูพิพัฒน์วิทยาคมใช้เป็นเครื่องบูชาพระธรรมในการพิธีพุทธาภิเษกของวัดโนนสว่างตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน

พิธีพุทธาภิเษกของวัดโนนสว่างนั้น จะมีตำราสวดพุทธาภิเษกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพระครูพิพัฒน์วิทยา เป็นสมุดไทย ๑ ชุดมีจำนวน ๔ เล่มใหญ่ มีชุดที่เป็นอักษรธรรมเขียนด้วยลายมือท่านเอง และชุดที่พิมพ์ด้วยอักษรไทย ซึ่งเนื้อหาจะประกอบด้วยพระคาถามากมายเป็นเอกลักษณะเฉพาะ

จึงสรุปได้ว่า พิธีพุทธาภิเษกจะต้องดำเนินไปด้วยความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ และถูกต้องตามระเบียบแบบแผนตามแนวทางของผู้ทรงวิทยาคมอีสานโบราณ

ขอเชิญชวนศิษยานุศิษย์ในเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร ป.ธ.๙) และพุทธศาสนิกชนทั่วไป เข้าร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษกวัตถุมงคลและงานสมโภชพระพุทธนราสภะทศพล และสืบชะตาหลวงแบบอีสานโบราณ ปิดท้ายด้วยพิธีเถราภิเษกฮดสรง เพื่อเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัวต่อไป

ขอบคุณที่มาจาก watsamphan

พระเครื่องที่เกี่ยวข้องในร้านค้านี้...

อื่นๆ...

กำหลังโหลด Comments
Top